เมื่อศีรษะได้รับบาดเจ็บสิ่งที่ต้องระวังคืออาการบาดเจ็บ ทางสมอง เราจึงต้องสังเกตอาการนานถึง 72 ชั่วโมง
การบาดเจ็บที่ศีรษะเป็นสาเหตุการตาย และความพิการที่สำคัญที่สุดของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทุกๆ ประเภท
นอกจากนี้ยังพบว่าการบาดเจ็บที่ศีรษะมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุ
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ 72 ชั่วโมง เฝ้าระวัง หลังศรีษะกระแทก
บาดเจ็บที่ศีรษะ เป็นการบาดเจ็บที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมอง
เช่น อ่อนแรง สูญเสียการทรงตัว สับสน มึนงง จำสถานที่ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะมีสาเหตุมาจากมีแรงภายนอกสมองมากระทบ
การบาดเจ็บที่ศีรษะจะเกิดขึ้นได้ทั้งการบาดเจ็บที่ศีรษะโดยตรง เช่น ถูกตี ถูกยิง ชนของแข็ง
และอาจเกิดจากการบาดเจ็บทางอ้อม เช่น การตกจากที่สูงแล้วก้นกระแทกพื้น
แต่ทำให้ศีรษะกระแทกกระดูกคอส่วนบนทำให้เกิดการกระทบกระเทือนที่สมองส่วนท้าย
การบาดเจ็บที่ศีรษะนั้นจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้
1.บาดเจ็บที่ศีรษะระยะแรก (Primary head injury) เป็นการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน
ซึ่งกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ ของศีรษะ เช่น หนังศีรษะ กะโหลกศีรษะ เนื้อสมอง
อาจเกิดได้ทั้งการบวม ช้ำ เนื้อสมองช้ำ กะโหลกแตกยุบ เป็นต้น
2.บาดเจ็บที่ศีรษะระยะที่สอง (Secondary head injury) เป็นภาวะแทรกซ้อนหลังเกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะ
โดยอาจใช้เวลานานเป็นนาที เป็นชั่วโมง หรือนานเป็นวัน เช่น ภาวะเลือดออกภายในกะโหลกศีรษะ และเกิดภาวะสมองบวม เป็นต้น
ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการประเมินภาวะสุขภาพอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะเกิดความดันในกะโหลกสูงได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้พิการและเสียชีวิต
การซักประวัติ เมื่อผู้ป่วยได้รับ อุบัติเหตุ จะต้องหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ประเมินอาการผู้ป่วย
มีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน หรือมีความรู้สึกที่ผิดปกติ เช่น มีเลือดออกจากจมูกหรือหู หูอื้อ ตามัว
ชาที่ผิวหนังหรือไม่ ผู้ป่วยหมดสติไปนานแค่ไหน ดื่มสุราหรือกินยาด้วยหรือไม่ รวมถึงเวลาที่กินอาหารครั้งสุดท้าย
การตรวจร่างกาย ตรวจระดับความรู้สึกตัวและมีสติ ลักษณะการหายใจ ตรวจรูม่านตา การเคลื่อนไหวแขนขา
ปฏิกิริยารีเฟลกซ์ มีน้ำหรือเลือดไหลออกจากจมูกหรือหูหรือไม่ คลำดูเพื่อหารอยห้อเลือดบริเวณหนังศีรษะ
ตรวจสัญญาณชีพ ดูอาการที่แสดงว่ามีความดันในกะโหลกเพิ่ม ตรวจดูว่ามีกระดูกหักร่วมด้วยหรือไม่
การตรวจเพื่อวินิจฉัย มีการเจาะเลือดเพื่อตรวจดูฮีมาโตคริต หรือปริมาตรเมดเลือดแดงในเลือด
น้ำตาลในกระแสเลือด และแก๊สในหลอดเลือด ตรวจดูการหายใจ ถ่ายภาพรังสีกะโหลกศีรษะเพื่อตรวจดูว่ามีการแตกหรือไม่
รวมทั้งการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง การตรวจสมองด้วยคลื่นแมเหล็ก
การฉีดสีเข้าหลอดเลือดแดงเพื่อดูความผิดปกติว่ามีเลือดออกหรือมีสิ่งที่เกิดขึ้นในสมองหรือไม่
การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะมี 2 ระยะ คือ
1. ระยะฉุกเฉินหรือระยะเฉียบพลัน เป็นการประเมินอาการทางระบบประสาทร่วมกับระบบอื่นๆ ของร่างกาย
เพื่อเป็นแนวทางในการวินิจฉัยของแพทย์, การดูแลและจัดทางเดินหายใจให้โล่ง โดยให้ออกซิเจนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง,
การดูแลให้มีเลือดไปเลี้ยง สมอง ได้อย่างเพียงพอ, รักษาอาการช็อกที่เกิดจากการบาดเจ็บบริเวณอวัยวะอื่นๆ
2. ระยะการรักษาทั่วไป เป็นการรักษาที่ต่อเนื่องจากการรักษาในระยะฉุกเฉิน การรักษาทั่วไป
เช่น การรักษาเพื่อป้องกันสมองบวม การรักษาเพื่อคงความดันในกะโหลกศีรษะให้คงที่
การใส่สายยางปัสสาวะค้างไว้ในระยะแรกในรายที่สมองบวม เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้
ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะในระดับที่ไม่รุนแรง แม้ว่าจะได้รับการรักษาในเบื้องต้นและแพทย์ให้กลับบ้านได้แล้ว
แต่ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดประมาณ 1-2 วัน โดยอาการที่ต้องสังเกต
การดูแลตนเองเมื่อพักฟื้นอยู่ที่บ้าน
งดออกกำลังกายทุกชนิดอย่างน้อย 24 ชั่วโมง รับประทานอาหารอ่อน รับประทานยาแก้ปวดตามแพทย์สั่ง มีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด
แต่หากมีอาการเหล่านี้…ควรรีบกลับมาพบแพทย์ในทันที
ง่วงซึมมากขึ้นกว่าเดิม หรือหมดสติ กระสับกระส่ายมาก พูดลำบากหรือ ชักกระตุก
กำลังของแขน-ขา ลดน้อยลงกว่าเดิม ชีพจรเต้นช้ามาก หรือมีไข้สูง
คลื่นไส้มาก อาเจียนติดต่อกันหลายครั้ง ปวดศีรษะรุนแรง โดยไม่ทุเลา
มีเลือดใสๆ หรือน้ำใสๆ ออกทางหูหรือทางจมูก (ถ้ามีไม่ควรพยายามเช็ด หรือสั่งออก)
คอแข็ง วิงเวียนมาก หรือมองเห็นภาพพร่า ปวดตุบๆในลูกตา
72 ชั่วโมง เฝ้าระวัง หลังศรีษะกระแทก
การบาดเจ็บที่ศีรษะเป็นสาเหตุการตาย และความพิการที่สำคัญที่สุดของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทุกๆ ประเภท
นอกจากนี้ยังพบว่าการบาดเจ็บที่ศีรษะมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุ
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ 72 ชั่วโมง เฝ้าระวัง หลังศรีษะกระแทก
บาดเจ็บที่ศีรษะ เป็นการบาดเจ็บที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมอง
เช่น อ่อนแรง สูญเสียการทรงตัว สับสน มึนงง จำสถานที่ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะมีสาเหตุมาจากมีแรงภายนอกสมองมากระทบ
การบาดเจ็บที่ศีรษะจะเกิดขึ้นได้ทั้งการบาดเจ็บที่ศีรษะโดยตรง เช่น ถูกตี ถูกยิง ชนของแข็ง
และอาจเกิดจากการบาดเจ็บทางอ้อม เช่น การตกจากที่สูงแล้วก้นกระแทกพื้น
แต่ทำให้ศีรษะกระแทกกระดูกคอส่วนบนทำให้เกิดการกระทบกระเทือนที่สมองส่วนท้าย
การบาดเจ็บที่ศีรษะนั้นจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้
1.บาดเจ็บที่ศีรษะระยะแรก (Primary head injury) เป็นการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน
ซึ่งกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ ของศีรษะ เช่น หนังศีรษะ กะโหลกศีรษะ เนื้อสมอง
อาจเกิดได้ทั้งการบวม ช้ำ เนื้อสมองช้ำ กะโหลกแตกยุบ เป็นต้น
2.บาดเจ็บที่ศีรษะระยะที่สอง (Secondary head injury) เป็นภาวะแทรกซ้อนหลังเกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะ
โดยอาจใช้เวลานานเป็นนาที เป็นชั่วโมง หรือนานเป็นวัน เช่น ภาวะเลือดออกภายในกะโหลกศีรษะ และเกิดภาวะสมองบวม เป็นต้น
ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการประเมินภาวะสุขภาพอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะเกิดความดันในกะโหลกสูงได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้พิการและเสียชีวิต
การซักประวัติ เมื่อผู้ป่วยได้รับ อุบัติเหตุ จะต้องหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ประเมินอาการผู้ป่วย
มีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน หรือมีความรู้สึกที่ผิดปกติ เช่น มีเลือดออกจากจมูกหรือหู หูอื้อ ตามัว
ชาที่ผิวหนังหรือไม่ ผู้ป่วยหมดสติไปนานแค่ไหน ดื่มสุราหรือกินยาด้วยหรือไม่ รวมถึงเวลาที่กินอาหารครั้งสุดท้าย
การตรวจร่างกาย ตรวจระดับความรู้สึกตัวและมีสติ ลักษณะการหายใจ ตรวจรูม่านตา การเคลื่อนไหวแขนขา
ปฏิกิริยารีเฟลกซ์ มีน้ำหรือเลือดไหลออกจากจมูกหรือหูหรือไม่ คลำดูเพื่อหารอยห้อเลือดบริเวณหนังศีรษะ
ตรวจสัญญาณชีพ ดูอาการที่แสดงว่ามีความดันในกะโหลกเพิ่ม ตรวจดูว่ามีกระดูกหักร่วมด้วยหรือไม่
การตรวจเพื่อวินิจฉัย มีการเจาะเลือดเพื่อตรวจดูฮีมาโตคริต หรือปริมาตรเมดเลือดแดงในเลือด
น้ำตาลในกระแสเลือด และแก๊สในหลอดเลือด ตรวจดูการหายใจ ถ่ายภาพรังสีกะโหลกศีรษะเพื่อตรวจดูว่ามีการแตกหรือไม่
รวมทั้งการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง การตรวจสมองด้วยคลื่นแมเหล็ก
การฉีดสีเข้าหลอดเลือดแดงเพื่อดูความผิดปกติว่ามีเลือดออกหรือมีสิ่งที่เกิดขึ้นในสมองหรือไม่
การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะมี 2 ระยะ คือ
1. ระยะฉุกเฉินหรือระยะเฉียบพลัน เป็นการประเมินอาการทางระบบประสาทร่วมกับระบบอื่นๆ ของร่างกาย
เพื่อเป็นแนวทางในการวินิจฉัยของแพทย์, การดูแลและจัดทางเดินหายใจให้โล่ง โดยให้ออกซิเจนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง,
การดูแลให้มีเลือดไปเลี้ยง สมอง ได้อย่างเพียงพอ, รักษาอาการช็อกที่เกิดจากการบาดเจ็บบริเวณอวัยวะอื่นๆ
2. ระยะการรักษาทั่วไป เป็นการรักษาที่ต่อเนื่องจากการรักษาในระยะฉุกเฉิน การรักษาทั่วไป
เช่น การรักษาเพื่อป้องกันสมองบวม การรักษาเพื่อคงความดันในกะโหลกศีรษะให้คงที่
การใส่สายยางปัสสาวะค้างไว้ในระยะแรกในรายที่สมองบวม เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้
ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะในระดับที่ไม่รุนแรง แม้ว่าจะได้รับการรักษาในเบื้องต้นและแพทย์ให้กลับบ้านได้แล้ว
แต่ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดประมาณ 1-2 วัน โดยอาการที่ต้องสังเกต
การดูแลตนเองเมื่อพักฟื้นอยู่ที่บ้าน
งดออกกำลังกายทุกชนิดอย่างน้อย 24 ชั่วโมง รับประทานอาหารอ่อน รับประทานยาแก้ปวดตามแพทย์สั่ง มีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด
แต่หากมีอาการเหล่านี้…ควรรีบกลับมาพบแพทย์ในทันที
ง่วงซึมมากขึ้นกว่าเดิม หรือหมดสติ กระสับกระส่ายมาก พูดลำบากหรือ ชักกระตุก
กำลังของแขน-ขา ลดน้อยลงกว่าเดิม ชีพจรเต้นช้ามาก หรือมีไข้สูง
คลื่นไส้มาก อาเจียนติดต่อกันหลายครั้ง ปวดศีรษะรุนแรง โดยไม่ทุเลา
มีเลือดใสๆ หรือน้ำใสๆ ออกทางหูหรือทางจมูก (ถ้ามีไม่ควรพยายามเช็ด หรือสั่งออก)
คอแข็ง วิงเวียนมาก หรือมองเห็นภาพพร่า ปวดตุบๆในลูกตา