ในอรรถกถาวิสุทธิมรรค จะมีกสิณ ๑๐ (อะไรบ้างไปดูเองนะ) โดยที่กสิณตัวรองสุดท้ายจะเป็น อาโลกสิณ กสิณแสงสว่าง ซึ่งจะแตกต่างจากพุทธพจน์เวลาตรัสถึงกสิณ ๑๐ โดยพระพุทธเจ้าจะตรัสถึง วิญญาณกสิณ แทนอาโลกสิณ ส่วนการเพ่งแสงสว่างนั้น ท่านจะตรัสแยกเฉพาะออกมาโดยส่วนใหญ่จะเป็นการตรัสสอนถึงเรื่อง ญาณทัศนะ
ประเด็นก็คือ เนื้อหาเกี่ยวกับวิญญาณกสิณนั้น ช่างน้อยนิดเหลือเกิน ในอรรถกถาที่พออ่านมาบ้างก็มีแค่
"บทว่า วิญฺญาณกสิณํ ได้แก่ วิญญาณอันเป็นไปในอากาศที่เพิกกสิณ.
ในวิญญาณกสิณนั้น พึงทราบความเป็นเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ในอากาศที่เพิกกสิณ ด้วยอำนาจกสิณ ในวิญญาณอันเป็นไปแล้ว ในวิญญาณกสิณนั้น ด้วยอำนาจอากาศที่เพิกกสิณ, พึงทราบด้วยสามารถกสิณนั้น เพราะแม้อากาสกสิณที่กำหนดไว้ก็ควรเจริญดังนี้บ้าง."
ซึ่งจะคล้ายๆกับการขึ้น วิญญาณัญจายตนะ ในการเพิกอากาสานัญจายตนะ ซึ่งเป็นอรูปสมาบัติ
ความจริงแล้ว ผมก็คิดนะว่า อากาสกสิณกับอากาสานัญจายตนะนี่ก็ใกล้กันมากจนน่าสับสนแล้ว มาเจอเรื่องนี้อีกก็.. นั่นแหละ
แต่เนื่องจากเป็นกรรมฐานที่ผมก็ไม่ได้สนใจจะฝึกมัน ก็เลยเพิกเฉยไป เหมือนเพิกภาพกสิณอย่างนั้น
แต่เมื่อได้มาอ่านหนังสือ ทิพยอำนาจ ของ พระอริยคุณาธาร (ปุสฺโส เส็ง ป.๖)ได้มีเนื้อหาทิ้งท้าย ในหมวดกสิณไว้ดังนี้
"อาโลกกสิณนี้ ปรากฏในสมถกรรมฐาน ตามที่พระโบราณาจารย์ประมวลไว้ แต่ที่ปรากฏในพระบาลี ในพระไตรปิฎกหลายแห่งแทนที่ ข้อนี้เป็น วิญญาณกสิณ คือ เพ่งวิญญาณ ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะกสิณ ๑-๘ เป็นรูปกสิณ ส่วนกสิณ ๙-๑๐ เป็นอรูปกสิณ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์ของอรูปฌาน
คือ อากาสานัญจายตนะ และ วิญญาณัญจายตนะ ตามลำดับกัน แสงสว่างน่าจะใกล้ต่อเตโช หรือมิฉะนั้นก็ใกล้ต่อวิญญาณ ซึ่งมีลักษณะสว่างเช่นเดียวกัน เมื่อเพ่งลักษณะสว่างแล้วน่าจะใกล้ต่อวิญญาณมากกว่า ถ้าเป็นวิญญาณกสิณจะทำวงกลมด้วยวัตถุไม่ได้ ต้องกำหนดดวงขึ้นในใจที่เดียว ให้เป็นดวงกลมขนาดวัดผ่าศูนย์กลางคืบ ๔ นิ้ว อาโลกะและวิญญาณมีลักษณะใกล้กันมาก และอำนวยผลแก่ผู้เพ่งทำนองเดียวกัน คือ นำทางแห่งทิพยจักษุอย่างดีวิเศษ ผิดกันแต่ลักษณะการเพ่งเท่านั้น คือ วิญญาณกสิณต้องเพ่งข้างในไม่ใช่เพ่งข้างนอกเหมือนอาโลกกสิณ และอำนวยตาทิพย์ดีกว่า วิเศษกว่าอาโลกกสิณ."
ซึ่งจะพบว่าแตกต่างกับที่อรรถกถาว่ามาพอสมควร อ่านแล้วก็นึกถึงแนวทางกรรมฐานของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ (แต่นั่นก็ไม่ใช่ประเด็นนะ)
ประเด็นคือ เรื่องของวิญญาณกสิณนั้น มีทัศนะความเห็นเนื้อหาอื่นใดนอกจากนี้มั้ยครับ
วิญญาณกสิณ มีแหล่งเรียนรู้จากที่ไหนบ้างครับ
ประเด็นก็คือ เนื้อหาเกี่ยวกับวิญญาณกสิณนั้น ช่างน้อยนิดเหลือเกิน ในอรรถกถาที่พออ่านมาบ้างก็มีแค่
"บทว่า วิญฺญาณกสิณํ ได้แก่ วิญญาณอันเป็นไปในอากาศที่เพิกกสิณ.
ในวิญญาณกสิณนั้น พึงทราบความเป็นเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ในอากาศที่เพิกกสิณ ด้วยอำนาจกสิณ ในวิญญาณอันเป็นไปแล้ว ในวิญญาณกสิณนั้น ด้วยอำนาจอากาศที่เพิกกสิณ, พึงทราบด้วยสามารถกสิณนั้น เพราะแม้อากาสกสิณที่กำหนดไว้ก็ควรเจริญดังนี้บ้าง."
ซึ่งจะคล้ายๆกับการขึ้น วิญญาณัญจายตนะ ในการเพิกอากาสานัญจายตนะ ซึ่งเป็นอรูปสมาบัติ
ความจริงแล้ว ผมก็คิดนะว่า อากาสกสิณกับอากาสานัญจายตนะนี่ก็ใกล้กันมากจนน่าสับสนแล้ว มาเจอเรื่องนี้อีกก็.. นั่นแหละ
แต่เนื่องจากเป็นกรรมฐานที่ผมก็ไม่ได้สนใจจะฝึกมัน ก็เลยเพิกเฉยไป เหมือนเพิกภาพกสิณอย่างนั้น
แต่เมื่อได้มาอ่านหนังสือ ทิพยอำนาจ ของ พระอริยคุณาธาร (ปุสฺโส เส็ง ป.๖)ได้มีเนื้อหาทิ้งท้าย ในหมวดกสิณไว้ดังนี้
"อาโลกกสิณนี้ ปรากฏในสมถกรรมฐาน ตามที่พระโบราณาจารย์ประมวลไว้ แต่ที่ปรากฏในพระบาลี ในพระไตรปิฎกหลายแห่งแทนที่ ข้อนี้เป็น วิญญาณกสิณ คือ เพ่งวิญญาณ ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะกสิณ ๑-๘ เป็นรูปกสิณ ส่วนกสิณ ๙-๑๐ เป็นอรูปกสิณ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์ของอรูปฌาน
คือ อากาสานัญจายตนะ และ วิญญาณัญจายตนะ ตามลำดับกัน แสงสว่างน่าจะใกล้ต่อเตโช หรือมิฉะนั้นก็ใกล้ต่อวิญญาณ ซึ่งมีลักษณะสว่างเช่นเดียวกัน เมื่อเพ่งลักษณะสว่างแล้วน่าจะใกล้ต่อวิญญาณมากกว่า ถ้าเป็นวิญญาณกสิณจะทำวงกลมด้วยวัตถุไม่ได้ ต้องกำหนดดวงขึ้นในใจที่เดียว ให้เป็นดวงกลมขนาดวัดผ่าศูนย์กลางคืบ ๔ นิ้ว อาโลกะและวิญญาณมีลักษณะใกล้กันมาก และอำนวยผลแก่ผู้เพ่งทำนองเดียวกัน คือ นำทางแห่งทิพยจักษุอย่างดีวิเศษ ผิดกันแต่ลักษณะการเพ่งเท่านั้น คือ วิญญาณกสิณต้องเพ่งข้างในไม่ใช่เพ่งข้างนอกเหมือนอาโลกกสิณ และอำนวยตาทิพย์ดีกว่า วิเศษกว่าอาโลกกสิณ."
ซึ่งจะพบว่าแตกต่างกับที่อรรถกถาว่ามาพอสมควร อ่านแล้วก็นึกถึงแนวทางกรรมฐานของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ (แต่นั่นก็ไม่ใช่ประเด็นนะ)
ประเด็นคือ เรื่องของวิญญาณกสิณนั้น มีทัศนะความเห็นเนื้อหาอื่นใดนอกจากนี้มั้ยครับ