แม่ค้าโอด ยอดขายตก เซ่นไข่แพง ชี้ ลูกค้าเน้นซื้อปลีก ไม่แยกแผงแล้ว
https://www.matichon.co.th/region/news_4375985
เตรียมใจ ไข่พาเหรดปรับราคาขึ้นทุกแผงวันนี้ แม่ค้าไข่ตรัง ยอมรับไข่แพงจริง โอดยอดขายตก ลูกค้าซื้อปลีกนับฟอง ไม่ซื้อยกแผงแล้ว
จากกรณีภายหลังจากที่เครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ 4 ภาค ได้ออกประกาศราคาแนะนำไข่ไก่คละหน้าฟาร์มเกษตรกร วันที่ 11 มกราคม อยู่ที่ฟองละ 3.80 บาท ซึ่งจากการปรับราคาครั้งนี้จะทำให้ราคาไข่ไก่ ปรับขึ้นแผงละ 9 บาท หรือฟองละ 30 สตางค์ ทั้งขายปลีกและขาวส่งนั้น
เมื่อวันที่ 14 มกราคม ที่ตลาดสดควนปริง ต.ควนปริง อ.เมือง จ.ตรัง นางสาวศรีวัลย์ มันควน เจ้าของแผงขายไข่ เปิดเผยว่า ราคาไข่ที่ขึ้นป้ายประกาศให้เห็นอยู่นี้ เป็นราคาเดิมที่ยังไม่ได้มีการปรับราคาขึ้นตามที่เครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ประกาศปรับขึ้นราคาไข่ไก่มาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
โดยราคาเดิมที่ขาย คือ ไข่เบอร์ 0 ราคาแผงละ 142 บาท/ ไข่เบอร์ 1 ราคาแผงละ 132 บาท / ไข่เบอร์ 2 ราคาแผงละ 129 บาท / ไข่เบอร์ 3 ราคาแผงละ 127 บาท /ไข่เบอร์ 4 ราคาแผงละ 125 บาท และไข่เบอร์ 5 ราคาแผงละ 115 บาท
ส่วนราคาขายปลีกเฉลี่ยอยู่ที่ฟองละ 4.30 -5.20 บาทขึ้นอยู่กับขนาดไข่ที่ขายในนี้จึงยังเป็นราคาเดิมที่ยังไม่ได้ปรับขึ้น เพราะฟาร์มที่ตนเองรับไข่มาขายยังไม่มีการปรับราคาขึ้น แต่ทราบว่าบางฟาร์มในพื้นที่มีการปรับราคาไข่ขึ้นแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ไข่จะมีการปรับขึ้นอย่างแน่นอนตั้งแต่วันที่ 15 มกราคมเป็นต้นไป เบื้องต้นเท่าที่ทราบจากข่าว อาจมีการปรับขึ้นแผงละประมาณ 9 บาท ส่วนฟาร์มที่ตนรับมาจะปรับราคาขึ้นแผงละเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับทางฟาร์ม ตนเพียงรับช่วงมาก็ต้องขายตามราคาที่ปรับขึ้น
“
ยอมรับว่าขณะนี้ราคาไข่แพงมากจริง ซึ่งประชาชนก็บ่นว่าไข่ราคาแพง แม้ว่าไข่จะเป็นอาหารคู่ครัวที่ต้องมี แต่ยอมรับแม่ค้าเองก็ขายยาก ยอดขายหายไปกว่าครึ่ง จากเดิมบางคนเคยซื้อยกแผง แต่ขณะนี้ประชาชนส่วนใหญ่ต่างประหยัด จะซื้อปลีกเพียงครั้งละไม่กี่ฟองเท่านั้น ส่วนตัวก็ยอมรับว่าไข่ราคาแพงขึ้นมากจริง แต่แม่ค้าถ้าไข่ขึ้นก็ปรับราคาตามที่ปรับขึ้น แต่หากไข่ลงก็ต้องปรับราคาลดลงตามราคาที่ปรับลดลง” นางสาว
ศรีวัลย์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการพูดคุยกับประชาชนที่เดินทางมาซื้อไข่ ต่างยอมรับว่า ซื้อไข่ในปริมาณลดลงตามความจำเป็นที่ต้องใช้แต่ละครั้งเท่านั้น จะไม่ได้ซื้อไปตุนไว้ เพราะมีเงินจำกัดจึงต้องประหยัด ทั้งนี้ การมาซื้อที่แผงตลาดสดจะได้ไข่ในราคาที่ถูกกว่าซื้อตามหมู่บ้าน ซึ่งขณะนี้ตามหมู่บ้านตกฟองละ 5-6 บาท แต่หลังจากนี้ราคาไข่จะปรับขึ้นอีก เช่นเดียวกับพ่อค้าขายอาหารตามสั่ง ในหมู่บ้านการเคหะก็เดินทางมาซื้อไข่เช่นกัน โดยบอกว่า ซื้อไข่ทุกวัน ๆ ละ 1 แผง แต่ถึงแม้ราคาไข่ที่ซื้อจะปรับขึ้นมากี่ครั้ง ตนเองก็จะขายไข่ดาว ไข่เจียว ฟองละ 5 บาทเท่าเดิม ไม่ได้ปรับราคาขึ้นแต่อย่างใด ต้องทนรับต้นทุนเอาไว้เอง เพราะสงสารลูกค้า
ไอลอว์ จี้รัฐโฟกัส ‘นิรโทษกรรม’ ถาม สังคมจะเดินหน้าอย่างไร ถ้าอดีตยังไม่ถูกชำระ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4375754
เจ้าหน้าที่ไอลอว์ จี้รัฐโฟกัส ‘นิรโทษกรรม’ ถาม สังคมจะเดินหน้าอย่างไร ถ้าอดีตยังไม่ถูกชำระ ชี้ เด็กเจอคดีการเมืองกว่า 200 ราย
เมื่อวันที่ 14 มกราคม เวลา 15.00 น. ที่ร้าน ‘
ประชาบาร์’ สี่พระยา บางรัก กรุงเทพฯ ‘
ประชาบาร์’ ร่วมกับ พิพิธภัณฑ์สามัญชน Museum of Popular History จัดเสวนาเปิดตัวนิทรรศการ ‘
เด็กเอ๋ย เด็กเลว : ประวัติศาสตร์ขบวนการนักเรียน นักศึกษา ปี 2563’ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา ได้แก่ นาย
วสิษฐ์พล ตั้งสถาพรพันธ์ ผู้จัดการร้านประชาบาร์ , นาย
อานนท์ ชวาลาวัณย์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เนตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw-ไอลอว์) ในฐานะผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สามัญชน , น.ส.
บุศรินทร์ แปแนะ iLaw / Mob Data Thailand ดำเนินรายการโดย นาย
เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์
ในตอนหนึ่ง น.ส.
บุศรินทร์ แปแนะ จาก โครงการอินเทอร์เนตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw-ไอลอว์)/ Mob Data Thailand กล่าวว่า ตนทำงานหลักอยู่ที่ไอลอว์ ตั้งแต่ พ.ศ.2559 เพราะสนใจประเด็นการเมือง รุ่นพี่เล่าให้ฟังว่า พรบ.การชุมชุมในที่สาธารณะที่ออกในปี พ.ศ.2558 มีปัญหาอย่างไร ต่อมาในช่วงประมาณ พ.ศ. 2562 มีการชุมนุมฮ่องกง ตนได้แรงบันดาลใจในการศึกษาข้อมูลของคนที่นั่นทั้งการเคลื่อนไหว ทั้งการสรุปตัวเลขการใช้กำลังต่างๆ
“
เรารู้สึกมันว้าวดี เข้าไปตามการเคลื่อนไหวต่างๆ ก็สนุก คิดว่าถ้าเราอยากให้มีพื้นที่สาธารณะ ในการชุมนุมได้ขยายตัวมากขึ้น เราก็ต้องประกันก่อนว่า กฎหมายจะไม่กดปราบประชาชนใช่ไหม ซึ่งในตอนนั้น พรบ.การชุมนุมมีปัญหาจริงๆ เลยคิดกับเพื่อนที่ แอมเนสตี้ ไทยแลนด์ เริ่มทำฐานข้อมูลการชุมนุมของไทยขึ้นมาชื่อ Mob Data Thailand ไม่คาดคิดว่า มันจะมาเจอการชุมนุมในประเทศเป็นร้อยครั้งขนาดนี้ เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับการแก้ไข พรบ.ชุมนุมในอนาคต” น.ส.บุศรินทร์ กล่าว
น.ส.
บุศรินทร์ กล่าวว่า ตนได้สำรวจภายในนิทรรศการเจอสติ๊กเกอร์ ‘
เกียมอุดมไม่ก้มหัวให้เผด็จการ’ ของกลุ่มนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และอีกหนึ่งชิ้นของ Spring Movement ชิ้นงานในปี พ.ศ.2563 ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้หวนคิดถึงการชุมนุมในช่วงเวลานั้นซึ่งเกิดขึ้นจากคนตัวเล็กที่รู้สึกอึดอัดอะไรสักอย่าง
“
เท่าที่จำได้ Spring Movement จะมาพร้อมกับ ต้าร์ วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ นักกิจกรรมและนักเคลื่อนไหวทางสังคม ที่หายตัวไป ตอนนั้นก็มีทั้ง เพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์ รุ้ง ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล กลายเป็นปรากฎการณ์ป๊อปอัพ การหายตัวไปของ ต้าร์ วันเฉลิม เขารู้สึกว่าต้องมีรีแอคอะไรบ้างอย่างเกิดขึ้น พอรู้สึกเจอคนประเภทเดียวกันที่เจอความไม่เป็นธรรม จึงรวมตัวกันลุกขึ้นมาทำอะไรบ้างที่เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
สุดท้ายความพยายามเล็กๆน้อยๆ เสมือนเป็นแรงกระเพื่อมที่ก่อให้เกิดคลื่นใหญ่ในช่วงหลังการชุมนุมเยาวชนปลดแอก อย่างน้อยเรามี 2 มือ แต่เรากล้าหาญที่จะมายืนข้างหน้า มันคือแรงบันดาลใจที่เราต้องทำอะไรบ้างอย่างให้ประเทศเรามีเสรีภาพมากกว่านี้ มีประชาธิปไตยที่เข้มแข็งมากกว่านี้” น.ส.
บุศรินทร์ กล่าว
เมื่อผู้ดำเนินรายการถามว่า มองสถานการณ์การชุมนุมในตอนนี้เป็นอย่างไร ?
น.ส.
บุศรินทร์ กล่าวว่า ตนเคยทำงานวิจัยชิ้นเล็กๆ ในเรื่องความรุนแรงทางการเมือง เมื่อปี 2549 พอกลับไปย้อนอ่าน เรากลับไปย้อนดูด้านมิติความรุนแรง และชุมนุมทางการเมือง ในวิธีการที่ปิดปากปิดเสียงของประชาชนที่เห็นต่างเริ่มมีความซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ในตอนที่ นาย
สนธิ ลิ้มทองกุล ออกมาใช้ถนนในการชุมนุม ในการใช้กฎหมายก็มีการค้นว่าจะเอากฎหมายใดปราบปรามผู้ชุมนุมได้บ้าง ก็จะนำมาปราบ
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2553 มีทั้ง พรบ.ฉุกเฉิน มีทั้งการได้รับบาดเจ็บจากการชุมนุม โดยยังไม่ได้รับการเยียวยา มาถึงปี พ.ศ. 2557 มีการทำรัฐประหาร และมีคนออกมาคัดค้าน ยิ่งปล่อยให้คนมาคัดค้านมากเท่าไหร่ ยิ่งมีคนใช้กำลังมากขึ้น ก็มีคำสั่งจากหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ตอนนั้นนักศึกษาได้ออกมาคัดค้าน ช่วงนั้นอยู่กันด้วยความหวาดกลัว และได้มีการออกกฎหมายมาฉบับหนึ่งที่ส่งผลกระทบหลายรูปแบบ คือกฎหมายได้ออกมาเพื่อไม่ให้ประชาชนมาต่อต้านรัฐในประเด็นการเมือง ซึ่งมันส่งผลไปยังทางอ้อม ถึงประชาชนที่เรียกร้องทางปากท้อง ทางทรัพยากรด้วย เป็นอีกบทหนึ่งที่รัฐใช้ในการปราบปราม
“
(พ.ศ.2563) คนที่โดนใช้กฎหมายก็เริ่มจะเป็นเด็ก หรือเยาวชน ยิ่งเป็นเด็กที่อยู่ในวัยมัธยม จะรับมืออย่างไร เราก็ติดตามดูว่าเขาจะทำอย่างไร จะหนักมือไปเลย หรือจะเบามือ ก็พบว่ามีกระบวนท่าในการรับมือใหม่ๆ” น.ส.
บุศรินทร์ กล่าว
เมื่อผู้ดำเนินรายการถามถึงสิ่งอยากจะสื่อสารกับรัฐ น.ส.
บุศรินทร์ กล่าวว่า ตอนนี้มีเด็กที่ถูกดำเนินคดีทางการเมืองมากกว่า 200คน อยากจะย้ำว่าเด็กเหล่านี้มีอนาคตข้างหน้า รัฐควรนิรโทษกรรมให้กับพวกเขา ไม่ว่าจะทำอะไรก็ควรนึกถึงหลักประโยชน์สูงสุดของเด็กไว้ก่อน
“
ไอลอว์ พยายามที่จะเสนอร่าง พรบ.นิรโทษกรรม ซึ่งเราถอยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 การนิรโทษกรรมประชาชนทุกฝ่ายโดยไม่รวมกับเจ้าหน้าที่รัฐ และรวมคดีมาตรา 112 คิดว่ารัฐควรรับในประเด็นนี้ สังคมจะเดินไปข้างหน้าได้อย่างไร ถ้ายังไม่ชำระสิ่งที่ยังไม่ชัดเจนในอดีต ในโอกาสครั้งนี้เรามีรัฐบาลใหม่ อยากจะให้มองเรื่องประเด็นการเยียวยาการนิรโทษกรรมเป็นหลัก” น.ส.
บุศรินทร์ กล่าว
ทั้งนี้ นิทรรศการ ‘
เด็กเอ๋ย เด็กเลว : ประวัติศาสตร์ขบวนการนักเรียน นักศึกษา ปี 2563’ จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม – 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 ที่ร้านประชาบาร์ Pracha Bar เขตบางรัก กรุงเทพฯ
ILO คาดปี 67 อัตราการว่างงานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นและกังวลความเหลื่อมล้ำที่กำลังสูงขึ้น
https://prachatai.com/journal/2024/01/107634
อัตราการว่างงานและจำนวนผู้ว่างงานที่สนใจหางานได้ลดลงต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาดใหญ่ แต่การว่างงานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นในปี 2567 ความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่สูงขึ้น ร่วมกับกำลังการผลิตที่ซบเซาเป็นสาเหตุให้เกิดความกังวล ตามรายงานการจ้างงานและแนวโน้มสังคมโลกของ ILO: แนวโน้มปี 2567
14 ม.ค. 2567 ตลาดแรงงานฟื้นตัวแบบคาดไม่ถึง แม้สภาพเศรษฐกิจจะทรุดลง อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวจากการระบาดใหญ่ยังคงไม่สมดุล ขณะเดียวกัน วิกฤตการณ์ต่างๆ และความเปราะบางรูปแบบใหม่ๆ กำลังกัดกร่อนโอกาสในการสร้างความยุติธรรมทางสังคมให้ดีขึ้น ตามรายงานฉบับใหม่ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ)
รายงานการจ้างงานและแนวโน้มสังคมโลก ปี 2567 ของ ไอแอลโอ (World Employment and Social Outlook Trends: 2024 - WESO Trends) พบว่าทั้งอัตราการว่างงานและจำนวนผู้ว่างงานที่สนใจหางาน ได้ลดลงต่ำกว่าช่วงก่อนการเกิดโรคระบาดใหญ่ อัตราการว่างงานทั่วโลกในปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 5.1 ดีขึ้นเล็กน้อยจากปี 2565ที่อยู่ที่ร้อยละ 5.3 จำนวนผู้ว่างงานที่สนใจหางานทั่วโลกและอัตราการมีส่วนร่วมของกำลังแรงงานก็ดีขึ้นในปี 2566 เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม รายงานพบว่าภายใต้ตัวเลขเหล่านี้ ความเปราะบางกำลังเริ่มปรากฏให้เห็น โดยคาดการณ์ว่าทั้งแนวโน้มตลาดแรงงานและการว่างงานทั่วโลกจะแย่ลง คาดว่าในปี 2567 จะมีแรงงานเพิ่มขึ้นอีก 2 ล้านคนที่จะต้องการงาน ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการว่างงานทั่วโลกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.1 ในปี 2566 เป็นร้อยละ 5.2 รายได้สุทธิในประเทศกลุ่มจี 20 ส่วนใหญ่จะลดลง และคาดว่ามาตรฐานการครองชีพที่แย่ลงอันเป็นผลมาจากเงินเฟ้อนั้น โดยทั่วไป “ไม่น่าจะแก้ไขได้เร็ว”
นอกจากนี้ ความแตกต่างที่สำคัญยังคงมีอยู่ระหว่างประเทศที่มีรายได้สูงและต่ำกว่า จำนวนผู้ว่างงานที่สนใจหางานในปี 2566 ในประเทศที่มีรายได้สูง อยู่ที่ร้อยละ 8.2 ขณะที่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อย อยู่ที่ร้อยละ 20.5 ในทำนองเดียวกัน อัตราการว่างงานปี 2566 ในประเทศที่มีรายได้สูง อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ขณะที่อัตราการว่างงานในประเทศที่มีรายได้ต่ำ อยู่ที่ร้อยละ 5.7
ยิ่งกว่านั้น แรงงานที่ยากจนมีแนวโน้มที่จะยังคงมีอยู่ แม้จะลดลงอย่างรวดเร็วหลังปี 2563 จำนวนของแรงงานที่อยู่ในกลุ่มยากจนสุดขีด กล่าวคือ มีรายได้น้อยกว่า 2.15 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อวัน ตามคำจำกัดความของทฤษฎีความเสมอภาคของอํานาจซื้อ (purchasing power parity - PPP) ได้เพิ่มขึ้นประมาณ 1 ล้านคน ในปี 2565 จำนวนของแรงงานที่อยู่ในกลุ่มยากจนปานกลาง กล่าวคือ มีรายได้น้อยกว่า 3.65 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อวัน ตามคำจำกัดความของทฤษฎีความเสมอภาคของอํานาจซื้อ (PPP) เพิ่มขึ้น 8.4 ล้านคนในปี 2565
ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ยังกว้างขึ้นอีกด้วย นอกจากการลดลงของรายได้สุทธิแล้ว รายงานฉบับนี้เตือนว่า “
ยังมีสัญญาณที่ไม่ค่อยสู้ดีเกี่ยวกับอุปสงค์โดยรวมและก
JJNY : แม่ค้าโอด ยอดขายตก เซ่นไข่แพง│ไอลอว์จี้รัฐโฟกัส ‘นิรโทษกรรม’│ILO คาดปี 67│ไต้หวันเร่งเตรียมตัว หากเกิดสงคราม
https://www.matichon.co.th/region/news_4375985
เตรียมใจ ไข่พาเหรดปรับราคาขึ้นทุกแผงวันนี้ แม่ค้าไข่ตรัง ยอมรับไข่แพงจริง โอดยอดขายตก ลูกค้าซื้อปลีกนับฟอง ไม่ซื้อยกแผงแล้ว
จากกรณีภายหลังจากที่เครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ 4 ภาค ได้ออกประกาศราคาแนะนำไข่ไก่คละหน้าฟาร์มเกษตรกร วันที่ 11 มกราคม อยู่ที่ฟองละ 3.80 บาท ซึ่งจากการปรับราคาครั้งนี้จะทำให้ราคาไข่ไก่ ปรับขึ้นแผงละ 9 บาท หรือฟองละ 30 สตางค์ ทั้งขายปลีกและขาวส่งนั้น
เมื่อวันที่ 14 มกราคม ที่ตลาดสดควนปริง ต.ควนปริง อ.เมือง จ.ตรัง นางสาวศรีวัลย์ มันควน เจ้าของแผงขายไข่ เปิดเผยว่า ราคาไข่ที่ขึ้นป้ายประกาศให้เห็นอยู่นี้ เป็นราคาเดิมที่ยังไม่ได้มีการปรับราคาขึ้นตามที่เครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ประกาศปรับขึ้นราคาไข่ไก่มาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
โดยราคาเดิมที่ขาย คือ ไข่เบอร์ 0 ราคาแผงละ 142 บาท/ ไข่เบอร์ 1 ราคาแผงละ 132 บาท / ไข่เบอร์ 2 ราคาแผงละ 129 บาท / ไข่เบอร์ 3 ราคาแผงละ 127 บาท /ไข่เบอร์ 4 ราคาแผงละ 125 บาท และไข่เบอร์ 5 ราคาแผงละ 115 บาท
ส่วนราคาขายปลีกเฉลี่ยอยู่ที่ฟองละ 4.30 -5.20 บาทขึ้นอยู่กับขนาดไข่ที่ขายในนี้จึงยังเป็นราคาเดิมที่ยังไม่ได้ปรับขึ้น เพราะฟาร์มที่ตนเองรับไข่มาขายยังไม่มีการปรับราคาขึ้น แต่ทราบว่าบางฟาร์มในพื้นที่มีการปรับราคาไข่ขึ้นแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ไข่จะมีการปรับขึ้นอย่างแน่นอนตั้งแต่วันที่ 15 มกราคมเป็นต้นไป เบื้องต้นเท่าที่ทราบจากข่าว อาจมีการปรับขึ้นแผงละประมาณ 9 บาท ส่วนฟาร์มที่ตนรับมาจะปรับราคาขึ้นแผงละเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับทางฟาร์ม ตนเพียงรับช่วงมาก็ต้องขายตามราคาที่ปรับขึ้น
“ยอมรับว่าขณะนี้ราคาไข่แพงมากจริง ซึ่งประชาชนก็บ่นว่าไข่ราคาแพง แม้ว่าไข่จะเป็นอาหารคู่ครัวที่ต้องมี แต่ยอมรับแม่ค้าเองก็ขายยาก ยอดขายหายไปกว่าครึ่ง จากเดิมบางคนเคยซื้อยกแผง แต่ขณะนี้ประชาชนส่วนใหญ่ต่างประหยัด จะซื้อปลีกเพียงครั้งละไม่กี่ฟองเท่านั้น ส่วนตัวก็ยอมรับว่าไข่ราคาแพงขึ้นมากจริง แต่แม่ค้าถ้าไข่ขึ้นก็ปรับราคาตามที่ปรับขึ้น แต่หากไข่ลงก็ต้องปรับราคาลดลงตามราคาที่ปรับลดลง” นางสาวศรีวัลย์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการพูดคุยกับประชาชนที่เดินทางมาซื้อไข่ ต่างยอมรับว่า ซื้อไข่ในปริมาณลดลงตามความจำเป็นที่ต้องใช้แต่ละครั้งเท่านั้น จะไม่ได้ซื้อไปตุนไว้ เพราะมีเงินจำกัดจึงต้องประหยัด ทั้งนี้ การมาซื้อที่แผงตลาดสดจะได้ไข่ในราคาที่ถูกกว่าซื้อตามหมู่บ้าน ซึ่งขณะนี้ตามหมู่บ้านตกฟองละ 5-6 บาท แต่หลังจากนี้ราคาไข่จะปรับขึ้นอีก เช่นเดียวกับพ่อค้าขายอาหารตามสั่ง ในหมู่บ้านการเคหะก็เดินทางมาซื้อไข่เช่นกัน โดยบอกว่า ซื้อไข่ทุกวัน ๆ ละ 1 แผง แต่ถึงแม้ราคาไข่ที่ซื้อจะปรับขึ้นมากี่ครั้ง ตนเองก็จะขายไข่ดาว ไข่เจียว ฟองละ 5 บาทเท่าเดิม ไม่ได้ปรับราคาขึ้นแต่อย่างใด ต้องทนรับต้นทุนเอาไว้เอง เพราะสงสารลูกค้า
ไอลอว์ จี้รัฐโฟกัส ‘นิรโทษกรรม’ ถาม สังคมจะเดินหน้าอย่างไร ถ้าอดีตยังไม่ถูกชำระ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4375754
เจ้าหน้าที่ไอลอว์ จี้รัฐโฟกัส ‘นิรโทษกรรม’ ถาม สังคมจะเดินหน้าอย่างไร ถ้าอดีตยังไม่ถูกชำระ ชี้ เด็กเจอคดีการเมืองกว่า 200 ราย
เมื่อวันที่ 14 มกราคม เวลา 15.00 น. ที่ร้าน ‘ประชาบาร์’ สี่พระยา บางรัก กรุงเทพฯ ‘ประชาบาร์’ ร่วมกับ พิพิธภัณฑ์สามัญชน Museum of Popular History จัดเสวนาเปิดตัวนิทรรศการ ‘เด็กเอ๋ย เด็กเลว : ประวัติศาสตร์ขบวนการนักเรียน นักศึกษา ปี 2563’ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา ได้แก่ นายวสิษฐ์พล ตั้งสถาพรพันธ์ ผู้จัดการร้านประชาบาร์ , นายอานนท์ ชวาลาวัณย์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เนตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw-ไอลอว์) ในฐานะผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สามัญชน , น.ส.บุศรินทร์ แปแนะ iLaw / Mob Data Thailand ดำเนินรายการโดย นายเปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์
ในตอนหนึ่ง น.ส.บุศรินทร์ แปแนะ จาก โครงการอินเทอร์เนตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw-ไอลอว์)/ Mob Data Thailand กล่าวว่า ตนทำงานหลักอยู่ที่ไอลอว์ ตั้งแต่ พ.ศ.2559 เพราะสนใจประเด็นการเมือง รุ่นพี่เล่าให้ฟังว่า พรบ.การชุมชุมในที่สาธารณะที่ออกในปี พ.ศ.2558 มีปัญหาอย่างไร ต่อมาในช่วงประมาณ พ.ศ. 2562 มีการชุมนุมฮ่องกง ตนได้แรงบันดาลใจในการศึกษาข้อมูลของคนที่นั่นทั้งการเคลื่อนไหว ทั้งการสรุปตัวเลขการใช้กำลังต่างๆ
“เรารู้สึกมันว้าวดี เข้าไปตามการเคลื่อนไหวต่างๆ ก็สนุก คิดว่าถ้าเราอยากให้มีพื้นที่สาธารณะ ในการชุมนุมได้ขยายตัวมากขึ้น เราก็ต้องประกันก่อนว่า กฎหมายจะไม่กดปราบประชาชนใช่ไหม ซึ่งในตอนนั้น พรบ.การชุมนุมมีปัญหาจริงๆ เลยคิดกับเพื่อนที่ แอมเนสตี้ ไทยแลนด์ เริ่มทำฐานข้อมูลการชุมนุมของไทยขึ้นมาชื่อ Mob Data Thailand ไม่คาดคิดว่า มันจะมาเจอการชุมนุมในประเทศเป็นร้อยครั้งขนาดนี้ เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับการแก้ไข พรบ.ชุมนุมในอนาคต” น.ส.บุศรินทร์ กล่าว
น.ส.บุศรินทร์ กล่าวว่า ตนได้สำรวจภายในนิทรรศการเจอสติ๊กเกอร์ ‘เกียมอุดมไม่ก้มหัวให้เผด็จการ’ ของกลุ่มนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และอีกหนึ่งชิ้นของ Spring Movement ชิ้นงานในปี พ.ศ.2563 ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้หวนคิดถึงการชุมนุมในช่วงเวลานั้นซึ่งเกิดขึ้นจากคนตัวเล็กที่รู้สึกอึดอัดอะไรสักอย่าง
“เท่าที่จำได้ Spring Movement จะมาพร้อมกับ ต้าร์ วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ นักกิจกรรมและนักเคลื่อนไหวทางสังคม ที่หายตัวไป ตอนนั้นก็มีทั้ง เพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์ รุ้ง ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล กลายเป็นปรากฎการณ์ป๊อปอัพ การหายตัวไปของ ต้าร์ วันเฉลิม เขารู้สึกว่าต้องมีรีแอคอะไรบ้างอย่างเกิดขึ้น พอรู้สึกเจอคนประเภทเดียวกันที่เจอความไม่เป็นธรรม จึงรวมตัวกันลุกขึ้นมาทำอะไรบ้างที่เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
สุดท้ายความพยายามเล็กๆน้อยๆ เสมือนเป็นแรงกระเพื่อมที่ก่อให้เกิดคลื่นใหญ่ในช่วงหลังการชุมนุมเยาวชนปลดแอก อย่างน้อยเรามี 2 มือ แต่เรากล้าหาญที่จะมายืนข้างหน้า มันคือแรงบันดาลใจที่เราต้องทำอะไรบ้างอย่างให้ประเทศเรามีเสรีภาพมากกว่านี้ มีประชาธิปไตยที่เข้มแข็งมากกว่านี้” น.ส.บุศรินทร์ กล่าว
เมื่อผู้ดำเนินรายการถามว่า มองสถานการณ์การชุมนุมในตอนนี้เป็นอย่างไร ?
น.ส.บุศรินทร์ กล่าวว่า ตนเคยทำงานวิจัยชิ้นเล็กๆ ในเรื่องความรุนแรงทางการเมือง เมื่อปี 2549 พอกลับไปย้อนอ่าน เรากลับไปย้อนดูด้านมิติความรุนแรง และชุมนุมทางการเมือง ในวิธีการที่ปิดปากปิดเสียงของประชาชนที่เห็นต่างเริ่มมีความซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ในตอนที่ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ออกมาใช้ถนนในการชุมนุม ในการใช้กฎหมายก็มีการค้นว่าจะเอากฎหมายใดปราบปรามผู้ชุมนุมได้บ้าง ก็จะนำมาปราบ
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2553 มีทั้ง พรบ.ฉุกเฉิน มีทั้งการได้รับบาดเจ็บจากการชุมนุม โดยยังไม่ได้รับการเยียวยา มาถึงปี พ.ศ. 2557 มีการทำรัฐประหาร และมีคนออกมาคัดค้าน ยิ่งปล่อยให้คนมาคัดค้านมากเท่าไหร่ ยิ่งมีคนใช้กำลังมากขึ้น ก็มีคำสั่งจากหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ตอนนั้นนักศึกษาได้ออกมาคัดค้าน ช่วงนั้นอยู่กันด้วยความหวาดกลัว และได้มีการออกกฎหมายมาฉบับหนึ่งที่ส่งผลกระทบหลายรูปแบบ คือกฎหมายได้ออกมาเพื่อไม่ให้ประชาชนมาต่อต้านรัฐในประเด็นการเมือง ซึ่งมันส่งผลไปยังทางอ้อม ถึงประชาชนที่เรียกร้องทางปากท้อง ทางทรัพยากรด้วย เป็นอีกบทหนึ่งที่รัฐใช้ในการปราบปราม
“(พ.ศ.2563) คนที่โดนใช้กฎหมายก็เริ่มจะเป็นเด็ก หรือเยาวชน ยิ่งเป็นเด็กที่อยู่ในวัยมัธยม จะรับมืออย่างไร เราก็ติดตามดูว่าเขาจะทำอย่างไร จะหนักมือไปเลย หรือจะเบามือ ก็พบว่ามีกระบวนท่าในการรับมือใหม่ๆ” น.ส.บุศรินทร์ กล่าว
เมื่อผู้ดำเนินรายการถามถึงสิ่งอยากจะสื่อสารกับรัฐ น.ส.บุศรินทร์ กล่าวว่า ตอนนี้มีเด็กที่ถูกดำเนินคดีทางการเมืองมากกว่า 200คน อยากจะย้ำว่าเด็กเหล่านี้มีอนาคตข้างหน้า รัฐควรนิรโทษกรรมให้กับพวกเขา ไม่ว่าจะทำอะไรก็ควรนึกถึงหลักประโยชน์สูงสุดของเด็กไว้ก่อน
“ไอลอว์ พยายามที่จะเสนอร่าง พรบ.นิรโทษกรรม ซึ่งเราถอยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 การนิรโทษกรรมประชาชนทุกฝ่ายโดยไม่รวมกับเจ้าหน้าที่รัฐ และรวมคดีมาตรา 112 คิดว่ารัฐควรรับในประเด็นนี้ สังคมจะเดินไปข้างหน้าได้อย่างไร ถ้ายังไม่ชำระสิ่งที่ยังไม่ชัดเจนในอดีต ในโอกาสครั้งนี้เรามีรัฐบาลใหม่ อยากจะให้มองเรื่องประเด็นการเยียวยาการนิรโทษกรรมเป็นหลัก” น.ส.บุศรินทร์ กล่าว
ทั้งนี้ นิทรรศการ ‘เด็กเอ๋ย เด็กเลว : ประวัติศาสตร์ขบวนการนักเรียน นักศึกษา ปี 2563’ จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม – 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 ที่ร้านประชาบาร์ Pracha Bar เขตบางรัก กรุงเทพฯ
ILO คาดปี 67 อัตราการว่างงานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นและกังวลความเหลื่อมล้ำที่กำลังสูงขึ้น
https://prachatai.com/journal/2024/01/107634
อัตราการว่างงานและจำนวนผู้ว่างงานที่สนใจหางานได้ลดลงต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาดใหญ่ แต่การว่างงานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นในปี 2567 ความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่สูงขึ้น ร่วมกับกำลังการผลิตที่ซบเซาเป็นสาเหตุให้เกิดความกังวล ตามรายงานการจ้างงานและแนวโน้มสังคมโลกของ ILO: แนวโน้มปี 2567
14 ม.ค. 2567 ตลาดแรงงานฟื้นตัวแบบคาดไม่ถึง แม้สภาพเศรษฐกิจจะทรุดลง อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวจากการระบาดใหญ่ยังคงไม่สมดุล ขณะเดียวกัน วิกฤตการณ์ต่างๆ และความเปราะบางรูปแบบใหม่ๆ กำลังกัดกร่อนโอกาสในการสร้างความยุติธรรมทางสังคมให้ดีขึ้น ตามรายงานฉบับใหม่ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ)
รายงานการจ้างงานและแนวโน้มสังคมโลก ปี 2567 ของ ไอแอลโอ (World Employment and Social Outlook Trends: 2024 - WESO Trends) พบว่าทั้งอัตราการว่างงานและจำนวนผู้ว่างงานที่สนใจหางาน ได้ลดลงต่ำกว่าช่วงก่อนการเกิดโรคระบาดใหญ่ อัตราการว่างงานทั่วโลกในปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 5.1 ดีขึ้นเล็กน้อยจากปี 2565ที่อยู่ที่ร้อยละ 5.3 จำนวนผู้ว่างงานที่สนใจหางานทั่วโลกและอัตราการมีส่วนร่วมของกำลังแรงงานก็ดีขึ้นในปี 2566 เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม รายงานพบว่าภายใต้ตัวเลขเหล่านี้ ความเปราะบางกำลังเริ่มปรากฏให้เห็น โดยคาดการณ์ว่าทั้งแนวโน้มตลาดแรงงานและการว่างงานทั่วโลกจะแย่ลง คาดว่าในปี 2567 จะมีแรงงานเพิ่มขึ้นอีก 2 ล้านคนที่จะต้องการงาน ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการว่างงานทั่วโลกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.1 ในปี 2566 เป็นร้อยละ 5.2 รายได้สุทธิในประเทศกลุ่มจี 20 ส่วนใหญ่จะลดลง และคาดว่ามาตรฐานการครองชีพที่แย่ลงอันเป็นผลมาจากเงินเฟ้อนั้น โดยทั่วไป “ไม่น่าจะแก้ไขได้เร็ว”
นอกจากนี้ ความแตกต่างที่สำคัญยังคงมีอยู่ระหว่างประเทศที่มีรายได้สูงและต่ำกว่า จำนวนผู้ว่างงานที่สนใจหางานในปี 2566 ในประเทศที่มีรายได้สูง อยู่ที่ร้อยละ 8.2 ขณะที่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อย อยู่ที่ร้อยละ 20.5 ในทำนองเดียวกัน อัตราการว่างงานปี 2566 ในประเทศที่มีรายได้สูง อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ขณะที่อัตราการว่างงานในประเทศที่มีรายได้ต่ำ อยู่ที่ร้อยละ 5.7
ยิ่งกว่านั้น แรงงานที่ยากจนมีแนวโน้มที่จะยังคงมีอยู่ แม้จะลดลงอย่างรวดเร็วหลังปี 2563 จำนวนของแรงงานที่อยู่ในกลุ่มยากจนสุดขีด กล่าวคือ มีรายได้น้อยกว่า 2.15 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อวัน ตามคำจำกัดความของทฤษฎีความเสมอภาคของอํานาจซื้อ (purchasing power parity - PPP) ได้เพิ่มขึ้นประมาณ 1 ล้านคน ในปี 2565 จำนวนของแรงงานที่อยู่ในกลุ่มยากจนปานกลาง กล่าวคือ มีรายได้น้อยกว่า 3.65 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อวัน ตามคำจำกัดความของทฤษฎีความเสมอภาคของอํานาจซื้อ (PPP) เพิ่มขึ้น 8.4 ล้านคนในปี 2565
ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ยังกว้างขึ้นอีกด้วย นอกจากการลดลงของรายได้สุทธิแล้ว รายงานฉบับนี้เตือนว่า “ยังมีสัญญาณที่ไม่ค่อยสู้ดีเกี่ยวกับอุปสงค์โดยรวมและก