โรคหัวใจ อีกหนึ่งโรคที่เป็นสาเหตุต้นๆ ของการเสียชีวิตของคนไทยและคนทั่วโลก เนื่องจากโรคนี้เกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย ทั้งภายใน และภายนอก รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนในปัจจุบัน ดังนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับโรคหัวใจให้มากยิ่งขึ้น ทั้งสาเหตุ อาการและวิธีการป้องกัน เพื่อตระหนักรู้และสร้างความระมัดระวังในการใช้ชีวิตให้ห่างไกลต่อโรคหัวใจมากยิ่งขึ้น
“โรคหัวใจ” คืออะไร?
โรคหัวใจ (Heart Disease) เป็นคำเรียกรวมๆ ของโรคที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ โดยสามารถแบ่งย่อยได้หลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคกล้ามเนื้อหัวใจ เป็นต้น
สาเหตุของโรคหัวใจ
ในกรณีนี้เราจะพูดถึงโรคหัวใจที่พบบ่อยที่สุด นั่นก็คือ โรคหลอดเลือดหัวใจ สำหรับสาเหตุหลักๆ ของโรคหัวใจ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ อายุ เพศ พันธุกรรม และปัจจัยที่ควบคุมได้ ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิต โรคประจำตัว เป็นต้น (แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสาเหตุของโรคหัวใจจะขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจนั้น ๆ ด้วย)
• สาเหตุที่ไม่สามารถควบคุมได้
1. อายุ
ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจมีความเสื่อมตามธรรมชาติ
2. เพศ
เพศชายมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจมากกว่าเพศหญิง ในช่วงอายุ 45-55 ปี
3. พันธุกรรม
ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ จะมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจมากกว่าคนปกติ
• สาเหตุที่ควบคุมได้
1. พฤติกรรมการใช้ชีวิต
พฤติกรรมการใช้ชีวิต อย่าง การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง และเกลือสูง การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์มาก การขาดการออกกำลังกาย มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน สามารถเพิ่มอัตราความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้
2. โรคประจำตัว
โรคบางชนิด สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่าการเป็นโรคหัวใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคไทรอยด์ โรคถุงลมโป่งพอง โรคไต เป็นต้น
อาการของโรคหัวใจ เป็นอย่างไร
อาการของโรคหัวใจอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจและความรุนแรง โดยโรคหลอดเลือดหัวใจ จะมีอาการที่พบได้บ่อย ดังนี้
1. อาการเจ็บหน้าอก มักเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด โดยอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากโรคหัวใจมักมีลักษณะดังนี้คือ เจ็บหน้าอกแบบจุกแน่นหรือบีบรัด เจ็บหน้าอกแบบแสบร้อน เจ็บหน้าอกแบบร้าวลงแขนซ้ายหรือขวา เป็นต้น
2. อาการเหนื่อยง่าย มักพบร่วมกับอาการเจ็บหน้าอก
3. อาการหายใจหอบ มักพบร่วมกับอาการเจ็บหน้าอก
4. อาการใจสั่น
5. อาการหน้ามืด เวียนศีรษะ
วิธีการป้องกันโรคหัวใจ
สำหรับวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ คือ การควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ได้แก่
1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นรับประทานอาหารที่มีผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
2. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง และเกลือสูง
3. งดการสูบบุหรี่และงดการดื่มแอลกอฮอล์
4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
5. ควบคุมน้ำหนักตัว
6. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
โดยวิธีการป้องกันเหล่านี้ เป็นหนึ่งในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตได้ด้วยตนเอง เพื่อสุขภาพที่ดี และห่างไกลจากโรคหัวใจ รวมถึงโรคอื่นๆ อีกด้วย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://www.tnnthailand.com/news/health/160412/
"โรคหัวใจ" เกิดจากอะไร? เปิดสาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกันก่อนสาย!
โรคหัวใจ อีกหนึ่งโรคที่เป็นสาเหตุต้นๆ ของการเสียชีวิตของคนไทยและคนทั่วโลก เนื่องจากโรคนี้เกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย ทั้งภายใน และภายนอก รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนในปัจจุบัน ดังนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับโรคหัวใจให้มากยิ่งขึ้น ทั้งสาเหตุ อาการและวิธีการป้องกัน เพื่อตระหนักรู้และสร้างความระมัดระวังในการใช้ชีวิตให้ห่างไกลต่อโรคหัวใจมากยิ่งขึ้น
“โรคหัวใจ” คืออะไร?
โรคหัวใจ (Heart Disease) เป็นคำเรียกรวมๆ ของโรคที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ โดยสามารถแบ่งย่อยได้หลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคกล้ามเนื้อหัวใจ เป็นต้น
สาเหตุของโรคหัวใจ
ในกรณีนี้เราจะพูดถึงโรคหัวใจที่พบบ่อยที่สุด นั่นก็คือ โรคหลอดเลือดหัวใจ สำหรับสาเหตุหลักๆ ของโรคหัวใจ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ อายุ เพศ พันธุกรรม และปัจจัยที่ควบคุมได้ ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิต โรคประจำตัว เป็นต้น (แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสาเหตุของโรคหัวใจจะขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจนั้น ๆ ด้วย)
• สาเหตุที่ไม่สามารถควบคุมได้
1. อายุ
ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจมีความเสื่อมตามธรรมชาติ
2. เพศ
เพศชายมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจมากกว่าเพศหญิง ในช่วงอายุ 45-55 ปี
3. พันธุกรรม
ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ จะมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจมากกว่าคนปกติ
• สาเหตุที่ควบคุมได้
1. พฤติกรรมการใช้ชีวิต
พฤติกรรมการใช้ชีวิต อย่าง การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง และเกลือสูง การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์มาก การขาดการออกกำลังกาย มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน สามารถเพิ่มอัตราความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้
2. โรคประจำตัว
โรคบางชนิด สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่าการเป็นโรคหัวใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคไทรอยด์ โรคถุงลมโป่งพอง โรคไต เป็นต้น
อาการของโรคหัวใจ เป็นอย่างไร
อาการของโรคหัวใจอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจและความรุนแรง โดยโรคหลอดเลือดหัวใจ จะมีอาการที่พบได้บ่อย ดังนี้
1. อาการเจ็บหน้าอก มักเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด โดยอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากโรคหัวใจมักมีลักษณะดังนี้คือ เจ็บหน้าอกแบบจุกแน่นหรือบีบรัด เจ็บหน้าอกแบบแสบร้อน เจ็บหน้าอกแบบร้าวลงแขนซ้ายหรือขวา เป็นต้น
2. อาการเหนื่อยง่าย มักพบร่วมกับอาการเจ็บหน้าอก
3. อาการหายใจหอบ มักพบร่วมกับอาการเจ็บหน้าอก
4. อาการใจสั่น
5. อาการหน้ามืด เวียนศีรษะ
วิธีการป้องกันโรคหัวใจ
สำหรับวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ คือ การควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ได้แก่
1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นรับประทานอาหารที่มีผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
2. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง และเกลือสูง
3. งดการสูบบุหรี่และงดการดื่มแอลกอฮอล์
4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
5. ควบคุมน้ำหนักตัว
6. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
โดยวิธีการป้องกันเหล่านี้ เป็นหนึ่งในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตได้ด้วยตนเอง เพื่อสุขภาพที่ดี และห่างไกลจากโรคหัวใจ รวมถึงโรคอื่นๆ อีกด้วย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tnnthailand.com/news/health/160412/