***ขออนุญาตยกเอางานวิจัยเรื่องก๋วยเตี๋ยวของจังหวัดสุโขทัย (ความทรงจำส่วนบุคคล) มาลงครับ***
จากความสําคัญของอาหารที่สามารถนำเป็นเครื่องมือในการสร้าง Soft power ให้กับจังหวัดสุโขทัย สอดคล้องกับก๋วยเตี๋ยวของจังหวัดสุโขทัยซึ่งเป็นอาหารที่ชาวสุโขทัย ได้สัมผัสรสชาติมาตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ยาย จนมาถึงปัจจุบัน แต่ด้วยความลื่นไหลของวัฒนธรรมการกิน ทําให้รูปแบบการรับประทานก๋วยเตี๋ยวของจังหวัดสุโขทัย ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบไปอย่างแพร่หลายแตกแขนงไปหลากหลายรูปแบบส่งผลให้การส่งผ่านทางวัฒนธรรมจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีความผิดเพี้ยนไปจากเดิม อาจทําให้เกิดความเข้าใจผิดหรือแม้กระทั่งสูญเสียคุณลักษณะเด่นของก๋วยเตี๋ยวของจังหวัดสุโขทัย จากเหตุผลดังกล่าวจึงต้องการศึกษาลักษณะเฉพาะก๋วยเตี๋ยวของจังหวัดสุโขทัย เพื่อรวบรวมจดบันทึกและถ่ายทอดเป็นข้อมูลที่แสดงถึงวิวัฒนาการด้านอาหารผ่านมุมมองก๋วยเตี๋ยวของจังหวัดสุโขทัยในความทรงจําส่วนบุคคล และนําข้อมูลไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการศึกษาด้านอาหารพื้นถิ่นในลําดับต่อไป
โดยการวิจัยที่นำมาเผยแพร่นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ศึกษาลักษณะเฉพาะก๋วยเตี๋ยวของจังหวัดสุโขทัยในความทรงจำ
2) นำเสนอลักษณะเฉพาะก๋วยเตี๋ยวของจังหวัดสุโขทัยในความทรงจำด้วยเทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก
กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชากรของจังหวัดสุโขทัย จำนวน 30 ท่าน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
โดยมีคุณสมบัติเป็น ชาวจังหวัดสุโขทัยตั้งแต่กำเนิด และอยู่ในช่วงอายุที่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) 29-46 ปี 2) 47 – 58 ปี และ 3) 59 ปีขึ้นไป และใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์แบบ Thematic Analysis
ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะเฉพาะก๋วยเตี๋ยวของจังหวัดสุโขทัยในความทรงจำส่วนบุคคลสามารถจำแนกลักษณะเฉพาะออกเป็น 5 ลักษณะเฉพาะ ได้ดังนี้
1. ลักษณะเฉพาะประเภทลักษณะ ได้แก่ แห้ง และน้ำ
2. ลักษณะเฉพาะประเภทเส้น ได้แก่ เส้นเล็ก และหมี่เหลือง/บะหมี่
3. ลักษณะเฉพาะประเภทเนื้อสัตว์ ได้แก่ หมูแดง หมูต้ม หมูลวก หมูสับ หนังหมูลวก และหนังหมูหมูแดง
4. ลักษณะเฉพาะประเภทผัก ได้แก่ ถั่วฝักยาวหั่นเฉียง ถั่วฝักยาวหั่นธรรมดา และถั่วงอก
5. ลักษณะเฉพาะประเภทเครื่องปรุง ได้แก่ พริกป่นคั่ว น้ำตาลปิ๊บ ถั่วลิสงคั่ว ไชโป๊วเค็ม (สับ) มะนาวผ่าซีก กุ้งฝอยสีแดง น้ำหมูแดง น้ำปลา น้ำมะนาว ผักชีใบเลื่อย กากหมูเจียว (น้ำมันหมูเจียว) / กระเทียมเจียวและไชโป๊วหวาน (สับ)
ส่วนชื่อในความทรงจำส่วนบุคคลที่นำมาเรียกก๋วยเตี๋ยวของจังหวัดสุโขทัย ประกอบไปด้วย
1) ก๋วยเตี๋ยวไทย 2) ก๋วยเตี๋ยวเครื่อง 3) ก๋วยเตี๋ยวเครื่องไทย และ 4) ก๋วยเตี๋ยวไทยต้มยำ
ที่มา : ปรีชา ตั้งสุขขีย์ศิริ, ณภัทร สำราญราษฎร์, & หงสกุล เมสนุกูล. (2023). ก๋วยเตี๋ยวของจังหวัดสุโขทัยในความทรงจำ. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 6(2), 175-185.
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/269567
ก๋วยเตี๋ยวของจังหวัดสุโขทัยในความทรงจำ
1. ลักษณะเฉพาะประเภทลักษณะ ได้แก่ แห้ง และน้ำ
2. ลักษณะเฉพาะประเภทเส้น ได้แก่ เส้นเล็ก และหมี่เหลือง/บะหมี่
3. ลักษณะเฉพาะประเภทเนื้อสัตว์ ได้แก่ หมูแดง หมูต้ม หมูลวก หมูสับ หนังหมูลวก และหนังหมูหมูแดง
4. ลักษณะเฉพาะประเภทผัก ได้แก่ ถั่วฝักยาวหั่นเฉียง ถั่วฝักยาวหั่นธรรมดา และถั่วงอก
5. ลักษณะเฉพาะประเภทเครื่องปรุง ได้แก่ พริกป่นคั่ว น้ำตาลปิ๊บ ถั่วลิสงคั่ว ไชโป๊วเค็ม (สับ) มะนาวผ่าซีก กุ้งฝอยสีแดง น้ำหมูแดง น้ำปลา น้ำมะนาว ผักชีใบเลื่อย กากหมูเจียว (น้ำมันหมูเจียว) / กระเทียมเจียวและไชโป๊วหวาน (สับ)
ส่วนชื่อในความทรงจำส่วนบุคคลที่นำมาเรียกก๋วยเตี๋ยวของจังหวัดสุโขทัย ประกอบไปด้วย
1) ก๋วยเตี๋ยวไทย 2) ก๋วยเตี๋ยวเครื่อง 3) ก๋วยเตี๋ยวเครื่องไทย และ 4) ก๋วยเตี๋ยวไทยต้มยำ
ที่มา : ปรีชา ตั้งสุขขีย์ศิริ, ณภัทร สำราญราษฎร์, & หงสกุล เมสนุกูล. (2023). ก๋วยเตี๋ยวของจังหวัดสุโขทัยในความทรงจำ. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 6(2), 175-185.
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/269567