แค่หกล้มอย่าคิดว่าไม่เป็นอะไร!!!
รู้ทันภาวะเลือดออกในสมองเด็กจากอุบัติเหตุ
วัยเด็กเป็นวัยที่มีโอกาสเจอกับอุบัติเหตุบ่อยที่สุด เพราะเป็นวัยที่ยังไม่สามารถดูแลตัวเองได้ ดังนั้น การหกล้ม ตกเตียง ตกเก้าอี้ หรือเดินชนนู่นนั่นนี่จึงแทบจะเป็นเรื่องปกติของทุกบ้าน (ไม่เว้นแม้แต่บ้านพี่หมอ 😂😂)
ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะไม่ต้องวิตกกังวลมาก ถ้าลูกของเรามีเพียงแค่บาดแผลบวมช้ำภายนอก ยกเว้นหากเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองไม่ควรนิ่งนอนใจเด็ดขาด เพราะแม้ว่าภายนอกจะไม่มีบาดแผล และลูกก็อาจจะยังมีสติ สามารถตอบโต้กับเราได้ปกติ แต่บางทีอาจจะมีเลือดออกอยู่ข้างในได้ โดยเฉพาะบริเวณสมอง
ภาวะดังกล่าวเรียกว่า ภาวะเลือดออกในสมอง 🧠 ซึ่งจะทำให้สมองบวมและความดันในกะโหลกศีรษะสูงขึ้น ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยสังเกตอาการของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับชีวิตของลูก แล้วภาวะนี้มีสาเหตุมาจากอะไร มีวิธีประเมินอาการเบื้องต้นและรักษาอย่างไร ไปหาคำตอบพร้อมๆ กันเลยครับ
สาเหตุของภาวะเลือดออกในสมองในเด็ก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ภาวะเลือดออกในสมองที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุ เช่น พลัดตกจากที่สูง กระแทกหรือวิ่งชนกัน ถูกของแข็งตีที่บริเวณศีรษะ รวมถึงการจับเด็กมาเขย่าก็อาจก่อให้เกิดภาวะเลือดออกในสมองได้
2. ภาวะเลือดออกในสมองที่ไม่เกี่ยวกับอุบัติเหตุ ได้แก่ โรคที่เกี่ยวกับสมอง เส้นเลือดในสมองแตก มีก้อนเนื้องอกในสมอง มีโรคประจำตัว เช่น เลือดออกง่ายแต่หยุดยาก โรคตับ เป็นต้น
ทำไมการวิ่งชนกันในโรงเรียน หรืออุบัติเหตุเล็กๆ จึงเป็นอันตรายกับเด็ก❓
พี่หมอขอยกตัวอย่างจากกรณีศึกษาในต่างประเทศ มีเด็กผู้หญิงอายุ 9 ขวบ วิ่งชนกันและสลบไป เพียงไม่นานก็ฟื้นขึ้นมา ทำให้พ่อแม่ต่างก็นิ่งนอนใจ เพราะคิดว่าไม่เป็นอะไร แต่ไม่นานเด็กก็สลบไปอีกครั้งและไม่ฟื้นขึ้นมาอีกเลย
ภาวะดังกล่าวเรียกว่า Lucid Interval ซึ่งเกิดจากการที่สมองได้รับความกระทบกระเทือนและสติดับลง ทำให้ในสมองเริ่มมีเลือดออกทีละนิดๆ ซึ่งในขณะที่เลือดยังออกน้อย คนไข้จะยังมีสติและรู้ตัวอยู่ จนกระทั่งเกิดภาวะสมองบวมและความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มสูงขึ้น เป็นสาเหตุให้คนไข้เสียชีวิต
ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่และคุณครูจึงไม่ควรมองข้ามอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ อย่างการวิ่งชนกันของเด็ก เพราะถ้าสังเกตว่าเด็กมีอาการผิดปกติ ก็ควรจะรีบนำตัวไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาทันที
การประเมินอาการเมื่อเด็กได้รับอุบัติเหตุที่สมอง
1. ประเมินว่าเด็กยังรู้สึกตัวหรือไม่ หากไม่รู้สึกตัวให้ประเมินว่าเด็กยังหายใจอยู่หรือไม่ ชีพจรเป็นอย่างไร หากจับชีพจรไม่เจอ ก็จำเป็นต้องทำการกู้ชีพโดยด่วนและควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที แต่ถ้าเด็กยังหายใจเองได้ ชีพจรยังปกติ แต่แค่ไม่รู้สึกตัว ควรโทรเรียกรถพยาบาลหรือหน่วยกู้ภัยมาช่วยเหลือ เพราะต้องดูว่าต้นคอได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ไม่ควรช่วยเหลือเด็กด้วยตัวเองเด็ดขาด เพราะหากช่วยเหลือไม่ถูกวิธีก็อาจทำให้เกิดอันตรายกับเด็กได้
2. หากประเมินแล้วเด็กรู้สึกตัวดี ควรประเมินอาการเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
2.1 บริเวณศีรษะมีแผลบวม โน ฉีกขาด หรือมีรอยช้ำหรือไม่
2.2 มีก้อนบวมที่บริเวณหูซึ่งอาจเกิดจากฐานกะโหลกศีรษะมีรอยร้าวหรือรอยแตกหรือไม่
2.3 เด็กมีอาการซึม ไม่ร่าเริงหรือไม่
2.4 เด็กยังสามารถตอบสนองได้ดี ทำตามคำสั่ง พูดคุยปกติหรือไม่
2.5 เด็กยังเดินได้ปกติ หรือมีอาการอ่อนแรง เดินเซหรือไม่
2.6 ในเด็กเล็ก ร้องกวน ปลอบไม่หยุดหรือไม่
2.7 เด็กมีอาการชักหรือช็อกหรือไม่
2.8 เด็กมีอาการปวดศีรษะ อาเจียน หรือมีเลือดไหลออกจากจมูกหรือหูหรือไม่
⚠️หากเด็กมีอาการข้างต้น ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที
การรักษาภาวะเลือดออกในสมองในเด็ก 👩⚕️
การรักษาภาวะเลือดออกในสมองในเด็กจะต้องรักษาตามอาการของผู้ป่วย ดังนี้
1. เนื่องจากสมองมีหลายส่วน ดังนั้น เพื่อให้การรักษาได้ผลดีที่สุด แพทย์จะต้องประเมินอาการด้วยการทำ CT Scan เพื่อดูว่ามีเลือดออกในบริเวณใด ซึ่งโดยส่วนมากเลือดจะออกในบริเวณเยื่อหุ้ม โดยภาวะเลือดออกในสมองบริเวณเยื่อหุ้มมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดคือ
1.1 ภาวะเลือดออกในสมองเหนือบริเวณเยื่อหุ้ม ซึ่งหากมีเลือดออกในบริเวณนี้ แพทย์จะรักษาโดยการเจาะรูและดูดเลือดในบริเวณนั้นออกมาเท่านั้น
1.2 ภาวะเลือดออกในสมองต่ำกว่าบริเวณเยื่อหุ้ม (Dural Hematoma) หากมีเลือดออกในบริเวณนี้ จะมีการประเมินว่าเลือดออกบริเวณส่วนไหน และแพทย์จะทำการผ่าตัดเปิดกะโหลกเฉพาะในส่วนนั้น เพื่อทำให้ตัวสมองที่บวมมีพื้นที่มากขึ้น และไม่เกิดการกดทับที่บริเวณก้านสมอง
โดยข้างต้นเป็นการรักษาเพียงเบื้องต้นเท่านั้น รายละเอียดอื่นๆ แพทย์จะรักษาเป็นกรณีๆ ไป ตามอาการของแต่ละบุคคล
2. ในกรณีที่มีภาวะเลือดออกในสมองเพียงนิดเดียว อาจจะไม่จำเป็นต้องผ่าตัด โดยแพทย์จะรักษาด้วยการให้ยา แต่ก็จำเป็นต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากมีเลือดออกมากขึ้น ก็สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดหรือดูดเลือดออกได้ทันที
คงไม่มีคุณพ่อคุณแม่คนไหนอยากให้ลูกเจ็บตัว แต่จะให้คอยปกป้องตลอดเวลาก็คงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น สิ่งที่เราทำได้ก็คงจะเป็นการเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น พยายามอย่าให้เด็กคลาดสายตานานๆ หรือถ้ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้น โดยเฉพาะที่บริเวณศีรษะ ก็ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากพบความผิดปกติแม้เพียงเล็กน้อยก็ไม่ควรนิ่งเฉย ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที 🤕🤕🤕
แค่หกล้มอย่าคิดว่าไม่เป็นอะไร!!! รู้ทันภาวะเลือดออกในสมองเด็กจากอุบัติเหตุ
รู้ทันภาวะเลือดออกในสมองเด็กจากอุบัติเหตุ
วัยเด็กเป็นวัยที่มีโอกาสเจอกับอุบัติเหตุบ่อยที่สุด เพราะเป็นวัยที่ยังไม่สามารถดูแลตัวเองได้ ดังนั้น การหกล้ม ตกเตียง ตกเก้าอี้ หรือเดินชนนู่นนั่นนี่จึงแทบจะเป็นเรื่องปกติของทุกบ้าน (ไม่เว้นแม้แต่บ้านพี่หมอ 😂😂)
ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะไม่ต้องวิตกกังวลมาก ถ้าลูกของเรามีเพียงแค่บาดแผลบวมช้ำภายนอก ยกเว้นหากเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองไม่ควรนิ่งนอนใจเด็ดขาด เพราะแม้ว่าภายนอกจะไม่มีบาดแผล และลูกก็อาจจะยังมีสติ สามารถตอบโต้กับเราได้ปกติ แต่บางทีอาจจะมีเลือดออกอยู่ข้างในได้ โดยเฉพาะบริเวณสมอง
ภาวะดังกล่าวเรียกว่า ภาวะเลือดออกในสมอง 🧠 ซึ่งจะทำให้สมองบวมและความดันในกะโหลกศีรษะสูงขึ้น ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยสังเกตอาการของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับชีวิตของลูก แล้วภาวะนี้มีสาเหตุมาจากอะไร มีวิธีประเมินอาการเบื้องต้นและรักษาอย่างไร ไปหาคำตอบพร้อมๆ กันเลยครับ
1. ภาวะเลือดออกในสมองที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุ เช่น พลัดตกจากที่สูง กระแทกหรือวิ่งชนกัน ถูกของแข็งตีที่บริเวณศีรษะ รวมถึงการจับเด็กมาเขย่าก็อาจก่อให้เกิดภาวะเลือดออกในสมองได้
2. ภาวะเลือดออกในสมองที่ไม่เกี่ยวกับอุบัติเหตุ ได้แก่ โรคที่เกี่ยวกับสมอง เส้นเลือดในสมองแตก มีก้อนเนื้องอกในสมอง มีโรคประจำตัว เช่น เลือดออกง่ายแต่หยุดยาก โรคตับ เป็นต้น
ทำไมการวิ่งชนกันในโรงเรียน หรืออุบัติเหตุเล็กๆ จึงเป็นอันตรายกับเด็ก❓
พี่หมอขอยกตัวอย่างจากกรณีศึกษาในต่างประเทศ มีเด็กผู้หญิงอายุ 9 ขวบ วิ่งชนกันและสลบไป เพียงไม่นานก็ฟื้นขึ้นมา ทำให้พ่อแม่ต่างก็นิ่งนอนใจ เพราะคิดว่าไม่เป็นอะไร แต่ไม่นานเด็กก็สลบไปอีกครั้งและไม่ฟื้นขึ้นมาอีกเลย
ภาวะดังกล่าวเรียกว่า Lucid Interval ซึ่งเกิดจากการที่สมองได้รับความกระทบกระเทือนและสติดับลง ทำให้ในสมองเริ่มมีเลือดออกทีละนิดๆ ซึ่งในขณะที่เลือดยังออกน้อย คนไข้จะยังมีสติและรู้ตัวอยู่ จนกระทั่งเกิดภาวะสมองบวมและความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มสูงขึ้น เป็นสาเหตุให้คนไข้เสียชีวิต
ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่และคุณครูจึงไม่ควรมองข้ามอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ อย่างการวิ่งชนกันของเด็ก เพราะถ้าสังเกตว่าเด็กมีอาการผิดปกติ ก็ควรจะรีบนำตัวไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาทันที
1. ประเมินว่าเด็กยังรู้สึกตัวหรือไม่ หากไม่รู้สึกตัวให้ประเมินว่าเด็กยังหายใจอยู่หรือไม่ ชีพจรเป็นอย่างไร หากจับชีพจรไม่เจอ ก็จำเป็นต้องทำการกู้ชีพโดยด่วนและควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที แต่ถ้าเด็กยังหายใจเองได้ ชีพจรยังปกติ แต่แค่ไม่รู้สึกตัว ควรโทรเรียกรถพยาบาลหรือหน่วยกู้ภัยมาช่วยเหลือ เพราะต้องดูว่าต้นคอได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ไม่ควรช่วยเหลือเด็กด้วยตัวเองเด็ดขาด เพราะหากช่วยเหลือไม่ถูกวิธีก็อาจทำให้เกิดอันตรายกับเด็กได้
2. หากประเมินแล้วเด็กรู้สึกตัวดี ควรประเมินอาการเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
2.1 บริเวณศีรษะมีแผลบวม โน ฉีกขาด หรือมีรอยช้ำหรือไม่
2.2 มีก้อนบวมที่บริเวณหูซึ่งอาจเกิดจากฐานกะโหลกศีรษะมีรอยร้าวหรือรอยแตกหรือไม่
2.3 เด็กมีอาการซึม ไม่ร่าเริงหรือไม่
2.4 เด็กยังสามารถตอบสนองได้ดี ทำตามคำสั่ง พูดคุยปกติหรือไม่
2.5 เด็กยังเดินได้ปกติ หรือมีอาการอ่อนแรง เดินเซหรือไม่
2.6 ในเด็กเล็ก ร้องกวน ปลอบไม่หยุดหรือไม่
2.7 เด็กมีอาการชักหรือช็อกหรือไม่
2.8 เด็กมีอาการปวดศีรษะ อาเจียน หรือมีเลือดไหลออกจากจมูกหรือหูหรือไม่
⚠️หากเด็กมีอาการข้างต้น ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที
การรักษาภาวะเลือดออกในสมองในเด็ก 👩⚕️
การรักษาภาวะเลือดออกในสมองในเด็กจะต้องรักษาตามอาการของผู้ป่วย ดังนี้
1. เนื่องจากสมองมีหลายส่วน ดังนั้น เพื่อให้การรักษาได้ผลดีที่สุด แพทย์จะต้องประเมินอาการด้วยการทำ CT Scan เพื่อดูว่ามีเลือดออกในบริเวณใด ซึ่งโดยส่วนมากเลือดจะออกในบริเวณเยื่อหุ้ม โดยภาวะเลือดออกในสมองบริเวณเยื่อหุ้มมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดคือ
1.1 ภาวะเลือดออกในสมองเหนือบริเวณเยื่อหุ้ม ซึ่งหากมีเลือดออกในบริเวณนี้ แพทย์จะรักษาโดยการเจาะรูและดูดเลือดในบริเวณนั้นออกมาเท่านั้น
1.2 ภาวะเลือดออกในสมองต่ำกว่าบริเวณเยื่อหุ้ม (Dural Hematoma) หากมีเลือดออกในบริเวณนี้ จะมีการประเมินว่าเลือดออกบริเวณส่วนไหน และแพทย์จะทำการผ่าตัดเปิดกะโหลกเฉพาะในส่วนนั้น เพื่อทำให้ตัวสมองที่บวมมีพื้นที่มากขึ้น และไม่เกิดการกดทับที่บริเวณก้านสมอง
โดยข้างต้นเป็นการรักษาเพียงเบื้องต้นเท่านั้น รายละเอียดอื่นๆ แพทย์จะรักษาเป็นกรณีๆ ไป ตามอาการของแต่ละบุคคล
2. ในกรณีที่มีภาวะเลือดออกในสมองเพียงนิดเดียว อาจจะไม่จำเป็นต้องผ่าตัด โดยแพทย์จะรักษาด้วยการให้ยา แต่ก็จำเป็นต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากมีเลือดออกมากขึ้น ก็สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดหรือดูดเลือดออกได้ทันที
คงไม่มีคุณพ่อคุณแม่คนไหนอยากให้ลูกเจ็บตัว แต่จะให้คอยปกป้องตลอดเวลาก็คงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น สิ่งที่เราทำได้ก็คงจะเป็นการเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น พยายามอย่าให้เด็กคลาดสายตานานๆ หรือถ้ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้น โดยเฉพาะที่บริเวณศีรษะ ก็ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากพบความผิดปกติแม้เพียงเล็กน้อยก็ไม่ควรนิ่งเฉย ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที 🤕🤕🤕