ปกรณ์วุฒิ ปลุกประชาชนจับตาอภิปรายงบ ชี้ชัดรัฐบาลทำตามที่หาเสียงได้หรือไม่
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8033467
ปกรณ์วุฒิ เผย จัดเวลาอภิปรายงบ พรรคฝ่ายค้านแล้ว ‘ชัยธวัช’ เป็นตัวเปิด ระบุให้อิสระทุกพรรคหาประเด็นซักรัฐบาล พร้อมเชิญชวนประชาชนจับตา ทำตามที่หาเสียงได้หรือไม่
เมื่อวันที่ 31 ธ.ค.2566 นาย
ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในฐานประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ให้สัมภาษณ์ถึงการจัดสรรหน้าที่ในพรรคร่วมฝ่ายค้าน ในการอภิปราย ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 ระหว่างวันที่ 3-5 ม.ค.67 ว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้พูดคุยกับพรรคร่วมฝ่ายค้าน ในการแบ่งเวลาอภิปรายเรียบร้อย
ในช่วงการเปิดอภิปราย จะนำโดยนายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน และตามด้วยตัวแทนของแต่ละพรรค อย่างพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และพรรคไทยสร้างไทย (ทสท.)
จากนั้นเราจะแบ่งการอภิปรายเป็นหมวดหมู่ให้สอดคล้องกัน เช่น หากพูดเรื่องเศรษฐกิจปากท้อง ถ้าพรรคใดสนใจจะพูดประเด็นดังกล่าว จะถูกจัดสรรให้มาพูดในช่วงเดียวกัน ไม่สะเปะสะปะ ซึ่งตนให้อิสระทุกพรรค อภิปรายตามความสนใจ
สำหรับเนื้อหาในการอภิปรายครั้งนี้ มีหลากหลายมาก เราได้อภิปรายไปถึงหลายกระทรวง ตนคิดว่าเราคงได้เห็นการอภิปรายเกือบทุกกระทรวงอยู่แล้ว
เวลาพรรคก้าวไกลอภิปราย เราไม่ได้เจาะเพียงกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งเป็นพิเศษ แต่เราจะเจาะเป็นรายประเด็น ซึ่งแต่ละประเด็นก็จะคาบเกี่ยวหลายกระทรวง อย่างประเด็นเรื่องการศึกษา ก็ไม่ได้คาบเกี่ยวแค่กระทรวงศึกษาธิการ แต่คาบเกี่ยวไปยังกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และงบประมาณที่อาจแฝงอยู่ในกระทรวงอื่นร่วมด้วย
นาย
ปกรณ์วุฒิกล่าวว่า ตนขอเชิญชวนประชาชนร่วมติดตาม ซึ่งร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ เป็นกฎหมายที่สำคัญมาก และเป็นกฎหมายที่ใช้เงินภาษีของประชาชนทุกคน ในการกำหนดชีวิตและประเทศ ว่าจะทำให้ดีขึ้นอย่างไรบ้าง
ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ เป็นหมุดหมายสำคัญที่จะชี้ชัดว่า พรรคร่วมรัฐบาลแต่ละพรรคจะนำพาประเทศให้ดีขึ้น ตามที่เคยหาเสียงไว้หรือไม่ ซึ่งอาจจะไม่สำคัญแค่ 1 หรือ 2 กระทรวง แต่อยู่ที่ภาพรวมของกระทรวงทั้งหมด ที่ทั้งพรรคก้าวไกล และพรรคร่วมฝ่ายค้านอื่นๆ จะอภิปรายตลอดทั้ง 3 วันนี้
กัณวีร์ แนะรัฐวางแนวทางฟื้นฟูน้ำท่วมใต้ ภัยพิบัติกำหนดไม่ได้ แต่บริหารจัดการได้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4355222
กัณวีร์ แนะรัฐวางแนวทางฟื้นฟูน้ำท่วมใต้ ภัยพิบัติกำหนดไม่ได้ แต่บริหารจัดการได้
เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม นาย
กัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม เปิดเผยถึงการลงพื้นที่เยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งส่วนใหญ่น้ำลดเริ่มเข้าสู่การฟื้นฟู โดยที่บ้านบอมิ ต.รือเสาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ผู้ประสบภัยกำลังทำความสะอาดบ้าน ที่เต็มไปด้วยดินโคลน ข้าวของเสียหายอย่างมาก ผู้ประสบภัยต้องการน้ำดื่ม เสื้อผ้า และอุปกรณ์ซ่อมแซมบ้าน และบางหลังอาจต้องสร้างบ้านใหม่
นาย
กัณวีร์กล่าวว่า สั่งฟ้าสั่งฝนคงเป็นไปไม่ได้ แต่บริหารจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติที่เรามีอยู่เพื่อการป้องกันก่อนเกิดภัยพิบัติ (Preventive Measures) น่าจะเป็นสิ่งที่ลดผลกระทบในวงกว้างได้ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นก่อนที่จะมีการบริหารจัดการระหว่างช่วงเกิดภัย แล้วค่อยมาเยียวยาต่อไป
“
ตัวอย่างคือ เราคงไปกำหนดไม่ให้มีพายุหรือฝนตกหนัก สึนามิ แดดร้อนระอุ ภูเขาไฟไม่ให้เกิดการระเบิด คงเป็นไปไม่ได้ครับ แต่เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติและสภาพแวดล้อมในถิ่นที่อยู่พวกเราได้ และเมื่อเราทราบดีแล้วว่าอะไรที่มันต้องเกิดขึ้นเป็นประจำตามธรรมชาติ เราต้องปรับตัวเข้าหาธรรมชาตินั้นอย่างชาญฉลาด ผ่านการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ”
นาย
กัณวีร์ระบุว่า ฝนตกและมรสุมที่นำมาซึ่งสถานการณ์อุทกภัยหรือน้ำท่วมในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ของไทย สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เกิดขึ้นทุกๆ ปี ซึ่งมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันไป แต่ระดับความรุนแรงนี้สามารถควบคุมได้จากการบริหารจัดการที่ชาญฉลาด ทั้งการหาพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว การอพยพพี่น้องที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย และย้ายของจำเป็นให้ทันท่วงทีก่อนหน้าสถานการณ์ภัยพิบัติ การศึกษาเส้นทางการเดินทางน้ำเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางทางน้ำให้มีการกระจุกตัวของมวลน้ำที่มีพลังอันมหาศาล การผันน้ำในเขื่อนชลประทานต่างๆ เพื่อกระจายน้ำไม่ให้กระจุกตัว ฯลฯ
“
เราไม่ควรนั่งรอให้มวลน้ำทั้งหมดมันไหลไปลงสู่ทะเลตามยถากรรมโดยไม่บริหารจัดการอย่างชาญฉลาด อย่างบ้าน บาลอ อ.รามัน จ.ยะลา น้ำท่วมหนักทุกปีใครๆ ก็ทราบกันดี เพราะมีการขุดทรายขนาดใหญ่จากบริษัทเอกชน ทำให้ตลิ่งธรรมชาติที่เกิดจากเนินทรายที่ถูกขุดไป ที่สามารถกันความรุนแรงโดยธรรมชาติจากกระแสน้ำหายไปอย่างมาก คนทุกคนทราบแต่ทำอะไรไม่ได้ วันนี้บ้านบาลอ กลายเป็นเมืองบาดาลไปเสียแล้วครับ”
รวมถึงที่หนักสุด เพราะพื้นที่ที่ไม่เคยเกิดน้ำท่วมหนักในชีวิต อย่าง อ.ระแงะ อ.จะแนะ อ.รือเสาะ รวมถึง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ที่มีดินสไลด์ น้ำป่าทำให้บ้านพังเสียหาย และน้ำท่วมใหญ่ ที่ อ.กะพ้อ อ.สายบุรี ที่เป็นพื้นที่ปลายน้ำของแม่น้ำสายบุรี และน้ำท่วม อ.เมือง จ.ยะลา อ.เมือง จ.ปัตตานี ปลายน้ำของแม่น้ำปัตตานี เป็นต้น
“
ผมได้ลงพื้นที่ให้กำลังใจผู้ประสบภัยในหลายจุด แม้ไม่ได้ไปครบทุกพื้นที่ได้ เพราะต้องเตรียมตัวสำหรับการอภิปรายงบประมาณ 2567 และถึงจะทำอะไรไม่ได้มากแต่มาเป็นกำลังใจ และจะกลับไปผลักดันการบริหารจัดการภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติ โดยเน้นมาตรการการป้องกันผลกระทบมากกว่าการเยียวยา ในสภาผู้แทนราษฎรต่อไปครับ”
นาย
กัณวีร์ชื่นชมภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ที่ร่วมกันช่วยเหลือผู้ประสบภัย เปิดศูนย์ช่วยเหลืออุทกภัยในหลายกลุ่ม ในการช่วยบริหารจัดการนำสิ่งของไปช่วยเหลือ ตั้งแต่น้ำท่วม จนน้ำลด ก็ช่วยกันฟื้นฟู พลังของชุมชนเข้มแข็งมากๆ และให้เป็นกำลังใจพี่น้องที่ได้รับผลกระทบอันใหญ่หลวงในรอบ 77 ปี
อัยการยื่นฟ้อง เหมืองทองอัครา ยึดที่ดินรัฐ-ครอบครองป่า-สร้างตะแกรงรุกทางหลวง
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_8033286
ฟ้องเหมืองทองอัคราสำนวนเเรก ‘วิรุฬห์’ อธ.อัยการคดีพิเศษ เผยคณะทำงานอัยการคดีพิเศษสั่งฟ้อง 4 ผู้ต้องหา คดีอัครารีซอร์สเซส กับพวกทุกข้อหา ยึดที่ดินรัฐ-ครอบครองป่า-สร้างตะแกรงรุกทางหลวง นัดส่งตัวฟ้อง 24 ม.ค.ปีหน้า ขอศาลออกหมายจับจำเลยที่ 3 หลบหนีเเล้ว
เมื่อวันที่ 31 ธ.ค.2566 นาย
วิรุฬห์ ฉันท์ธนนันท์ อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ เปิดเผยความคืบหน้าขั้นตอนภายหลังพนักงานอัยการสำนักงานคดีพิเศษ รับสำนวนจากพนักงานสอบสวนพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เป็นคดีพิเศษที่ 17 /2559 ที่มีการหา บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน)กับพวกรวม 4 คน ผู้ต้องหา ในความผิดฐาน
1. ร่วมกันยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิด ตามมาตรา 9 ประกอบมาตรา 108 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน, ร่วมกันทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ อันเป็นความผิดตามมาตรา 360 , 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
2. ร่วมกันยึดถือครอบครองพื้นที่ป่าไม้ถาวรโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามมาตรา 54, 55, 72ตรี แห่ง พรบ.ป่าไม้ พ.ศ.2484
3. ร่วมกันก่อสร้างตะแกรงรุกล้ำเข้าไปในเขตทางหลวงโดยไม่ได้รับอนุญาติอันเป็นความผิดตามมาตรา 47วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 72 แห่ง พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 และร่วมกันทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ อันเป็นความผิดตามมาตรา 360 , 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
คดีนี้ทางดีเอสไอได้นำสอบสวนมาตั้งแต่ปี 2559 และส่งมาทางให้พนักงานอัยการคดีพิเศษเมื่อปี 2561
ภายหลังจากได้มีการส่งสำนวนให้ทางสำนักงาน อัยการคดีพิเศษ ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจพิจารณา โดยอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษและคณะทำงานก็มีการเปลี่ยนเเปลงคณะทำงาน เนื่องจากมีการโยกย้ายกันตามวาระ แต่คดีนี้ได้มีการสอบสวนเพิ่มเติมมาหลายครั้ง ซึ่งต้องใช้เวลาในการสอบสวนเนื่องจากมีการขอความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายมาตลอด
ไม่ว่าจะเป็นจากชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบในละแวกที่เกิดเหตุ และทางฝั่งผู้ต้องหาก็มีการขอความเป็นธรรมด้วยเมื่อได้พิจารณาตรวจสำนวนโดยคณะทำงานดูแล้วพนักงานอัยการก็มีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนดีเอสไอทำการสอบสวนเพิ่มเติมเรื่อยมาเฉพาะในประเด็นที่สำคัญที่สามารถบ่งชี้ได้ว่าผู้ต้องหากระทำความผิดหรือบริสุทธิ์ ซึ่งมีการสอบสวนเพิ่มเติมมาโดยตลอดเลยเมื่อจนเมื่อเร็วๆนี้ ทางคณะทำงานอัยการก็ได้รับผลการสอบสวนเพิ่มเติม
จากนั้นเราก็ได้มีการร่วมพิจารณาพยานหลักฐานโดยคณะทำงานก็คืออัยการสำนักงาน คดีพิเศษฝ่าย4 เจ้าของสำนวน โดยมีรองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษเป็นหัวหน้าคณะทำงาน และตนในฐานะอธิบดีอัยการคดีพิเศษก็ได้ร่วมพิจารณาประชุมกันในสำนวนคดีนี้ด้วย เมื่อได้พิจารณาตรวจสำนวนแล้วปรากฏว่าสำนวนหลักฐานที่ส่งมาพอฟ้องผู้ต้องหาทั้ง4 คนตามข้อกล่าวหาทั้งหมด3 ข้อหา
จึงมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนมีการเรียกตัวผู้ต้องหา 3 คนที่มีตัว มาพบพนักงานอัยการในวันที่ 24 ม.ค. 2567 เวลา 10.00 น. เพื่อนำตัวยื่นฟ้องศาล ในส่วนมีผู้ต้องหา 1รายคือผู้ต้องที่ 3 ที่หลบหนี ทางพนักงานอัยการก็ให้พนักงานสอบสวนไปดำเนินการขอออกหมายจับมาภายในอายุความ 10 ปีซึ่งทราบว่าได้มีการออกหมายจับเเล้ว
อยากเรียนว่า สำหรับคดีนี้เป็นคดีที่มีพยานเอกสารจำนวนมาก มีประเด็นที่มันสลับซับซ้อน เป็นประเด็นสำคัญที่เป็นคดีระดับประเทศ ดังนั้น พนักงานอัยการจึงต้องพิจารณาสำนวนนี้อย่างรอบคอบและละเอียดละเอียดถี่ถ้วนด้วยความอุตสาหะและความตั้งใจ ซึ่งสังกัดพนักงานอัยการสำนักงานคดีพิเศษ 4 โดยร่วมพิจารณาสำนวนกับหัวหน้าคณะทำงานก็คือ รองอธิบดีอัยการคดีพิเศษและตนร่วมประชุมจนสั่งคดีนี้ได้ ต้องขอขอบอัยการทุกคนที่ได้ร่วมกันทำงานเเละเร่งรัดติดตามมาโดยตลอดอย่างแข็งขัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีนี้เป็นคดีเหมืองทองอัคราสำนวนเเรกที่ทางอัยการพิจารณาเเล้วเสร็จ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการสอบสวนเพิ่มเติมมาเป็นเวลานานและมาเสร็จสิ้น พร้อมกับมีการสั่งคดี ในสมัยของ นาย
วิรุฬห์ เป็นอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ
โดยมีผู้ต้องหาทั้งหมด4 รายประกอบด้วย
1. บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ผู้ต้องหาที่ 1
2. นาย
ปกรณ์ สุขุม ผู้ต้องหาที่ 2
3. นาย
ไมเคิล แพรทริค โมโนกาน ผู้ต้องหาที่ 3
4. นาย
เชิดศักดิ์ อรรถอารุณ ผู้ต้องหาที่ 4
ในส่วนความผิดกรณีการเข้ายึดถือครอบครองที่ป่า และออกเอกสารสิทธิ์โฉนดที่ดินทับที่ป่า ในแปลงประทานบัตร 26920/15807 และแปลงประทานบัตรที่ 26922/15805 ได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาดำเนินการ และกรณีความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535และความผิดที่เกี่ยวข้อง ได้อนุมัติให้แยกเลขคดีพิเศษ เพื่อทำการสอบสวนต่อไป
JJNY : 5in1 ปกรณ์วุฒิปลุกปชช.│กัณวีร์แนะรัฐ│ยื่นฟ้องเหมืองทองอัครา│ดริงก์ฉลองปีใหม่ผิดคาด│“เมอส์ก”ระงับเดินเรือรอบที่สอง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8033467
ปกรณ์วุฒิ เผย จัดเวลาอภิปรายงบ พรรคฝ่ายค้านแล้ว ‘ชัยธวัช’ เป็นตัวเปิด ระบุให้อิสระทุกพรรคหาประเด็นซักรัฐบาล พร้อมเชิญชวนประชาชนจับตา ทำตามที่หาเสียงได้หรือไม่
เมื่อวันที่ 31 ธ.ค.2566 นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในฐานประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ให้สัมภาษณ์ถึงการจัดสรรหน้าที่ในพรรคร่วมฝ่ายค้าน ในการอภิปราย ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 ระหว่างวันที่ 3-5 ม.ค.67 ว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้พูดคุยกับพรรคร่วมฝ่ายค้าน ในการแบ่งเวลาอภิปรายเรียบร้อย
ในช่วงการเปิดอภิปราย จะนำโดยนายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน และตามด้วยตัวแทนของแต่ละพรรค อย่างพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และพรรคไทยสร้างไทย (ทสท.)
จากนั้นเราจะแบ่งการอภิปรายเป็นหมวดหมู่ให้สอดคล้องกัน เช่น หากพูดเรื่องเศรษฐกิจปากท้อง ถ้าพรรคใดสนใจจะพูดประเด็นดังกล่าว จะถูกจัดสรรให้มาพูดในช่วงเดียวกัน ไม่สะเปะสะปะ ซึ่งตนให้อิสระทุกพรรค อภิปรายตามความสนใจ
สำหรับเนื้อหาในการอภิปรายครั้งนี้ มีหลากหลายมาก เราได้อภิปรายไปถึงหลายกระทรวง ตนคิดว่าเราคงได้เห็นการอภิปรายเกือบทุกกระทรวงอยู่แล้ว
เวลาพรรคก้าวไกลอภิปราย เราไม่ได้เจาะเพียงกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งเป็นพิเศษ แต่เราจะเจาะเป็นรายประเด็น ซึ่งแต่ละประเด็นก็จะคาบเกี่ยวหลายกระทรวง อย่างประเด็นเรื่องการศึกษา ก็ไม่ได้คาบเกี่ยวแค่กระทรวงศึกษาธิการ แต่คาบเกี่ยวไปยังกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และงบประมาณที่อาจแฝงอยู่ในกระทรวงอื่นร่วมด้วย
นายปกรณ์วุฒิกล่าวว่า ตนขอเชิญชวนประชาชนร่วมติดตาม ซึ่งร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ เป็นกฎหมายที่สำคัญมาก และเป็นกฎหมายที่ใช้เงินภาษีของประชาชนทุกคน ในการกำหนดชีวิตและประเทศ ว่าจะทำให้ดีขึ้นอย่างไรบ้าง
ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ เป็นหมุดหมายสำคัญที่จะชี้ชัดว่า พรรคร่วมรัฐบาลแต่ละพรรคจะนำพาประเทศให้ดีขึ้น ตามที่เคยหาเสียงไว้หรือไม่ ซึ่งอาจจะไม่สำคัญแค่ 1 หรือ 2 กระทรวง แต่อยู่ที่ภาพรวมของกระทรวงทั้งหมด ที่ทั้งพรรคก้าวไกล และพรรคร่วมฝ่ายค้านอื่นๆ จะอภิปรายตลอดทั้ง 3 วันนี้
กัณวีร์ แนะรัฐวางแนวทางฟื้นฟูน้ำท่วมใต้ ภัยพิบัติกำหนดไม่ได้ แต่บริหารจัดการได้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4355222
กัณวีร์ แนะรัฐวางแนวทางฟื้นฟูน้ำท่วมใต้ ภัยพิบัติกำหนดไม่ได้ แต่บริหารจัดการได้
เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม นายกัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม เปิดเผยถึงการลงพื้นที่เยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งส่วนใหญ่น้ำลดเริ่มเข้าสู่การฟื้นฟู โดยที่บ้านบอมิ ต.รือเสาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ผู้ประสบภัยกำลังทำความสะอาดบ้าน ที่เต็มไปด้วยดินโคลน ข้าวของเสียหายอย่างมาก ผู้ประสบภัยต้องการน้ำดื่ม เสื้อผ้า และอุปกรณ์ซ่อมแซมบ้าน และบางหลังอาจต้องสร้างบ้านใหม่
นายกัณวีร์กล่าวว่า สั่งฟ้าสั่งฝนคงเป็นไปไม่ได้ แต่บริหารจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติที่เรามีอยู่เพื่อการป้องกันก่อนเกิดภัยพิบัติ (Preventive Measures) น่าจะเป็นสิ่งที่ลดผลกระทบในวงกว้างได้ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นก่อนที่จะมีการบริหารจัดการระหว่างช่วงเกิดภัย แล้วค่อยมาเยียวยาต่อไป
“ตัวอย่างคือ เราคงไปกำหนดไม่ให้มีพายุหรือฝนตกหนัก สึนามิ แดดร้อนระอุ ภูเขาไฟไม่ให้เกิดการระเบิด คงเป็นไปไม่ได้ครับ แต่เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติและสภาพแวดล้อมในถิ่นที่อยู่พวกเราได้ และเมื่อเราทราบดีแล้วว่าอะไรที่มันต้องเกิดขึ้นเป็นประจำตามธรรมชาติ เราต้องปรับตัวเข้าหาธรรมชาตินั้นอย่างชาญฉลาด ผ่านการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ”
นายกัณวีร์ระบุว่า ฝนตกและมรสุมที่นำมาซึ่งสถานการณ์อุทกภัยหรือน้ำท่วมในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ของไทย สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เกิดขึ้นทุกๆ ปี ซึ่งมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันไป แต่ระดับความรุนแรงนี้สามารถควบคุมได้จากการบริหารจัดการที่ชาญฉลาด ทั้งการหาพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว การอพยพพี่น้องที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย และย้ายของจำเป็นให้ทันท่วงทีก่อนหน้าสถานการณ์ภัยพิบัติ การศึกษาเส้นทางการเดินทางน้ำเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางทางน้ำให้มีการกระจุกตัวของมวลน้ำที่มีพลังอันมหาศาล การผันน้ำในเขื่อนชลประทานต่างๆ เพื่อกระจายน้ำไม่ให้กระจุกตัว ฯลฯ
“เราไม่ควรนั่งรอให้มวลน้ำทั้งหมดมันไหลไปลงสู่ทะเลตามยถากรรมโดยไม่บริหารจัดการอย่างชาญฉลาด อย่างบ้าน บาลอ อ.รามัน จ.ยะลา น้ำท่วมหนักทุกปีใครๆ ก็ทราบกันดี เพราะมีการขุดทรายขนาดใหญ่จากบริษัทเอกชน ทำให้ตลิ่งธรรมชาติที่เกิดจากเนินทรายที่ถูกขุดไป ที่สามารถกันความรุนแรงโดยธรรมชาติจากกระแสน้ำหายไปอย่างมาก คนทุกคนทราบแต่ทำอะไรไม่ได้ วันนี้บ้านบาลอ กลายเป็นเมืองบาดาลไปเสียแล้วครับ”
รวมถึงที่หนักสุด เพราะพื้นที่ที่ไม่เคยเกิดน้ำท่วมหนักในชีวิต อย่าง อ.ระแงะ อ.จะแนะ อ.รือเสาะ รวมถึง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ที่มีดินสไลด์ น้ำป่าทำให้บ้านพังเสียหาย และน้ำท่วมใหญ่ ที่ อ.กะพ้อ อ.สายบุรี ที่เป็นพื้นที่ปลายน้ำของแม่น้ำสายบุรี และน้ำท่วม อ.เมือง จ.ยะลา อ.เมือง จ.ปัตตานี ปลายน้ำของแม่น้ำปัตตานี เป็นต้น
“ผมได้ลงพื้นที่ให้กำลังใจผู้ประสบภัยในหลายจุด แม้ไม่ได้ไปครบทุกพื้นที่ได้ เพราะต้องเตรียมตัวสำหรับการอภิปรายงบประมาณ 2567 และถึงจะทำอะไรไม่ได้มากแต่มาเป็นกำลังใจ และจะกลับไปผลักดันการบริหารจัดการภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติ โดยเน้นมาตรการการป้องกันผลกระทบมากกว่าการเยียวยา ในสภาผู้แทนราษฎรต่อไปครับ”
นายกัณวีร์ชื่นชมภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ที่ร่วมกันช่วยเหลือผู้ประสบภัย เปิดศูนย์ช่วยเหลืออุทกภัยในหลายกลุ่ม ในการช่วยบริหารจัดการนำสิ่งของไปช่วยเหลือ ตั้งแต่น้ำท่วม จนน้ำลด ก็ช่วยกันฟื้นฟู พลังของชุมชนเข้มแข็งมากๆ และให้เป็นกำลังใจพี่น้องที่ได้รับผลกระทบอันใหญ่หลวงในรอบ 77 ปี
อัยการยื่นฟ้อง เหมืองทองอัครา ยึดที่ดินรัฐ-ครอบครองป่า-สร้างตะแกรงรุกทางหลวง
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_8033286
ฟ้องเหมืองทองอัคราสำนวนเเรก ‘วิรุฬห์’ อธ.อัยการคดีพิเศษ เผยคณะทำงานอัยการคดีพิเศษสั่งฟ้อง 4 ผู้ต้องหา คดีอัครารีซอร์สเซส กับพวกทุกข้อหา ยึดที่ดินรัฐ-ครอบครองป่า-สร้างตะแกรงรุกทางหลวง นัดส่งตัวฟ้อง 24 ม.ค.ปีหน้า ขอศาลออกหมายจับจำเลยที่ 3 หลบหนีเเล้ว
เมื่อวันที่ 31 ธ.ค.2566 นายวิรุฬห์ ฉันท์ธนนันท์ อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ เปิดเผยความคืบหน้าขั้นตอนภายหลังพนักงานอัยการสำนักงานคดีพิเศษ รับสำนวนจากพนักงานสอบสวนพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เป็นคดีพิเศษที่ 17 /2559 ที่มีการหา บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน)กับพวกรวม 4 คน ผู้ต้องหา ในความผิดฐาน
1. ร่วมกันยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิด ตามมาตรา 9 ประกอบมาตรา 108 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน, ร่วมกันทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ อันเป็นความผิดตามมาตรา 360 , 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
2. ร่วมกันยึดถือครอบครองพื้นที่ป่าไม้ถาวรโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามมาตรา 54, 55, 72ตรี แห่ง พรบ.ป่าไม้ พ.ศ.2484
3. ร่วมกันก่อสร้างตะแกรงรุกล้ำเข้าไปในเขตทางหลวงโดยไม่ได้รับอนุญาติอันเป็นความผิดตามมาตรา 47วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 72 แห่ง พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 และร่วมกันทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ อันเป็นความผิดตามมาตรา 360 , 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
คดีนี้ทางดีเอสไอได้นำสอบสวนมาตั้งแต่ปี 2559 และส่งมาทางให้พนักงานอัยการคดีพิเศษเมื่อปี 2561
ภายหลังจากได้มีการส่งสำนวนให้ทางสำนักงาน อัยการคดีพิเศษ ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจพิจารณา โดยอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษและคณะทำงานก็มีการเปลี่ยนเเปลงคณะทำงาน เนื่องจากมีการโยกย้ายกันตามวาระ แต่คดีนี้ได้มีการสอบสวนเพิ่มเติมมาหลายครั้ง ซึ่งต้องใช้เวลาในการสอบสวนเนื่องจากมีการขอความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายมาตลอด
ไม่ว่าจะเป็นจากชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบในละแวกที่เกิดเหตุ และทางฝั่งผู้ต้องหาก็มีการขอความเป็นธรรมด้วยเมื่อได้พิจารณาตรวจสำนวนโดยคณะทำงานดูแล้วพนักงานอัยการก็มีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนดีเอสไอทำการสอบสวนเพิ่มเติมเรื่อยมาเฉพาะในประเด็นที่สำคัญที่สามารถบ่งชี้ได้ว่าผู้ต้องหากระทำความผิดหรือบริสุทธิ์ ซึ่งมีการสอบสวนเพิ่มเติมมาโดยตลอดเลยเมื่อจนเมื่อเร็วๆนี้ ทางคณะทำงานอัยการก็ได้รับผลการสอบสวนเพิ่มเติม
จากนั้นเราก็ได้มีการร่วมพิจารณาพยานหลักฐานโดยคณะทำงานก็คืออัยการสำนักงาน คดีพิเศษฝ่าย4 เจ้าของสำนวน โดยมีรองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษเป็นหัวหน้าคณะทำงาน และตนในฐานะอธิบดีอัยการคดีพิเศษก็ได้ร่วมพิจารณาประชุมกันในสำนวนคดีนี้ด้วย เมื่อได้พิจารณาตรวจสำนวนแล้วปรากฏว่าสำนวนหลักฐานที่ส่งมาพอฟ้องผู้ต้องหาทั้ง4 คนตามข้อกล่าวหาทั้งหมด3 ข้อหา
จึงมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนมีการเรียกตัวผู้ต้องหา 3 คนที่มีตัว มาพบพนักงานอัยการในวันที่ 24 ม.ค. 2567 เวลา 10.00 น. เพื่อนำตัวยื่นฟ้องศาล ในส่วนมีผู้ต้องหา 1รายคือผู้ต้องที่ 3 ที่หลบหนี ทางพนักงานอัยการก็ให้พนักงานสอบสวนไปดำเนินการขอออกหมายจับมาภายในอายุความ 10 ปีซึ่งทราบว่าได้มีการออกหมายจับเเล้ว
อยากเรียนว่า สำหรับคดีนี้เป็นคดีที่มีพยานเอกสารจำนวนมาก มีประเด็นที่มันสลับซับซ้อน เป็นประเด็นสำคัญที่เป็นคดีระดับประเทศ ดังนั้น พนักงานอัยการจึงต้องพิจารณาสำนวนนี้อย่างรอบคอบและละเอียดละเอียดถี่ถ้วนด้วยความอุตสาหะและความตั้งใจ ซึ่งสังกัดพนักงานอัยการสำนักงานคดีพิเศษ 4 โดยร่วมพิจารณาสำนวนกับหัวหน้าคณะทำงานก็คือ รองอธิบดีอัยการคดีพิเศษและตนร่วมประชุมจนสั่งคดีนี้ได้ ต้องขอขอบอัยการทุกคนที่ได้ร่วมกันทำงานเเละเร่งรัดติดตามมาโดยตลอดอย่างแข็งขัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีนี้เป็นคดีเหมืองทองอัคราสำนวนเเรกที่ทางอัยการพิจารณาเเล้วเสร็จ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการสอบสวนเพิ่มเติมมาเป็นเวลานานและมาเสร็จสิ้น พร้อมกับมีการสั่งคดี ในสมัยของ นายวิรุฬห์ เป็นอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ
โดยมีผู้ต้องหาทั้งหมด4 รายประกอบด้วย
1. บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ผู้ต้องหาที่ 1
2. นายปกรณ์ สุขุม ผู้ต้องหาที่ 2
3. นายไมเคิล แพรทริค โมโนกาน ผู้ต้องหาที่ 3
4. นายเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ ผู้ต้องหาที่ 4
ในส่วนความผิดกรณีการเข้ายึดถือครอบครองที่ป่า และออกเอกสารสิทธิ์โฉนดที่ดินทับที่ป่า ในแปลงประทานบัตร 26920/15807 และแปลงประทานบัตรที่ 26922/15805 ได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาดำเนินการ และกรณีความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535และความผิดที่เกี่ยวข้อง ได้อนุมัติให้แยกเลขคดีพิเศษ เพื่อทำการสอบสวนต่อไป