มองหาธุรกิจที่มี “ป้อมปราการ” ฉบับ วอร์เรน บัฟเฟตต์ /โดย ลงทุนแมน
ในโลกธุรกิจ ที่ต้องวิ่งแข่งกันตลอดเวลา
พอบริษัทมีโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ
มีนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ
สามารถบุกเบิกตลาดใหม่ ๆ
ก็ทำให้เกิดความได้เปรียบทางธุรกิจ และวิ่งนำหน้าคู่แข่งไปได้
แต่บริษัทก็วิ่งนำหน้าได้แค่ชั่วคราว เพราะไม่นานจากนั้น
คู่แข่ง ก็จะสามารถเลียนแบบความได้เปรียบนั้น จนวิ่งตามทัน
หรือสร้างความได้เปรียบที่เหนือกว่ามาแข่ง และวิ่งแซงหน้าได้ในที่สุด..
ดังนั้น บริษัทจึงต้องมีสิ่งที่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนอันดับหนึ่งของโลก
ได้ให้คำนิยามไว้ว่าเป็น “ป้อมปราการทางธุรกิจ” หรือ คูเมือง (Moat) ที่แข็งแกร่ง
ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันปราสาท จากการบุกรุกของศัตรู
และในทางธุรกิจ ก็หมายถึงป้องกันคู่แข่ง ให้เข้ามาแข่งขันกับบริษัทได้ยากขึ้น
เพื่อให้ความมั่นใจว่า บริษัทจะอยู่รอดในสมรภูมิทางธุรกิจ ได้ยาวนานขึ้น นั่นเอง
แล้วป้อมปราการทางธุรกิจ มีอะไรบ้าง
ทำไมถึงสำคัญสำหรับนักลงทุน ?
โดยสิ่งที่เรียกว่า ป้อมปราการทางธุรกิจ หรือ คูเมือง จะมีหลายประเภท
และแต่ละบริษัท ก็อาจมีได้มากกว่า 1 ประเภท
ซึ่งตัวอย่างของประเภทคูเมือง ที่นักลงทุนต้องมองหา ก็อย่างเช่น..
- Network Effect
ในธุรกิจบางประเภท ผลิตภัณฑ์และตัวธุรกิจ จะยิ่งมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น หากยิ่งมีผู้ใช้งานเข้ามาอยู่ในระบบ หรือใช้บริการมากขึ้น
ให้เห็นภาพง่ายที่สุด ก็คงเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย อย่าง Facebook ที่ยิ่งมีเพื่อน, เพื่อนของเพื่อน และเพจต่าง ๆ อยู่ในแพลตฟอร์มมากเท่าไร
เราก็ยิ่งอยากจะเล่น Facebook มากขึ้น และตัดสินใจเลิกเล่น Facebook ยากขึ้น
หรือแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่าง Shopee และ Lazada ที่ยิ่งมีผู้ใช้งานมาให้คะแนน เขียนรีวิวสินค้า และมีร้านค้าในระบบมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ และความสบายใจ
ซึ่งสร้างสภาพแวดล้อมให้ผู้คนอยากเข้ามาช็อปปิงมากขึ้น และดึงดูดร้านค้าให้เข้ามาเปิดมากยิ่งขึ้น
ดังนั้น แพลตฟอร์มที่มีฐานผู้ใช้งานมหาศาล หรือมี Network Effect อันแข็งแกร่ง
ก็จะยิ่งส่งมอบคุณค่าให้กับผู้ใช้งานได้มาก และอาจเหนือกว่าคู่แข่ง ที่มีฐานผู้ใช้งานน้อยกว่า
- ข้อมูล (Data)
ข้อมูล มีค่าเปรียบดั่งน้ำมันหรือทองคำ โดยเฉพาะยุคของ AI ที่กินข้อมูลเป็นอาหาร
โดยบริษัทที่มีข้อมูลของลูกค้า หรือข้อมูลอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก
และสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี
จะสร้างความได้เปรียบ และอาจทิ้งห่างคู่แข่งได้
เพราะบริษัทสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า
เพื่อนำไปพัฒนา และส่งมอบสินค้า บริการ และประสบการณ์ ที่ดีกว่าเดิมให้กับลูกค้า
เมื่อลูกค้าได้รับสิ่งที่ดีขึ้น ก็จะกลับมาใช้บริการบ่อยขึ้น หรือดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ ให้เข้ามามากขึ้น
ซึ่งสุดท้าย บริษัทก็จะได้ข้อมูลจากลูกค้ามากขึ้น แล้วนำไปต่อยอดธุรกิจอีก เป็นวงจรพัฒนาที่ไม่สิ้นสุด นั่นเอง
เหมือนอย่างกรณีของ Tesla ที่เก็บข้อมูลด้านการขับขี่ และข้อมูลต่าง ๆ จากรถ Tesla ที่วิ่งบนท้องถนน
เพื่อนำมาพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ และระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ ให้ฉลาดและสมบูรณ์กว่าเดิม
หรือ TikTok ที่ยิ่งมีคนไถฟีดดูคลิปมากขึ้น ถี่ขึ้น เท่าไร
ระบบ AI ก็จะยิ่งแนะนำคอนเทนต์ให้ผู้ใช้งานแต่ละคน ได้ถูกใจมากยิ่งขึ้น
- ความได้เปรียบทางด้านต้นทุน
ธุรกิจที่สามารถควบคุมต้นทุนได้ต่ำกว่าคู่แข่ง จะมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน
ซึ่งการสร้างความได้เปรียบทางด้านต้นทุน อาจเกิดจาก
การมีอำนาจต่อรองกับซัปพลายเออร์ การทำธุรกิจแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำและปลายน้ำ
รวมไปถึงการได้ประโยชน์จากเรื่อง การประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale)
ที่หมายถึง ต้นทุนในการผลิตสินค้า หรือการให้บริการจะต่ำลง เมื่อผลิตสินค้าหรือให้บริการในจำนวนมากขึ้น
เพราะเกิดจากการซื้อวัตถุดิบมาเป็นจำนวนมาก
อาจทำให้บางธุรกิจ สามารถซื้อวัตถุดิบได้ในราคาส่วนลด
หรือต้นทุนคงที่ต่าง ๆ เช่น ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร เงินเดือนพนักงาน มีตัวหาร (จำนวนสินค้าและบริการ) มากขึ้น ทำให้ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยต่ำลง นั่นเอง
สมมติ เช่น เราเปิดร้านขายกาแฟ โดยมีค่าเช่าที่เดือนละ 30,000 บาท
ถ้าเราขายกาแฟได้เดือนละ 2,000 แก้ว แสดงว่าแต่ละแก้วที่ขายได้นั้น จะมีต้นทุนของค่าเช่าที่ประกอบด้วย 15 บาท/แก้ว
แต่ถ้าขายกาแฟได้เดือนละ 5,000 แก้ว ต้นทุนค่าเช่าที่ ที่ปันส่วนให้แต่ละแก้ว จะเหลือเพียง 6 บาทเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่บริษัทพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงด้วยเช่นกัน
ซึ่งเมื่อบริษัท มีความได้เปรียบด้านต้นทุน ก็จะสามารถตั้งราคาขายสินค้าและบริการ ให้ต่ำกว่าคู่แข่งได้ เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด
หรือมีอัตรากำไรสูงกว่าคู่แข่ง แล้วสามารถนำกำไรตรงนั้นไปลงทุนขยายธุรกิจ หรือพัฒนาสินค้าให้ดีขึ้นได้
- ต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้เจ้าอื่น (Switching Cost)
สินค้าและบริการบางประเภท ที่มีความเฉพาะตัว
อาจทำให้ลูกค้าที่คิดจะเปลี่ยนไปใช้สินค้าและบริการของบริษัทคู่แข่ง ต้องประสบกับภาระค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนที่สูง เกิดความยุ่งยาก หรือความไม่คุ้นชิน
เช่น เมื่อลูกค้าติดตั้งซอฟต์แวร์ SAP มาใช้งานแล้ว
ก็จะใช้งานระบบนี้ยาว ๆ และไม่คิดจะเปลี่ยนไปใช้งานระบบของคู่แข่ง
เพราะการติดตั้งระบบใหม่ นอกจากเสียค่าใช้จ่ายแล้ว
ยังต้องเสียเวลาในการติดตั้งระบบ, เชื่อมโยงระบบใหม่ และฝึกอบรมการใช้งานให้กับพนักงาน
- สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Advantage) เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา และแบรนด์
บริษัทที่ถือครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างสิทธิบัตร, ลิขสิทธิ์, ใบอนุญาตต่าง ๆ
จะเสมือนมีป้อมปราการที่สูงชัน สำหรับป้องกันคู่แข่งให้เข้ามาทำธุรกิจแบบเดียวกัน หรือสร้างผลิตภัณฑ์เลียนแบบได้ง่าย ๆ
และยังทำให้บริษัท มีอำนาจต่อรองกับลูกค้าสูง เช่น สามารถตั้งราคาขายผลิตภัณฑ์ในราคาสูง ๆ ได้ ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย หรือผูกขาดเป็นเจ้าเดียวในตลาด
เช่น กรณีบริษัทยา X ที่จดสิทธิบัตรยา Y
หากคนไข้หรือโรงพยาบาล ต้องการยา Y ก็ต้องสั่งซื้อยา จากบริษัทยา X เท่านั้น
ในขณะที่บริษัทซึ่งมีแบรนด์สินค้าที่แข็งแกร่ง
จะสามารถสร้างความจงรักภักดี (Loyalty) และความเชื่อใจจากลูกค้า ได้มากกว่าแบรนด์ทั่ว ๆ ไป
ซึ่งจะทำให้ลูกค้าเต็มใจ จ่ายเงินซื้อสินค้าและบริการ จากบริษัทมากกว่าของคู่แข่ง แม้ว่าสินค้าและบริการ จะมีคุณภาพพอ ๆ กัน หรือด้อยกว่า
รวมถึงลูกค้า ยังอาจพร้อมที่จะช่วยเหลือบริษัท ให้รอดพ้นจากวิกฤติ ในกรณีที่บริษัทกำลังประสบปัญหา
และที่สำคัญ ยิ่งแบรนด์แข็งแกร่ง ก็ยิ่งสามารถตั้งราคาขายสินค้าและบริการในราคาที่สูงกว่าตลาดหรือคู่แข่ง ได้เช่นกัน ซึ่งภาษาของผู้บริโภคทั่วไป ก็จะเรียกว่า “มูลค่าแบรนด์”
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ต้องนึกถึง Hermès, Chanel หรือ Rolex
ที่มีการเพิ่มมูลค่าให้แบรนด์ได้อย่างยอดเยี่ยม จนแบรนด์สามารถขึ้นราคาสินค้าได้ต่อเนื่องทุก ๆ ปี โดยที่ไม่สูญเสียฐานลูกค้า
หรืออย่างกรณีของ Apple ที่ไม่ว่าจะออกสินค้าอะไรมา และราคาสูงแค่ไหน
เหล่าสาวก ก็พร้อมที่จะควักเงินจ่าย เพื่อให้ได้สินค้านั้นมาครอบครอง
และทั้งหมดนี้ ก็คือตัวอย่างของ ป้อมปราการทางธุรกิจ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า คูเมือง
ที่นักลงทุนต้องทำความเข้าใจ และมองหาบริษัทที่มีคูเมือง อันแข็งแกร่ง
เพื่อที่จะได้เพิ่มโอกาสในการเจอตัวผู้ชนะ
จนสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาว
รวมถึงทำให้เรา สามารถลงทุนได้อย่างสบายใจ นั่นเอง..
มองหาธุรกิจที่มี “ป้อมปราการ” ฉบับ วอร์เรน บัฟเฟตต์
ในโลกธุรกิจ ที่ต้องวิ่งแข่งกันตลอดเวลา
พอบริษัทมีโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ
มีนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ
สามารถบุกเบิกตลาดใหม่ ๆ
ก็ทำให้เกิดความได้เปรียบทางธุรกิจ และวิ่งนำหน้าคู่แข่งไปได้
แต่บริษัทก็วิ่งนำหน้าได้แค่ชั่วคราว เพราะไม่นานจากนั้น
คู่แข่ง ก็จะสามารถเลียนแบบความได้เปรียบนั้น จนวิ่งตามทัน
หรือสร้างความได้เปรียบที่เหนือกว่ามาแข่ง และวิ่งแซงหน้าได้ในที่สุด..
ดังนั้น บริษัทจึงต้องมีสิ่งที่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนอันดับหนึ่งของโลก
ได้ให้คำนิยามไว้ว่าเป็น “ป้อมปราการทางธุรกิจ” หรือ คูเมือง (Moat) ที่แข็งแกร่ง
ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันปราสาท จากการบุกรุกของศัตรู
และในทางธุรกิจ ก็หมายถึงป้องกันคู่แข่ง ให้เข้ามาแข่งขันกับบริษัทได้ยากขึ้น
เพื่อให้ความมั่นใจว่า บริษัทจะอยู่รอดในสมรภูมิทางธุรกิจ ได้ยาวนานขึ้น นั่นเอง
แล้วป้อมปราการทางธุรกิจ มีอะไรบ้าง
ทำไมถึงสำคัญสำหรับนักลงทุน ?
โดยสิ่งที่เรียกว่า ป้อมปราการทางธุรกิจ หรือ คูเมือง จะมีหลายประเภท
และแต่ละบริษัท ก็อาจมีได้มากกว่า 1 ประเภท
ซึ่งตัวอย่างของประเภทคูเมือง ที่นักลงทุนต้องมองหา ก็อย่างเช่น..
- Network Effect
ในธุรกิจบางประเภท ผลิตภัณฑ์และตัวธุรกิจ จะยิ่งมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น หากยิ่งมีผู้ใช้งานเข้ามาอยู่ในระบบ หรือใช้บริการมากขึ้น
ให้เห็นภาพง่ายที่สุด ก็คงเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย อย่าง Facebook ที่ยิ่งมีเพื่อน, เพื่อนของเพื่อน และเพจต่าง ๆ อยู่ในแพลตฟอร์มมากเท่าไร
เราก็ยิ่งอยากจะเล่น Facebook มากขึ้น และตัดสินใจเลิกเล่น Facebook ยากขึ้น
หรือแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่าง Shopee และ Lazada ที่ยิ่งมีผู้ใช้งานมาให้คะแนน เขียนรีวิวสินค้า และมีร้านค้าในระบบมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ และความสบายใจ
ซึ่งสร้างสภาพแวดล้อมให้ผู้คนอยากเข้ามาช็อปปิงมากขึ้น และดึงดูดร้านค้าให้เข้ามาเปิดมากยิ่งขึ้น
ดังนั้น แพลตฟอร์มที่มีฐานผู้ใช้งานมหาศาล หรือมี Network Effect อันแข็งแกร่ง
ก็จะยิ่งส่งมอบคุณค่าให้กับผู้ใช้งานได้มาก และอาจเหนือกว่าคู่แข่ง ที่มีฐานผู้ใช้งานน้อยกว่า
- ข้อมูล (Data)
ข้อมูล มีค่าเปรียบดั่งน้ำมันหรือทองคำ โดยเฉพาะยุคของ AI ที่กินข้อมูลเป็นอาหาร
โดยบริษัทที่มีข้อมูลของลูกค้า หรือข้อมูลอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก
และสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี
จะสร้างความได้เปรียบ และอาจทิ้งห่างคู่แข่งได้
เพราะบริษัทสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า
เพื่อนำไปพัฒนา และส่งมอบสินค้า บริการ และประสบการณ์ ที่ดีกว่าเดิมให้กับลูกค้า
เมื่อลูกค้าได้รับสิ่งที่ดีขึ้น ก็จะกลับมาใช้บริการบ่อยขึ้น หรือดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ ให้เข้ามามากขึ้น
ซึ่งสุดท้าย บริษัทก็จะได้ข้อมูลจากลูกค้ามากขึ้น แล้วนำไปต่อยอดธุรกิจอีก เป็นวงจรพัฒนาที่ไม่สิ้นสุด นั่นเอง
เหมือนอย่างกรณีของ Tesla ที่เก็บข้อมูลด้านการขับขี่ และข้อมูลต่าง ๆ จากรถ Tesla ที่วิ่งบนท้องถนน
เพื่อนำมาพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ และระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ ให้ฉลาดและสมบูรณ์กว่าเดิม
หรือ TikTok ที่ยิ่งมีคนไถฟีดดูคลิปมากขึ้น ถี่ขึ้น เท่าไร
ระบบ AI ก็จะยิ่งแนะนำคอนเทนต์ให้ผู้ใช้งานแต่ละคน ได้ถูกใจมากยิ่งขึ้น
- ความได้เปรียบทางด้านต้นทุน
ธุรกิจที่สามารถควบคุมต้นทุนได้ต่ำกว่าคู่แข่ง จะมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน
ซึ่งการสร้างความได้เปรียบทางด้านต้นทุน อาจเกิดจาก
การมีอำนาจต่อรองกับซัปพลายเออร์ การทำธุรกิจแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำและปลายน้ำ
รวมไปถึงการได้ประโยชน์จากเรื่อง การประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale)
ที่หมายถึง ต้นทุนในการผลิตสินค้า หรือการให้บริการจะต่ำลง เมื่อผลิตสินค้าหรือให้บริการในจำนวนมากขึ้น
เพราะเกิดจากการซื้อวัตถุดิบมาเป็นจำนวนมาก
อาจทำให้บางธุรกิจ สามารถซื้อวัตถุดิบได้ในราคาส่วนลด
หรือต้นทุนคงที่ต่าง ๆ เช่น ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร เงินเดือนพนักงาน มีตัวหาร (จำนวนสินค้าและบริการ) มากขึ้น ทำให้ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยต่ำลง นั่นเอง
สมมติ เช่น เราเปิดร้านขายกาแฟ โดยมีค่าเช่าที่เดือนละ 30,000 บาท
ถ้าเราขายกาแฟได้เดือนละ 2,000 แก้ว แสดงว่าแต่ละแก้วที่ขายได้นั้น จะมีต้นทุนของค่าเช่าที่ประกอบด้วย 15 บาท/แก้ว
แต่ถ้าขายกาแฟได้เดือนละ 5,000 แก้ว ต้นทุนค่าเช่าที่ ที่ปันส่วนให้แต่ละแก้ว จะเหลือเพียง 6 บาทเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่บริษัทพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงด้วยเช่นกัน
ซึ่งเมื่อบริษัท มีความได้เปรียบด้านต้นทุน ก็จะสามารถตั้งราคาขายสินค้าและบริการ ให้ต่ำกว่าคู่แข่งได้ เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด
หรือมีอัตรากำไรสูงกว่าคู่แข่ง แล้วสามารถนำกำไรตรงนั้นไปลงทุนขยายธุรกิจ หรือพัฒนาสินค้าให้ดีขึ้นได้
- ต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้เจ้าอื่น (Switching Cost)
สินค้าและบริการบางประเภท ที่มีความเฉพาะตัว
อาจทำให้ลูกค้าที่คิดจะเปลี่ยนไปใช้สินค้าและบริการของบริษัทคู่แข่ง ต้องประสบกับภาระค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนที่สูง เกิดความยุ่งยาก หรือความไม่คุ้นชิน
เช่น เมื่อลูกค้าติดตั้งซอฟต์แวร์ SAP มาใช้งานแล้ว
ก็จะใช้งานระบบนี้ยาว ๆ และไม่คิดจะเปลี่ยนไปใช้งานระบบของคู่แข่ง
เพราะการติดตั้งระบบใหม่ นอกจากเสียค่าใช้จ่ายแล้ว
ยังต้องเสียเวลาในการติดตั้งระบบ, เชื่อมโยงระบบใหม่ และฝึกอบรมการใช้งานให้กับพนักงาน
- สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Advantage) เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา และแบรนด์
บริษัทที่ถือครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างสิทธิบัตร, ลิขสิทธิ์, ใบอนุญาตต่าง ๆ
จะเสมือนมีป้อมปราการที่สูงชัน สำหรับป้องกันคู่แข่งให้เข้ามาทำธุรกิจแบบเดียวกัน หรือสร้างผลิตภัณฑ์เลียนแบบได้ง่าย ๆ
และยังทำให้บริษัท มีอำนาจต่อรองกับลูกค้าสูง เช่น สามารถตั้งราคาขายผลิตภัณฑ์ในราคาสูง ๆ ได้ ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย หรือผูกขาดเป็นเจ้าเดียวในตลาด
เช่น กรณีบริษัทยา X ที่จดสิทธิบัตรยา Y
หากคนไข้หรือโรงพยาบาล ต้องการยา Y ก็ต้องสั่งซื้อยา จากบริษัทยา X เท่านั้น
ในขณะที่บริษัทซึ่งมีแบรนด์สินค้าที่แข็งแกร่ง
จะสามารถสร้างความจงรักภักดี (Loyalty) และความเชื่อใจจากลูกค้า ได้มากกว่าแบรนด์ทั่ว ๆ ไป
ซึ่งจะทำให้ลูกค้าเต็มใจ จ่ายเงินซื้อสินค้าและบริการ จากบริษัทมากกว่าของคู่แข่ง แม้ว่าสินค้าและบริการ จะมีคุณภาพพอ ๆ กัน หรือด้อยกว่า
รวมถึงลูกค้า ยังอาจพร้อมที่จะช่วยเหลือบริษัท ให้รอดพ้นจากวิกฤติ ในกรณีที่บริษัทกำลังประสบปัญหา
และที่สำคัญ ยิ่งแบรนด์แข็งแกร่ง ก็ยิ่งสามารถตั้งราคาขายสินค้าและบริการในราคาที่สูงกว่าตลาดหรือคู่แข่ง ได้เช่นกัน ซึ่งภาษาของผู้บริโภคทั่วไป ก็จะเรียกว่า “มูลค่าแบรนด์”
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ต้องนึกถึง Hermès, Chanel หรือ Rolex
ที่มีการเพิ่มมูลค่าให้แบรนด์ได้อย่างยอดเยี่ยม จนแบรนด์สามารถขึ้นราคาสินค้าได้ต่อเนื่องทุก ๆ ปี โดยที่ไม่สูญเสียฐานลูกค้า
หรืออย่างกรณีของ Apple ที่ไม่ว่าจะออกสินค้าอะไรมา และราคาสูงแค่ไหน
เหล่าสาวก ก็พร้อมที่จะควักเงินจ่าย เพื่อให้ได้สินค้านั้นมาครอบครอง
และทั้งหมดนี้ ก็คือตัวอย่างของ ป้อมปราการทางธุรกิจ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า คูเมือง
ที่นักลงทุนต้องทำความเข้าใจ และมองหาบริษัทที่มีคูเมือง อันแข็งแกร่ง
เพื่อที่จะได้เพิ่มโอกาสในการเจอตัวผู้ชนะ
จนสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาว
รวมถึงทำให้เรา สามารถลงทุนได้อย่างสบายใจ นั่นเอง..