รองโฆษกรัฐบาล ชี้แจงการค้นพบทรัพยากรแร่ที่มีศักยภาพที่รวมถึงลิเธียม ปริมาณ 14.8 ล้านตัน หลัง กพร. เปิดรายละเอียดข้อมูล ผลการสำรวจพร้อมยืนยันการส่งเสริมนโยบาย EV ต่อเนื่อง เพื่อผลักดันไทยเป็นฮับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค
นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากกรณีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการค้นพบทรัพยากรแร่ ซึ่งรวมถึงแร่ลิเธียมที่ ณ ขณะนี้เป็นสนใจเป็นอย่างกว้างขวางของสังคมนั้น ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2567 กพร. ได้แจงข้อมูลชุดใหม่ เพื่อขยายความในรายละเอียดที่คลาดเคลื่อนบางประการ และช่วยสร้างความเข้าใจให้พี่น้องประชาชนเกี่ยวกับผลการสำรวจแหล่งลิเธียมในประเทศไทยนั้น ได้พบแร่เป็นจำนวนมากในพื้นที่อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ซึ่งมีแหล่งลิเธียมที่มีศักยภาพอยู่ 2 แหล่งด้วยกัน คือ แหล่งเรืองเกียรติ และแหล่งบางอีตุ้ม
ทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุด พบว่า ในแหล่งบางอีตุ้มนั้น ขณะนี้ในขั้นตอนการดำเนินงานยังอยู่ระหว่างการสำรวจขั้นรายละเอียด เพื่อประเมินปริมาณสำรองอยู่ ในขณะที่แหล่งเรืองเกียรตินั้น ได้มีการประเมินแล้วว่ามีปริมาณทางธรณีของทรัพยากรแร่ (Mineral Resource) ประมาณ 14.8 ล้านตัน ซึ่งแร่ที่พบนั้นเป็นแร่เลพิโดไลต์ (Lepidolite) ที่มีความสมบูรณ์ของลิเธียมออกไซด์เฉลี่ย 0.45% ซึ่งหากมีการอนุญาตทำเหมืองและมีการออกแบบแผนผังอย่างเหมาะสม คาดว่า ในอนาคต จะสามารถนำลิเธียมมาพัฒนาเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าขนาด 50 kWh ได้ไม่ต่ำกว่า 1,000,000 คัน
อย่างไรก็ตาม ในการนำเสนอข้อมูลก่อนหน้านี้ โดยเปรียบเทียบกับปริมาณสำรองของต่างประเทศนั้น มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อแสดงถึงข่าวดีของประเทศไทย กับการมีแหล่งวัตถุดิบสำคัญที่สามารถช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ และยังแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะมีปริมาณแร่ลิเธียม เป็นอันดับต้นๆ ของโลก นอกจากนี้ กพร. ยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า คำว่า “ทรัพยากรแร่” หรือ Mineral Resource นั้นหมายถึงปริมาณทางธรณีของทรัพยากรแร่ ซึ่งไม่ได้หมายถึงปริมาณทรัพยากรโลหะลิเธียมแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการค้นพบ “แร่ดิบ” ที่มีความเป็นไปได้ที่จะมีแร่สำคัญคือ “แร่ลิเธียม” อยู่ในนั้นด้วย
“ข้อมูลของ กพร. ที่ระบุว่า ไทยสำรวจทรัพยากรแร่ หรือ Mineral Resource กว่า 14.8 ล้านตัน ถือว่าเป็นข่าวดีสำหรับคนไทยทุกคน เพราะไม่ว่าในปริมาณแร่ดังกล่าวจะมีแร่ลิเธียมอยู่เท่าไหร่ การมีทรัพยากรแร่ที่สำคัญในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นแร่ลิเธียม แร่โซเดียม หรือแร่โปรแตส ล้วนมีส่วนสำคัญให้การสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ เพราะเป็นการช่วยลดการนำเข้าและเพิ่มการพึ่งพิงตนเองให้กับคนไทย กระทรวงอุตสาหกรรมยังคงพร้อมให้การสนับสนุนและรัดกุมกระบวนการนำแร่ขึ้นมาใช้ประโยชน์ และรัฐบาลเองก็ยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าตามนโยบาย EV 3.5 ที่จะผลักดันไทยเป็นฮับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค และเป็นฐานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเพื่อเติมเต็มความต้องการของอุตสาหกรรมดังกล่าวที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอีกด้วย” นางรัดเกล้า กล่าว
$€£¥ “รัดเกล้า” แจงไทยพบแร่ลิเธียม "มีเท่าไหร่ถือเป็นข่าวดี" มั่นใจผลิตแบตฯ EV ได้กว่า 1 ล้านคัน เดินหน้าดันไทยเป็นฮับ
นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากกรณีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการค้นพบทรัพยากรแร่ ซึ่งรวมถึงแร่ลิเธียมที่ ณ ขณะนี้เป็นสนใจเป็นอย่างกว้างขวางของสังคมนั้น ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2567 กพร. ได้แจงข้อมูลชุดใหม่ เพื่อขยายความในรายละเอียดที่คลาดเคลื่อนบางประการ และช่วยสร้างความเข้าใจให้พี่น้องประชาชนเกี่ยวกับผลการสำรวจแหล่งลิเธียมในประเทศไทยนั้น ได้พบแร่เป็นจำนวนมากในพื้นที่อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ซึ่งมีแหล่งลิเธียมที่มีศักยภาพอยู่ 2 แหล่งด้วยกัน คือ แหล่งเรืองเกียรติ และแหล่งบางอีตุ้ม
ทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุด พบว่า ในแหล่งบางอีตุ้มนั้น ขณะนี้ในขั้นตอนการดำเนินงานยังอยู่ระหว่างการสำรวจขั้นรายละเอียด เพื่อประเมินปริมาณสำรองอยู่ ในขณะที่แหล่งเรืองเกียรตินั้น ได้มีการประเมินแล้วว่ามีปริมาณทางธรณีของทรัพยากรแร่ (Mineral Resource) ประมาณ 14.8 ล้านตัน ซึ่งแร่ที่พบนั้นเป็นแร่เลพิโดไลต์ (Lepidolite) ที่มีความสมบูรณ์ของลิเธียมออกไซด์เฉลี่ย 0.45% ซึ่งหากมีการอนุญาตทำเหมืองและมีการออกแบบแผนผังอย่างเหมาะสม คาดว่า ในอนาคต จะสามารถนำลิเธียมมาพัฒนาเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าขนาด 50 kWh ได้ไม่ต่ำกว่า 1,000,000 คัน
อย่างไรก็ตาม ในการนำเสนอข้อมูลก่อนหน้านี้ โดยเปรียบเทียบกับปริมาณสำรองของต่างประเทศนั้น มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อแสดงถึงข่าวดีของประเทศไทย กับการมีแหล่งวัตถุดิบสำคัญที่สามารถช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ และยังแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะมีปริมาณแร่ลิเธียม เป็นอันดับต้นๆ ของโลก นอกจากนี้ กพร. ยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า คำว่า “ทรัพยากรแร่” หรือ Mineral Resource นั้นหมายถึงปริมาณทางธรณีของทรัพยากรแร่ ซึ่งไม่ได้หมายถึงปริมาณทรัพยากรโลหะลิเธียมแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการค้นพบ “แร่ดิบ” ที่มีความเป็นไปได้ที่จะมีแร่สำคัญคือ “แร่ลิเธียม” อยู่ในนั้นด้วย
“ข้อมูลของ กพร. ที่ระบุว่า ไทยสำรวจทรัพยากรแร่ หรือ Mineral Resource กว่า 14.8 ล้านตัน ถือว่าเป็นข่าวดีสำหรับคนไทยทุกคน เพราะไม่ว่าในปริมาณแร่ดังกล่าวจะมีแร่ลิเธียมอยู่เท่าไหร่ การมีทรัพยากรแร่ที่สำคัญในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นแร่ลิเธียม แร่โซเดียม หรือแร่โปรแตส ล้วนมีส่วนสำคัญให้การสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ เพราะเป็นการช่วยลดการนำเข้าและเพิ่มการพึ่งพิงตนเองให้กับคนไทย กระทรวงอุตสาหกรรมยังคงพร้อมให้การสนับสนุนและรัดกุมกระบวนการนำแร่ขึ้นมาใช้ประโยชน์ และรัฐบาลเองก็ยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าตามนโยบาย EV 3.5 ที่จะผลักดันไทยเป็นฮับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค และเป็นฐานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเพื่อเติมเต็มความต้องการของอุตสาหกรรมดังกล่าวที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอีกด้วย” นางรัดเกล้า กล่าว