JJNY : ไม่เกลียดไม่ใช่ศัตรู แต่ไม่ซูเอี๋ยรบ.│“นิด้าโพล”คนกลัวภัยแก๊งคอลเซ็นเตอร์│ส.อ.ท.ดัน 5 ข้อ│โจมตีฮูตี“คือส่งสัญญาณ”

มีเรื่องมาเคลียร์ by ศิโรตม์ วิโรจน์ ก้าวไกล – กัณวีร์ เป็นธรรม ไม่เกลียดไม่ใช่ศัตรู แต่ไม่ซูเอี๋ยรัฐบาล
https://www.matichon.co.th/matichon-tv/news_4374463

รายการมีเรื่องมาเคลียร์ by ศิโรตม์ ทางยูทูบมติชนทีวี ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ สนทนากับ 2 สมาชิกพรรคฝ่ายค้าน วิโรจน์ ลักขณาอดิศร จากก้าวไกล และ กัณวีร์ สืบแสง จากเป็นธรรม บทบาทของฝ่ายค้านกับอดีตพันธมิตรอย่างเพื่อไทย ยืนยันไม่เกลียด ไม่ใช่ศัตรู ไม่ใช่ค้านกันแบบสุดซอย แต่ไม่ยอมรับกับเรื่อง 2 มาตรฐาน

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

 
“นิด้าโพล”คนกลัวภัยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ไม่ค่อยเชื่อมั่นตำรวจ
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_664272/

“นิด้าโพล”เผยคนกลัวภัยอาชญากรรมออนไลน์ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ไม่ค่อยเชื่อมั่นตำรวจทำงาน ชี้ต้องมีคุณธรรม

“นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ความเชื่อมั่น ต่อองค์กรตำรวจในสายตาของประชาชน” ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 2-6 มกราคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วย โดยเมื่อถามถึงความรู้สึกหวาดกลัวต่อภัยอาชญากรรมของประชาชน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 37.25 ระบุว่า ค่อนข้างหวาดกลัว รองลงมา ร้อยละ 33.05 ระบุว่า หวาดกลัวมาก ร้อยละ 20.92 ระบุว่า ไม่ค่อยหวาดกลัว และร้อยละ 8.78 ระบุว่า หวาดกลัวน้อย
 
ด้านประเภทคดีอาชญากรรมที่ประชาชนรู้สึกหวาดกลัวในสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.98 ระบุว่า คดีอาชญากรรมออนไลน์ เช่น แก๊งคอลเซ็นเตอร์ การพนันออนไลน์ หลอกลวงขายของออนไลน์ รองลงมา ร้อยละ 25.73 ระบุว่า คดียาเสพติด เช่น ซื้อ ขาย หรือเสพยาเสพติด หลอนจากการเสพยา ร้อยละ 15.35 ระบุว่า คดีฆาตกรรมหรือทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 7.86 ระบุว่า คดีฉ้อโกงประชาชน เช่น การหลอกลงทุน การเล่นแชร์ ร้อยละ 3.97 ระบุว่า คดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เช่น ลักทรัพย์ ปล้นทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ รีดเอาทรัพย์ ร้อยละ 3.66 ระบุว่า คดีความผิดเกี่ยวกับเพศ เช่น ข่มขืน อนาจาร
 
ส่วนความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการนำเสนอข่าวหรือการแถลงข่าวเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 35.19 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 34.81 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 18.40 ระบุว่า เชื่อมั่นน้อย และร้อยละ 10.69 ระบุว่า  เชื่อมั่นมาก
 
ด้านสายงานของตำรวจที่ประชาชนชื่นชอบ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 28.78 ระบุว่า ด้านการสืบสวนอาชญากรรม เช่น ฝ่ายสืบสวน     นอกเครื่องแบบ เสาะหาพยานหลักฐาน จับกุมคนร้าย รองลงมา ร้อยละ 27.48 ระบุว่า ด้านการป้องกันและปราบปราม เช่น สายตรวจ ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ฝากบ้านไว้กับตำรวจ ร้อยละ 21.53 ระบุว่า ด้านการจัดการจราจร ร้อยละ 8.70 ระบุว่า ด้านการสอบสวน เช่น รับแจ้งความ รับแจ้งเอกสาร อำนวยความเป็นธรรมในการดำเนินคดี และร้อยละ 1.83 ระบุว่า ไม่ชื่นชอบการปฏิบัติงานของตำรวจในสายงานใดเลย
 
เมื่อถามถึงการใช้บริการบนสถานีตำรวจของประชาชนในรอบ 1 ปี พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 82.06 ระบุว่า ไม่เคยใช้บริการขณะที่ ร้อยละ 17.94 ระบุว่า เคยใช้บริการ ซึ่งตัวอย่างที่ระบุว่า เคยใช้บริการ (จำนวน 235 หน่วยตัวอย่าง) ร้อยละ 42.13 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ รองลงมา ร้อยละ 21.70 ระบุว่า พอใจมาก ร้อยละ 20.00 ระบุว่า พอใจน้อย และร้อยละ 16.17 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ
 
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงลักษณะตำรวจที่ดีในมุมมองของประชาชน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 31.14 ระบุว่า มีคุณธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ โปร่งใส ตรวจสอบได้ รองลงมา ร้อยละ 25.27 ระบุว่า ทำงานรวดเร็ว เสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ ร้อยละ 18.09 ระบุว่า การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส ในการให้บริการประชาชน ร้อยละ 14.04 ระบุว่า บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ร้อยละ 5.50 ระบุว่า สามารถควบคุมอารมณ์และการแก้ไขสถานการณ์ได้ดี ร้อยละ 3.36 ระบุว่า มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงาน และร้อยละ 1.45 ระบุว่า มีบุคลิกภาพมีความเป็นผู้นำ และเป็นแบบอย่างที่ดี



เอกชนเชียร์ตรึงราคาพลังงานช่วยลดต้นทุน ส.อ.ท.ดัน 5 ข้อค่าไฟต่ำ 4 บ. ชงแผนระยะยาวลดได้อีก ปตท.ชี้ทำธุรกิจวูบ 6.5 พันล.
https://www.matichon.co.th/economy/news_4374666

เอกชนเชียร์ตรึงราคาพลังงานช่วยลดต้นทุน ส.อ.ท.ดัน 5 ข้อค่าไฟต่ำ 4 บ. ชงแผนระยะยาวลดได้อีก ปตท.ชี้ทำธุรกิจวูบ 6.5 พันล.
 
เมื่อวันที่ 13 มกราคม นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยว่า จากกรณีที่ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มีนโยบายตรึงราคาพลังงานตลอดทั้งปี 2567 ว่า เรื่องของราคาพลังงานต้องแยกเป็นเรื่องๆ เริ่มจาก ราคาค่าไฟฟ้าที่ล่าสุดงวดเดือนมกราคม-เมษายน อยู่ที่ 4.18 บาทต่อหน่วย และกลุ่มเปราะบาง 3.99 บาทต่อหน่วย มองว่ารัฐบาลไม่สามารถปรับราคาให้ต่ำลงไปกว่านี้ได้แล้ว เนื่องจากรัฐบาลยังต้องแบกรับภาระหนี้จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กว่า 8 หมื่นล้านบาท

ต้องยอมรับว่าในการปรับลดราคาค่าไฟลง เป็นผลดีต่อประชาชน และภาคเอกชน เพราะมีส่วนช่วยทำให้ค่าใช้จ่าย หรือต้นทุนที่ต้องแบกรับลดลง ซึ่งจากการสอบถามความคิดเห็นของภาคธุรกิจพอใจกับราคาดังกล่าวเป็นอย่างมาก”นายธนิตกล่าว
 
นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เป็นสิ่งที่ดี ที่ภาครัฐมีนโยบายและแนวทางในการแก้ไขปัญหาทั้งเรื่องค่าไฟฟ้าและค่าพลังงาน โดยมองภาพในระยะกลาง และระยะยาวมากขึ้น ภายใต้สถานการณ์ราคาพลังงานปัจจุบัน หากรัฐบาลมีการขับเคลื่อนตามข้อเสนอของ ส.อ.ท. แบ่งเป็นระยะสั้น 5 ด้าน จะช่วยลดค่าไฟฟ้าในปี 2567 ต่ำกว่า 4 บาทต่อหน่วย โดยไม่ต้องใช้งบประมาณกลางมาอุดหนุนกลุ่มเปราะบางได้อย่างแน่นอน ประกอบด้วย 

1. ขับเคลื่อนกลไกเชิงรุกยึดค่าครองชีพประชาชน 
2. กระทรวงการคลังรีไฟแนนซ์หนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ด้วยการออกพันธบัตรของรัฐ และต้องไม่เร่งผลักภาระใส่ค่าเอฟทีในช่วงพลังงานขาลง 
3. กรณีซัพพลายโอเวอร์ดีมานด์ ลดกำไรโรงไฟฟ้า ไม่เร่งซัพพลายแต่ควรเร่งดีมานด์จากรถยนต์อีวี 
4. ส่งเสริมและปลดล็อกพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์สะดวกและเป็นธรรม เป็นต้น 
และ 5. ปรับโครงสร้างก๊าซธรรมชาติ ลดกำไร ราคาขายรายเล็กใกล้เคียงรายใหญ่ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดหาก๊าซธรรมเหลว (แอลเอ็นจี) ทั้งสัญญาระยะยาวและสปอต

นายอิศเรศกล่าวว่า ระยะยาวควรเร่ง 1.การเจรจาพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา (โออีซี) และ 2.ให้มีบุคคลที่สามในระบบโลจิสติกส์ของไฟฟ้าและก๊าซ และลดการผูกขาดทุกรูปแบบ นอกจากนี้ระยะกลาง รัฐบาลควรตั้งเป้าหมายและมียุทธศาสตร์ในแผนพลังงานชาติ หรือ NEP (National Energy Plan) และแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าประเทศ หรือ PDP (Power Development Plan) โดยในแผนค่าไฟฟ้าของประเทศไทยไม่ควรเกิน 3 บาทต่อหน่วย เพื่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและลดค่าครองชีพของประชาชน
นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 12 มกราคมที่ผ่านมา ได้ชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 เรื่องมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของ ปตท. 1.การปรับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ 2.การส่งผ่านราคาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย กรณีผู้ผลิตไม่สามารถส่งมอบก๊าซฯ ได้ตามเงื่อนไขสัญญาซื้อขายก๊าซฯ หรือช็อตฟอลล์
 
นายอรรถพลกล่าวว่า การปรับโครงสร้าง ราคาก๊าซฯ ตามมาตรการข้างต้นส่งผลให้ต้นทุนของโรงแยกก๊าซฯ เปลี่ยนแปลงจากก๊าซฯ ในอ่าวไทยเป็นต้นทุนถั่วเฉลี่ยก๊าซฯ จากทุกแหล่ง ได้แก่ อ่าวไทย พม่า และก๊าซธรรมชาติเหลว คือ พูลก๊าซ จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินงานของธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ ที่จะปรับสูงขึ้นยกเว้นก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในประเทศ มาตรการข้างต้นเป็นมาตรการระยะสั้นจนกว่าจะมีการกำหนดโครงสร้างราคาก๊าซฯ อย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประมาณการผลกระทบเบื้องต้น เดือนมกราคม-เมษายน 2567 จะทำให้ผลการดำเนินงานโดยรวมของธุรกิจก๊าซฯ ของ ปตท. ปรับตัวลดลงประมาณ 6,500 ล้านบาท หลังจากนี้ ปตท.จะหารือกับกระทรวงพลังงานถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับโครงสร้างราคาก๊าซฯในภาพรวมทุกด้านเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมร่วมกัน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่