...เพราะว่า บริบทของการฝึกภาวนาหรือการปฏิบัติธรรม ในขั้นเริ่มต้น ปูพื้นฐาน มีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องทำซ้ำๆๆๆ ไปนับครั้งไม่ถ้วน จนกว่าจะเริ่มเห็นผลครั้งแรก เป็นอย่างน้อย จึงอาจจะค่อยปรับเปลี่ยนวิธีการตอนหลัง ตามแต่ปัจจัยของเหตุผลของการแก้ปัญหาในตอนนั้น เช่น คนที่ฝึกเริ่มต้นด้วยการบริกรรม พุทโธๆๆ... ก็ต้องบริกรรมไปซ้ำๆๆๆ ..หลายหมื่นครั้ง หรือ หลายแสนครั้ง (หรืออาจจะหลายล้านครั้ง)..จนกว่าจิตจะเริ่มสงบ หรือ รวมลงเป็นสมาธิ...ไม่อาจจะ เป็นแบบจับจด เปลี่ยนจุดของการบริกรรมไปเรื่อยๆๆ ...เปรียบเทียบเหมือนการขุดเจาะลงไปใต้ดินเพื่อหาน้ำบาดาล จำเป็นต้องเจาะลงไปที่จุดเดียว ลึกๆๆลงไปเรื่อยๆๆ จนลึกมากๆ จนกว่าจะเจอน้ำ ไม่ใช่ เจาะลงไปแค่ไม่กี่ฟุต ก็เปลี่ยนไปเจาะที่จุดอื่นๆไปเรื่อยๆ แบบนี้จะไม่มีทางเจอน้ำ ... แต่ ยกเว้นทำซ้ำๆๆอย่างมากมาย หนักหน่วง มากๆ จนถึงขั้นแทบตาย ก็ยังไม่เห็นผลซะที... ถ้าแบบนี้จึงค่อยปรับเปลี่ยนจุด
...จะเห็นในตำราของการสอนการฝึกสมถภาวนาขั้นแรก (เช่น ในคัมภีร์อรรถกถา หรือ วิสุทธิมรรค... มักจะเจอสำนวนว่า "บริกรรมภาวนาซ้ำๆเป็นหมื่นๆแสนๆครั้ง ล้านๆครั้ง"
การฝึกภาวนาหรือปฏิบัติธรรม ต้องระวังอย่าเอาหลักการของไอน์สไตน์ที่ว่า"ถ้าทำอะไรซ้ำๆแล้วไม่เห็นผลก็ควรเปลี่ยนวิธีการ ไปใช้
...จะเห็นในตำราของการสอนการฝึกสมถภาวนาขั้นแรก (เช่น ในคัมภีร์อรรถกถา หรือ วิสุทธิมรรค... มักจะเจอสำนวนว่า "บริกรรมภาวนาซ้ำๆเป็นหมื่นๆแสนๆครั้ง ล้านๆครั้ง"