กระทู้นี้จะมาแนะนำการเตรียมยาสำหรับพกติดตัวไปต่างประเทศ รวมถึงยาต้องห้ามที่ควรระวังค่ะ เผื่อเจ็บป่วยจะได้ดูแลตัวเองเบื้องต้น เพราะการจะไปหาหมอในรพ.ที่ต่างประเทศอาจไม่ค่อยสะดวกเท่าไร แถมค่ารักษาก็ไม่เบาเลย โดยจะขอแบ่งเป็น 3 Part ด้วยกันค่ะ
Part 1 เล่าถึงการเตรียมยาไปต่างประเทศ ลิสต์ด้านล่างนี้เป็นยาพื้นฐานที่เราพกไปด้วยตลอด ไม่ว่าจะไปประเทศไหน พวกยาทั่วไปอย่างยาสามัญประจำบ้าน มักไม่ค่อยมีปัญหาในการนำเข้าต่างประเทศหรอกค่ะ สามารถจดชื่อยาแล้วซื้อตามนี้ได้เลย ส่วนใหญ่ซื้อหาได้ง่ายๆ ตามร้านสะดวกซื้อ หรือจะจดโพยไปให้เภสัชกรที่ร้านขายยาดูก็จะสะดวกรวดเร็วทั้งคนซื้อและคนขาย
Part 2 ยารักษาโรคประจำตัว และ Part 3 ยาต้องห้ามที่ควรระวัง โดยส่วนนี้จะโฟกัสที่ญี่ปุ่นเป็นหลัก เพราะเป็นประเทศที่เราไปบ่อยสุด และเชื่อว่าเป็นประเทศที่คนไทยไปเยอะเช่นกัน หากเป็นฝั่งยุโรป เมกา อาจมีความแตกต่างจากนี้ก็ได้ ลองเช็คข้อมูลของประเทศที่ไปดูอีกทีนะคะ
*สำคัญมาก!!! ยาทุกอย่างที่นำไปต่างประเทศต้องอยู่ในแพ็คเกจ (แผง ซอง กล่อง) มีฉลากยา ระบุชื่อตัวยาเป็นภาษาอังกฤษชัดเจน เผื่อเจ้าหน้าที่ที่ปลายทางตรวจสอบของในกระเป๋าจะได้รู้ว่าเป็นยาอะไร ต้องห้ามหรือไม่ (อย่าแกะยาออกจากแผงแล้วเอาแต่เม็ดยาไปนะคะ)
Part 1 ยารักษาโรคทั่วไป
ยาพาราเซตามอล
ใช้แก้ปวด ลดไข้ แนะนำเป็นตัวยาพารา เพราะถ้าเป็นยาแก้ไข้ตัวอื่นหากใช้ไม่ถูกกับโรคอาจเป็นอันตรายได้ค่ะ ครอบครัวไหนมีเด็กเล็กไปด้วยก็อย่าลืมติดยาแก้ไข้สำหรับเด็กไปนะ
ยาแก้แพ้/แก้หวัด
แบ่งเป็นสองหมวดด้วยกันคือยาแบบง่วง เม็ดสีเหลือง (Chlorpheniramine) กับยาแบบไม่ง่วง (หรือง่วงน้อย) เม็ดสีขาว (Cetirizine, Loratadine) ถึงจะเป็นยาแก้แพ้แก้หวัดเหมือนกัน แต่การใช้งานมีความต่างกันอยู่เล็กน้อย หากเกิดอาการแพ้ต่างๆ เช่นแพ้อาหาร ผื่นลมพิษ เราใช้เม็ดสีเหลือง (ความรู้สึกส่วนตัวคือยาออกฤทธิ์เร็ว เห็นผลดี แต่ง่วงหนักมาก) ส่วนภูมิแพ้ แพ้อากาศ แบบเป็นหวัดนิดๆ หน่อยๆ เราจะใช้เม็ดสีขาว เพราะง่วงน้อยกว่า สรุปคือจะพกไปทั้งสองแบบเลยค่ะ แต่ถ้าไม่คิดอะไรมาก พกแค่อย่างใดอย่างหนึ่งก็โอเคแล้วล่ะ
ยาแก้ไอ
อันนี้ไม่มีตัวยาแนะนำเพราะปกติไปซื้อที่ร้านขายยา โดยบอกเภสัชกรว่าต้องการซื้อยาแก้ไอละลายเสมหะเพื่อนำไปต่างประเทศ แต่สำหรับใครที่ปกติแล้วสุขภาพแข็งแรง ไม่ค่อยป่วย อาจจะพกไปแค่ยาอม-ยาพ่นแก้เจ็บคอก็ได้ค่ะ
ผงเกลือแร่ ORS
ย้ำว่าต้องเป็นเกลือแร่ ORS สำหรับรักษาอาการท้องร่วงเท่านั้น ไม่ใช่เกลือแร่สำหรับคนเสียเหงื่อจากกีฬา บางคนอาจพก Carbon หรือยารักษาอาการท้องร่วงไปด้วย แต่โดยส่วนตัวเราเป็นคนธาตุหนักอยู่แล้ว ไม่ค่อยท้องเสียง่ายๆ บวกกับไม่ได้เดินทางไปประเทศที่ต้องกังวลเรื่องความสะอาดของอาหาร หลังๆ เลยพกแค่ผงเกลือแร่นี่แหละ หากท้องเสียให้รีบกินโดยเร็วที่สุดจะช่วยให้อาการไม่หนักมาก
ยาลดกรด หรืออีโน
สำหรับใครที่มีปัญหาลำไส้ทำงานไม่ค่อยดี มีกรดในกระเพาะอาหาร อาหารไม่ย่อย ถือเป็นของที่จำเป็นต้องมีเลยล่ะ อีกอย่างที่อาจจะเพิ่มไปสักหน่อยคือยาระบายค่ะ ตอนไปเที่ยวสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้ท้องผูกได้ง่าย แต่ถ้าระบบขับถ่ายไม่ค่อยมีปัญหา ก็ไม่ต้องเอาไป เน้นทานผักผลไม้โยเกิร์ตแทน
ยาคลายกล้ามเนื้อ / แผ่นแปะแก้ปวด / ยานวดหรือยาพ่นสเปรย์แก้ปวด
คนที่ไม่ได้เดินเก่ง ชีวิตปกติอยู่แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์แบบเรา ไปต่างประเทศทีคือเดินเยอะจนปวดเมื่อยไปหมด นี่คือไอเทมกู้ชีพเลยล่ะ
ยาแก้เมา
เผื่อไว้สำหรับเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน มีติดกระเป๋าไว้อุ่นใจ ซื้อทีก็มีอายุอยู่ได้นานหลายปี หากไม่ได้ใช้เก็บไว้ไปทริปอื่นได้
พลาสเตอร์ สำหรับแปะแผล
เอาไว้ทั้งในกระเป๋าเดินทาง และพกติดตัวประจำวัน เผื่อสำหรับใช้ฉุกเฉิน นอกจากใช้เวลามีแผลแล้ว ก็ยังเอาไว้ติดเท้าเวลารองเท้ากัดได้ด้วยค่ะ
Part 2 ยารักษาโรคประจำตัว
หากเป็นยาสำคัญแบบที่ขาดยาไม่ได้ ควรพกติดตัวขึ้นเครื่อง และเก็บรักษาให้ดี เพราะถ้าเกิดการสูญหาย เช่นกระเป๋าเดินทางที่โหลดใต้เครื่องหาย ยาบางชนิดจะไม่สามารถซื้อที่ร้านยาทั่วไป ต้องไปรพ.ให้แพทย์สั่งยาให้เท่านั้นค่ะ
ใครที่มีโรคประจำตัว เสี่ยงเจ็บป่วย แนะนำว่าขอให้คุณหมอเขียนใบรับรองแพทย์ภาษาอังกฤษ เพื่อพกไปต่างประเทศด้วย โดยระบุโรคที่เป็นอยู่ ชื่อยาที่ใช้ ปริมาณยาที่ทานในแต่ละวัน แบบนี้ก็จะเพลย์เซฟ ทั้งตอนนำยาเข้าต่างประเทศ และหากบังเอิญเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาลก็จะสะดวกขึ้น
สำหรับประเทศญี่ปุ่น หากเป็นโรคทั่วไป พวกยาความดัน เบาหวาน ไขมัน ไทรอยด์ สามารถพกไปได้ตามปกติ แต่ปริมาณยาก็ควรจะสอดคล้องกับวันที่เดินทาง เผื่อเหลือเผื่อขาดนิดหน่อย ไม่มากจนดูผิดปกติ
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท อย่างยารักษาโรคซึมเศร้า คลายเครียด วิตกกังวล แพนิค Fluoxetine, Diazepam, Alprazolam สามารถนำเข้าญี่ปุ่นได้ ในปริมาณที่เหมาะสม โดยพกไปตามจำนวนวัน+ติดใบรับรองแพทย์ไปด้วยสักหน่อย
รายชื่อยาและปริมาณยาประเภท Psychotropics ที่สามารถนำเข้าญี่ปุ่นได้ เท่าที่ดูคร่าวๆ แล้ว สำหรับนักท่องเที่ยวระยะสั้น ยังไงก็ไม่น่าจะเกิน ยกเว้นคนที่จะเข้าไปอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นหลายเดือน ปริมาณยาเยอะ อันนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งค่ะ
https://www.ncd.mhlw.go.jp/dl_data/keitai/total.pdf
*สำหรับประเทศอื่นๆ แต่ละประเทศก็มีนโยบายที่แตกต่างกัน มีความเข้มงวดต่อยาแต่ละตัวไม่เหมือนกัน ลองเช็คข้อมูลดูอีกทีนะ
(โดยเฉพาะยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท อย่างเช่นยารักษาโรคซึมเศร้า ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ)
Part 3 ยาต้องห้าม
แต่ละประเทศมีตัวยาต้องห้ามที่ต่างกัน ส่วนนี้ขอยกตัวอย่างกรณียาห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่น...
โดยสรุปแล้วที่ต้องระวังจริงๆ คือตัวยา Pseudoephedrine ที่เป็นยาแก้หวัด คัดจมูก ไซนัสอักเสบ ฯลฯ เนื่องจากนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาบ้าได้ ในไทยก็จำกัดการใช้งานเฉพาะในสถานพยาบาลเท่านั้น ตัวยา Pseudoephedrine มีทั้งชนิดที่เป็นยาเดี่ยว และชนิดที่ผสมกับยาอื่น เช่น ยาแก้แพ้ ยาแก้ไอ ยาแก้ปวด
Pseudoephedrine คือชื่อตัวยา แล้วเค้าก็มีชื่อทางการค้ามากมายเกินจะจำไหว ชาวบ้านทั่วไปแบบเราๆ อาจไม่รู้ว่ายาที่ใช้อยู่นั้นผสม Pseudoephedrine หรือไม่ อย่างบางคนป่วยไปหาหมอ ได้ยามาทานแล้วเหลือๆ ก็คิดว่ายานี้ดีเอาติดไปตอนเที่ยวด้วย โดยไม่รู้ว่ายานั้นอาจเป็น Pseudoephedrine ก็ได้ อันนี้ต้องระวังมากๆ เลยค่ะ
ยาที่เข้าข่ายเป็นสิ่งเสพติด และสารตั้งต้นยาเสพติด เช่น Codeine, Morphine, Pseudoephedrine กรณีมีความจำเป็นต้องใช้จะต้องทำเรื่องส่งคำร้องขอนำยาเข้าประเทศล่วงหน้า เมื่อได้รับใบรับรองแล้วจึงนำยาเข้าญี่ปุ่น ไม่สามารถใช้แค่ใบรับรองแพทย์+Declare ได้ค่ะ (รายละเอียดตรงนี้จะค่อนข้างลึกเกินไปแล้ว เอาเป็นว่าหากจำเป็นจริงๆ ก็ลองศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมดูอีกทีแล้วกันนะ)
การนำยาเข้าประเทศญี่ปุ่น (หากไม่คล่องภาษาอังกฤษ ใช้ Google translate ช่วยแปลดู)
https://en.japantravel.com/guide/bringing-medicines-into-japan/58063
รายชื่อยาควบคุมในญี่ปุ่น
https://www.ncd.mhlw.go.jp/dl_data/keitai/list.pdf
*disclaimer เราไม่ได้ทำงานในสายงานด้านสุขภาพ ไม่ใช่หมอหรือเภสัช เป็นแค่คนที่พยายามหาข้อมูลด้วยความอยากรู้ของตัวเอง แล้วก็เลยเอามาแชร์ให้กับคนอื่นๆ หากผิดพลาดตรงไหนต้องขออภัยล่วงหน้าด้วยค่ะ
สุดท้ายแล้ว…สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการท่องเที่ยวจนจบทริปอย่างไม่เจ็บป่วยนั่นแหละนะ
อย่าเที่ยวเพลินจนลืมดูแลสุขภาพนะคะ Safe trip kaaa.
📍 Follow me:
[โตแล้วจะเที่ยวยังไงก็ได้]
https://www.facebook.com/woman.can.go.anywhere/
[CR] แนะนำการเตรียมยาไปเที่ยวต่างประเทศ + ยาต้องห้ามที่ควรระวัง
Part 1 เล่าถึงการเตรียมยาไปต่างประเทศ ลิสต์ด้านล่างนี้เป็นยาพื้นฐานที่เราพกไปด้วยตลอด ไม่ว่าจะไปประเทศไหน พวกยาทั่วไปอย่างยาสามัญประจำบ้าน มักไม่ค่อยมีปัญหาในการนำเข้าต่างประเทศหรอกค่ะ สามารถจดชื่อยาแล้วซื้อตามนี้ได้เลย ส่วนใหญ่ซื้อหาได้ง่ายๆ ตามร้านสะดวกซื้อ หรือจะจดโพยไปให้เภสัชกรที่ร้านขายยาดูก็จะสะดวกรวดเร็วทั้งคนซื้อและคนขาย
Part 2 ยารักษาโรคประจำตัว และ Part 3 ยาต้องห้ามที่ควรระวัง โดยส่วนนี้จะโฟกัสที่ญี่ปุ่นเป็นหลัก เพราะเป็นประเทศที่เราไปบ่อยสุด และเชื่อว่าเป็นประเทศที่คนไทยไปเยอะเช่นกัน หากเป็นฝั่งยุโรป เมกา อาจมีความแตกต่างจากนี้ก็ได้ ลองเช็คข้อมูลของประเทศที่ไปดูอีกทีนะคะ
*สำคัญมาก!!! ยาทุกอย่างที่นำไปต่างประเทศต้องอยู่ในแพ็คเกจ (แผง ซอง กล่อง) มีฉลากยา ระบุชื่อตัวยาเป็นภาษาอังกฤษชัดเจน เผื่อเจ้าหน้าที่ที่ปลายทางตรวจสอบของในกระเป๋าจะได้รู้ว่าเป็นยาอะไร ต้องห้ามหรือไม่ (อย่าแกะยาออกจากแผงแล้วเอาแต่เม็ดยาไปนะคะ)
แบ่งเป็นสองหมวดด้วยกันคือยาแบบง่วง เม็ดสีเหลือง (Chlorpheniramine) กับยาแบบไม่ง่วง (หรือง่วงน้อย) เม็ดสีขาว (Cetirizine, Loratadine) ถึงจะเป็นยาแก้แพ้แก้หวัดเหมือนกัน แต่การใช้งานมีความต่างกันอยู่เล็กน้อย หากเกิดอาการแพ้ต่างๆ เช่นแพ้อาหาร ผื่นลมพิษ เราใช้เม็ดสีเหลือง (ความรู้สึกส่วนตัวคือยาออกฤทธิ์เร็ว เห็นผลดี แต่ง่วงหนักมาก) ส่วนภูมิแพ้ แพ้อากาศ แบบเป็นหวัดนิดๆ หน่อยๆ เราจะใช้เม็ดสีขาว เพราะง่วงน้อยกว่า สรุปคือจะพกไปทั้งสองแบบเลยค่ะ แต่ถ้าไม่คิดอะไรมาก พกแค่อย่างใดอย่างหนึ่งก็โอเคแล้วล่ะ
ยาแก้ไอ
อันนี้ไม่มีตัวยาแนะนำเพราะปกติไปซื้อที่ร้านขายยา โดยบอกเภสัชกรว่าต้องการซื้อยาแก้ไอละลายเสมหะเพื่อนำไปต่างประเทศ แต่สำหรับใครที่ปกติแล้วสุขภาพแข็งแรง ไม่ค่อยป่วย อาจจะพกไปแค่ยาอม-ยาพ่นแก้เจ็บคอก็ได้ค่ะ
ผงเกลือแร่ ORS
ย้ำว่าต้องเป็นเกลือแร่ ORS สำหรับรักษาอาการท้องร่วงเท่านั้น ไม่ใช่เกลือแร่สำหรับคนเสียเหงื่อจากกีฬา บางคนอาจพก Carbon หรือยารักษาอาการท้องร่วงไปด้วย แต่โดยส่วนตัวเราเป็นคนธาตุหนักอยู่แล้ว ไม่ค่อยท้องเสียง่ายๆ บวกกับไม่ได้เดินทางไปประเทศที่ต้องกังวลเรื่องความสะอาดของอาหาร หลังๆ เลยพกแค่ผงเกลือแร่นี่แหละ หากท้องเสียให้รีบกินโดยเร็วที่สุดจะช่วยให้อาการไม่หนักมาก
ยาลดกรด หรืออีโน
สำหรับใครที่มีปัญหาลำไส้ทำงานไม่ค่อยดี มีกรดในกระเพาะอาหาร อาหารไม่ย่อย ถือเป็นของที่จำเป็นต้องมีเลยล่ะ อีกอย่างที่อาจจะเพิ่มไปสักหน่อยคือยาระบายค่ะ ตอนไปเที่ยวสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้ท้องผูกได้ง่าย แต่ถ้าระบบขับถ่ายไม่ค่อยมีปัญหา ก็ไม่ต้องเอาไป เน้นทานผักผลไม้โยเกิร์ตแทน
ยาคลายกล้ามเนื้อ / แผ่นแปะแก้ปวด / ยานวดหรือยาพ่นสเปรย์แก้ปวด
คนที่ไม่ได้เดินเก่ง ชีวิตปกติอยู่แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์แบบเรา ไปต่างประเทศทีคือเดินเยอะจนปวดเมื่อยไปหมด นี่คือไอเทมกู้ชีพเลยล่ะ
ยาแก้เมา
เผื่อไว้สำหรับเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน มีติดกระเป๋าไว้อุ่นใจ ซื้อทีก็มีอายุอยู่ได้นานหลายปี หากไม่ได้ใช้เก็บไว้ไปทริปอื่นได้
พลาสเตอร์ สำหรับแปะแผล
เอาไว้ทั้งในกระเป๋าเดินทาง และพกติดตัวประจำวัน เผื่อสำหรับใช้ฉุกเฉิน นอกจากใช้เวลามีแผลแล้ว ก็ยังเอาไว้ติดเท้าเวลารองเท้ากัดได้ด้วยค่ะ
ใครที่มีโรคประจำตัว เสี่ยงเจ็บป่วย แนะนำว่าขอให้คุณหมอเขียนใบรับรองแพทย์ภาษาอังกฤษ เพื่อพกไปต่างประเทศด้วย โดยระบุโรคที่เป็นอยู่ ชื่อยาที่ใช้ ปริมาณยาที่ทานในแต่ละวัน แบบนี้ก็จะเพลย์เซฟ ทั้งตอนนำยาเข้าต่างประเทศ และหากบังเอิญเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาลก็จะสะดวกขึ้น
สำหรับประเทศญี่ปุ่น หากเป็นโรคทั่วไป พวกยาความดัน เบาหวาน ไขมัน ไทรอยด์ สามารถพกไปได้ตามปกติ แต่ปริมาณยาก็ควรจะสอดคล้องกับวันที่เดินทาง เผื่อเหลือเผื่อขาดนิดหน่อย ไม่มากจนดูผิดปกติ
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท อย่างยารักษาโรคซึมเศร้า คลายเครียด วิตกกังวล แพนิค Fluoxetine, Diazepam, Alprazolam สามารถนำเข้าญี่ปุ่นได้ ในปริมาณที่เหมาะสม โดยพกไปตามจำนวนวัน+ติดใบรับรองแพทย์ไปด้วยสักหน่อย
รายชื่อยาและปริมาณยาประเภท Psychotropics ที่สามารถนำเข้าญี่ปุ่นได้ เท่าที่ดูคร่าวๆ แล้ว สำหรับนักท่องเที่ยวระยะสั้น ยังไงก็ไม่น่าจะเกิน ยกเว้นคนที่จะเข้าไปอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นหลายเดือน ปริมาณยาเยอะ อันนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งค่ะ
https://www.ncd.mhlw.go.jp/dl_data/keitai/total.pdf
*สำหรับประเทศอื่นๆ แต่ละประเทศก็มีนโยบายที่แตกต่างกัน มีความเข้มงวดต่อยาแต่ละตัวไม่เหมือนกัน ลองเช็คข้อมูลดูอีกทีนะ
(โดยเฉพาะยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท อย่างเช่นยารักษาโรคซึมเศร้า ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ)
โดยสรุปแล้วที่ต้องระวังจริงๆ คือตัวยา Pseudoephedrine ที่เป็นยาแก้หวัด คัดจมูก ไซนัสอักเสบ ฯลฯ เนื่องจากนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาบ้าได้ ในไทยก็จำกัดการใช้งานเฉพาะในสถานพยาบาลเท่านั้น ตัวยา Pseudoephedrine มีทั้งชนิดที่เป็นยาเดี่ยว และชนิดที่ผสมกับยาอื่น เช่น ยาแก้แพ้ ยาแก้ไอ ยาแก้ปวด
Pseudoephedrine คือชื่อตัวยา แล้วเค้าก็มีชื่อทางการค้ามากมายเกินจะจำไหว ชาวบ้านทั่วไปแบบเราๆ อาจไม่รู้ว่ายาที่ใช้อยู่นั้นผสม Pseudoephedrine หรือไม่ อย่างบางคนป่วยไปหาหมอ ได้ยามาทานแล้วเหลือๆ ก็คิดว่ายานี้ดีเอาติดไปตอนเที่ยวด้วย โดยไม่รู้ว่ายานั้นอาจเป็น Pseudoephedrine ก็ได้ อันนี้ต้องระวังมากๆ เลยค่ะ
ยาที่เข้าข่ายเป็นสิ่งเสพติด และสารตั้งต้นยาเสพติด เช่น Codeine, Morphine, Pseudoephedrine กรณีมีความจำเป็นต้องใช้จะต้องทำเรื่องส่งคำร้องขอนำยาเข้าประเทศล่วงหน้า เมื่อได้รับใบรับรองแล้วจึงนำยาเข้าญี่ปุ่น ไม่สามารถใช้แค่ใบรับรองแพทย์+Declare ได้ค่ะ (รายละเอียดตรงนี้จะค่อนข้างลึกเกินไปแล้ว เอาเป็นว่าหากจำเป็นจริงๆ ก็ลองศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมดูอีกทีแล้วกันนะ)
การนำยาเข้าประเทศญี่ปุ่น (หากไม่คล่องภาษาอังกฤษ ใช้ Google translate ช่วยแปลดู)
https://en.japantravel.com/guide/bringing-medicines-into-japan/58063
รายชื่อยาควบคุมในญี่ปุ่น
https://www.ncd.mhlw.go.jp/dl_data/keitai/list.pdf
*disclaimer เราไม่ได้ทำงานในสายงานด้านสุขภาพ ไม่ใช่หมอหรือเภสัช เป็นแค่คนที่พยายามหาข้อมูลด้วยความอยากรู้ของตัวเอง แล้วก็เลยเอามาแชร์ให้กับคนอื่นๆ หากผิดพลาดตรงไหนต้องขออภัยล่วงหน้าด้วยค่ะ
สุดท้ายแล้ว…สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการท่องเที่ยวจนจบทริปอย่างไม่เจ็บป่วยนั่นแหละนะ
อย่าเที่ยวเพลินจนลืมดูแลสุขภาพนะคะ Safe trip kaaa.
📍 Follow me:
[โตแล้วจะเที่ยวยังไงก็ได้]
https://www.facebook.com/woman.can.go.anywhere/
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้