นิด้าโพลคนหนุน”พิธา”นายกฯชมวิสัยทัศน์ดี
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_657273/
นิด้าโพลเผยวันนี้ประชาชนสนับสนุน”พิธา”นายกฯ ชมวิสัยทัศน์ดีขณะเศรษฐารั้งที่2-ชอบพรรคก้าวไกลมากสุด
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “
การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาสปี 2566” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 13-18 ธันวาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคะแนนนิยมทางการเมือง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 39.40 ระบุว่าเป็น นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ มีความเป็นผู้นำ เป็นคนรุ่นใหม่ วิสัยทัศน์ดี บุคลิกดี และเข้าถึงประชาชน อันดับ 2 ร้อยละ 22.35 ระบุว่าเป็น นาย
เศรษฐา ทวีสิน (พรรคเพื่อไทย) เพราะ มีความรู้ความสามารถ ตรงไปตรงมา และชื่นชอบพรรคเพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 18.60 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 4 ร้อยละ 5.75 ระบุว่าเป็น น.ส.
แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนรุ่นใหม่ ชื่นชอบพรรคและนโยบายพรรคเพื่อไทย และชื่นชอบผลงานในอดีตของตระกูลชินวัตร อันดับ 5 ร้อยละ 2.40 ระบุว่าเป็น นาย
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) เพราะ มีความรู้ความสามารถ มีความน่าเชื่อถือ ตรงไปตรงมา และมีความซื่อสัตย์สุจริต
อันดับ 6 ร้อยละ 1.70 ระบุว่าเป็น นาย
อนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะ เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม ตรงไปตรงมา และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา อันดับ 7 ร้อยละ 1.65 ระบุว่าเป็น คุณหญิง
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ มีประสบการณ์ด้านการบริหารประเทศ และต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ ร้อยละ 3.90 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พลเอก
ประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) นาย
ชัยธวัช ตุลาธน (พรรคก้าวไกล) นาย
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) นาย
วราวุธ ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา)
นาย
ชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) นาย
เฉลิมชัย ศรีอ่อน (พรรคประชาธิปัตย์) นาย
เทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนากล้า) นาย
วันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) พ.ต.อ.
ทวี สอดส่อง (พรรคประชาชาติ) นาย
เฉลิม อยู่บำรุง (พรรคเพื่อไทย) นาย
มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) และ ดร.
ศุภชัย พานิชภักดิ์ และร้อยละ 4.25 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนจะสนับสนุนในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 44.05 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 2 ร้อยละ 24.05 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 16.10 ระบุว่า ยังหาพรรคการเมืองที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 4 ร้อยละ 3.60 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 5 ร้อยละ 3.20 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 6 ร้อยละ 1.75 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 7 ร้อยละ 1.45 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 1.85 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคไทยสร้างไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อไทยรวมพลัง พรรคประชาชาติ พรรคชาติพัฒนากล้า และพรรคเสรีรวมไทย และร้อยละ 3.95 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
‘นิกร’ โต้ ‘พริษฐ์’ ปม ที่มาสสร. บอกไม่ต้องกังวล 100 คน มาจากปชช.ล้วนๆ ไม่มีรัฐบาลแต่งตั้ง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4345544
‘นิกร’ โต้ ‘พริษฐ์’ ปม ที่มาสสร. บอกไม่ต้องกังวล 100 คน มาจากประชาชนล้วนๆ ไม่มีรัฐบาลแต่งตั้ง แนะ หนทางอีกยาวไกลใช้กลไกสภาช่วยกันแก้ไข-ประคับประคอง
เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สืบเนื่องจากกรณีที่วานนี้ (23 ธ.ค.) นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ โฆษกพรรคก้าวไกล ออกมาระบุว่า สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ซึ่งก่อนหน้านี้ นาย
นิกร จำนง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับแนวทางในการทําประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ระบุถึงข้อเสนอให้มีสสร. ทั้งหมด 100 คน แบ่งเป็น 77 คนมาจากการเลือกตั้ง (จังหวัดละ 1 คน) และ 23 คนที่คัดเลือกโดยรัฐสภา จากกลุ่มผู้มีความเชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์ กลุ่มความหลากหลายนั้น (อ่านข่าว
ไอติม ดันสูตรแบ่งที่มา ส.ส.ร. 3 กลุ่ม จังหวัด-ผู้เชี่ยวชาญ-กลุ่มพิเศษ ยันต้องเลือกตั้ง100% ชี้ชอบธรรมมากที่สุด)
ล่าสุด เมื่อเวลา 09.15 น. วันที่ 24 ธ.ค. นายนิกร โพสต์เฟซบุ๊ก “
์Nikorn Chamnong” แสดงความเห็นกรณีดังกล่าว ระบุว่า ต่อกรณีที่คุณ
พริษฐ์ วัชรสินธุ โฆษกพรรคก้าวไกล ได้ให้ความเห็นต่อข้อเสนอที่มาของสสร. ที่คณะอนุกรรมการรับฟังความเห็นฯ รวบรวมสรุปจากความเห็นของประชาชนกลุ่มต่างๆ จะนำเสนอต่อคณะกรรมการคณะใหญ่ที่มีคุณภูมิธรรมเป็นประธาน แล้วได้มีข้อโต้แย้งมาว่าควรมาจากการการเลือกตั้งทั้งหมด 100% ผมในฐานะประธานอนุรับฟังความเห็นเห็นฯ ขอเรียนว่าเคยได้รับฟังความเห็นนี้จากอนุกรรมของสภาฯ ที่มีนายพริษฐ์เป็นประธานก่อนแล้วด้วยความเคารพ แต่ทางคณะอนุฯของเราเห็นว่า การได้มาของสสร.ที่เราเสนอก็มาจากประชาชนทั้งหมดด้วยเช่นกัน คือตัวแทนของ 77 จังหวัด ซึ่งเป็นส่วนมากนั้นจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน กลุ่มหลากหลายของประชาชน 5 กลุ่ม กลุ่มนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นส่วนน้อยแค่ 23 คน ก็มาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมจากในกลุ่มของเขาเองกลุ่มละจำนวนหนึ่ง แล้วให้รัฐสภาซึ่งในขณะนั้นก็เป็นสส. ที่มาจากประชาชนโดยตรง และสว.ที่มาจากการเลือกตั้งจากกลุ่มอาชีพของประชาชนเช่นกัน ซึ่งไม่ใช่สว.ชุดปัจจุบันที่ส่วนใหญ่มาจากการแต่งตั้งพิจารณา
นาย
นิกร ระบุต่อว่า ดังนั้น สสร.ส่วนที่คุณ
พริษฐ์เป็นกังวลก็มาจากประชาชนล้วนๆเช่นกัน มิได้มาจากรัฐบาลแต่งตั้งขึ้นแต่อย่างใด ที่สำคัญมากของการให้ฝ่ายนิติบัญญัติเข้ามามีส่วนในการร่วมพิจารณาสสร.โดยอ้อมด้วยในส่วนน้อยก็เพื่อยึดโยงกับรัฐสภา ป้องกันการถูกร้องว่าไม่ดำเนินการตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในปี 64 ที่ได้กำหนดว่า “รัฐสภามีหน้าที่ และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” อันเป็นแนวทางเพื่อไปสู่การดำเนินการให้สัมฤทธิ์ผล อย่างไรก็ตาม การนำเสนอกรอบที่มาของสสร.นี้ยังไม่ถือเป็นที่สุดในชั้นนี้ ต้องรอให้คณะกรรมการชุดใหญ่โดยคุณภูมิธรรมพิจารณาแล้วเสนอต่อครม. เพื่อนำรอไปบรรจุในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ถ้าประชามติของประชาชนเห็นชอบให้ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และสุดท้ายร่างแก้ไขนั้นก็จะไปยุติที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภาที่น่าจะมีคุณพริษฐ์ และพรรคก้าวไกลอยู่ในนั้นด้วยแน่นอน จึงยังจะมีทางเดินเพื่อการปรับปรุงแก้ไขที่ยาวไกลอยู่พอสมควร จึงอยากขอให้ช่วยประคับประคองกัน
เงินบาทแข็งค่า จับตาปัจจัยสำคัญสัปดาห์หน้า สัญญาณเงินทุนต่างชาติ
https://www.prachachat.net/finance/news-1466131
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ก่อนพลิกแข็งค่าปลายสัปดาห์ หลังตัวเลขจีดีพีที่ทบทวนใหม่ของสหรัฐฯ ในไตรมาส 3/66 ขยายตัวต่ำกว่าคาด รวมถึงตลาดกลับมาประเมินโอกาสการลดดอกเบี้ยของเฟดในปี 2567 จับตาปัจจัยสำคัญสัปดาห์หน้า สัญญาณเงินทุนต่างชาติ ตัวเลขการส่งออกและเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนพ.ย. การทำ Window Dressing ช่วงสิ้นปี รวมถึงสถานการณ์ในทะเลแดง
วันที่ 24 ธันวาคม 2566 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทว่า เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบจำกัด ก่อนแข็งค่าขึ้นช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงแรกตามทิศทางสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชีย (รวมถึงเงินเยนที่อ่อนค่าลง หลัง BOJ มีมติคงนโยบายการเงินไว้ตามเดิม และไม่ส่งสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับจังหวะการถอยออกจากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างมาก)
ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนจากสัญญาณของเจ้าหน้าที่เฟดซึ่งสะท้อนว่า จังหวะการปรับลดดอกเบี้ยของเฟดในปี 2567 ไม่น่าจะเกิดขึ้นเร็ว นอกจากนี้การอ่อนค่าของเงินบาทยังสอดคล้องกับสัญญาณขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน
เงินบาทกลับมาเคลื่อนไหวในกรอบแคบในช่วงกลางสัปดาห์ท่ามกลางธุรกรรมที่เบาบาง แต่ขยับแข็งค่าขึ้นช่วงปลายสัปดาห์ตามจังหวะการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลก ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยลบจากตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3/2566 ของสหรัฐฯ ซึ่งถูกปรับทบทวนลงมาที่ขยายตัว 4.9% ต่อปี และจากการคาดการณ์เกี่ยวกับโอกาสการปรับลดดอกเบี้ยของเฟดในปี 2567
ในวันศุกร์ที่ 22 ธ.ค. 2566 เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 34.58 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับ 34.84 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (15 ธ.ค.) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 18-22 ธ.ค. 2566 นั้น นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 3,713 ล้านบาท และมีสถานะเป็น Net Outflows ออกจากตลาดพันธบัตรไทย 13,035 ล้านบาท (ขายสุทธิพันธบัตร 6,144 ล้านบาท และมีตราสารหนี้หมดอายุ 6,892 ล้านบาท)
สัปดาห์ถัดไป (25-28 ธ.ค.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 34.20-34.90 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สัญญาณเงินทุนต่างชาติ ตัวเลขการส่งออกและเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนพ.ย.
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาบ้านเดือนต.ค. ยอดขายบ้านที่รอปิดการขายเดือนพ.ย. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ รวมถึงข้อมูลกำไรภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ย. ของจีน
ส่วนความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทย ดัชนีหุ้นไทยกลับมายืนเหนือ 1,400 จุดได้อีกครั้ง ทั้งนี้หุ้นไทยขยับขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ โดยยังคงมีแรงหนุนต่อเนื่องจากการส่งสัญญาณจบวงจรดอกเบี้ยขาขึ้น และโอกาสการปรับลดดอกเบี้ยในปีหน้าของเฟด นอกจากนี้ยังมีปัจจัยบวกเพิ่มเติมจากแรงซื้อหุ้นบิ๊กแคปในกลุ่มเทคโนโลยี (หลังการประกาศหลักทรัพย์ที่ใช้คำนวณดัชนี SET50 และ SET100) และแรงซื้อของกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศ
อย่างไรก็ดี หุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบแคบในช่วงปลายสัปดาห์หลังจากตอบรับปัจจัยบวกไปพอสมคารแล้ว ทั้งนี้สัปดาห์นี้หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวลงสวนทางภาพรวม เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของการปรับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ
ในวันศุกร์ที่ 22 ธ.ค. ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,405.09 จุด เพิ่มขึ้น 1.01% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 35,881.28 ล้านบาท ลดลง 18.16% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 3.34% มาปิดที่ระดับ 409.10 จุด
สำหรับสัปดาห์ถัดไป (25-28 ธ.ค.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,390 และ 1,370 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,430 และ 1,450 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนต่างชาติ การทำ Window Dressing ช่วงสิ้นปี รวมถึงสถานการณ์ในทะเลแดง
ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาบ้านเดือนต.ค. ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายเดือนพ.ย. รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ กำไรบริษัทภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ย. ของจีน ยอดค้าปลีก และผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ย. ของญี่ปุ่น
JJNY : นิด้าโพลคนหนุน”พิธา”│‘นิกร’โต้‘พริษฐ์’ ปมที่มาสสร.│เงินบาทแข็งค่า│เพนตากอนชี้ฝีมืออิหร่าน“โจมตีเรือเคมี”บ.ญี่ปุ่น
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_657273/
นิด้าโพลเผยวันนี้ประชาชนสนับสนุน”พิธา”นายกฯ ชมวิสัยทัศน์ดีขณะเศรษฐารั้งที่2-ชอบพรรคก้าวไกลมากสุด
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาสปี 2566” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 13-18 ธันวาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคะแนนนิยมทางการเมือง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 39.40 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ มีความเป็นผู้นำ เป็นคนรุ่นใหม่ วิสัยทัศน์ดี บุคลิกดี และเข้าถึงประชาชน อันดับ 2 ร้อยละ 22.35 ระบุว่าเป็น นายเศรษฐา ทวีสิน (พรรคเพื่อไทย) เพราะ มีความรู้ความสามารถ ตรงไปตรงมา และชื่นชอบพรรคเพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 18.60 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 4 ร้อยละ 5.75 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนรุ่นใหม่ ชื่นชอบพรรคและนโยบายพรรคเพื่อไทย และชื่นชอบผลงานในอดีตของตระกูลชินวัตร อันดับ 5 ร้อยละ 2.40 ระบุว่าเป็น นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) เพราะ มีความรู้ความสามารถ มีความน่าเชื่อถือ ตรงไปตรงมา และมีความซื่อสัตย์สุจริต
อันดับ 6 ร้อยละ 1.70 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะ เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม ตรงไปตรงมา และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา อันดับ 7 ร้อยละ 1.65 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ มีประสบการณ์ด้านการบริหารประเทศ และต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ ร้อยละ 3.90 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) นายชัยธวัช ตุลาธน (พรรคก้าวไกล) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) นายวราวุธ ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา)
นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน (พรรคประชาธิปัตย์) นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนากล้า) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง (พรรคประชาชาติ) นายเฉลิม อยู่บำรุง (พรรคเพื่อไทย) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) และ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ และร้อยละ 4.25 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนจะสนับสนุนในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 44.05 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 2 ร้อยละ 24.05 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 16.10 ระบุว่า ยังหาพรรคการเมืองที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 4 ร้อยละ 3.60 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 5 ร้อยละ 3.20 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 6 ร้อยละ 1.75 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 7 ร้อยละ 1.45 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 1.85 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคไทยสร้างไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อไทยรวมพลัง พรรคประชาชาติ พรรคชาติพัฒนากล้า และพรรคเสรีรวมไทย และร้อยละ 3.95 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
‘นิกร’ โต้ ‘พริษฐ์’ ปม ที่มาสสร. บอกไม่ต้องกังวล 100 คน มาจากปชช.ล้วนๆ ไม่มีรัฐบาลแต่งตั้ง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4345544
‘นิกร’ โต้ ‘พริษฐ์’ ปม ที่มาสสร. บอกไม่ต้องกังวล 100 คน มาจากประชาชนล้วนๆ ไม่มีรัฐบาลแต่งตั้ง แนะ หนทางอีกยาวไกลใช้กลไกสภาช่วยกันแก้ไข-ประคับประคอง
เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สืบเนื่องจากกรณีที่วานนี้ (23 ธ.ค.) นายพริษฐ์ วัชรสินธุ โฆษกพรรคก้าวไกล ออกมาระบุว่า สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ซึ่งก่อนหน้านี้ นายนิกร จำนง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับแนวทางในการทําประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ระบุถึงข้อเสนอให้มีสสร. ทั้งหมด 100 คน แบ่งเป็น 77 คนมาจากการเลือกตั้ง (จังหวัดละ 1 คน) และ 23 คนที่คัดเลือกโดยรัฐสภา จากกลุ่มผู้มีความเชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์ กลุ่มความหลากหลายนั้น (อ่านข่าว ไอติม ดันสูตรแบ่งที่มา ส.ส.ร. 3 กลุ่ม จังหวัด-ผู้เชี่ยวชาญ-กลุ่มพิเศษ ยันต้องเลือกตั้ง100% ชี้ชอบธรรมมากที่สุด)
ล่าสุด เมื่อเวลา 09.15 น. วันที่ 24 ธ.ค. นายนิกร โพสต์เฟซบุ๊ก “์Nikorn Chamnong” แสดงความเห็นกรณีดังกล่าว ระบุว่า ต่อกรณีที่คุณพริษฐ์ วัชรสินธุ โฆษกพรรคก้าวไกล ได้ให้ความเห็นต่อข้อเสนอที่มาของสสร. ที่คณะอนุกรรมการรับฟังความเห็นฯ รวบรวมสรุปจากความเห็นของประชาชนกลุ่มต่างๆ จะนำเสนอต่อคณะกรรมการคณะใหญ่ที่มีคุณภูมิธรรมเป็นประธาน แล้วได้มีข้อโต้แย้งมาว่าควรมาจากการการเลือกตั้งทั้งหมด 100% ผมในฐานะประธานอนุรับฟังความเห็นเห็นฯ ขอเรียนว่าเคยได้รับฟังความเห็นนี้จากอนุกรรมของสภาฯ ที่มีนายพริษฐ์เป็นประธานก่อนแล้วด้วยความเคารพ แต่ทางคณะอนุฯของเราเห็นว่า การได้มาของสสร.ที่เราเสนอก็มาจากประชาชนทั้งหมดด้วยเช่นกัน คือตัวแทนของ 77 จังหวัด ซึ่งเป็นส่วนมากนั้นจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน กลุ่มหลากหลายของประชาชน 5 กลุ่ม กลุ่มนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นส่วนน้อยแค่ 23 คน ก็มาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมจากในกลุ่มของเขาเองกลุ่มละจำนวนหนึ่ง แล้วให้รัฐสภาซึ่งในขณะนั้นก็เป็นสส. ที่มาจากประชาชนโดยตรง และสว.ที่มาจากการเลือกตั้งจากกลุ่มอาชีพของประชาชนเช่นกัน ซึ่งไม่ใช่สว.ชุดปัจจุบันที่ส่วนใหญ่มาจากการแต่งตั้งพิจารณา
นายนิกร ระบุต่อว่า ดังนั้น สสร.ส่วนที่คุณพริษฐ์เป็นกังวลก็มาจากประชาชนล้วนๆเช่นกัน มิได้มาจากรัฐบาลแต่งตั้งขึ้นแต่อย่างใด ที่สำคัญมากของการให้ฝ่ายนิติบัญญัติเข้ามามีส่วนในการร่วมพิจารณาสสร.โดยอ้อมด้วยในส่วนน้อยก็เพื่อยึดโยงกับรัฐสภา ป้องกันการถูกร้องว่าไม่ดำเนินการตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในปี 64 ที่ได้กำหนดว่า “รัฐสภามีหน้าที่ และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” อันเป็นแนวทางเพื่อไปสู่การดำเนินการให้สัมฤทธิ์ผล อย่างไรก็ตาม การนำเสนอกรอบที่มาของสสร.นี้ยังไม่ถือเป็นที่สุดในชั้นนี้ ต้องรอให้คณะกรรมการชุดใหญ่โดยคุณภูมิธรรมพิจารณาแล้วเสนอต่อครม. เพื่อนำรอไปบรรจุในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ถ้าประชามติของประชาชนเห็นชอบให้ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และสุดท้ายร่างแก้ไขนั้นก็จะไปยุติที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภาที่น่าจะมีคุณพริษฐ์ และพรรคก้าวไกลอยู่ในนั้นด้วยแน่นอน จึงยังจะมีทางเดินเพื่อการปรับปรุงแก้ไขที่ยาวไกลอยู่พอสมควร จึงอยากขอให้ช่วยประคับประคองกัน
เงินบาทแข็งค่า จับตาปัจจัยสำคัญสัปดาห์หน้า สัญญาณเงินทุนต่างชาติ
https://www.prachachat.net/finance/news-1466131
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ก่อนพลิกแข็งค่าปลายสัปดาห์ หลังตัวเลขจีดีพีที่ทบทวนใหม่ของสหรัฐฯ ในไตรมาส 3/66 ขยายตัวต่ำกว่าคาด รวมถึงตลาดกลับมาประเมินโอกาสการลดดอกเบี้ยของเฟดในปี 2567 จับตาปัจจัยสำคัญสัปดาห์หน้า สัญญาณเงินทุนต่างชาติ ตัวเลขการส่งออกและเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนพ.ย. การทำ Window Dressing ช่วงสิ้นปี รวมถึงสถานการณ์ในทะเลแดง
วันที่ 24 ธันวาคม 2566 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทว่า เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบจำกัด ก่อนแข็งค่าขึ้นช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงแรกตามทิศทางสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชีย (รวมถึงเงินเยนที่อ่อนค่าลง หลัง BOJ มีมติคงนโยบายการเงินไว้ตามเดิม และไม่ส่งสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับจังหวะการถอยออกจากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างมาก)
ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนจากสัญญาณของเจ้าหน้าที่เฟดซึ่งสะท้อนว่า จังหวะการปรับลดดอกเบี้ยของเฟดในปี 2567 ไม่น่าจะเกิดขึ้นเร็ว นอกจากนี้การอ่อนค่าของเงินบาทยังสอดคล้องกับสัญญาณขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน
เงินบาทกลับมาเคลื่อนไหวในกรอบแคบในช่วงกลางสัปดาห์ท่ามกลางธุรกรรมที่เบาบาง แต่ขยับแข็งค่าขึ้นช่วงปลายสัปดาห์ตามจังหวะการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลก ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยลบจากตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3/2566 ของสหรัฐฯ ซึ่งถูกปรับทบทวนลงมาที่ขยายตัว 4.9% ต่อปี และจากการคาดการณ์เกี่ยวกับโอกาสการปรับลดดอกเบี้ยของเฟดในปี 2567
ในวันศุกร์ที่ 22 ธ.ค. 2566 เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 34.58 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับ 34.84 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (15 ธ.ค.) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 18-22 ธ.ค. 2566 นั้น นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 3,713 ล้านบาท และมีสถานะเป็น Net Outflows ออกจากตลาดพันธบัตรไทย 13,035 ล้านบาท (ขายสุทธิพันธบัตร 6,144 ล้านบาท และมีตราสารหนี้หมดอายุ 6,892 ล้านบาท)
สัปดาห์ถัดไป (25-28 ธ.ค.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 34.20-34.90 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สัญญาณเงินทุนต่างชาติ ตัวเลขการส่งออกและเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนพ.ย.
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาบ้านเดือนต.ค. ยอดขายบ้านที่รอปิดการขายเดือนพ.ย. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ รวมถึงข้อมูลกำไรภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ย. ของจีน
ส่วนความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทย ดัชนีหุ้นไทยกลับมายืนเหนือ 1,400 จุดได้อีกครั้ง ทั้งนี้หุ้นไทยขยับขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ โดยยังคงมีแรงหนุนต่อเนื่องจากการส่งสัญญาณจบวงจรดอกเบี้ยขาขึ้น และโอกาสการปรับลดดอกเบี้ยในปีหน้าของเฟด นอกจากนี้ยังมีปัจจัยบวกเพิ่มเติมจากแรงซื้อหุ้นบิ๊กแคปในกลุ่มเทคโนโลยี (หลังการประกาศหลักทรัพย์ที่ใช้คำนวณดัชนี SET50 และ SET100) และแรงซื้อของกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศ
อย่างไรก็ดี หุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบแคบในช่วงปลายสัปดาห์หลังจากตอบรับปัจจัยบวกไปพอสมคารแล้ว ทั้งนี้สัปดาห์นี้หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวลงสวนทางภาพรวม เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของการปรับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ
ในวันศุกร์ที่ 22 ธ.ค. ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,405.09 จุด เพิ่มขึ้น 1.01% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 35,881.28 ล้านบาท ลดลง 18.16% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 3.34% มาปิดที่ระดับ 409.10 จุด
สำหรับสัปดาห์ถัดไป (25-28 ธ.ค.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,390 และ 1,370 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,430 และ 1,450 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนต่างชาติ การทำ Window Dressing ช่วงสิ้นปี รวมถึงสถานการณ์ในทะเลแดง
ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาบ้านเดือนต.ค. ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายเดือนพ.ย. รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ กำไรบริษัทภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ย. ของจีน ยอดค้าปลีก และผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ย. ของญี่ปุ่น