https://www.prachachat.net/ict/news-1483725
“ธนาวัฒน์” ซีอีโอ Priceza เผยปี 2567 อีคอมเมิร์ซจะแข่งขันรุนแรงขึ้น 2 แพลตฟอร์มใหญ่ “Shopee-TikTok Shop” เตรียมอัดโปรชิงฐานลูกค้า พร้อมรับความท้าทายจากหน้าใหม่สัญชาติจีน ชี้แต่ละแพลตฟอร์มต้องสร้างจุดขายของตนเอง
วันที่ 19 มกราคม 2567 นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา CEO & Co-Founder ของ Priceza แพลตฟอร์มเปรียบเทียบราคาจากเว็บขายสินค้าออนไลน์ต่าง ๆ และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย (THECA) เปิดเผยในงานสัมมนา Priceza Thailand E-Commerce Trends 2024 ว่า
มูลค่าตลาดของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ หรือมูลค่าการซื้อสินค้าโดยรวมบนแพลตฟอร์ม (Gross Merchandise Value) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2566 อยู่ที่ 1.72 แสนล้านดอลลาร์ มูลค่าประมาณ 1 ใน 3 ของ GDP ประเทศไทย โตจากปีก่อนหน้า 7% และในปี 2567 มีโอกาสขยายตัวอีก 16% เป็น 1.99 แสนล้านดอลลาร์
“หากมองเฉพาะในไทย มูลค่าตลาดแตะ 9.8 แสนล้านบาท (2.8 หมื่นล้านดอลลาร์) เป็นรองแค่อินโดนีเซียที่โตกว่าเราประมาณ 2.8 เท่า สะท้อนว่าไทยเป็นตลาดที่มีความน่าสนใจสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาก“
นายธนาวัฒน์กล่าวต่อว่า ภาพรวมของตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แข่งขันกันสูงมาก ซึ่งในปี 2566 ผู้ให้บริการแต่ละรายมีส่วนแบ่งตลาดดังนี้
1. ช้อปปี้ (Shopee) 29%
2. ลาซาด้า (Lazada) 11%
3. Tokopedia ผู้ให้บริการรายใหญ่ในอินโดนีเซีย 9%
4. TikTok Shop 9%
5. Social Commerce อื่น ๆ นอกเหนือจาก TikTok Shop 19%
6. แพลตฟอร์มที่ขายสินค้าเฉพาะประเภท เช่น Pomelo, Konvy และ NocNoc 6%
7. e-Tailers หรือร้านค้าออนไลน์ของแบรนด์ 6%
8. Quick Commerce หรือแพลตฟอร์มสำหรับซื้อสินค้าของชำ (Grocery) 11%
แต่ช่วงปลายปี 2566 ที่ผ่านมา TikTok Shop ได้อัดฉีดเงินลงทุนเข้ามาใน Tokopedia เป็นจำนวนมาก เนื่องจาก TikTok Shop ไม่สามารถให้บริการได้ในอินโดนีเซีย เพราะมาตรการของรัฐบาลที่สั่งห้ามแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศ
นั่นทำให้ตอนนี้ TikTok Shop และ Tokopedia มีสัดส่วนการครองตลาดรวมกันกว่า 18% ขึ้นเป็นอันดับสองจากผู้ให้บริการทั้งหมด และผลัก Lazada ลงไปเป็นที่สามของตลาดแทน
“ผมมองว่าในปีนี้การแข่งขันของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจะร้อนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะเบอร์หนึ่งของตลาดอย่าง Shopee กับ TikTok Shop เราน่าจะเห็นการที่แต่ละเจ้ายอม subsidize และอัดโค้ดส่วนลดอีกเป็นจำนวนมาก เพื่อขยายฐานลูกค้าของตนเอง“
นอกจากนี้ นายธนาวัฒน์ยังกล่าวด้วยว่า การแข่งขันของผู้ให้บริการรายเดิมจะมีความท้าทายมากขึ้น เนื่องจากผู้ให้บริการรายใหม่จะเข้ามารุกทำตลาดหนักขึ้น นั่นคือ “Pinduoduo” ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซสัญชาติจีนที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว และปัจจุบันครองตลาดในจีนเป็นอันดับสี่
สิ่งที่ทำให้ Pinduoduo เติบโตอย่างรวดเร็วในเวลาไม่นาน คือกลยุทธ์ “ป่าล้อมเมือง” ที่เริ่มทำตลาดจากเมืองที่ไม่ได้มียอดขายเยอะ เป็นเมืองไกล ๆ ที่คู่แข่งไม่ค่อยสนใจ จนยอดขายโตอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งชูจุดเด่นขายสินค้าราคาถูกมาก เนื่องจากรวมทีมซื้อสินค้าราคาเหมาจากผู้ผลิตได้โดยตรง
ซึ่งที่ผ่านมา “Temu” แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเครือของ Pinduoduo ก็เริ่มบุกตลาดในสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จ ด้วยกลยุทธ์ที่คล้าย ๆ ลักษณะนี้เช่นกัน
“Pinduoduo หรือ Temu เข้ามาในภูมิภาคนี้และไทยแน่ เพราะตอนนี้เขาเริ่มคุยกับคนในวงการอีคอมเมิร์ซที่ผมรู้จัก เพื่อเชื่อมต่อ API กันแล้ว เชื่อว่าถ้าเขาใช้วิธีแบบเดิมเขาจะยอม subsidize อีกมาก คล้าย ๆ กับช่วงที่ Shopee เข้ามาบุกตลาดแรก ๆ ซึ่งเป็นโอกาสทั้งของผู้ซื้อและผู้ขาย“
ทั้งนี้ ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งของ Priceza ยังทิ้งท้ายด้วยว่า ผู้ให้บริการแต่ละรายต้องหาจุดขายของตนเองให้เจอ เพื่อชิงความได้เปรียบในตลาดท่ามกลางการแข่งขันที่ร้อนแรงมากขึ้น
“คาดว่าแต่ละแพลตฟอร์มจะพยายามชูจุดขายที่แตกต่างกัน เพื่อตอบความต้องการของผู้ใช้งานแต่ละกลุ่ม เช่น Shopee เน้นความหลากหลายของสินค้าตามการเป็นผู้นำของตลาด ส่วน Lazada น่าจะโฟกัสที่ LazMall หรือการดึงแบรนด์ต่าง ๆ มาขายสินค้าบนแพลตฟอร์มมากขึ้น“
เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย ประชาชาติธุรกิจ
ติดตามข่าวสารต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่
https://www.prachachat.net
กูรูอีคอมเมิร์ซ ชี้ “Shopee-TikTok Shop” แข่งเดือด เตรียมอัดโปรชิงลูกค้า
“ธนาวัฒน์” ซีอีโอ Priceza เผยปี 2567 อีคอมเมิร์ซจะแข่งขันรุนแรงขึ้น 2 แพลตฟอร์มใหญ่ “Shopee-TikTok Shop” เตรียมอัดโปรชิงฐานลูกค้า พร้อมรับความท้าทายจากหน้าใหม่สัญชาติจีน ชี้แต่ละแพลตฟอร์มต้องสร้างจุดขายของตนเอง
วันที่ 19 มกราคม 2567 นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา CEO & Co-Founder ของ Priceza แพลตฟอร์มเปรียบเทียบราคาจากเว็บขายสินค้าออนไลน์ต่าง ๆ และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย (THECA) เปิดเผยในงานสัมมนา Priceza Thailand E-Commerce Trends 2024 ว่า
มูลค่าตลาดของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ หรือมูลค่าการซื้อสินค้าโดยรวมบนแพลตฟอร์ม (Gross Merchandise Value) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2566 อยู่ที่ 1.72 แสนล้านดอลลาร์ มูลค่าประมาณ 1 ใน 3 ของ GDP ประเทศไทย โตจากปีก่อนหน้า 7% และในปี 2567 มีโอกาสขยายตัวอีก 16% เป็น 1.99 แสนล้านดอลลาร์
“หากมองเฉพาะในไทย มูลค่าตลาดแตะ 9.8 แสนล้านบาท (2.8 หมื่นล้านดอลลาร์) เป็นรองแค่อินโดนีเซียที่โตกว่าเราประมาณ 2.8 เท่า สะท้อนว่าไทยเป็นตลาดที่มีความน่าสนใจสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาก“
นายธนาวัฒน์กล่าวต่อว่า ภาพรวมของตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แข่งขันกันสูงมาก ซึ่งในปี 2566 ผู้ให้บริการแต่ละรายมีส่วนแบ่งตลาดดังนี้
1. ช้อปปี้ (Shopee) 29%
2. ลาซาด้า (Lazada) 11%
3. Tokopedia ผู้ให้บริการรายใหญ่ในอินโดนีเซีย 9%
4. TikTok Shop 9%
5. Social Commerce อื่น ๆ นอกเหนือจาก TikTok Shop 19%
6. แพลตฟอร์มที่ขายสินค้าเฉพาะประเภท เช่น Pomelo, Konvy และ NocNoc 6%
7. e-Tailers หรือร้านค้าออนไลน์ของแบรนด์ 6%
8. Quick Commerce หรือแพลตฟอร์มสำหรับซื้อสินค้าของชำ (Grocery) 11%
แต่ช่วงปลายปี 2566 ที่ผ่านมา TikTok Shop ได้อัดฉีดเงินลงทุนเข้ามาใน Tokopedia เป็นจำนวนมาก เนื่องจาก TikTok Shop ไม่สามารถให้บริการได้ในอินโดนีเซีย เพราะมาตรการของรัฐบาลที่สั่งห้ามแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศ
นั่นทำให้ตอนนี้ TikTok Shop และ Tokopedia มีสัดส่วนการครองตลาดรวมกันกว่า 18% ขึ้นเป็นอันดับสองจากผู้ให้บริการทั้งหมด และผลัก Lazada ลงไปเป็นที่สามของตลาดแทน
“ผมมองว่าในปีนี้การแข่งขันของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจะร้อนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะเบอร์หนึ่งของตลาดอย่าง Shopee กับ TikTok Shop เราน่าจะเห็นการที่แต่ละเจ้ายอม subsidize และอัดโค้ดส่วนลดอีกเป็นจำนวนมาก เพื่อขยายฐานลูกค้าของตนเอง“
นอกจากนี้ นายธนาวัฒน์ยังกล่าวด้วยว่า การแข่งขันของผู้ให้บริการรายเดิมจะมีความท้าทายมากขึ้น เนื่องจากผู้ให้บริการรายใหม่จะเข้ามารุกทำตลาดหนักขึ้น นั่นคือ “Pinduoduo” ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซสัญชาติจีนที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว และปัจจุบันครองตลาดในจีนเป็นอันดับสี่
สิ่งที่ทำให้ Pinduoduo เติบโตอย่างรวดเร็วในเวลาไม่นาน คือกลยุทธ์ “ป่าล้อมเมือง” ที่เริ่มทำตลาดจากเมืองที่ไม่ได้มียอดขายเยอะ เป็นเมืองไกล ๆ ที่คู่แข่งไม่ค่อยสนใจ จนยอดขายโตอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งชูจุดเด่นขายสินค้าราคาถูกมาก เนื่องจากรวมทีมซื้อสินค้าราคาเหมาจากผู้ผลิตได้โดยตรง
ซึ่งที่ผ่านมา “Temu” แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเครือของ Pinduoduo ก็เริ่มบุกตลาดในสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จ ด้วยกลยุทธ์ที่คล้าย ๆ ลักษณะนี้เช่นกัน
“Pinduoduo หรือ Temu เข้ามาในภูมิภาคนี้และไทยแน่ เพราะตอนนี้เขาเริ่มคุยกับคนในวงการอีคอมเมิร์ซที่ผมรู้จัก เพื่อเชื่อมต่อ API กันแล้ว เชื่อว่าถ้าเขาใช้วิธีแบบเดิมเขาจะยอม subsidize อีกมาก คล้าย ๆ กับช่วงที่ Shopee เข้ามาบุกตลาดแรก ๆ ซึ่งเป็นโอกาสทั้งของผู้ซื้อและผู้ขาย“
ทั้งนี้ ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งของ Priceza ยังทิ้งท้ายด้วยว่า ผู้ให้บริการแต่ละรายต้องหาจุดขายของตนเองให้เจอ เพื่อชิงความได้เปรียบในตลาดท่ามกลางการแข่งขันที่ร้อนแรงมากขึ้น
“คาดว่าแต่ละแพลตฟอร์มจะพยายามชูจุดขายที่แตกต่างกัน เพื่อตอบความต้องการของผู้ใช้งานแต่ละกลุ่ม เช่น Shopee เน้นความหลากหลายของสินค้าตามการเป็นผู้นำของตลาด ส่วน Lazada น่าจะโฟกัสที่ LazMall หรือการดึงแบรนด์ต่าง ๆ มาขายสินค้าบนแพลตฟอร์มมากขึ้น“
เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย ประชาชาติธุรกิจ
ติดตามข่าวสารต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.prachachat.net