‘ครูธัญ’ เผยร่างกม.คำนำหน้าตามความสมัครใจของก้าวไกล จ่อเข้าสภาวาระหนึ่ง 21 ก.พ. นี้
https://w ww.matichon.co.th/politics/news_4433320
‘ครูธัญ’ เผยร่างกฎหมายคำนำหน้าตามความสมัครใจของก้าวไกล จ่อเข้าสภาวาระหนึ่ง 21 ก.พ. นี้ จบปัญหาคำนำหน้านามในเอกสารราชการไม่ตรงอัตลักษณ์ทางเพศ
เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 นาย
ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีคำนำหน้านาม “
คุณ” บนสลิปโอนเงินของ นาย
ตรีชฎา หงษ์หยก หรือ “
ปอย” ว่าทำไมจึงเปลี่ยนคำนำหน้าเป็น “
คุณ” ได้ ในขณะที่กลุ่มคนข้ามเพศคนอื่นๆ ไม่สามารถเปลี่ยนคำนำหน้าได้ โดยธนาคารชี้แจงว่า “
เป็นข้อผิดพลาด และระเบียบต้องใช้คำนำหน้าตามบัตรประชาชนเท่านั้น”
นาย
ธัญวัจน์ กล่าวว่า ด้วยกฎหมายในประเทศไทยปัจจุบัน ยังเป็นระบบสองเพศ จึงทำให้บุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ ไม่สามารถดำเนินชีวิตตามเจตจำนงอัตลักษณ์ทางเพศของตนเองได้ ในกรณีดังกล่าวธนาคารจึงแจ้งและยืนยันเรื่องการใช้คำนำหน้าตามบัตรประชาชน ซึ่งไม่เป็นไปตามอัตลักษณ์ทางเพศของบุคคลข้ามเพศ เรื่องเพศจึงยังถูกกำหนดโดยระบบเดิม ยังมีกฎหมายอีกหลายฉบับที่ต้องผลักดันสิทธิและการคุ้มครองให้ครอบคลุมต่อคนทุกเพศเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ
นาย
ธัญวัจน์ กล่าวว่า ร่างพระราชบัญญัติการรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ ของพรรคก้าวไกล จะเข้าสู่การพิจารณาในวาระหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรในวันพุธที่ 21 ก.พ.นี้ โดยหลักการสำคัญคือการเลือกเพศตามเจตจำนง (Self Determination) อัตลักษณ์ทางเพศถือเป็นเจตจำนงที่บุคคลดังกล่าวจะดำเนินชีวิตตามเพศที่ตนเองต้องการ“
ธัญวัจน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวคือการรับรองเพศ เพื่อให้บุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศได้เลือกคำนำหน้าตามสมัครใจ และมีบทบาท หน้าที่ สิทธิ ตามเพศที่ตนแสดงเจตจำนง ซึ่งร่างดังกล่าวมีแนวคิดจากประเทศอาร์เจนตินาและมอลตา ซึ่งเป็นกฎหมายการรับรองเพศที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก
ร่างกฎหมายดังกล่าวยังได้รับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศและอีกหลายหน่วยงานให้เป็นไปตามหลักการยอกยาการ์ตา ที่กฎหมายนั้นต้องปรับปรุงและต้องคำนึงถึงอัตลักษณ์ทางเพศ เพศสภาพ เพศวิถี และเพศทางกายภาพ เพื่อสิทธิเสรีภาพในการดำเนินชีวิต
“
ร่างกฎหมายคำนำหน้าตามความสมัครใจของพรรคก้าวไกล จะแก้ปัญหาเรื่องเอกสารราชการ เรื่องการเดินทาง ระเบียบการแต่งกาย การทำธุรกรรมทางการเงิน ที่เกี่ยวข้องกับเพศสภาพ ให้หมายรวมถึงอัตลักษณ์ทางเพศและเพศสภาพด้วย บุคคลข้ามเพศ เพศกำกวม และเพศอื่นๆ สามารถแสดงออกอัตลักษณ์ทางเพศของตนผ่านคำนำหน้าได้ในเอกสารราชการต่าง ๆ เพราะเพศคือเจตจำนงของบุคคล เป็นสิทธิมนุษยชนที่กำหนดเอง ดังนั้นกฎหมายต้องเปลี่ยนแปลง” นาย
ธัญวัจน์กล่าวทิ้งท้าย
กัณวีร์ แนะรบ.ไทยเร่ง MOU แรงงานเมียนมา หลังหนุ่มสาวทะลักไทย หนีกม.เกณฑ์ทหาร
https://www.matichon.co.th/politics/news_4433304
‘กัณวีร์’ จี้รัฐบาลไทยต้องตั้งโจทย์ให้แม่น บนหลักสิทธิมนุษยชน กรณีคนหนุ่มสาวเมียนมา ทะลักขอวีซ่าเข้าไทย หลังรัฐบาลเมียนมาประกาศเกณฑ์ทหาร เสนอเร่งผลักดัน MOU แรงงานเมียนมา รองรับการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ นาย
กัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม เปิดเผยถึงกรณีที่รัฐบาลเมียนมาออกประกาศเกณฑ์ทหาร โดยไม่เลือกเพศ ทำให้ไม่แน่ใจว่าจะรอดพ้นจากกฎหมายการไม่เลือกปฏิบัติที่ลิดรอนสิทธิมนุษยชนอันนี้หรือไม่
นาย
กัณวีร์กล่าวว่า ขณะนี้ที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง มีชาวเมียนมาทั้งหญิงและชาย อายุ 18-35 ปี จำนวนนับพันคน ไปขอวีซ่าเข้าไทย หลังจากรัฐบาลมิน อ่อง ลาย ประกาศการเกณฑ์ทหารครั้งนี้ จึงทำให้เห็นกระแสคลื่นคนหนุ่มสาวชาวเมียนมาทะลักเข้าไทยอย่างไม่หยุดหย่อน
“
ผมเข้าพบภาคส่วนต่างๆ เพื่อรับฟังข้อมูลเพิ่มเติมทั้งภาครัฐ ประชาสังคม ประชาชน และพี่น้องเมียนมา ที่เข้ามาในไทยจากเหตุการณ์ดังกล่าว ปัญหาหลักอันแรก คือ เรารู้หรือไม่ว่าปัญหาหลักคืออะไร ถัดไปไทยจะตั้งรับอย่างไร และจะคงการตอบสนองในรูปแบบไหน”
นาย
กัณวีร์กล่าวว่า นี่คือปัญหาโจทย์ใหม่ ที่ไทยยังไม่เคยคิดไว้ก่อน ว่าต้องจัดการอย่างไร ในขณะที่รัฐบาลไทยกำลังพูดถึงระเบียงมนุษยธรรม เมื่อเกิดปัญหาขึ้น จะตอบสนองอย่างไร
“
ผมขอเสนอนะครับ เราต้องตั้งโจทย์ให้แม่นว่าปัญหาการลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานการเป็นมนุษย์เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ รัฐบาลไทยกล้าพอไหม และสอง หากตั้งโจทย์อันแรกได้แล้ว เราจะมองเห็นว่าที่คนหนีกันเข้ามาอย่างมากโขนั้น เขาไม่ได้หลบหนีเข้ามาผิดกฎหมาย แต่หนีความตาย หนีการถูกบังคับให้ไปฆ่าเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน หนีการที่ถูกบังคับให้ไปสู้ในสมรภูมิที่อาจต้องตายหรือต้องฆ่าคน หนีการถูกเกณฑ์ทหารเด็กที่อาจถูกปฏิบัติแบบไม่เลือกหน้า”
นาย
กัณวีร์ระบุว่า การเกณฑ์ทหารในเมียนมา กำลังถูกปฏิเสธจากชาวเมียนมา เพราะเป็นการถูกบังคับเพื่อต้องใช้กำลังเข้าห้ำหั่นกันถึงชีวิต และเป็นรากเหง้าแห่งปัญหาในเมียนมาที่ไม่มีใครพูดถึง
“
คราวนี้รัฐบาลไทยจะทำอย่างไร เมื่อพวกเขาต้องหนีการถูกเกณฑ์การถูกบังคับให้เป็นทหารแล้ว จับส่งไปให้ทหารเมียนมาตายครับ ผู้ที่หนีมาตายแน่ๆ อย่าเอามือพวกเราไปร่วมสุมไฟและขยายบาดแผลในเมียนมาให้ขยายกว้างออกไปอีกเลย”
นาย
กัณวีร์เสนอว่าตอนนี้รัฐบาลทหารเมียนมาเพิ่งชะลอการส่งแรงงาน MOU จากเมียนมาเข้าไทยเป็นการชั่วคราว ซึ่งจริงๆ แล้ว ก่อนหน้าการชะลอการส่งเข้าแรงงานครั้งนี้ มีแรงงาน MOU เมียนมาเข้ามาวันละ 700-800 คน แล้วถูกส่งไปทำงานในจังหวัดต่างๆ เพื่อเป็นแรงงานในโรงงานใหญ่ๆ ของไทย
“
ท่าทีของทหารเมียนมากับการชะลอนี้ ไม่แน่ใจว่าเกี่ยวข้องอะไรกับสถานการณ์ภายในเมียนมาหรือไม่ ผมไม่ก้าวล่วง แต่ถ้าเกี่ยวข้องกันแล้วไทยยังนิ่งเฉย หรือไปหลวมตัวในการผลักดันคนเมียนมากลับไปเป็นทหารเกณฑ์นั้นเรื่องใหญ่แน่”
นาย
กัณวีร์ระบุว่า การชะลอการส่งแรงงาน MOU เมียนมาเข้าไทยนั้น ไทยเราต้องทำแผนเผชิญเหตุระยะเฉพาะหน้าใน 6 เดือนแรกนี้ โดยการเอาคนเมียนมาที่หนีเข้ามา มาเป็นแรงงานทดแทนไปพลางก่อน ตามหลักมนุษยธรรม (คนที่หนีตาย) ร่วมกับเหตุผลด้านอุปสงค์และอุปทานทางแรงงานที่จำเป็นเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมโรงงานเราเดินหน้าโดยไม่หยุดชะงัก นี่จะทำให้ไทยไม่เสียหน้าในเวทีโลกแถมเศรษฐกิจยังเดินหน้าต่อ
“
ต่อไปเราดูให้ได้ครับว่าการขอการลงตราวีซ่าจะผ่อนผันได้อย่างไร ซึ่งไทยมีทางเลือกว่าจะร่วมเอามือเราไปเปื้อนเลือดกับทหารเมียนมา หรือเราจะเลือกทางที่สง่าผ่าเผยโดยการปูทางเพื่อเป็นผู้นำทางการทูตที่จะทำให้ประเทศมีอนาคตที่ดีในเวทีโลก แต่เราต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงจุดยืนทางการทูตของไทยที่ไม่เคยเปลี่ยนเลยกว่าหนึ่งศตวรรษครับ”
นาย
กัณวีร์เปิดเผยด้วยว่า กำลังเดินทางไป อ.แม่สอด จ.ตาก เพื่อติดตามการเปิดศูนย์ช่วยเหลือมนุษยธรรมต่อสถานการณ์ในเมียนมา และการเปิดระเบียงมนุษยธรรม ซึ่งเห็นว่ารัฐบาลยังทำผิดจุด และระเบียงมนุษยธรรมที่อยากเปิดกันเพื่อสนับสนุนภารกิจมนุษยธรรมฝั่งเมียนมานั้น ต้องมีความเป็นกลาง ไม่เอนเอียง เป็นอิสรภาพ และยึดบุคคลในความห่วงใยเป็นศูนย์กลางตามหลักการมนุษยธรรม ซึ่งพื้นที่ในเมียนมานั้นมันแบ่งเป็น 3 เขต และควบคุมดูแลการปฏิบัติการโดยกลุ่มกองกำลังที่แตกต่างกัน
“
อย่าเผลอเอาของไปให้แต่คนกลุ่มเดียวเพราะเอาความสะดวกเป็นที่ตั้ง ความหวังและความประสงค์ดีที่เราพยายามทำ อาจนำมาซึ่งข้อครหาว่าเราสนับสนุนกลุ่มที่กำลังฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในเมียนมาก็เป็นได้ครับ” นาย
กัณวีร์กล่าวย้ำ
กำลังซื้ออ่อนแรง แบงก์ไม่ปล่อยกู้ ฉุดยอดโอน’บ้านต่ำ 5 ล้าน’ซบเซา
https://www.matichon.co.th/economy/news_4433452
กำลังซื้ออ่อนแรง แบงก์ไม่ปล่อยกู้ ฉุดยอดโอน’บ้านต่ำ 5 ล้าน’ซบเซา
นาย
วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคาร และ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC)
กล่าวว่าในปี 2566 เศรษฐกิจไทยเผชิญความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว สงครามการค้า ปัญหาหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงถึงร้อยละ 90.9 ของ GDP ประกอบกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นตั้งแต่ปี 2565 ปัจจัยลบเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่ออุปสงค์ โดยทำให้ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยและการขอสินเชื่อของประชาชนลดลง
โดยพบว่า จำนวนหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศ มีจำนวน 366,825 หน่วย มูลค่า 1.05 ล้านล้านบาท ลดลง 6.6 % และ 1.7 % เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ ส่งผลให้มูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่มีจำนวน 678,347
ล้านบาท ลดลง2.8% เมื่อเทียบกับปีก่อน
หากพิจารณาถึงระดับราคาที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย พบว่า ภาพรวมหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ ทั้งบ้านใหม่และบ้านมือสอง ลดลงในทุกระดับราคาที่ไม่เกิน 5 ล้านบาท ซึ่งลดลงระหว่าง 1.7 ถึง 9.8 % โดยระดับราคาที่มีการโอนกรรมสิทธิ์มากที่สุดคือ ไม่เกิน 1 ล้านบาท และ 2.01 – 3 ล้านบาท แต่ระดับราคา 5 ล้านบาทขึ้นไป มีการขยายตัวในทุกระดับราคาระหว่าง1.9 ถึง 11.9%
การชะลอตัวของอุปสงค์ โดยเฉพาะในระดับรายได้ปานกลางถึงรายได้น้อยได้ส่งผลต่อการปรับตัวของอุปทานที่อยู่อาศัยในระบบ ที่เกิดกระแสที่ผู้ประกอบการได้เบนเข็มไปจับตลาดที่อยู่อาศัยราคาแพงมากขึ้น โดยจะเห็นได้ชัดใน พื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล พบว่าบ้านเดี่ยวมีการเปิดตัวจำนวน 18,520 หน่วย มูลค่า 269,533 ล้านบาท ขยายตัว 5.7 %และ 10.6 % ตามลำดับ และบ้านแฝด 9,609 หน่วย มูลค่า 56,747 ล้านบาท ขยายตัว 7.7 %และ 11.3 % ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
ส่วนทาวน์เฮ้าส์ที่ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้ปานกลางและรายได้น้อย มีการเปิดตัวใหม่ลดลง โดยเปิดตัว 20,427 หน่วย มูลค่า 69,679 ล้านบาท ลดลง22.1 %และ 26.3 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
ขณะที่อาคารชุดเปิดตัวใหม่จำนวน 47,800 หน่วย ลดลง14.5 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แต่กลับมีมูลค่าสูงถึง 196,595 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.9 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แสดงให้เห็นว่า อาคารชุดที่เปิดตัวใหม่ในช่วงปี 2566 เป็นอาคารชุดที่มีราคาสูงกว่าปี 2565 ทั้งนี้ภาพรวมโครงการที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ ปี 2566 มีจำนวน 96,813 หน่วย ลดลง 11.4 % แต่มีมูลค่า 597,272 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน
ส่วนตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2567 มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัว แต่ยังเผชิญความเสี่ยงในหลายประการ เช่น เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ค่าครองชีพที่สูงขึ้นและปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ส่งผลต่อความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยและการขอสินเชื่อ และยังคงมีโอกาสที่จะไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อ เนื่องจากสถาบันการเงินมีเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อที่เข้ม อาจส่งผลต่อที่อยู่อาศัยในระดับราคาปานกลางถึงระดับราคาต่ำ และอาจส่งผลให้มีการซื้อขายและการโอนกรรมสิทธิ์ในกลุ่มที่อยู่อาศัยระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท อาจมีภาวะทรงตัวในทิศทางที่ลดลง ซึ่งอาจส่งผลให้อุปทานที่อยู่อาศัยในกลุ่มนี้มีหน่วยเหลือขายที่สะสมต่อเนื่อง และมีอุปทานเหลือขายมากขึ้น หากมีการเติมอุปทานใหม่เข้ามามากกว่าความสามารถในการดูดซับของอุปสงค์ได้ จึงควรให้ความระมัดระวังในการเปิดโครงการในกลุ่มระดับราคานี้
JJNY : ‘ครูธัญ’ เผยร่างกม. คำนำหน้า│กัณวีร์แนะเร่ง MOU แรงงานเมียนมา│กำลังซื้ออ่อนแรง ฉุดยอดโอนบ้าน│เอกวาดอร์กลับลำ
https://w ww.matichon.co.th/politics/news_4433320
‘ครูธัญ’ เผยร่างกฎหมายคำนำหน้าตามความสมัครใจของก้าวไกล จ่อเข้าสภาวาระหนึ่ง 21 ก.พ. นี้ จบปัญหาคำนำหน้านามในเอกสารราชการไม่ตรงอัตลักษณ์ทางเพศ
เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีคำนำหน้านาม “คุณ” บนสลิปโอนเงินของ นายตรีชฎา หงษ์หยก หรือ “ปอย” ว่าทำไมจึงเปลี่ยนคำนำหน้าเป็น “คุณ” ได้ ในขณะที่กลุ่มคนข้ามเพศคนอื่นๆ ไม่สามารถเปลี่ยนคำนำหน้าได้ โดยธนาคารชี้แจงว่า “เป็นข้อผิดพลาด และระเบียบต้องใช้คำนำหน้าตามบัตรประชาชนเท่านั้น”
นายธัญวัจน์ กล่าวว่า ด้วยกฎหมายในประเทศไทยปัจจุบัน ยังเป็นระบบสองเพศ จึงทำให้บุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ ไม่สามารถดำเนินชีวิตตามเจตจำนงอัตลักษณ์ทางเพศของตนเองได้ ในกรณีดังกล่าวธนาคารจึงแจ้งและยืนยันเรื่องการใช้คำนำหน้าตามบัตรประชาชน ซึ่งไม่เป็นไปตามอัตลักษณ์ทางเพศของบุคคลข้ามเพศ เรื่องเพศจึงยังถูกกำหนดโดยระบบเดิม ยังมีกฎหมายอีกหลายฉบับที่ต้องผลักดันสิทธิและการคุ้มครองให้ครอบคลุมต่อคนทุกเพศเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ
นายธัญวัจน์ กล่าวว่า ร่างพระราชบัญญัติการรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ ของพรรคก้าวไกล จะเข้าสู่การพิจารณาในวาระหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรในวันพุธที่ 21 ก.พ.นี้ โดยหลักการสำคัญคือการเลือกเพศตามเจตจำนง (Self Determination) อัตลักษณ์ทางเพศถือเป็นเจตจำนงที่บุคคลดังกล่าวจะดำเนินชีวิตตามเพศที่ตนเองต้องการ“
ธัญวัจน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวคือการรับรองเพศ เพื่อให้บุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศได้เลือกคำนำหน้าตามสมัครใจ และมีบทบาท หน้าที่ สิทธิ ตามเพศที่ตนแสดงเจตจำนง ซึ่งร่างดังกล่าวมีแนวคิดจากประเทศอาร์เจนตินาและมอลตา ซึ่งเป็นกฎหมายการรับรองเพศที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก
ร่างกฎหมายดังกล่าวยังได้รับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศและอีกหลายหน่วยงานให้เป็นไปตามหลักการยอกยาการ์ตา ที่กฎหมายนั้นต้องปรับปรุงและต้องคำนึงถึงอัตลักษณ์ทางเพศ เพศสภาพ เพศวิถี และเพศทางกายภาพ เพื่อสิทธิเสรีภาพในการดำเนินชีวิต
“ร่างกฎหมายคำนำหน้าตามความสมัครใจของพรรคก้าวไกล จะแก้ปัญหาเรื่องเอกสารราชการ เรื่องการเดินทาง ระเบียบการแต่งกาย การทำธุรกรรมทางการเงิน ที่เกี่ยวข้องกับเพศสภาพ ให้หมายรวมถึงอัตลักษณ์ทางเพศและเพศสภาพด้วย บุคคลข้ามเพศ เพศกำกวม และเพศอื่นๆ สามารถแสดงออกอัตลักษณ์ทางเพศของตนผ่านคำนำหน้าได้ในเอกสารราชการต่าง ๆ เพราะเพศคือเจตจำนงของบุคคล เป็นสิทธิมนุษยชนที่กำหนดเอง ดังนั้นกฎหมายต้องเปลี่ยนแปลง” นายธัญวัจน์กล่าวทิ้งท้าย
กัณวีร์ แนะรบ.ไทยเร่ง MOU แรงงานเมียนมา หลังหนุ่มสาวทะลักไทย หนีกม.เกณฑ์ทหาร
https://www.matichon.co.th/politics/news_4433304
‘กัณวีร์’ จี้รัฐบาลไทยต้องตั้งโจทย์ให้แม่น บนหลักสิทธิมนุษยชน กรณีคนหนุ่มสาวเมียนมา ทะลักขอวีซ่าเข้าไทย หลังรัฐบาลเมียนมาประกาศเกณฑ์ทหาร เสนอเร่งผลักดัน MOU แรงงานเมียนมา รองรับการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ นายกัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม เปิดเผยถึงกรณีที่รัฐบาลเมียนมาออกประกาศเกณฑ์ทหาร โดยไม่เลือกเพศ ทำให้ไม่แน่ใจว่าจะรอดพ้นจากกฎหมายการไม่เลือกปฏิบัติที่ลิดรอนสิทธิมนุษยชนอันนี้หรือไม่
นายกัณวีร์กล่าวว่า ขณะนี้ที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง มีชาวเมียนมาทั้งหญิงและชาย อายุ 18-35 ปี จำนวนนับพันคน ไปขอวีซ่าเข้าไทย หลังจากรัฐบาลมิน อ่อง ลาย ประกาศการเกณฑ์ทหารครั้งนี้ จึงทำให้เห็นกระแสคลื่นคนหนุ่มสาวชาวเมียนมาทะลักเข้าไทยอย่างไม่หยุดหย่อน
“ผมเข้าพบภาคส่วนต่างๆ เพื่อรับฟังข้อมูลเพิ่มเติมทั้งภาครัฐ ประชาสังคม ประชาชน และพี่น้องเมียนมา ที่เข้ามาในไทยจากเหตุการณ์ดังกล่าว ปัญหาหลักอันแรก คือ เรารู้หรือไม่ว่าปัญหาหลักคืออะไร ถัดไปไทยจะตั้งรับอย่างไร และจะคงการตอบสนองในรูปแบบไหน”
นายกัณวีร์กล่าวว่า นี่คือปัญหาโจทย์ใหม่ ที่ไทยยังไม่เคยคิดไว้ก่อน ว่าต้องจัดการอย่างไร ในขณะที่รัฐบาลไทยกำลังพูดถึงระเบียงมนุษยธรรม เมื่อเกิดปัญหาขึ้น จะตอบสนองอย่างไร
“ผมขอเสนอนะครับ เราต้องตั้งโจทย์ให้แม่นว่าปัญหาการลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานการเป็นมนุษย์เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ รัฐบาลไทยกล้าพอไหม และสอง หากตั้งโจทย์อันแรกได้แล้ว เราจะมองเห็นว่าที่คนหนีกันเข้ามาอย่างมากโขนั้น เขาไม่ได้หลบหนีเข้ามาผิดกฎหมาย แต่หนีความตาย หนีการถูกบังคับให้ไปฆ่าเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน หนีการที่ถูกบังคับให้ไปสู้ในสมรภูมิที่อาจต้องตายหรือต้องฆ่าคน หนีการถูกเกณฑ์ทหารเด็กที่อาจถูกปฏิบัติแบบไม่เลือกหน้า”
นายกัณวีร์ระบุว่า การเกณฑ์ทหารในเมียนมา กำลังถูกปฏิเสธจากชาวเมียนมา เพราะเป็นการถูกบังคับเพื่อต้องใช้กำลังเข้าห้ำหั่นกันถึงชีวิต และเป็นรากเหง้าแห่งปัญหาในเมียนมาที่ไม่มีใครพูดถึง
“คราวนี้รัฐบาลไทยจะทำอย่างไร เมื่อพวกเขาต้องหนีการถูกเกณฑ์การถูกบังคับให้เป็นทหารแล้ว จับส่งไปให้ทหารเมียนมาตายครับ ผู้ที่หนีมาตายแน่ๆ อย่าเอามือพวกเราไปร่วมสุมไฟและขยายบาดแผลในเมียนมาให้ขยายกว้างออกไปอีกเลย”
นายกัณวีร์เสนอว่าตอนนี้รัฐบาลทหารเมียนมาเพิ่งชะลอการส่งแรงงาน MOU จากเมียนมาเข้าไทยเป็นการชั่วคราว ซึ่งจริงๆ แล้ว ก่อนหน้าการชะลอการส่งเข้าแรงงานครั้งนี้ มีแรงงาน MOU เมียนมาเข้ามาวันละ 700-800 คน แล้วถูกส่งไปทำงานในจังหวัดต่างๆ เพื่อเป็นแรงงานในโรงงานใหญ่ๆ ของไทย
“ท่าทีของทหารเมียนมากับการชะลอนี้ ไม่แน่ใจว่าเกี่ยวข้องอะไรกับสถานการณ์ภายในเมียนมาหรือไม่ ผมไม่ก้าวล่วง แต่ถ้าเกี่ยวข้องกันแล้วไทยยังนิ่งเฉย หรือไปหลวมตัวในการผลักดันคนเมียนมากลับไปเป็นทหารเกณฑ์นั้นเรื่องใหญ่แน่”
นายกัณวีร์ระบุว่า การชะลอการส่งแรงงาน MOU เมียนมาเข้าไทยนั้น ไทยเราต้องทำแผนเผชิญเหตุระยะเฉพาะหน้าใน 6 เดือนแรกนี้ โดยการเอาคนเมียนมาที่หนีเข้ามา มาเป็นแรงงานทดแทนไปพลางก่อน ตามหลักมนุษยธรรม (คนที่หนีตาย) ร่วมกับเหตุผลด้านอุปสงค์และอุปทานทางแรงงานที่จำเป็นเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมโรงงานเราเดินหน้าโดยไม่หยุดชะงัก นี่จะทำให้ไทยไม่เสียหน้าในเวทีโลกแถมเศรษฐกิจยังเดินหน้าต่อ
“ต่อไปเราดูให้ได้ครับว่าการขอการลงตราวีซ่าจะผ่อนผันได้อย่างไร ซึ่งไทยมีทางเลือกว่าจะร่วมเอามือเราไปเปื้อนเลือดกับทหารเมียนมา หรือเราจะเลือกทางที่สง่าผ่าเผยโดยการปูทางเพื่อเป็นผู้นำทางการทูตที่จะทำให้ประเทศมีอนาคตที่ดีในเวทีโลก แต่เราต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงจุดยืนทางการทูตของไทยที่ไม่เคยเปลี่ยนเลยกว่าหนึ่งศตวรรษครับ”
นายกัณวีร์เปิดเผยด้วยว่า กำลังเดินทางไป อ.แม่สอด จ.ตาก เพื่อติดตามการเปิดศูนย์ช่วยเหลือมนุษยธรรมต่อสถานการณ์ในเมียนมา และการเปิดระเบียงมนุษยธรรม ซึ่งเห็นว่ารัฐบาลยังทำผิดจุด และระเบียงมนุษยธรรมที่อยากเปิดกันเพื่อสนับสนุนภารกิจมนุษยธรรมฝั่งเมียนมานั้น ต้องมีความเป็นกลาง ไม่เอนเอียง เป็นอิสรภาพ และยึดบุคคลในความห่วงใยเป็นศูนย์กลางตามหลักการมนุษยธรรม ซึ่งพื้นที่ในเมียนมานั้นมันแบ่งเป็น 3 เขต และควบคุมดูแลการปฏิบัติการโดยกลุ่มกองกำลังที่แตกต่างกัน
“อย่าเผลอเอาของไปให้แต่คนกลุ่มเดียวเพราะเอาความสะดวกเป็นที่ตั้ง ความหวังและความประสงค์ดีที่เราพยายามทำ อาจนำมาซึ่งข้อครหาว่าเราสนับสนุนกลุ่มที่กำลังฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในเมียนมาก็เป็นได้ครับ” นายกัณวีร์กล่าวย้ำ
กำลังซื้ออ่อนแรง แบงก์ไม่ปล่อยกู้ ฉุดยอดโอน’บ้านต่ำ 5 ล้าน’ซบเซา
https://www.matichon.co.th/economy/news_4433452
กำลังซื้ออ่อนแรง แบงก์ไม่ปล่อยกู้ ฉุดยอดโอน’บ้านต่ำ 5 ล้าน’ซบเซา
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคาร และ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) กล่าวว่าในปี 2566 เศรษฐกิจไทยเผชิญความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว สงครามการค้า ปัญหาหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงถึงร้อยละ 90.9 ของ GDP ประกอบกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นตั้งแต่ปี 2565 ปัจจัยลบเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่ออุปสงค์ โดยทำให้ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยและการขอสินเชื่อของประชาชนลดลง
โดยพบว่า จำนวนหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศ มีจำนวน 366,825 หน่วย มูลค่า 1.05 ล้านล้านบาท ลดลง 6.6 % และ 1.7 % เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ ส่งผลให้มูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่มีจำนวน 678,347 ล้านบาท ลดลง2.8% เมื่อเทียบกับปีก่อน
หากพิจารณาถึงระดับราคาที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย พบว่า ภาพรวมหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ ทั้งบ้านใหม่และบ้านมือสอง ลดลงในทุกระดับราคาที่ไม่เกิน 5 ล้านบาท ซึ่งลดลงระหว่าง 1.7 ถึง 9.8 % โดยระดับราคาที่มีการโอนกรรมสิทธิ์มากที่สุดคือ ไม่เกิน 1 ล้านบาท และ 2.01 – 3 ล้านบาท แต่ระดับราคา 5 ล้านบาทขึ้นไป มีการขยายตัวในทุกระดับราคาระหว่าง1.9 ถึง 11.9%
การชะลอตัวของอุปสงค์ โดยเฉพาะในระดับรายได้ปานกลางถึงรายได้น้อยได้ส่งผลต่อการปรับตัวของอุปทานที่อยู่อาศัยในระบบ ที่เกิดกระแสที่ผู้ประกอบการได้เบนเข็มไปจับตลาดที่อยู่อาศัยราคาแพงมากขึ้น โดยจะเห็นได้ชัดใน พื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล พบว่าบ้านเดี่ยวมีการเปิดตัวจำนวน 18,520 หน่วย มูลค่า 269,533 ล้านบาท ขยายตัว 5.7 %และ 10.6 % ตามลำดับ และบ้านแฝด 9,609 หน่วย มูลค่า 56,747 ล้านบาท ขยายตัว 7.7 %และ 11.3 % ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
ส่วนทาวน์เฮ้าส์ที่ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้ปานกลางและรายได้น้อย มีการเปิดตัวใหม่ลดลง โดยเปิดตัว 20,427 หน่วย มูลค่า 69,679 ล้านบาท ลดลง22.1 %และ 26.3 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
ขณะที่อาคารชุดเปิดตัวใหม่จำนวน 47,800 หน่วย ลดลง14.5 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แต่กลับมีมูลค่าสูงถึง 196,595 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.9 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แสดงให้เห็นว่า อาคารชุดที่เปิดตัวใหม่ในช่วงปี 2566 เป็นอาคารชุดที่มีราคาสูงกว่าปี 2565 ทั้งนี้ภาพรวมโครงการที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ ปี 2566 มีจำนวน 96,813 หน่วย ลดลง 11.4 % แต่มีมูลค่า 597,272 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน
ส่วนตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2567 มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัว แต่ยังเผชิญความเสี่ยงในหลายประการ เช่น เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ค่าครองชีพที่สูงขึ้นและปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ส่งผลต่อความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยและการขอสินเชื่อ และยังคงมีโอกาสที่จะไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อ เนื่องจากสถาบันการเงินมีเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อที่เข้ม อาจส่งผลต่อที่อยู่อาศัยในระดับราคาปานกลางถึงระดับราคาต่ำ และอาจส่งผลให้มีการซื้อขายและการโอนกรรมสิทธิ์ในกลุ่มที่อยู่อาศัยระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท อาจมีภาวะทรงตัวในทิศทางที่ลดลง ซึ่งอาจส่งผลให้อุปทานที่อยู่อาศัยในกลุ่มนี้มีหน่วยเหลือขายที่สะสมต่อเนื่อง และมีอุปทานเหลือขายมากขึ้น หากมีการเติมอุปทานใหม่เข้ามามากกว่าความสามารถในการดูดซับของอุปสงค์ได้ จึงควรให้ความระมัดระวังในการเปิดโครงการในกลุ่มระดับราคานี้