สวัสดีครับ
มีใครปฎิบัติ "วิปัสนา" แบบลืมตาโพลง ๆ เปิดทวารทั้ง6 ไว้ บ้างครับ ?
ปฎิบัติในการทำงานในชีวิตประจำวัน สำรวมศีล สังวรณ์อินทรีย์6 โภชเนมตัญญุตา
ชาคริยานุโยค ตามอปัณณกปฎิปทา3 ซึ่งปฎิบัติแบบนี้มีการยืนยันว่าเป็นการปฎิบัติ
ที่ถูกทางแน่นอน(ดูอปัณณกปฎิปทา3)
https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=128
เริ่มต้นแบบนี้ทุกวัน ปฎิบัติไปจะทำให้เกิด สัทธรรม7 (ดูสัทธรรม7) เกิดฌาน1-4 เป็นไปตาม
"จรณะ15" ที่ย่อมาจากมรรคองค์8 (ดูจรณะ15)
การที่เราสำรวมศีล สังวรณ์อินทรีย์6 จะทำให้เรามี "สติ" รู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอด ถ้านิวรณ์5มัน
เกิดก็กำจัดมัน เมื่อเปิดทวารทั้ง6ไว้ ทำใจให้แยบคาย ตา หู จมูก....ฯ กระทบ รูป เสียง กลิ่น....ฯ ถ้ามันเกิด "เวทนา"
ที่ใจ สุข-ทุกข์ ชอบ-ชัง ดูด-ผลัก โลภะ-โทสะ... มันคือตัว "กิเลส" เกิดขึ้นแล้ว เรารู้ว่ามันเกิดด้วย
อาการลิงค นิมิต เพศ เป็นสัญญลักษณ์(อาการ) เมื่อมันเกิด "กิเลส" (ทุกข์) เราก็ต้องหาสาเหตุมัน (ขบวนการนี้ ภาษาธรรมเขา
เรียกอะไรไม่รู้ ไม่ได้เรียน วิปัสสนา ธรรมวิจัย วิตกวิจาร ตรรก วิตรรก ...ฯ เดี๋ยวผู้รู้ก็มาบอกเอง แถมจะ
ว่าผม เชย ! ระเบิดระเบ้อ...) เมื่อขบวนการมันหา "เหตุ" เจอ ก็ "ปหาร" หรือ "ดับ" มันซะ โดยทำใจในใจ
(ภาษาธรรมเขาเรียกโยนิโสมนสิการ)ใหม่ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง เมื่อเรา "ดับ" มันได้ เราก็จะรู้
ที่ใจเหมือนตอนที่มันเกิดเราก็รู้ มันดับเราก็ต้องรู้.....ที่กล่าวมาเป็นการปฎิบัติที่ภาษาธรรมเขาเรียก "อริยสัจ4"
(ดูอริยสัจ4)
แต่ละวันก็ทำแบบนี้แหละมันเกิด ก็หาสาเหตุ แล้วดับมัน ทำมาก ๆ ทำบ่อย ๆ ก็จะชำนาญ เหมือนพ่อครัว
แม่ครัว ที่ชำนาญแล้ว เจอกิเลสปุ๊บ ก็จะหาสาเหตุและดับมันปั๊บเลย ตัวไหนเราดับมันได้ มันจะไม่เกิดอีก ได้
แล้วได้เลย ถ้ายังมีเหลือโผล่มาอีก เราก็ทำซ้ำ เดี๋ยวก็หมด
ทีนี้มีบางกรณี(ขออนุญาตเรียกวิปัสสนาก็แล้วกัน ผิดเดี๋ยวเขามาด่าเอง) เราวิปัสสนาไม่จบขบวนการ โจทย์มัน
อาจจะยาก หรือเรามีเวลาน้อย จึงหาสาเหตุมันยังไม่เจอ เราก็ต้อง "สมถะ" (ที่เขาเรียกกัน) คือกด ข่มมันไว้ก่อน
ประมาณ "ฝากไว้ก่อน" พอกลับบ้านอาบน้ำ กินข้าวเสร็จ ก็หาเวลามานั่งทบทวน เรื่องที่เราสมถะไว้ ระลึกย้อนไป
เหตุการณ์ที่เราฝากไว้ เขาเรียกว่า "บุปเพนิวา ฯ" ประหนึ่งเด็กนักเรียนกลับมาทำการบ้าน หาแง่มุม ถ้ามีผู้รู้(สัตบุรุษ)
อยู่ด้วยก็ถามท่าน เมื่อได้แง่มุมดีแล้ว พรุ่งนี้ถ้าเจอกิเลสแบบตัวนี้ หรือคล้ายกันอีก ก็เอาที่เราทำการบ้านมาจัดการมัน
ถ้าดับมันได้ ก็แสดงว่า การบ้านของเรา "ถูกต้อง" ถ้าดับไม่ได้ ก็ต้องมาพิจารณาใหม่
เมื่อเรารู้ตัวเมื่อไหร่ก็ปฎิบัติอยู่แบบนี้แหละ ทุกครั้งที่เราดับกิเลสได้ เราก็จะเกิดปิติ จิตใจก็จะสงบ ตั้งมั่น ปราศจาก
กิเลสมารบกวน ก็จะน้อมจิตไปทำการงาน ตัดสินใจเรื่องต่าง ได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง เกิดปัญญาในข้อ11 เกิด
ฌาน1-4 ในข้อ 12-15 ของจรณะ15 (ดูจรณะ15) มันเกิดของมันเองนะ เพียงแต่เราปฎิบัติตามที่กล่าวมา เดี๋ยวผู้รู้จะมาว่า
ผมมาทำเป็นข้อ ๆ สภาวะมันเกิดต่อเนื่องรวดเดียวติดกันเลย เพียงแต่คุยกันก็ต้องพูดแบบนี้ มิฉะนั้นก็ไม่รู้จะสื่อกันอย่างไร
กิเลสเกิดเรารู้ กิเลสดับเราก็รู้ ด้วยอาการ ลิงค นิมิต เพศ ปฎิบัติต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ สักวันหนึ่งกิเลสตัวสุดท้ายถูกเราดับ
ขั้นอาสวะ อนุสัย ก็ว่าไป เราก็จะรู้อาการ(เหมือนพระอานนท์) ว่าชาติ ภพ สิ้นแล้ว กิจอื่นที่ต้องทำ(เพื่อตน) ไม่มีอีก ชีวิตเหลือยังไม่ตาย
ก็ยังประโยชน์ เพื่อผู้อื่นเหมือนพระพุทธเจ้า........จบ อาบน้ำรอรับทัวร์ลง
ฝากไวัพิจารณา
ขอบคุณครับ
ปฎิบัติ "วิปัสสนา" ลืมตาโพลง ๆ "เปิดทวารทั้ง6" ไว้ สติตื่นเต็ม100 อย่าให้มีนิวรณ์5
มีใครปฎิบัติ "วิปัสนา" แบบลืมตาโพลง ๆ เปิดทวารทั้ง6 ไว้ บ้างครับ ?
ปฎิบัติในการทำงานในชีวิตประจำวัน สำรวมศีล สังวรณ์อินทรีย์6 โภชเนมตัญญุตา
ชาคริยานุโยค ตามอปัณณกปฎิปทา3 ซึ่งปฎิบัติแบบนี้มีการยืนยันว่าเป็นการปฎิบัติ
ที่ถูกทางแน่นอน(ดูอปัณณกปฎิปทา3) https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=128
เริ่มต้นแบบนี้ทุกวัน ปฎิบัติไปจะทำให้เกิด สัทธรรม7 (ดูสัทธรรม7) เกิดฌาน1-4 เป็นไปตาม
"จรณะ15" ที่ย่อมาจากมรรคองค์8 (ดูจรณะ15)
การที่เราสำรวมศีล สังวรณ์อินทรีย์6 จะทำให้เรามี "สติ" รู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอด ถ้านิวรณ์5มัน
เกิดก็กำจัดมัน เมื่อเปิดทวารทั้ง6ไว้ ทำใจให้แยบคาย ตา หู จมูก....ฯ กระทบ รูป เสียง กลิ่น....ฯ ถ้ามันเกิด "เวทนา"
ที่ใจ สุข-ทุกข์ ชอบ-ชัง ดูด-ผลัก โลภะ-โทสะ... มันคือตัว "กิเลส" เกิดขึ้นแล้ว เรารู้ว่ามันเกิดด้วย
อาการลิงค นิมิต เพศ เป็นสัญญลักษณ์(อาการ) เมื่อมันเกิด "กิเลส" (ทุกข์) เราก็ต้องหาสาเหตุมัน (ขบวนการนี้ ภาษาธรรมเขา
เรียกอะไรไม่รู้ ไม่ได้เรียน วิปัสสนา ธรรมวิจัย วิตกวิจาร ตรรก วิตรรก ...ฯ เดี๋ยวผู้รู้ก็มาบอกเอง แถมจะ
ว่าผม เชย ! ระเบิดระเบ้อ...) เมื่อขบวนการมันหา "เหตุ" เจอ ก็ "ปหาร" หรือ "ดับ" มันซะ โดยทำใจในใจ
(ภาษาธรรมเขาเรียกโยนิโสมนสิการ)ใหม่ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง เมื่อเรา "ดับ" มันได้ เราก็จะรู้
ที่ใจเหมือนตอนที่มันเกิดเราก็รู้ มันดับเราก็ต้องรู้.....ที่กล่าวมาเป็นการปฎิบัติที่ภาษาธรรมเขาเรียก "อริยสัจ4"
(ดูอริยสัจ4)
แต่ละวันก็ทำแบบนี้แหละมันเกิด ก็หาสาเหตุ แล้วดับมัน ทำมาก ๆ ทำบ่อย ๆ ก็จะชำนาญ เหมือนพ่อครัว
แม่ครัว ที่ชำนาญแล้ว เจอกิเลสปุ๊บ ก็จะหาสาเหตุและดับมันปั๊บเลย ตัวไหนเราดับมันได้ มันจะไม่เกิดอีก ได้
แล้วได้เลย ถ้ายังมีเหลือโผล่มาอีก เราก็ทำซ้ำ เดี๋ยวก็หมด
ทีนี้มีบางกรณี(ขออนุญาตเรียกวิปัสสนาก็แล้วกัน ผิดเดี๋ยวเขามาด่าเอง) เราวิปัสสนาไม่จบขบวนการ โจทย์มัน
อาจจะยาก หรือเรามีเวลาน้อย จึงหาสาเหตุมันยังไม่เจอ เราก็ต้อง "สมถะ" (ที่เขาเรียกกัน) คือกด ข่มมันไว้ก่อน
ประมาณ "ฝากไว้ก่อน" พอกลับบ้านอาบน้ำ กินข้าวเสร็จ ก็หาเวลามานั่งทบทวน เรื่องที่เราสมถะไว้ ระลึกย้อนไป
เหตุการณ์ที่เราฝากไว้ เขาเรียกว่า "บุปเพนิวา ฯ" ประหนึ่งเด็กนักเรียนกลับมาทำการบ้าน หาแง่มุม ถ้ามีผู้รู้(สัตบุรุษ)
อยู่ด้วยก็ถามท่าน เมื่อได้แง่มุมดีแล้ว พรุ่งนี้ถ้าเจอกิเลสแบบตัวนี้ หรือคล้ายกันอีก ก็เอาที่เราทำการบ้านมาจัดการมัน
ถ้าดับมันได้ ก็แสดงว่า การบ้านของเรา "ถูกต้อง" ถ้าดับไม่ได้ ก็ต้องมาพิจารณาใหม่
เมื่อเรารู้ตัวเมื่อไหร่ก็ปฎิบัติอยู่แบบนี้แหละ ทุกครั้งที่เราดับกิเลสได้ เราก็จะเกิดปิติ จิตใจก็จะสงบ ตั้งมั่น ปราศจาก
กิเลสมารบกวน ก็จะน้อมจิตไปทำการงาน ตัดสินใจเรื่องต่าง ได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง เกิดปัญญาในข้อ11 เกิด
ฌาน1-4 ในข้อ 12-15 ของจรณะ15 (ดูจรณะ15) มันเกิดของมันเองนะ เพียงแต่เราปฎิบัติตามที่กล่าวมา เดี๋ยวผู้รู้จะมาว่า
ผมมาทำเป็นข้อ ๆ สภาวะมันเกิดต่อเนื่องรวดเดียวติดกันเลย เพียงแต่คุยกันก็ต้องพูดแบบนี้ มิฉะนั้นก็ไม่รู้จะสื่อกันอย่างไร
กิเลสเกิดเรารู้ กิเลสดับเราก็รู้ ด้วยอาการ ลิงค นิมิต เพศ ปฎิบัติต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ สักวันหนึ่งกิเลสตัวสุดท้ายถูกเราดับ
ขั้นอาสวะ อนุสัย ก็ว่าไป เราก็จะรู้อาการ(เหมือนพระอานนท์) ว่าชาติ ภพ สิ้นแล้ว กิจอื่นที่ต้องทำ(เพื่อตน) ไม่มีอีก ชีวิตเหลือยังไม่ตาย
ก็ยังประโยชน์ เพื่อผู้อื่นเหมือนพระพุทธเจ้า........จบ อาบน้ำรอรับทัวร์ลง
ฝากไวัพิจารณา
ขอบคุณครับ