การเดินจงกรม โดยเอาจิตจดจ่อ (เพ่ง,พิจารณา) อยู่ที่ฐานเดิม, ตรงเดิม เหมือนกับตอนที่เรานั่งสมาธิ..ทำได้จริงเหรอ?

เท่าที่ลองทำ, ลองฝึกเดินจงกรม...ถ้าเอาจิตไปจดจ่ออยู่ที่เท้า (จะบริกรรมพุทโธ ตามจังหวะก้าวย่าง ขวา-พุท ซ้าย-โธ หรือไม่ต้องบริกรรมอะไรก็ได้--แค่รู้สึกทั่วพร้อมที่เท้าที่กำลังย่างเดิน)...แบบนี้จะทำได้ง่าย

-- แต่ก็เคยได้ยิน พระและครูบาอาจารย์บางท่าน บางสำนัก สอนว่า...ถ้าตอนเรานั่งสมาธิ เอาจิตจ่อที่ปลายจมูก หายใจเข้า-พุท หายใจออก-โธ...ตอนเดินจงกรม ก็เอาจิตไว้ที่ฐานเดิม (เหมือนตอนฝึกนั่ง) คือ จดจ่ออยู่ที่ปลายจมูก บริกรรม พุท-โธ ๆ ๆ ไปเหมือนเดิม

...คนที่ฝึกนั่ง เอาจิตไว้ฐานอุณาโลม หว่างคิ้ว, ตอนเดิน ก็เอาจิตไว้ที่อุณาโลม เหมือนเดิม

...หรือคนที่ฝึกนั่ง เอาจิตไว้ฐานสะดือ ฐานหัวใจ หรือตรงไหน, ตอนเดินจงกรม ก็เอาไว้ฐานเดิมของเรา

...หรือคนที่นั่งบริกรรม พุท-โธ แบบไม่ตามจังหวะลมเข้า-ออก, ตอนเดิน ก็บริกรรม พุท-โธ แบบไม่ตามลมหายใจเข้า-ออก

**คำถาม...การเดินจงกรม โดยไม่ส่งจิตออกนอก และไดยไม่เอาจิต/สติไปจดจ่อพิจารณาอยู่ที่ฐานเท้า (แต่ให้จิตคงอยู่ที่ปลายจมูก หรืออุณาโลม หรือสะดือ หรือหัวใจ หรืออยู่ที่คำบริกรรม)...ทำได้จริงหรือ?...ทำแบบนี้แล้วไม่เดินสะดุดเหรอ? จิต/สติจะรู้ว่าสุดทางเดิน รู้ว่าต้องเลี้ยวหันกลับเหรอ? จิตไม่วิตกกังวลต่อทางเดินข้างหน้า ว่าจะเจอ, สะดุดอะไรบ้างเหรอ?

เพราะผู้ถาม ลองทำวิธีอื่นแล้ว ไม่นิ่ง, ต้องเอาจิตกลับไปที่ฐานเท้าก้าวซ้าย-ขวา หรือตรงทางเดินเบื้องหน้าทุกที!?

(ตอนนั่ง ผู้ถามจะเอาจิต/สติไว้ที่ปลายจมูก...และบริกรรม หายใจเข้า-พุท หายใจออก-โธ  ในช่วงระยะแรกเริ่ม...พอระยะเวลาผ่านนานไป จึงจะเลิกตามลม และบริการรม พุท-โธ ๆ ๆ ๆ อย่างเดียว โดยไม่สนใจตามจังหวะลมหายใจเข้าออก)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่