วุ้นเส้น🍜🫕 เป็นโปรตีนหรือแป้ง
วุ้นเส้น (cellophane noodle) ทำมาจากถั่วเขียวซึ่งเป็นถั่วที่มีโปรตีนสูง แต่ในกระบวนการผลิต จะเอาถั่วเขียวมาโม่จนเป็นผง ทิ้งให้ตกตะกอนในสารละลาย กระบวนการนี้จะแยกแป้งออกจากโปรตีน ส่วนที่เป็นแป้ง เอามาทำวุ้นเส้น จึงแทบไม่มีโปรตีนเลย
แต่เดิมจะนิยมเอาให้คนไข้โรคไตเรื้อรังที่ต้องจำกัดปริมาณโปรตีนกิน เพราะหากเทียบกับเส้นด้วยกัน วุ้นเส้นมีโปรตีนน้อยที่สุด
ส่วนที่ตกตะกอนเป็นโปรตีนเอาไปทำอาหารสัตว์ ดังนั้นวุ้นเส้นคือแป้ง ไม่ใช่โปรตีน
ทำไมจึงนิยมกินวุ้นเส้นเพื่อการลดน้ำหนัก
เนื่องจากวุ้นเส้น น้ำหนัก 100 กรัมให้แคลอรี่ 80 แคลอรี่ ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก 220 แคลอรี่ เส้นใหญ่ 160 แคลอรี่
แต่หากต้องการลดคาร์โบไฮเดรต ก็ควรลดเส้นทุกชนิดรวมถึงวุ้นเส้นด้วย
ถึงแม้ว่าวุ้นเส้นจะเป็นคาร์โบไฮเดรต ที่ให้พลังงานต่ำกว่าเส้นประเภทอื่นๆ แต่ก็ยังต้องควบคุมปริมาณในการบริโภคเช่นกัน
วุ้นเส้นเป็นอาหารที่แพร่หลายเข้ามาในเมืองไทย โดยชนชาติจีนเป็นผู้นำเข้ามา
และปัจจุบันนิยมใช้วุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูป เพราะเก็บได้นาน
กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีการกำหนดมาตรฐานการผลิตและให้ความหมายของวุ้นเส้นไว้ว่า หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งถั่วเขียวอย่างเดียว หรือแป้งถั่วเขียวผสมกับแป้งบริโภคอื่น ๆ นำมาทำเป็นเส้นให้สุกแล้วทำให้แห้ง
การผลิตวุ้นเส้นเมื่อได้แป้งออกมาและทำให้เป็นเส้น จะมีการใช้ไอกำมะถันเช่น แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โซเดียมหรือโปแตสเซียมซัลไฟต์ (เป็นสารกันเสียและทำให้วุ้นเส้นมีสีขาว)
วุ้นเส้นที่มีความชื้นสูงจะดูดซับเอาไอกำมะถันไว้ได้มากกว่าวุ้นเส้นที่มีความชื้นต่ำ ถ้ากินวุ้นเส้นที่มีกำมะถันไปนาน ๆ จะเป็นโรคกระเพาะอาหาร ปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อ ประสิทธิภาพการย่อยอาหารจะลดลง
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มีกำหนดมาตรฐานไว้ว่า ในวุ้นเส้นมีซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไม่เกิน 45 มิลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนวุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูป มีซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
และจากการเก็บตัวอย่างในท้องตลาดพบว่าวุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูปมีซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างอยู่เกินกำหนดมาตรฐานค่อนข้างมาก
จึงมีข้อแนะนำว่าก่อนกิน ควรนำวุ้นเส้นไปแช่น้ำ 15 นาที ต้มให้เดือดเป็นเวลา 3 นาที ก็จะลดปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้ค่อนข้างมาก และควรเลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่มีมาตรฐาน
และสิ่งที่สำคัญคือการกินอาหารที่หลากหลาย หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่กินซ้ำๆ เป็นการช่วยให้ร่างกายมีเวลากำจัดของเสียตกค้างจากอาหารที่เรากินได้มากขึ้น
วุ้นเส้น🍜🫕 เป็นโปรตีนหรือแป้ง
วุ้นเส้น (cellophane noodle) ทำมาจากถั่วเขียวซึ่งเป็นถั่วที่มีโปรตีนสูง แต่ในกระบวนการผลิต จะเอาถั่วเขียวมาโม่จนเป็นผง ทิ้งให้ตกตะกอนในสารละลาย กระบวนการนี้จะแยกแป้งออกจากโปรตีน ส่วนที่เป็นแป้ง เอามาทำวุ้นเส้น จึงแทบไม่มีโปรตีนเลย
แต่เดิมจะนิยมเอาให้คนไข้โรคไตเรื้อรังที่ต้องจำกัดปริมาณโปรตีนกิน เพราะหากเทียบกับเส้นด้วยกัน วุ้นเส้นมีโปรตีนน้อยที่สุด
ส่วนที่ตกตะกอนเป็นโปรตีนเอาไปทำอาหารสัตว์ ดังนั้นวุ้นเส้นคือแป้ง ไม่ใช่โปรตีน
ทำไมจึงนิยมกินวุ้นเส้นเพื่อการลดน้ำหนัก
เนื่องจากวุ้นเส้น น้ำหนัก 100 กรัมให้แคลอรี่ 80 แคลอรี่ ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก 220 แคลอรี่ เส้นใหญ่ 160 แคลอรี่
แต่หากต้องการลดคาร์โบไฮเดรต ก็ควรลดเส้นทุกชนิดรวมถึงวุ้นเส้นด้วย
ถึงแม้ว่าวุ้นเส้นจะเป็นคาร์โบไฮเดรต ที่ให้พลังงานต่ำกว่าเส้นประเภทอื่นๆ แต่ก็ยังต้องควบคุมปริมาณในการบริโภคเช่นกัน
วุ้นเส้นเป็นอาหารที่แพร่หลายเข้ามาในเมืองไทย โดยชนชาติจีนเป็นผู้นำเข้ามา
และปัจจุบันนิยมใช้วุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูป เพราะเก็บได้นาน
กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีการกำหนดมาตรฐานการผลิตและให้ความหมายของวุ้นเส้นไว้ว่า หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งถั่วเขียวอย่างเดียว หรือแป้งถั่วเขียวผสมกับแป้งบริโภคอื่น ๆ นำมาทำเป็นเส้นให้สุกแล้วทำให้แห้ง
การผลิตวุ้นเส้นเมื่อได้แป้งออกมาและทำให้เป็นเส้น จะมีการใช้ไอกำมะถันเช่น แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โซเดียมหรือโปแตสเซียมซัลไฟต์ (เป็นสารกันเสียและทำให้วุ้นเส้นมีสีขาว)
วุ้นเส้นที่มีความชื้นสูงจะดูดซับเอาไอกำมะถันไว้ได้มากกว่าวุ้นเส้นที่มีความชื้นต่ำ ถ้ากินวุ้นเส้นที่มีกำมะถันไปนาน ๆ จะเป็นโรคกระเพาะอาหาร ปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อ ประสิทธิภาพการย่อยอาหารจะลดลง
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มีกำหนดมาตรฐานไว้ว่า ในวุ้นเส้นมีซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไม่เกิน 45 มิลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนวุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูป มีซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
และจากการเก็บตัวอย่างในท้องตลาดพบว่าวุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูปมีซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างอยู่เกินกำหนดมาตรฐานค่อนข้างมาก
จึงมีข้อแนะนำว่าก่อนกิน ควรนำวุ้นเส้นไปแช่น้ำ 15 นาที ต้มให้เดือดเป็นเวลา 3 นาที ก็จะลดปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้ค่อนข้างมาก และควรเลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่มีมาตรฐาน
และสิ่งที่สำคัญคือการกินอาหารที่หลากหลาย หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่กินซ้ำๆ เป็นการช่วยให้ร่างกายมีเวลากำจัดของเสียตกค้างจากอาหารที่เรากินได้มากขึ้น