ช่วงหน้าร้อนนอกเหนือจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น ความร้อนยังนำมาซึ่ง
‘โรคลมแดด’ หรือที่รู้จักในชื่อ
Heat Stroke
หลายคนคงคุ้นหูกับโรคลมแดดมาแล้วบ้าง งั้นมาดูสาเหตุของโรคกันดีกว่าว่าเกิดจากอะไร
โรคลมแดด หรือ Heat Stroke คือ ภาวะวิกฤตของร่างกายจากความร้อน เกิดจากอุณหภูมิของร่างกายสูงจนแตะระดับ 40 องศาเซลเซียส
ส่งผลให้กลไกของระบบและอวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ จนไม่สามารถระบายความร้อนได้
โดยปกติร่างกายของมนุษย์จะมีการรักษาความสมดุลของอุณหภูมิระหว่างความร้อนจากร่างกายและสภาพแวดล้อม
โดยอุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงอยู่ระหว่าง 36 ถึง 37.5 องศาเซลเซียสตลอดทั้งวัน
ทั้งนี้การระบายเหงื่อถือเป็นกลไกสำคัญในการลดความร้อนที่มากเกินไป
โรคลมแดดเกิดจากความล้มเหลวในการรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ (thermoregulation)
ส่งผลให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการต่างๆ ซึ่งหากอาการรุนแรงอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
โรคลมแดดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1)
โรคลมแดดที่ไม่ได้เกิดจากการใช้กำลังกายหนัก โรคลมแดดประเภทนี้เกิดจากความร้อนในสิ่งแวดล้อมที่มากเกินไป
บ่อยในผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังซึ่งทำให้ไม่สามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนและการขาดน้ำได้โรคลมแดดประเภทนี้ยังสามารถเกิดขึ้นกับคนในทุกๆ วัย
โดยเกิดจากยารักษาโรคบางชนิด หรือ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
2) โรคลมแดดที่เกิดจากการใช้กำลังกายหนัก เช่น การออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป มักเกิดขึ้นกับคนอายุน้อย นักกีฬา
และทหารเกณฑ์ที่ฝึกหนักในอากาศร้อนจัดและสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง
อาการของโรคลมแดด ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงถึง 40 องศา ไม่มีเหงื่อออก รู้สึกกระหายน้ำมาก
หายใจถี่ ชีพจรเต้นแรง ปวดศีรษะ หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำ อ่อนเพลีย คลื่นไส ้อาเจียน
การปฐมพยาบาลโรคลมแดด (Heat Stroke)
เมื่อเราทราบแล้วว่าตนเองหรือคนรอบข้างมีอาการเข้าข่ายการเป็นโรคลมแดด หรือ Heat Stroke ให้รีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นทันที
โดยให้นำคนไข้เข้าไปอยู่ในที่ร่มและที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก ถอดเสื้อผ้าที่ไม่จำเป็นออกเพื่อให้ร่างกายระบายความร้อนได้มากที่สุด
รวมถึงดื่มน้ำเพื่อปรับอุณหภูมิของร่างกายจากภายในให้เย็นลง หลังจากนั้นต้องทำให้อุณหภูมิร่างกายเย็นลงโดยเร็ว
โดยการน้ำผ้าชุบน้ำเช็ดตามร่างกายและประคบตามข้อพับแขน ขา และจุดต่างๆ และใช้พัดลมเป่าเพื่อให้เกิดการระเหยและระบายความร้อยได้ดีขึ้น
หลังจากนั้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วนเพื่อรักษาในขั้น ต่อไป
การป้องกันโรคลมแดด (Heat Stroke)
ดื่มน้ำให้มากๆ ยิ่งในระหว่างกิจกรรมที่ต้องอยู่ท่ามกลางความร้อน ยิ่งควรดื่มน้ำให้มากกว่าปกติเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไป
หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดจัดๆ เป็นเวลานาน หรือหากจำเป็นต้องทำกิจกรรมนอกอาคารก็ควรสวมหมวก กางร่ม หรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อกันความร้อน
สำหรับใครที่ออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่ควรหักโหมจนเกินไป เมื่อรู้สึกเหนื่อยให้หยุดพักและดื่มน้ำเพื่อทดแทนเหงื่อที่สูญเสียไป
ในระหว่างวันหากรู้สึกร้อน ให้แก้โดยการอาบน้ำ เปิดแอร์ หรือพัดลม สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?v=OUKGjvk7T14
https://www.youtube.com/watch?v=Wh2k4d7OzNc
Heat Stroke โรคร้ายที่มาพร้อมภัยร้อน
หลายคนคงคุ้นหูกับโรคลมแดดมาแล้วบ้าง งั้นมาดูสาเหตุของโรคกันดีกว่าว่าเกิดจากอะไร
โรคลมแดด หรือ Heat Stroke คือ ภาวะวิกฤตของร่างกายจากความร้อน เกิดจากอุณหภูมิของร่างกายสูงจนแตะระดับ 40 องศาเซลเซียส
ส่งผลให้กลไกของระบบและอวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ จนไม่สามารถระบายความร้อนได้
โดยปกติร่างกายของมนุษย์จะมีการรักษาความสมดุลของอุณหภูมิระหว่างความร้อนจากร่างกายและสภาพแวดล้อม
โดยอุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงอยู่ระหว่าง 36 ถึง 37.5 องศาเซลเซียสตลอดทั้งวัน
ทั้งนี้การระบายเหงื่อถือเป็นกลไกสำคัญในการลดความร้อนที่มากเกินไป
โรคลมแดดเกิดจากความล้มเหลวในการรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ (thermoregulation)
ส่งผลให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการต่างๆ ซึ่งหากอาการรุนแรงอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
โรคลมแดดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1) โรคลมแดดที่ไม่ได้เกิดจากการใช้กำลังกายหนัก โรคลมแดดประเภทนี้เกิดจากความร้อนในสิ่งแวดล้อมที่มากเกินไป
บ่อยในผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังซึ่งทำให้ไม่สามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนและการขาดน้ำได้โรคลมแดดประเภทนี้ยังสามารถเกิดขึ้นกับคนในทุกๆ วัย
โดยเกิดจากยารักษาโรคบางชนิด หรือ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
2) โรคลมแดดที่เกิดจากการใช้กำลังกายหนัก เช่น การออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป มักเกิดขึ้นกับคนอายุน้อย นักกีฬา
และทหารเกณฑ์ที่ฝึกหนักในอากาศร้อนจัดและสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง
อาการของโรคลมแดด ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงถึง 40 องศา ไม่มีเหงื่อออก รู้สึกกระหายน้ำมาก
หายใจถี่ ชีพจรเต้นแรง ปวดศีรษะ หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำ อ่อนเพลีย คลื่นไส ้อาเจียน
การปฐมพยาบาลโรคลมแดด (Heat Stroke)
เมื่อเราทราบแล้วว่าตนเองหรือคนรอบข้างมีอาการเข้าข่ายการเป็นโรคลมแดด หรือ Heat Stroke ให้รีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นทันที
โดยให้นำคนไข้เข้าไปอยู่ในที่ร่มและที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก ถอดเสื้อผ้าที่ไม่จำเป็นออกเพื่อให้ร่างกายระบายความร้อนได้มากที่สุด
รวมถึงดื่มน้ำเพื่อปรับอุณหภูมิของร่างกายจากภายในให้เย็นลง หลังจากนั้นต้องทำให้อุณหภูมิร่างกายเย็นลงโดยเร็ว
โดยการน้ำผ้าชุบน้ำเช็ดตามร่างกายและประคบตามข้อพับแขน ขา และจุดต่างๆ และใช้พัดลมเป่าเพื่อให้เกิดการระเหยและระบายความร้อยได้ดีขึ้น
หลังจากนั้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วนเพื่อรักษาในขั้น ต่อไป
การป้องกันโรคลมแดด (Heat Stroke)
ดื่มน้ำให้มากๆ ยิ่งในระหว่างกิจกรรมที่ต้องอยู่ท่ามกลางความร้อน ยิ่งควรดื่มน้ำให้มากกว่าปกติเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไป
หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดจัดๆ เป็นเวลานาน หรือหากจำเป็นต้องทำกิจกรรมนอกอาคารก็ควรสวมหมวก กางร่ม หรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อกันความร้อน
สำหรับใครที่ออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่ควรหักโหมจนเกินไป เมื่อรู้สึกเหนื่อยให้หยุดพักและดื่มน้ำเพื่อทดแทนเหงื่อที่สูญเสียไป
ในระหว่างวันหากรู้สึกร้อน ให้แก้โดยการอาบน้ำ เปิดแอร์ หรือพัดลม สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?v=OUKGjvk7T14
https://www.youtube.com/watch?v=Wh2k4d7OzNc