กนง.เผยไม่ปักหมุดดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับนี้ พร้อมทบทวนตามข้อมูล-สถานการณ์ที่เปลี่ยนไป หลังเสียมติคงดอกเบี้ยแตก 5 ต่อ 2 มองไทยเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง ควรลดดอกเบี้ย รับเศรษฐกิจไทยปี 67 ขยายตัว 2.5-3% ใกล้เคียงศักยภาพ มองลดดอกเบี้ยช่วยกระตุ้นบริโภคมีข้อจำกัด กระทบเครื่องยนต์หลักทำงานหนัก ระบุพูดคุยกับทุกฝ่ายที่แสดงความคิดเห็น
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50%ต่อปี โดยมีคณะกรรมการ 2 เสียง เห็นควรที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 2.25% ต่อปี
ยันไม่ได้ปักหมุดดอกเบี้ย พร้อมทบทวนจุดยืน
นายปิติ กล่าวว่า หากดูบริบทภาคการเงิน ภายใต้ภาพเศรษฐกิจชะลอตัวจากภาคต่างประเทศ และงบประมาณที่มีการเบิกจ่ายล่าช้า แต่อุปสงค์ภายในประเทศยังขยายตัวสูงในช่วง 2-3 ไตรมาสที่ผ่านขยายตัว 7-8% ถือว่าสูงมาก หากมีการลดดอกเบี้ยลงเล็กน้อยก็อาจไม่ได้เกิดประโยชน์ชัดเจน และอีกด้านยังเป็นความไม่สมดุล เพราะเป็นการเร่งเครื่องยนต์หนึ่งของเศรษฐกิจไทยที่ทำงานหนักและเต็มสูบอยู่แล้ว อาจทำให้ไม่มีเสถียรภาพ ซึ่งเปรียบเหมือนเครื่องบิน จะยิ่งทำให้การบินไม่สมดุล และอาจจะไม่ยั่งยืน
อย่างไรก็ดี กนง.ไม่ได้ปักหมุดว่าจะยืนอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับนี้ไปเรื่อยๆ เพราะหากมีข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งอัตราการเติบโตจีดีพีในปี 2566 และอัตราเงินเฟ้ออีก 2-3 เดือนข้างหน้า และส่งออก ค่อยมาประเมินว่า การชั่งน้ำหนักจะเปลี่ยนไปหรือไม่ ซึ่งกนง.พร้อมปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
“การลดดอกเบี้ยลงเล็กน้อย เพื่อกระตุ้นส่วนนี้ มองว่าอาจหวังผลไม่ได้มาก เพราะการบริโภคในปัจจุบันยังอยู่ระดับที่ดี และเป็นเครื่องยนต์ที่ทำงานหนักอยู่แล้ว ผ่านกลไกสินเชื่อ และหนี้เราก็อยู่ระดับสูง เหมือนเราไปเร่งเครื่องยนต์ที่ทำเต็มสูบอยู่แล้ว ดังนั้นอาจ Over Heat (โอเวอร์ฮีท) นึดนึงด้วยซ้ำ เหมือนเป็นการบิน ที่ไม่ค่อยสมดุล และหากมองในระยาะยาว คงไม่ยั่งยืน หากเหยียบไปตรงนั้น ทั้งที่ไม่ได้แก้ที่ตรงจุดในด้านอื่นๆ ก็อาจไม่มีเสถียรภาพ”
ชั่งน้ำหนัก 2 ปัจจัยคงดอกเบี้ย
นายปิติ กล่าวว่า สิ่งที่กนง.จับตาในการพิจารณานโยบาย จะมี 2 ปัจจัยระหว่างแรงส่งเชิงวัฎจักร และปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งเศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งหากดูปัญหาเชิงโครงสร้างจะพบว่าไทยเผชิญมานานแล้ว แต่ช่วงที่มีการฟื้นตัวจากโควิด-19 จะมีแรงเชิงวัฎจักรให้การเติบโตต่อเนื่อง แต่อาจจะช้ากว่าคาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ดี กนง.ได้ชั่งน้ำหนักว่าแรงส่งเชิงวัฎจักรกับเศรษฐกิจที่เติบโตช้าจากปัญหาเชิงโครงสร้างอะไรมีผลมากกว่ากัน
เช่น นักท่องเที่ยวในปี 2566 ที่ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 17 ล้านคน หรือการส่งออกที่เริ่มฟื้นตัวดูจากตัวเลข PMI และมองไปข้างหน้าจะยังเป็นตัวมาเสริม แม้ว่าตัวเลขคาดว่าจะกลับมาเร็วกว่านี้ สิ่งเหล่านี้คือแรงส่งเชิงวัฎจักร และหากดูปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น การผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟที่ตลาดมีความต้องการน้อยลง หรือการส่งออกปิโตรเคมีไปประเทศจีนที่ลดลง 20% เนื่องจากจีนมีการพึ่งพาภายใน ดังนั้น จึงเป็นการชั่งน้ำหนักระหว่าง 2 สิ่งว่าอะไรจะมีผลมากกว่ากัน
“หากแรงส่งเชิงวัฏจักรมาช้าหรือไม่มา อาจจะสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งกนง.ก็จะต้องพิจารณาว่าระดับของอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมตามศักยภาพ (Neutral Rate) ควรจะเป็นเท่าไร ซึ่งสะท้อนผ่านคณะกรรมการ 2 เสียง ที่ต้องการให้ปรับลดดอกเบี้ยลงมา เพราะมองว่าเพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต่ำลงจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง”
คาดจีดีพีปี 67 โต 2.5-3% ใกล้ศักยภาพ
สำหรับศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอยู่ที่เท่าไรนั้น นายปิติ กล่าวว่า มองว่าระดับศักภาพของไทยอยู่ที่ 3% เป็นระดับที่ควรจะเป็น แต่จะเห็นว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา อัตราการเติบโตชะลอลงจากในปี 2564 อยู่ที่ 1.6% และปี 2565 อยู่ที่ 2.6% และในปี 2566 คาดว่าจะโตต่ำกว่าระดับ 2-3% หรือต่ำกว่า 2% ด้วยซ้ำ ดังนั้น ในปี 2567 ธปท.คาดการณ์จีดีพีจะขยายตัวในกรอบ 2.5-3% จากเดิมอยู่ที่ 3.2% ซึ่งน่าจะใกล้เคียงกับระดับศักยภาพของไทย
อย่างไรก็ดี ธปท.ไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าศักยภาพเศรษฐกิจควรอยู่ที่เท่าไร และอัตราดอกเบี้ย Neutral Rate อยู่ที่เท่าไร แต่อาจจะต้องวัดด้วยอาการ เพราะอาการจะฟ้องว่าไทยโตต่ำกว่าหรือสูงกว่าศักยภาพ เช่น อาการของเศรษฐกิจที่โตร้อนแรง คนมีเงินซื้อของแต่ไม่มีของ จึงต้องพิจารณาจากเงินเฟ้อ แต่อาจจะไม่ได้ทั้งหมด เนื่องจากเงินเฟ้อประมาณ 80% เคลื่อนไหวตามปัจจัยภายนอก เช่น ราคาน้ำมัน หรืออาหาร ธปท.จึงต้องตัดประเด็นเสียงรบกวนนี้ออก หรือภาคการเงิน หากดอกเบี้ยต่ำเกินไป อาจจะเห็นฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์เช่นในปี 1997 ได้
ทั้งนี้ ภาพเศรษฐกิจไทยปี 2566 ธปท.จะมีการประเมิน และปรับประมาณการใหม่ครั้งหน้า ซี่งต้องรอดูตัวเลขจริงจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) ที่จะออกมาในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งยอมรับว่า ตัวเลขทั้งปี 2566 อาจจะต่ำกว่าที่ธปท.ประเมินไว้พอสมควร จากเดิมที่คาดไว้ที่ 2.4% จากปัจจัยภายนอกและภาคการผลิต
เงินเฟ้อติดลบต่อเนื่องไม่ใช่ภาวะเงินฝืด
นายปิติ กล่าวว่า แม้อัตราเงินเฟ้อปัจจุบันจะอยู่ระดับต่ำ ไม่ได้สะท้อนว่าเป็นภาวะเงินฝืด เนื่องจากบนคำนิยามของเงินฝืด สินค้าเกือบทุกรายการ ต้องมีการลดลงอย่างแพร่หลาย และเป็นวงกว้าง และอำนาจซื้อจากประชาชนควรลดลงอย่างยั่งยืน แต่ภาพปัจจุบันยังไม่ได้เกิดขึ้นทั้ง 2 มิติในข้างต้น โดยในตระกร้าสินค้า 400 รายการ ยังพบว่า 75% ราคายังคงปรับตัวสูงขึ้น และมีเพียง 25% ปรับราคาลดลง ซึ่งมองว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มค่อยๆ เพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า ไม่ได้ลดลงอย่างยั่งยืน ดังนั้นไม่สะท้อนอาการของเงินฝืด
“ภาพรวมถือว่าไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ต่อเศรษฐกิจไทย เพราะอัตราเงินเฟ้อที่ไม่ได้อยู่ในระดับสูง ไม่ได้ไปซ้ำเติมภาระค่าครองชีพของประชาชนเป็นสิ่งที่ดี ในช่วงที่เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัว ทั้งนี้ มองว่า เงินเฟ้อเดือนมกราคมที่ติดลบ 1.11 % สะท้อนว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากมาตรการพลังงาน และอาหารที่ลดลง ดังนั้น มองว่า เงินเฟ้อที่ลดลงในระดับต่ำในปัจจุบัน ไม่ได้เป็นการลดอย่างลงอย่างยั่งยืน ไม่ได้บ่งชี้ถึงอุปสงค์ที่อ่อนแองลง แต่มาจากปัจจัยเฉพาะ โดยกนง.ได้มีการจับตาแรงกดดันของราคาด้วย ไม่ใช่เฉพาะตัวเลข CPI อย่างเดียว”
ชี้รับฟังความเห็นทุกฝ่ายทบทวนนโยบาย
สำหรับกรณีที่มีแรงกดดันจากภาคการเมืองที่ต้องการให้ธปท.ปรับดอกเบี้ยนั้น นายปิติ กล่าวว่า เรื่องของอัตราดอกเบี้ยมีการพูดคุยกันหลากหลายมุมมอง และมองได้หลายแง่ และจะต้องพิจารณาอะไรบ้าง เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยมีผลกระทบวงกว้าง มีคนได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ ซึ่งในต่างประเทศก็มีการดีเบตกันและแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขว้าง ซึ่งหากมีคนเสนอก็ถือเป็นเรื่องดี เพราะจะได้ทำให้ธปท.ไม่ลืมว่าลืมประเด็นอะไรหรือไม่
ทั้งนี้ โดยภาพรวมทั้งคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และภาครัฐก็มีจุดประสงค์เดียวกัน คือ ต้องการให้เศรษฐกิจขยายตัวเต็มศักยภาพ และยั่งยืน และช่วยให้พื้นฐานเศรษฐกิจขยายตัวในระดับเหมาะสม ส่วนปัจจัยปีญหาเชิงโครงสร้างอาจจะต้องใช้เครื่องมืออื่นในการเข้ามาดูแล เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยไม่สามารถแก้ไขเรื่องความสามารถในการแข่งขัน และปัญหาเชิงโครงสร้างได้ ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวได้ หากใช้อัตราดอกเบี้ยมากระตุ้นยังมีข้อจำกัด
“นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง เรามีการพูดคุยตลอดเวลา เพราะเราเองต้องดูนโยบายด้านอื่นๆ ด้วยว่าภาครัฐทำอะไรอยู่ และแต่ละเครื่องมือมีความแตกต่างกัน และไม่สามารถแก้ปัญหาได้เฉพาะจุด เช่นเดียวกับภาคการคลัง ซึ่งก็มีเครื่องมือที่ดูแลภาพกว้างได้ และก็เฉพาะจุด ดังนั้น เรามีการพูดคุยกันเสมอ”
Cr.
https://www.prachachat.net/finance/news-1497358
กนง.ย้ำไม่ปักหมุดยืนดอกเบี้ยไว้ พร้อมทบทวน ชี้ จีดีพีโต 2.5-3% ใกล้ระดับศักยภาพ
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50%ต่อปี โดยมีคณะกรรมการ 2 เสียง เห็นควรที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 2.25% ต่อปี
ยันไม่ได้ปักหมุดดอกเบี้ย พร้อมทบทวนจุดยืน
นายปิติ กล่าวว่า หากดูบริบทภาคการเงิน ภายใต้ภาพเศรษฐกิจชะลอตัวจากภาคต่างประเทศ และงบประมาณที่มีการเบิกจ่ายล่าช้า แต่อุปสงค์ภายในประเทศยังขยายตัวสูงในช่วง 2-3 ไตรมาสที่ผ่านขยายตัว 7-8% ถือว่าสูงมาก หากมีการลดดอกเบี้ยลงเล็กน้อยก็อาจไม่ได้เกิดประโยชน์ชัดเจน และอีกด้านยังเป็นความไม่สมดุล เพราะเป็นการเร่งเครื่องยนต์หนึ่งของเศรษฐกิจไทยที่ทำงานหนักและเต็มสูบอยู่แล้ว อาจทำให้ไม่มีเสถียรภาพ ซึ่งเปรียบเหมือนเครื่องบิน จะยิ่งทำให้การบินไม่สมดุล และอาจจะไม่ยั่งยืน
อย่างไรก็ดี กนง.ไม่ได้ปักหมุดว่าจะยืนอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับนี้ไปเรื่อยๆ เพราะหากมีข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งอัตราการเติบโตจีดีพีในปี 2566 และอัตราเงินเฟ้ออีก 2-3 เดือนข้างหน้า และส่งออก ค่อยมาประเมินว่า การชั่งน้ำหนักจะเปลี่ยนไปหรือไม่ ซึ่งกนง.พร้อมปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
“การลดดอกเบี้ยลงเล็กน้อย เพื่อกระตุ้นส่วนนี้ มองว่าอาจหวังผลไม่ได้มาก เพราะการบริโภคในปัจจุบันยังอยู่ระดับที่ดี และเป็นเครื่องยนต์ที่ทำงานหนักอยู่แล้ว ผ่านกลไกสินเชื่อ และหนี้เราก็อยู่ระดับสูง เหมือนเราไปเร่งเครื่องยนต์ที่ทำเต็มสูบอยู่แล้ว ดังนั้นอาจ Over Heat (โอเวอร์ฮีท) นึดนึงด้วยซ้ำ เหมือนเป็นการบิน ที่ไม่ค่อยสมดุล และหากมองในระยาะยาว คงไม่ยั่งยืน หากเหยียบไปตรงนั้น ทั้งที่ไม่ได้แก้ที่ตรงจุดในด้านอื่นๆ ก็อาจไม่มีเสถียรภาพ”
ชั่งน้ำหนัก 2 ปัจจัยคงดอกเบี้ย
นายปิติ กล่าวว่า สิ่งที่กนง.จับตาในการพิจารณานโยบาย จะมี 2 ปัจจัยระหว่างแรงส่งเชิงวัฎจักร และปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งเศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งหากดูปัญหาเชิงโครงสร้างจะพบว่าไทยเผชิญมานานแล้ว แต่ช่วงที่มีการฟื้นตัวจากโควิด-19 จะมีแรงเชิงวัฎจักรให้การเติบโตต่อเนื่อง แต่อาจจะช้ากว่าคาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ดี กนง.ได้ชั่งน้ำหนักว่าแรงส่งเชิงวัฎจักรกับเศรษฐกิจที่เติบโตช้าจากปัญหาเชิงโครงสร้างอะไรมีผลมากกว่ากัน
เช่น นักท่องเที่ยวในปี 2566 ที่ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 17 ล้านคน หรือการส่งออกที่เริ่มฟื้นตัวดูจากตัวเลข PMI และมองไปข้างหน้าจะยังเป็นตัวมาเสริม แม้ว่าตัวเลขคาดว่าจะกลับมาเร็วกว่านี้ สิ่งเหล่านี้คือแรงส่งเชิงวัฎจักร และหากดูปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น การผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟที่ตลาดมีความต้องการน้อยลง หรือการส่งออกปิโตรเคมีไปประเทศจีนที่ลดลง 20% เนื่องจากจีนมีการพึ่งพาภายใน ดังนั้น จึงเป็นการชั่งน้ำหนักระหว่าง 2 สิ่งว่าอะไรจะมีผลมากกว่ากัน
“หากแรงส่งเชิงวัฏจักรมาช้าหรือไม่มา อาจจะสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งกนง.ก็จะต้องพิจารณาว่าระดับของอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมตามศักยภาพ (Neutral Rate) ควรจะเป็นเท่าไร ซึ่งสะท้อนผ่านคณะกรรมการ 2 เสียง ที่ต้องการให้ปรับลดดอกเบี้ยลงมา เพราะมองว่าเพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต่ำลงจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง”
คาดจีดีพีปี 67 โต 2.5-3% ใกล้ศักยภาพ
สำหรับศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอยู่ที่เท่าไรนั้น นายปิติ กล่าวว่า มองว่าระดับศักภาพของไทยอยู่ที่ 3% เป็นระดับที่ควรจะเป็น แต่จะเห็นว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา อัตราการเติบโตชะลอลงจากในปี 2564 อยู่ที่ 1.6% และปี 2565 อยู่ที่ 2.6% และในปี 2566 คาดว่าจะโตต่ำกว่าระดับ 2-3% หรือต่ำกว่า 2% ด้วยซ้ำ ดังนั้น ในปี 2567 ธปท.คาดการณ์จีดีพีจะขยายตัวในกรอบ 2.5-3% จากเดิมอยู่ที่ 3.2% ซึ่งน่าจะใกล้เคียงกับระดับศักยภาพของไทย
อย่างไรก็ดี ธปท.ไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าศักยภาพเศรษฐกิจควรอยู่ที่เท่าไร และอัตราดอกเบี้ย Neutral Rate อยู่ที่เท่าไร แต่อาจจะต้องวัดด้วยอาการ เพราะอาการจะฟ้องว่าไทยโตต่ำกว่าหรือสูงกว่าศักยภาพ เช่น อาการของเศรษฐกิจที่โตร้อนแรง คนมีเงินซื้อของแต่ไม่มีของ จึงต้องพิจารณาจากเงินเฟ้อ แต่อาจจะไม่ได้ทั้งหมด เนื่องจากเงินเฟ้อประมาณ 80% เคลื่อนไหวตามปัจจัยภายนอก เช่น ราคาน้ำมัน หรืออาหาร ธปท.จึงต้องตัดประเด็นเสียงรบกวนนี้ออก หรือภาคการเงิน หากดอกเบี้ยต่ำเกินไป อาจจะเห็นฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์เช่นในปี 1997 ได้
ทั้งนี้ ภาพเศรษฐกิจไทยปี 2566 ธปท.จะมีการประเมิน และปรับประมาณการใหม่ครั้งหน้า ซี่งต้องรอดูตัวเลขจริงจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) ที่จะออกมาในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งยอมรับว่า ตัวเลขทั้งปี 2566 อาจจะต่ำกว่าที่ธปท.ประเมินไว้พอสมควร จากเดิมที่คาดไว้ที่ 2.4% จากปัจจัยภายนอกและภาคการผลิต
เงินเฟ้อติดลบต่อเนื่องไม่ใช่ภาวะเงินฝืด
นายปิติ กล่าวว่า แม้อัตราเงินเฟ้อปัจจุบันจะอยู่ระดับต่ำ ไม่ได้สะท้อนว่าเป็นภาวะเงินฝืด เนื่องจากบนคำนิยามของเงินฝืด สินค้าเกือบทุกรายการ ต้องมีการลดลงอย่างแพร่หลาย และเป็นวงกว้าง และอำนาจซื้อจากประชาชนควรลดลงอย่างยั่งยืน แต่ภาพปัจจุบันยังไม่ได้เกิดขึ้นทั้ง 2 มิติในข้างต้น โดยในตระกร้าสินค้า 400 รายการ ยังพบว่า 75% ราคายังคงปรับตัวสูงขึ้น และมีเพียง 25% ปรับราคาลดลง ซึ่งมองว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มค่อยๆ เพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า ไม่ได้ลดลงอย่างยั่งยืน ดังนั้นไม่สะท้อนอาการของเงินฝืด
“ภาพรวมถือว่าไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ต่อเศรษฐกิจไทย เพราะอัตราเงินเฟ้อที่ไม่ได้อยู่ในระดับสูง ไม่ได้ไปซ้ำเติมภาระค่าครองชีพของประชาชนเป็นสิ่งที่ดี ในช่วงที่เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัว ทั้งนี้ มองว่า เงินเฟ้อเดือนมกราคมที่ติดลบ 1.11 % สะท้อนว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากมาตรการพลังงาน และอาหารที่ลดลง ดังนั้น มองว่า เงินเฟ้อที่ลดลงในระดับต่ำในปัจจุบัน ไม่ได้เป็นการลดอย่างลงอย่างยั่งยืน ไม่ได้บ่งชี้ถึงอุปสงค์ที่อ่อนแองลง แต่มาจากปัจจัยเฉพาะ โดยกนง.ได้มีการจับตาแรงกดดันของราคาด้วย ไม่ใช่เฉพาะตัวเลข CPI อย่างเดียว”
ชี้รับฟังความเห็นทุกฝ่ายทบทวนนโยบาย
สำหรับกรณีที่มีแรงกดดันจากภาคการเมืองที่ต้องการให้ธปท.ปรับดอกเบี้ยนั้น นายปิติ กล่าวว่า เรื่องของอัตราดอกเบี้ยมีการพูดคุยกันหลากหลายมุมมอง และมองได้หลายแง่ และจะต้องพิจารณาอะไรบ้าง เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยมีผลกระทบวงกว้าง มีคนได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ ซึ่งในต่างประเทศก็มีการดีเบตกันและแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขว้าง ซึ่งหากมีคนเสนอก็ถือเป็นเรื่องดี เพราะจะได้ทำให้ธปท.ไม่ลืมว่าลืมประเด็นอะไรหรือไม่
ทั้งนี้ โดยภาพรวมทั้งคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และภาครัฐก็มีจุดประสงค์เดียวกัน คือ ต้องการให้เศรษฐกิจขยายตัวเต็มศักยภาพ และยั่งยืน และช่วยให้พื้นฐานเศรษฐกิจขยายตัวในระดับเหมาะสม ส่วนปัจจัยปีญหาเชิงโครงสร้างอาจจะต้องใช้เครื่องมืออื่นในการเข้ามาดูแล เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยไม่สามารถแก้ไขเรื่องความสามารถในการแข่งขัน และปัญหาเชิงโครงสร้างได้ ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวได้ หากใช้อัตราดอกเบี้ยมากระตุ้นยังมีข้อจำกัด
“นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง เรามีการพูดคุยตลอดเวลา เพราะเราเองต้องดูนโยบายด้านอื่นๆ ด้วยว่าภาครัฐทำอะไรอยู่ และแต่ละเครื่องมือมีความแตกต่างกัน และไม่สามารถแก้ปัญหาได้เฉพาะจุด เช่นเดียวกับภาคการคลัง ซึ่งก็มีเครื่องมือที่ดูแลภาพกว้างได้ และก็เฉพาะจุด ดังนั้น เรามีการพูดคุยกันเสมอ”
Cr. https://www.prachachat.net/finance/news-1497358