เด็กห้ามยกน้ำหนัก ห้ามฝึกเวท เพราะจะทำให้ไม่สูง กระทบต่อการเจริญเติบโตจริงรึเปล่า ? มาดูข้อมูลชัดๆจากงานวิจัยกันดีกว่าครับ
ปีนี้ 2024 แล้วเราก็ยังเห็นความคิดแบบนี้กันอยู่เรื่อยๆนะครับ ผมหวังแต่ว่ามันจะมีลดลง ลดลง ลดลง ไปตามกาลเวลา เพราะมันเป็นความเชื่อที่ เอิ่ม เขาศึกษากันมานานแล้วว่าไม่เป็นตามนั้น วันนี้จึงของนำงานวิจัยมาแชร์กัน
จริงๆก่อนหน้านี้ ผมเคยนำบทความของวารสารกุมารแพทย์ศาสตร์แห่งสหรัฐมาแชร์ไว้ในเว็บ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ก็ใหม่และอัพเดต โดยศึกษาหลักฐานจากงานต่างๆที่ผ่านมาไปแล้วนะครับ ว่าเด็กและวัยรุ่นนั้นไม่ควรเล่นเวทจริงรึเปล่าใครสนใจก็ไปอ่านกันเพลินๆได้นะครับ ตามลิงค์เลย [1]
ส่วนงานนี้เนี่ย เป็นงานของ Sadres และคณะ (2001) [2] ความน่าสนใจของงานนี้ก็คือเขาศึกษากันนานเลย ติดตามผล 2 ปี และทำในเด็กจริงๆ ที่อายุเฉลี่ย 9 ขวบ กลุ่มทดลอง 27 คน กลุ่มควบคุม 22 คน โดยเขาให้กลุ่มทดลองเนี่ย ฝึกเวทเทรนนิ่งสัปดาห์ละ 2 วัน ความหนักของน้ำหนักที่ใช้ 30-70% 1RM
ซึ่งก็เป็นระดับความหนักในระดับ Low - Moderate นะครับ การฝึกมี 3-6 ท่า ท่าละ 1-4 set และ set ละ 5-30 ครั้ง ถ้าน้ำหนักเยอะหน่อย 70%RM ก็ยก 5 ครั้ง ถ้าน้ำหนักเบาๆ 30%RM ก็ยก 30 ครั้ง ก็เป็นโปรแกรมพื้นฐานนะครับ ไม่ได้ยากไม่ได้ง่ายจนเกินไป ส่วนอีกกลุ่มนึงก็ไม่ต้องทำอะไรครับ
การฝึกที่เขาให้ทำ การฝึกที่ว่าทำ 2 ปีเนี่ย ก็ทำปีละ 9 เดือนในตอนเปิดเทอมนะครับ ส่วนช่วง summer เด็กไปทำอะไร ไม่ได้มีกำหนด หรือเก็บข้อมูลมาเพิ่ม อาหารการกินก็ตามที่เด็กๆทานกัน ไม่ได้กำหนดอะไรมาก
ผลที่ได้คือ ?
ผลเมื่อผ่านไป เมื่อดูการเติบโต การเปลี่ยนแปลงทางด้านรูปร่าง ไม่พบว่ามีความแตกต่างอะไรกันมากกลุ่มทดลองสูงขึ้นมากกว่านิดหน่อยแต่ในทางสถิติแล้วก็ถือว่าเท่าๆกันคือ 9.7 และ 9.3cm ไม่ได้แตกต่างอะไรกันมาก น้ำหนักตัวก็พัฒนาตามวัยทั้งสองกลุ่ม ไม่ได้แตกต่างอะไรกันมากเช่นกัน
พัฒนาการของร่างกายไม่ได้แตกต่างกันนะครับ ความแตกต่างจะเห็นได้ชัดเจนขึ้นในแง่ของความแข็งแรง เมื่อทำการทดสอบความแข็งแรงของขาด้วยการทำ Knee flexors และ Knee Extension หรือท่า Leg extension และ Leg curl นั่นแหละครับ
ผลจากงานนี้ก็ทำให้เห็นได้ว่าการฝึกเวทนั้นทำให้เด็กแข็งแรงขึ้น และไม่ส่งผลต่อพัฒนาการของร่างกายทั้งน้ำหนักตัวและความสูง อย่างที่บอกว่างานนี้น่าสนใจเพราะศึกษายาวนานถึง 2 ปี งานอื่นๆ ก่อนหน้านี้มักจะทำกันแค่ 2-4 เดือน ความเชื่อเรื่องเวทแล้วเตี้ย นั้นไม่พบในข้อมูลของงานนี้นะครับ
ทั้งนี้การออกแบบการฝึกของเขาในงานนี้ก็วางโปรแกรมสอดคล้องกับแนวทางการฝึกของเด็กของ ACSM (ในขณะนั้น) ซึ่งให้ฝึกเพียงสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และใช้ความหนักที่เบาถึงกลางๆ 30-70%RM ก็ยังเห็นถึงการพัฒนาด้านความแข็งแรงได้อยู่ พ่อแม่ผู้ปกครอง ถ้าอยากให้เด็กๆแข็งแรง ก็ลองนำไปชวนน้องๆเล่นได้
ในการฝึกของเขาที่ช่วงปิดเทอม ไม่ได้มีการฝึกเนี่ย ในทางการกีฬาก็คล้ายๆกับช่วง Detrain หรือพักฝึกของพวกนักกีฬานะครับ ช่วง Off season ก็ให้ไปพักผ่อนกันตามอัธยาศัย กลับมาฝึกต่อก็ยังพบว่าความแข็งแรงพัฒนาต่อได้ คือจริงๆกลุ่มไม่ได้ฝึกก็มีความแข็งแรงที่เพิ่มขึ้นตามเวลานะ แต่ถ้าเทียบกันต่อน้ำหนักตัวพบว่ากลุ่มที่ฝึกมีความแข็งแรงในทุกๆช่วงที่มากกว่าโดยเฉลี่ย
สรุป
ถึงตรงนี้ใครยังกังวลว่าไม่อยากให้ลูกเวทเพราะกลัวเตี้ยอีก ก็แล้วแต่สะดวกใจนะครับ ผมไม่ได้มีส่วนได้เสียกับบุตรหลานท่าน แต่ข้อมูลมันชัดเจนอย่างนั้นจริงๆ
Link บทความ
https://www.fatfighting.net/2024-02-08-the-effect-of-long-term-resistance-training-on-anthropometric-measures/
อ้างอิง
1.
https://www.fatfighting.net/article-2022-01-04-dose-children-should-avoid-resistance-training/
2. Sadres, E., Eliakim, A., Constantini, N., Lidor, R., & Falk, B. (2001, November). The Effect of Long-Term Resistance Training on Anthropometric Measures, Muscle Strength, and Self Concept in Pre-Pubertal Boys. Pediatric Exercise Science, 13(4), 357–372.
https://doi.org/10.1123/pes.13.4.357
เด็กไม่ควรเล่นเวท เล่นกล้าม เพราะเดี๋ยวจะส่งผลกับการเติบโตจริงมั้ย ?
ปีนี้ 2024 แล้วเราก็ยังเห็นความคิดแบบนี้กันอยู่เรื่อยๆนะครับ ผมหวังแต่ว่ามันจะมีลดลง ลดลง ลดลง ไปตามกาลเวลา เพราะมันเป็นความเชื่อที่ เอิ่ม เขาศึกษากันมานานแล้วว่าไม่เป็นตามนั้น วันนี้จึงของนำงานวิจัยมาแชร์กัน
จริงๆก่อนหน้านี้ ผมเคยนำบทความของวารสารกุมารแพทย์ศาสตร์แห่งสหรัฐมาแชร์ไว้ในเว็บ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ก็ใหม่และอัพเดต โดยศึกษาหลักฐานจากงานต่างๆที่ผ่านมาไปแล้วนะครับ ว่าเด็กและวัยรุ่นนั้นไม่ควรเล่นเวทจริงรึเปล่าใครสนใจก็ไปอ่านกันเพลินๆได้นะครับ ตามลิงค์เลย [1]
ส่วนงานนี้เนี่ย เป็นงานของ Sadres และคณะ (2001) [2] ความน่าสนใจของงานนี้ก็คือเขาศึกษากันนานเลย ติดตามผล 2 ปี และทำในเด็กจริงๆ ที่อายุเฉลี่ย 9 ขวบ กลุ่มทดลอง 27 คน กลุ่มควบคุม 22 คน โดยเขาให้กลุ่มทดลองเนี่ย ฝึกเวทเทรนนิ่งสัปดาห์ละ 2 วัน ความหนักของน้ำหนักที่ใช้ 30-70% 1RM
ซึ่งก็เป็นระดับความหนักในระดับ Low - Moderate นะครับ การฝึกมี 3-6 ท่า ท่าละ 1-4 set และ set ละ 5-30 ครั้ง ถ้าน้ำหนักเยอะหน่อย 70%RM ก็ยก 5 ครั้ง ถ้าน้ำหนักเบาๆ 30%RM ก็ยก 30 ครั้ง ก็เป็นโปรแกรมพื้นฐานนะครับ ไม่ได้ยากไม่ได้ง่ายจนเกินไป ส่วนอีกกลุ่มนึงก็ไม่ต้องทำอะไรครับ
การฝึกที่เขาให้ทำ การฝึกที่ว่าทำ 2 ปีเนี่ย ก็ทำปีละ 9 เดือนในตอนเปิดเทอมนะครับ ส่วนช่วง summer เด็กไปทำอะไร ไม่ได้มีกำหนด หรือเก็บข้อมูลมาเพิ่ม อาหารการกินก็ตามที่เด็กๆทานกัน ไม่ได้กำหนดอะไรมาก
ผลที่ได้คือ ?
ผลเมื่อผ่านไป เมื่อดูการเติบโต การเปลี่ยนแปลงทางด้านรูปร่าง ไม่พบว่ามีความแตกต่างอะไรกันมากกลุ่มทดลองสูงขึ้นมากกว่านิดหน่อยแต่ในทางสถิติแล้วก็ถือว่าเท่าๆกันคือ 9.7 และ 9.3cm ไม่ได้แตกต่างอะไรกันมาก น้ำหนักตัวก็พัฒนาตามวัยทั้งสองกลุ่ม ไม่ได้แตกต่างอะไรกันมากเช่นกัน
พัฒนาการของร่างกายไม่ได้แตกต่างกันนะครับ ความแตกต่างจะเห็นได้ชัดเจนขึ้นในแง่ของความแข็งแรง เมื่อทำการทดสอบความแข็งแรงของขาด้วยการทำ Knee flexors และ Knee Extension หรือท่า Leg extension และ Leg curl นั่นแหละครับ
ผลจากงานนี้ก็ทำให้เห็นได้ว่าการฝึกเวทนั้นทำให้เด็กแข็งแรงขึ้น และไม่ส่งผลต่อพัฒนาการของร่างกายทั้งน้ำหนักตัวและความสูง อย่างที่บอกว่างานนี้น่าสนใจเพราะศึกษายาวนานถึง 2 ปี งานอื่นๆ ก่อนหน้านี้มักจะทำกันแค่ 2-4 เดือน ความเชื่อเรื่องเวทแล้วเตี้ย นั้นไม่พบในข้อมูลของงานนี้นะครับ
ทั้งนี้การออกแบบการฝึกของเขาในงานนี้ก็วางโปรแกรมสอดคล้องกับแนวทางการฝึกของเด็กของ ACSM (ในขณะนั้น) ซึ่งให้ฝึกเพียงสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และใช้ความหนักที่เบาถึงกลางๆ 30-70%RM ก็ยังเห็นถึงการพัฒนาด้านความแข็งแรงได้อยู่ พ่อแม่ผู้ปกครอง ถ้าอยากให้เด็กๆแข็งแรง ก็ลองนำไปชวนน้องๆเล่นได้
ในการฝึกของเขาที่ช่วงปิดเทอม ไม่ได้มีการฝึกเนี่ย ในทางการกีฬาก็คล้ายๆกับช่วง Detrain หรือพักฝึกของพวกนักกีฬานะครับ ช่วง Off season ก็ให้ไปพักผ่อนกันตามอัธยาศัย กลับมาฝึกต่อก็ยังพบว่าความแข็งแรงพัฒนาต่อได้ คือจริงๆกลุ่มไม่ได้ฝึกก็มีความแข็งแรงที่เพิ่มขึ้นตามเวลานะ แต่ถ้าเทียบกันต่อน้ำหนักตัวพบว่ากลุ่มที่ฝึกมีความแข็งแรงในทุกๆช่วงที่มากกว่าโดยเฉลี่ย
สรุป
ถึงตรงนี้ใครยังกังวลว่าไม่อยากให้ลูกเวทเพราะกลัวเตี้ยอีก ก็แล้วแต่สะดวกใจนะครับ ผมไม่ได้มีส่วนได้เสียกับบุตรหลานท่าน แต่ข้อมูลมันชัดเจนอย่างนั้นจริงๆ
Link บทความ https://www.fatfighting.net/2024-02-08-the-effect-of-long-term-resistance-training-on-anthropometric-measures/
อ้างอิง
1. https://www.fatfighting.net/article-2022-01-04-dose-children-should-avoid-resistance-training/
2. Sadres, E., Eliakim, A., Constantini, N., Lidor, R., & Falk, B. (2001, November). The Effect of Long-Term Resistance Training on Anthropometric Measures, Muscle Strength, and Self Concept in Pre-Pubertal Boys. Pediatric Exercise Science, 13(4), 357–372. https://doi.org/10.1123/pes.13.4.357