ชัยธวัช ฟาด รัฐบาลรวมการเฉพาะกิจ ฉะ งบ 67 เหล้าเก่าในขวดใหม่ ไร้ยุทธศาสตร์
https://www.khaosod.co.th/politics/news_8036450
ชัยธวัช ฉะ งบปี 67 เบี้ยหัวแตก ไร้ยุทธศาสตร์ เหมือนเหล้าเก่าในขวดใหม่ ซัด รัฐบาลรวมการเฉพาะกิจ แบ่งอำนาจ แซะ เพื่อไทย คิดไปทำไป
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 3 ม.ค. 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท ระหว่างวันที่ 3-5 ม.ค.
นาย
ชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายภาพรวมของงบประมาณว่า วันนี้ตนฟังนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง อ่านคำแถลงประกอบร่างพ.ร.บ.งบฯ ทำให้นึกถึงบรรยากาศวันที่นายกฯ แถลงนโยบายต่อรัฐสภา
เพราะเต็มไปด้วยข้อความสวยหรูทุกด้าน และนายกฯ คนก่อนหน้านี้ก็มาอ่านเช่นนี้ เอาภารกิจของทุกหน่วยงานมาเรียบเรียงแล้วบอกว่ารัฐบาลจะทำอย่างไร แล้วผลเป็นอย่างไร สวยหรูเหมือนที่แถลงไว้หรือไม่
วันที่ 11 ก.ย. 2566 วันที่นายกฯ แถลงนโยบายก็บรรยากาศแบบนี้ เพิ่มเติมคือมีตัวเลขรวมมาให้ในแต่ละยุทธศาสตร์ แต่หากไปดูเนื้อในแล้วกลับเลื่อนลอย จับต้องไม่ได้ สะเปะสะปะ ไม่มียุทธศาสตร์ ไม่มีลำดับความสำคัญ โดยในวันนั้นนายกฯ แถลงนโยบายต่อรัฐสภา และระบุว่าประเทศไทยเผชิญกับวิกฤต 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ รัฐธรรมนูญ และความขัดแย้งในสังคม
เพื่อแก้ปัญหา สร้างความพร้อม และวางรากฐานอนาคตให้กับคนไทยทุกคน รัฐบาลมีกรอบนโยบายในการบริหารและพัฒนาประเทศตามกรอบความเร่งด่วน ได้แก่ กรอบระยะสั้น รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นการใช้จ่าย จุดประกายให้เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจกลับมาเติบโตอีกครั้ง ประกอบกับการเร่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของประชาชนอย่างเร่งด่วนและรวดเร็ว
นาย
ชัยธวัช กล่าวต่อว่า ส่วนกรอบระยะกลางและระยะยาว รัฐบาลจะเสริมขีดความสามารถให้กับประชาชนผ่านการสร้างรายได้ ลดรายจ่าย สร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับประชาชนทุกคน ซึ่งในวันแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ฝ่ายค้านได้อภิปรายวิพากษ์วิจารณ์ว่า นโยบายของรัฐบาลชุดนี้ไม่เหมือนกับที่เคยหาเสียงเอาไว้ หรือไม่มีความชัดเจน ไม่มีรูปธรรมที่จับต้องได้
แต่วันนั้นนายกฯ บอกให้รอดูแผนรายกระทรวง จะมีความชัดเจนแน่นอน ซึ่งเมื่อตามไปดูแผนรายกระทรวงก็พบว่ามีปัญหา คือ ไม่มีตัวชี้วัดชัดเจน ไม่สามารถวัดความสำเร็จของนโยบายได้จริง หรือไม่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายทางนโยบาย
เมื่อมาดูไส้ในของแผนงานเหล่านั้นพบว่าส่วนใหญ่เป็นโครงการเดิมๆ ที่กระทรวงทำอยู่แล้วทุกปี เป็นเหล้าเก่าในขวดใหม่ บ้างก็ยัดโครงการประจำของกระทรวง เข้ามาในแนวนโยบายที่รัฐบาลจะทำ ค่อนข้างปะปนกันระหว่างสิ่งที่รัฐบาลใหม่จะทำ กับสิ่งที่เป็นงานประจำที่หน่วยงานทำอยู่แล้วทุกปี
นาย
ชัยธวัช กล่าวด้วยว่า ต่อมาวันที่ 13 ก.ย. 2566 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติสั่งทบทวนร่างพ.ร.บ.งบปี 67 ใหม่ และเห็นชอบการปรับปรุงปฏิทินงบประมาณ พร้อมทบทวนแนวทางการจัดทำงบประมาณและยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณปี 67 ใหม่ รัฐบาลใช้เวลา 3 เดือนในการปรับปรุง พ.ร.บ.งบประมาณ ซึ่งคาดว่าจะนำไปสู่การจัดสรรงบใหม่ เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายใหม่
แต่สุดท้ายหน้าตาของร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฉบับนี้กลับไม่ต่างไปจากเดิม ทั้งนี้ ในวันแถลงนโยบาย นายกฯ บอกว่ามีนโยบายเร่งด่วน ซึ่งควรสะท้อนอยู่ในร่าง พ.ร.บ.งบประมาณนี้ แต่กลับต้องผิดหวัง เช่น เรื่องของการแก้ปัญหาหนี้สิน ทั้งในภาคเกษตร ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน แม้จะมีในคำแถลง แต่หากดูเนื้อในของร่างพ.ร.บ.งบประมาณฉบับนี้ จะพบว่าเป็นการจัดสรรงบประมาณที่ไม่ได้ตอบโจทย์อะไรเลย
หัวข้ออาจจะสวยหรู แต่ไส้ในตอบไม่ได้ว่าจะบรรลุเป้าหมายอย่างไร หรือแม้กระทั่งนโยบายที่บอกว่าจะให้คนไทยได้มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ซึ่งน่าจะต้องทำประชามติถึง 1-2 ครั้งในปีนี้ แต่รัฐบาลก็ไม่ได้ตั้งงบเอาไว้รอ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ของบไป 2,000 ล้าน แต่ได้มาแค่ประมาณ 1,000 ล้าน
ส่วนนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตที่ตอนแถลงนโยบายบอกว่าจะไม่กู้ จะบริหารจากงบปกติ แต่วันนี้ชัดเจนแล้วว่าไม่มีการตั้งงบใดๆ ไว้ในร่างพ.ร.บ.งบ 67 เราคงต้องว่ารัฐบาลจะสามารถเสนอ พ.ร.บ.เงินกู้ เข้าสู่สภาได้หรือไม่
“
หากดูภาพรวมของร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฉบับนี้ จะพบว่าเป็นงบประมาณแบบเบี้ยหัวแตก สะเปะสะปะ ไม่มียุทธศาสตร์ เหมือนทำงานอย่างไม่มีวาระเป้าหมายชัดเจน บางเรื่องหน้าปกอาจจะดูดี แต่พอเข้าไปดูไส้ในแล้ว พบว่าไม่ได้ยึดโยงกับเป้าหมายทางนโยบาย ส่วนใหญ่เป็นโครงการเดิมๆ แต่เอามาเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนปกใหม่แบบมั่วๆ โครงการเก่าๆ เดิมๆ แต่เอามาโยงให้เข้ากับเป้าหมายใหม่ แถมนับรวมทุกรายจ่ายแล้วมาเคลมว่าเป็นงบสำหรับการลงทุนใหม่ของรัฐบาลใหม่” นาย
ชัยธวัช กล่าว
นาย
ชัยธวัช กล่าวต่อว่า ที่ชอบทำกันมากที่สุด คือ งบตัดถนน กลายเป็นโครงการวิเศษที่สามารถตอบโจทย์ได้ทุกยุทธศาสตร์ และเราพบว่ามี 200 โครงการใหม่ จากทั้งหมด 2,000 โครงการ ซึ่งโครงการใหม่ส่วนใหญ่เกิดจากหน่วยงานใหม่ที่ตั้งขึ้นมาก่อนที่จะมีรัฐบาลใหม่ เป็นโครงการที่หน่วยงานราชการเสนอขึ้นมา ไม่ใช่การผลักดันเพื่อขับเคลื่อนวาระใหม่ของรัฐบาล
โครงการใหม่จริงๆ ที่สะท้อนวาระของรัฐบาลจึงมีน้อยมาก รวมถึงมีการคาดการณ์รายได้เกินจริงประมาณแสนล้านบาท เพื่อที่จะเพิ่มแผนรายจ่ายได้สูงขึ้น ขณะเดียวกันกลับตั้งงบรายจ่ายที่ต้องใช้แน่ๆ หรือคาดการณ์ได้ว่าต้องจ่ายไว้ไม่พอ เช่น บำเหน็จบำนาญ เงินเดือนราชการ งบสวัสดิการ นโยบายเพิ่มเงินเดือนราชการ 10% ค่าชดเชยภาษีรถ EV ค่าไฟชดเชยหนี้ กฟผ. จากนโยบายลดค่าไฟ
งบซอฟต์พาวเวอร์ที่โฆษณาไว้ว่าจะลงงบกว่า 5,000 ล้าน สุดท้ายก็ต้องปัดไปเป็นรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังในปีถัดไป และปัดเป็นงบกลาง ด้วยสภาพเช่นนี้เราจึงมองไม่เห็นวาระเป้าหมายของรัฐบาลผ่านการจัดทำ พ.ร.บ.งบประมาณฉบับนี้
แน่นอนว่าการจะบรรลุนโยบายเป้าหมายนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณเยอะเสมอไป เป็นนโยบายที่ไม่ใช่งบประมาณ หรือ non-budget policy
ได้ เช่น รัฐบาลแถลงนโยบายเร่งด่วนว่า จะสร้างความชอบธรรมในการบริหารราชการแผ่นดินด้วยการฟื้นฟูหลักนิติธรรม
แต่วันนี้ไม่แน่ใจแล้วว่า รัฐบาลกำลังจะทำให้สถานการณ์เรื่องระบบนิติธรรมนิติรัฐเลวร้ายลงไปอีกหรือไม่ เพราะสังคมกำลังถูกตอกย้ำให้อยู่กับกระบวนการยุติธรรมแบบ 2 มาตรฐาน ถูกตอกย้ำว่าพวกเราต้องยอมรับอยู่ในกฎหมายหรือเรือนจำที่มีไว้ใช้สำหรับประชาชนสามัญที่ไม่ได้มีอำนาจ บารมี หรือเงินทองเท่านั้น
“
ปัญหาของพ.ร.บ.งบประมาณ ยังสะท้อนปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น คือ การที่เรามองไม่เห็นวาระเป้าหมายของรัฐบาลผ่านการจัดทำพ.ร.บ.งบประมาณฉบับนี้ สะท้อนให้เห็นว่า เอาเข้าจริงแล้วรัฐบาลชุดนี้เป็นเพียงรัฐบาลรวมการเฉพาะกิจที่ไม่ได้มีวาระเป้าหมายทางนโยบายที่จะขับเคลื่อนร่วมกัน เป็นการรวมการเฉพาะกิจเพื่อแบ่งปันอำนาจกัน แบ่งกันกินแบ่งกันใช้ชั่วคราว
เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงเห็นการจัดตั้ง ครม. แบบผิดฝาผิดตัวเต็มไปหมด เพราะไม่ได้แบ่งงานกันตามวาระเป้าหมาย แต่แบ่งกันตามโควตาทางการเมือง วางเจ้ากระทรวงไม่ถูกกับงาน พรรคแกนนำรัฐบาลที่ควรจะมีเป้าหมายในการผลักดันเรือธงให้ได้ก็ไม่ได้วางคนไปบริหารกระทรวง กรม หรือหน่วยงานอย่างบูรณาการ
ดังนั้น เราจึงเห็นการแถลงนโยบายของรัฐบาล การกำหนดแผนงานรายกระทรวง ตลอดจนการจัดสรรงบประมาณอย่างที่ได้กล่าวมา วันนี้จากที่เคยบอกว่าคิดใหญ่ทำเป็น บางวันก็กลายเป็นคิดไปทำไป คิดสั้นไม่คิดยาวบ้าง หรือไม่ก็คิดอย่างทำอย่างก็มี” นายชัยธวัช กล่าว
นาย
ชัยธวัช กล่าวต่อว่า หากการจัดตั้งรัฐบาลชุดนี้จะมีวาระร่วมกันจริงๆ ก็คงเป็นวาระเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตทางอำนาจของชนชั้นนำ เพราะสภาวะการเข้าสู่อำนาจของรัฐบาลชุดนี้ ได้แสดงออกอย่างโจ่งแจ้งว่า นี่เป็นการรวมตัวกันเพื่อรักษาสภาวะเดิมของสังคมไทยเอาไว้ เป็นการรวมตัวกันเพื่อพยายามฝืนความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย เป็นการรวมตัวกันเพื่อปกป้องพลังทางสังคมแบบจารีต และต่อต้านพลังทางสังคมใหม่ๆ ที่ต้องการอนาคตที่ดีกว่านี้
ก่อนการรัฐประหาร 2549 สังคมไทยมีโอกาสได้เห็นความพยายามของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และเป็นความหวังแห่งความเปลี่ยนแปลง โดยผู้นำทางการเมืองในขณะนั้นเล็งเห็นว่า หากประเทศไทยจะเจริญก้าวหน้ากว่านี้ได้ จำเป็นต้องปฏิรูประบบงบประมาณ ระบบรัฐราชการ และกระบวนการกำหนดนโยบายที่ล้าสมัยและไม่มีประสิทธิภาพ
เราจึงเห็นว่ามีความพยายามที่จะเปลี่ยนระบบงบประมาณ ที่เดิมงบประมาณส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมของระบบราชการในกระทรวงต่างๆ มาเป็นระบบงบประมาณที่มุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาลอย่างแท้จริง
ทว่าหลังการรัฐประหารในปี 2549 เป็นต้นมา รัฐราชการและชนชั้นนำจารีตได้กลับมาควบคุมสังคมไทยอีกครั้ง เราจึงไม่เห็นเจตจำนงและความพยายามของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ในการปฏิรูปรัฐไทยอย่างจริงจังอีกครั้ง เพราะพลังทางการเมืองที่เคยเป็นพลังใหม่ เคยเป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันกลับเข้าไปร่วมสมาคมเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจเก่าแล้ว
ร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ ที่เรากำลังพิจารณาอยู่ก็สะท้อนสภาวะการเมืองที่เป็นจริงอันนี้ ในฐานะฝ่ายค้านอยากสื่อสารไปยังรัฐบาลว่าเราไม่สามารถอยู่กันแบบเดิมๆ ได้อีกแล้ว รัฐบาลทราบดีว่าหลังรัฐประหาร 2 ครั้ง ระบบรัฐราชการรวมศูนย์ของไทยกลับมาเติบโตขึ้นอีกครั้ง เรารู้อยู่แล้วว่าเราจะเดินไปสู่อนาคตที่ดีกว่านี้ โดยพยายามไม่ปฏิรูปรัฐไทยอย่างจริงจังและงบประมาณไม่ได้อีกแล้ว เพราะไม่ตอบโจทย์ของสังคมและความคาดหวังของคนไทย
“
เราไม่อยากเห็นพ.ร.บ.งบประมาณที่ไม่เปลี่ยนแปลงอีกแล้ว แม้จะเป็นฝ่ายค้านแต่ก็พร้อมสนับสนุนรัฐบาลในการปฏิรูประบบราชการ ระบบงบประมาณครั้งใหญ่ เพราะมีความสำคัญต่อการสร้างอนาคตร่วมกัน ขอให้ฝ่ายบริหารเปิดใจรับฟังข้อเสนอแนะข้อวิพากษ์วิจารณ์ของพวกเรา ด้วยหวังว่าการพิจารณางบประมาณของสภาฯ จะเป็นประโยชน์กับประชาชนมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แม้เราจะผิดหวังกับร่างพ.ร.บ.งบฯ ฉบับนี้อย่างถึงที่สุดก็ตาม” นาย
ชัยธวัช กล่าว
“ใบตองแห้ง”ฉายภาพอภิปรายงบฯ67 ไม่แรงเท่า “ไม่ไว้วางใจ” เชื่อ“กลาโหม”จะเป็นเป้าใหญ่
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4358173
อธึกกิต แสวงสุข หรือใบตองแห้ง คอลัมนิสต์การเมือง สนทนาในรายการ The Politics เรื่องงบประมาณเชื่อพรรคก้าวไกลคงไม่อภิปรายเหมือนไม่ไว้วางใจรัฐบาล ส่วนกรณีหากมีการพาดพิง “
ทักษิณ” คงจะอภิปรายงบประมาณในส่วนของกระทรวงยุติธรรม ไม่น่าจะมีความเสียหายต่อทักษิณ เนื้อหาหลักคงพูดเรื่องการจัดงบฯ ที่ไม่ต่างจากรัฐบาล “พล.อ.
ประยุทธ์” เชื่อ “
กระทรวงกลาโหม” จะเป็นเป้าของพรรคก้าวไกลแน่ ติดตามรายละเอียดจากคลิปด้านล่างนี้
JJNY : ชัยธวัชฟาด ไร้ยุทธศาสตร์│ฉายภาพอภิปรายงบฯ67│ศก.’67เปรียบ‘มังกรดิน’│ญี่ปุ่นเร่งช่วยเหยื่อแผ่นดินไหวขณะอากาศหนาวจัด
https://www.khaosod.co.th/politics/news_8036450
ชัยธวัช ฉะ งบปี 67 เบี้ยหัวแตก ไร้ยุทธศาสตร์ เหมือนเหล้าเก่าในขวดใหม่ ซัด รัฐบาลรวมการเฉพาะกิจ แบ่งอำนาจ แซะ เพื่อไทย คิดไปทำไป
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 3 ม.ค. 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท ระหว่างวันที่ 3-5 ม.ค.
นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายภาพรวมของงบประมาณว่า วันนี้ตนฟังนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง อ่านคำแถลงประกอบร่างพ.ร.บ.งบฯ ทำให้นึกถึงบรรยากาศวันที่นายกฯ แถลงนโยบายต่อรัฐสภา
เพราะเต็มไปด้วยข้อความสวยหรูทุกด้าน และนายกฯ คนก่อนหน้านี้ก็มาอ่านเช่นนี้ เอาภารกิจของทุกหน่วยงานมาเรียบเรียงแล้วบอกว่ารัฐบาลจะทำอย่างไร แล้วผลเป็นอย่างไร สวยหรูเหมือนที่แถลงไว้หรือไม่
วันที่ 11 ก.ย. 2566 วันที่นายกฯ แถลงนโยบายก็บรรยากาศแบบนี้ เพิ่มเติมคือมีตัวเลขรวมมาให้ในแต่ละยุทธศาสตร์ แต่หากไปดูเนื้อในแล้วกลับเลื่อนลอย จับต้องไม่ได้ สะเปะสะปะ ไม่มียุทธศาสตร์ ไม่มีลำดับความสำคัญ โดยในวันนั้นนายกฯ แถลงนโยบายต่อรัฐสภา และระบุว่าประเทศไทยเผชิญกับวิกฤต 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ รัฐธรรมนูญ และความขัดแย้งในสังคม
เพื่อแก้ปัญหา สร้างความพร้อม และวางรากฐานอนาคตให้กับคนไทยทุกคน รัฐบาลมีกรอบนโยบายในการบริหารและพัฒนาประเทศตามกรอบความเร่งด่วน ได้แก่ กรอบระยะสั้น รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นการใช้จ่าย จุดประกายให้เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจกลับมาเติบโตอีกครั้ง ประกอบกับการเร่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของประชาชนอย่างเร่งด่วนและรวดเร็ว
นายชัยธวัช กล่าวต่อว่า ส่วนกรอบระยะกลางและระยะยาว รัฐบาลจะเสริมขีดความสามารถให้กับประชาชนผ่านการสร้างรายได้ ลดรายจ่าย สร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับประชาชนทุกคน ซึ่งในวันแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ฝ่ายค้านได้อภิปรายวิพากษ์วิจารณ์ว่า นโยบายของรัฐบาลชุดนี้ไม่เหมือนกับที่เคยหาเสียงเอาไว้ หรือไม่มีความชัดเจน ไม่มีรูปธรรมที่จับต้องได้
แต่วันนั้นนายกฯ บอกให้รอดูแผนรายกระทรวง จะมีความชัดเจนแน่นอน ซึ่งเมื่อตามไปดูแผนรายกระทรวงก็พบว่ามีปัญหา คือ ไม่มีตัวชี้วัดชัดเจน ไม่สามารถวัดความสำเร็จของนโยบายได้จริง หรือไม่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายทางนโยบาย
เมื่อมาดูไส้ในของแผนงานเหล่านั้นพบว่าส่วนใหญ่เป็นโครงการเดิมๆ ที่กระทรวงทำอยู่แล้วทุกปี เป็นเหล้าเก่าในขวดใหม่ บ้างก็ยัดโครงการประจำของกระทรวง เข้ามาในแนวนโยบายที่รัฐบาลจะทำ ค่อนข้างปะปนกันระหว่างสิ่งที่รัฐบาลใหม่จะทำ กับสิ่งที่เป็นงานประจำที่หน่วยงานทำอยู่แล้วทุกปี
นายชัยธวัช กล่าวด้วยว่า ต่อมาวันที่ 13 ก.ย. 2566 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติสั่งทบทวนร่างพ.ร.บ.งบปี 67 ใหม่ และเห็นชอบการปรับปรุงปฏิทินงบประมาณ พร้อมทบทวนแนวทางการจัดทำงบประมาณและยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณปี 67 ใหม่ รัฐบาลใช้เวลา 3 เดือนในการปรับปรุง พ.ร.บ.งบประมาณ ซึ่งคาดว่าจะนำไปสู่การจัดสรรงบใหม่ เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายใหม่
แต่สุดท้ายหน้าตาของร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฉบับนี้กลับไม่ต่างไปจากเดิม ทั้งนี้ ในวันแถลงนโยบาย นายกฯ บอกว่ามีนโยบายเร่งด่วน ซึ่งควรสะท้อนอยู่ในร่าง พ.ร.บ.งบประมาณนี้ แต่กลับต้องผิดหวัง เช่น เรื่องของการแก้ปัญหาหนี้สิน ทั้งในภาคเกษตร ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน แม้จะมีในคำแถลง แต่หากดูเนื้อในของร่างพ.ร.บ.งบประมาณฉบับนี้ จะพบว่าเป็นการจัดสรรงบประมาณที่ไม่ได้ตอบโจทย์อะไรเลย
หัวข้ออาจจะสวยหรู แต่ไส้ในตอบไม่ได้ว่าจะบรรลุเป้าหมายอย่างไร หรือแม้กระทั่งนโยบายที่บอกว่าจะให้คนไทยได้มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ซึ่งน่าจะต้องทำประชามติถึง 1-2 ครั้งในปีนี้ แต่รัฐบาลก็ไม่ได้ตั้งงบเอาไว้รอ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ของบไป 2,000 ล้าน แต่ได้มาแค่ประมาณ 1,000 ล้าน
ส่วนนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตที่ตอนแถลงนโยบายบอกว่าจะไม่กู้ จะบริหารจากงบปกติ แต่วันนี้ชัดเจนแล้วว่าไม่มีการตั้งงบใดๆ ไว้ในร่างพ.ร.บ.งบ 67 เราคงต้องว่ารัฐบาลจะสามารถเสนอ พ.ร.บ.เงินกู้ เข้าสู่สภาได้หรือไม่
“หากดูภาพรวมของร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฉบับนี้ จะพบว่าเป็นงบประมาณแบบเบี้ยหัวแตก สะเปะสะปะ ไม่มียุทธศาสตร์ เหมือนทำงานอย่างไม่มีวาระเป้าหมายชัดเจน บางเรื่องหน้าปกอาจจะดูดี แต่พอเข้าไปดูไส้ในแล้ว พบว่าไม่ได้ยึดโยงกับเป้าหมายทางนโยบาย ส่วนใหญ่เป็นโครงการเดิมๆ แต่เอามาเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนปกใหม่แบบมั่วๆ โครงการเก่าๆ เดิมๆ แต่เอามาโยงให้เข้ากับเป้าหมายใหม่ แถมนับรวมทุกรายจ่ายแล้วมาเคลมว่าเป็นงบสำหรับการลงทุนใหม่ของรัฐบาลใหม่” นายชัยธวัช กล่าว
นายชัยธวัช กล่าวต่อว่า ที่ชอบทำกันมากที่สุด คือ งบตัดถนน กลายเป็นโครงการวิเศษที่สามารถตอบโจทย์ได้ทุกยุทธศาสตร์ และเราพบว่ามี 200 โครงการใหม่ จากทั้งหมด 2,000 โครงการ ซึ่งโครงการใหม่ส่วนใหญ่เกิดจากหน่วยงานใหม่ที่ตั้งขึ้นมาก่อนที่จะมีรัฐบาลใหม่ เป็นโครงการที่หน่วยงานราชการเสนอขึ้นมา ไม่ใช่การผลักดันเพื่อขับเคลื่อนวาระใหม่ของรัฐบาล
โครงการใหม่จริงๆ ที่สะท้อนวาระของรัฐบาลจึงมีน้อยมาก รวมถึงมีการคาดการณ์รายได้เกินจริงประมาณแสนล้านบาท เพื่อที่จะเพิ่มแผนรายจ่ายได้สูงขึ้น ขณะเดียวกันกลับตั้งงบรายจ่ายที่ต้องใช้แน่ๆ หรือคาดการณ์ได้ว่าต้องจ่ายไว้ไม่พอ เช่น บำเหน็จบำนาญ เงินเดือนราชการ งบสวัสดิการ นโยบายเพิ่มเงินเดือนราชการ 10% ค่าชดเชยภาษีรถ EV ค่าไฟชดเชยหนี้ กฟผ. จากนโยบายลดค่าไฟ
งบซอฟต์พาวเวอร์ที่โฆษณาไว้ว่าจะลงงบกว่า 5,000 ล้าน สุดท้ายก็ต้องปัดไปเป็นรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังในปีถัดไป และปัดเป็นงบกลาง ด้วยสภาพเช่นนี้เราจึงมองไม่เห็นวาระเป้าหมายของรัฐบาลผ่านการจัดทำ พ.ร.บ.งบประมาณฉบับนี้
แน่นอนว่าการจะบรรลุนโยบายเป้าหมายนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณเยอะเสมอไป เป็นนโยบายที่ไม่ใช่งบประมาณ หรือ non-budget policy
ได้ เช่น รัฐบาลแถลงนโยบายเร่งด่วนว่า จะสร้างความชอบธรรมในการบริหารราชการแผ่นดินด้วยการฟื้นฟูหลักนิติธรรม
แต่วันนี้ไม่แน่ใจแล้วว่า รัฐบาลกำลังจะทำให้สถานการณ์เรื่องระบบนิติธรรมนิติรัฐเลวร้ายลงไปอีกหรือไม่ เพราะสังคมกำลังถูกตอกย้ำให้อยู่กับกระบวนการยุติธรรมแบบ 2 มาตรฐาน ถูกตอกย้ำว่าพวกเราต้องยอมรับอยู่ในกฎหมายหรือเรือนจำที่มีไว้ใช้สำหรับประชาชนสามัญที่ไม่ได้มีอำนาจ บารมี หรือเงินทองเท่านั้น
“ปัญหาของพ.ร.บ.งบประมาณ ยังสะท้อนปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น คือ การที่เรามองไม่เห็นวาระเป้าหมายของรัฐบาลผ่านการจัดทำพ.ร.บ.งบประมาณฉบับนี้ สะท้อนให้เห็นว่า เอาเข้าจริงแล้วรัฐบาลชุดนี้เป็นเพียงรัฐบาลรวมการเฉพาะกิจที่ไม่ได้มีวาระเป้าหมายทางนโยบายที่จะขับเคลื่อนร่วมกัน เป็นการรวมการเฉพาะกิจเพื่อแบ่งปันอำนาจกัน แบ่งกันกินแบ่งกันใช้ชั่วคราว
เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงเห็นการจัดตั้ง ครม. แบบผิดฝาผิดตัวเต็มไปหมด เพราะไม่ได้แบ่งงานกันตามวาระเป้าหมาย แต่แบ่งกันตามโควตาทางการเมือง วางเจ้ากระทรวงไม่ถูกกับงาน พรรคแกนนำรัฐบาลที่ควรจะมีเป้าหมายในการผลักดันเรือธงให้ได้ก็ไม่ได้วางคนไปบริหารกระทรวง กรม หรือหน่วยงานอย่างบูรณาการ
ดังนั้น เราจึงเห็นการแถลงนโยบายของรัฐบาล การกำหนดแผนงานรายกระทรวง ตลอดจนการจัดสรรงบประมาณอย่างที่ได้กล่าวมา วันนี้จากที่เคยบอกว่าคิดใหญ่ทำเป็น บางวันก็กลายเป็นคิดไปทำไป คิดสั้นไม่คิดยาวบ้าง หรือไม่ก็คิดอย่างทำอย่างก็มี” นายชัยธวัช กล่าว
นายชัยธวัช กล่าวต่อว่า หากการจัดตั้งรัฐบาลชุดนี้จะมีวาระร่วมกันจริงๆ ก็คงเป็นวาระเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตทางอำนาจของชนชั้นนำ เพราะสภาวะการเข้าสู่อำนาจของรัฐบาลชุดนี้ ได้แสดงออกอย่างโจ่งแจ้งว่า นี่เป็นการรวมตัวกันเพื่อรักษาสภาวะเดิมของสังคมไทยเอาไว้ เป็นการรวมตัวกันเพื่อพยายามฝืนความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย เป็นการรวมตัวกันเพื่อปกป้องพลังทางสังคมแบบจารีต และต่อต้านพลังทางสังคมใหม่ๆ ที่ต้องการอนาคตที่ดีกว่านี้
ก่อนการรัฐประหาร 2549 สังคมไทยมีโอกาสได้เห็นความพยายามของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และเป็นความหวังแห่งความเปลี่ยนแปลง โดยผู้นำทางการเมืองในขณะนั้นเล็งเห็นว่า หากประเทศไทยจะเจริญก้าวหน้ากว่านี้ได้ จำเป็นต้องปฏิรูประบบงบประมาณ ระบบรัฐราชการ และกระบวนการกำหนดนโยบายที่ล้าสมัยและไม่มีประสิทธิภาพ
เราจึงเห็นว่ามีความพยายามที่จะเปลี่ยนระบบงบประมาณ ที่เดิมงบประมาณส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมของระบบราชการในกระทรวงต่างๆ มาเป็นระบบงบประมาณที่มุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาลอย่างแท้จริง
ทว่าหลังการรัฐประหารในปี 2549 เป็นต้นมา รัฐราชการและชนชั้นนำจารีตได้กลับมาควบคุมสังคมไทยอีกครั้ง เราจึงไม่เห็นเจตจำนงและความพยายามของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ในการปฏิรูปรัฐไทยอย่างจริงจังอีกครั้ง เพราะพลังทางการเมืองที่เคยเป็นพลังใหม่ เคยเป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันกลับเข้าไปร่วมสมาคมเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจเก่าแล้ว
ร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ ที่เรากำลังพิจารณาอยู่ก็สะท้อนสภาวะการเมืองที่เป็นจริงอันนี้ ในฐานะฝ่ายค้านอยากสื่อสารไปยังรัฐบาลว่าเราไม่สามารถอยู่กันแบบเดิมๆ ได้อีกแล้ว รัฐบาลทราบดีว่าหลังรัฐประหาร 2 ครั้ง ระบบรัฐราชการรวมศูนย์ของไทยกลับมาเติบโตขึ้นอีกครั้ง เรารู้อยู่แล้วว่าเราจะเดินไปสู่อนาคตที่ดีกว่านี้ โดยพยายามไม่ปฏิรูปรัฐไทยอย่างจริงจังและงบประมาณไม่ได้อีกแล้ว เพราะไม่ตอบโจทย์ของสังคมและความคาดหวังของคนไทย
“เราไม่อยากเห็นพ.ร.บ.งบประมาณที่ไม่เปลี่ยนแปลงอีกแล้ว แม้จะเป็นฝ่ายค้านแต่ก็พร้อมสนับสนุนรัฐบาลในการปฏิรูประบบราชการ ระบบงบประมาณครั้งใหญ่ เพราะมีความสำคัญต่อการสร้างอนาคตร่วมกัน ขอให้ฝ่ายบริหารเปิดใจรับฟังข้อเสนอแนะข้อวิพากษ์วิจารณ์ของพวกเรา ด้วยหวังว่าการพิจารณางบประมาณของสภาฯ จะเป็นประโยชน์กับประชาชนมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แม้เราจะผิดหวังกับร่างพ.ร.บ.งบฯ ฉบับนี้อย่างถึงที่สุดก็ตาม” นายชัยธวัช กล่าว
“ใบตองแห้ง”ฉายภาพอภิปรายงบฯ67 ไม่แรงเท่า “ไม่ไว้วางใจ” เชื่อ“กลาโหม”จะเป็นเป้าใหญ่
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4358173
อธึกกิต แสวงสุข หรือใบตองแห้ง คอลัมนิสต์การเมือง สนทนาในรายการ The Politics เรื่องงบประมาณเชื่อพรรคก้าวไกลคงไม่อภิปรายเหมือนไม่ไว้วางใจรัฐบาล ส่วนกรณีหากมีการพาดพิง “ทักษิณ” คงจะอภิปรายงบประมาณในส่วนของกระทรวงยุติธรรม ไม่น่าจะมีความเสียหายต่อทักษิณ เนื้อหาหลักคงพูดเรื่องการจัดงบฯ ที่ไม่ต่างจากรัฐบาล “พล.อ.ประยุทธ์” เชื่อ “กระทรวงกลาโหม” จะเป็นเป้าของพรรคก้าวไกลแน่ ติดตามรายละเอียดจากคลิปด้านล่างนี้