เปิดรายละเอียดจุดเด่นร่างกฎหมาย ‘สมรสเท่าเทียม’ ฉบับที่เสนอโดยรัฐบาล เปิดทางสู่การสร้างความเท่าเทียมให้กับทุกคู่รัก
21 ธ.ค. 2566 ที่รัฐสภา วันนี้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ได้พิจารณาร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่…) พ.ศ… หรือ ร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอ รวมถึง ร่างพ.ร.บ. ที่มีลักษณะเดียวกัน อีก 3 ฉบับ ซึ่งเสนอโดยนายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล นายสรรเพชญ บุญญามณี สส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ และ น.ส.อรรณว์ ชุมาพร กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เสนอ
ทั้งนี้ พรรคเพื่อไทย ได้เปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับจุดเด่นร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับที่เสนอโดยรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย เปิดทางสู่การสร้างความเท่าเทียมให้กับทุกคู่รัก
ความสำคัญของ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือกฎหมาย
‘สมรสเท่าเทียม’ คือ การสร้างความเสมอภาคแก่ประชาชนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ให้สามารถสมรสได้เหมือนกับคู่รักชายหญิง ซึ่งนำมาสู่การได้รับสิทธิในด้านต่าง ๆ ทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความเจ็บป่วย การจัดการมรดก ลดความยุ่งยากและอุปสรรคในชีวิต เพิ่มโอกาสในการใช้ชีวิตอย่างมีเกียรติ ศักดิ์ศรี และมีความสุข
พรรคเพื่อไทยและอีกหลายฝ่ายได้ร่วมกันผลักดันร่าง พ.ร.บ สมรสเท่าเทียมตั้งแต่สมัยสภาชุดก่อน แต่ยุบสภาเสียก่อน เมื่อเพื่อไทยได้เป็นแกนนำรัฐบาล จึงดำเนินการเร่งพิจารณากฎหมายฉบับใหม่ และเสนอโดยคณะรัฐมนตรี (ครม.)
นอกจากการผ่านร่างจะเป็นสร้างความเสมอภาคในสังคมแล้ว ยังจะเป็นการสร้างแรงกระเพื่อมให้กับการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพงาน World Pride 2028 ที่ช่วยส่งเสริม Festival Economy ที่กระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ให้พี่น้องประชาชน
‘สมรสเท่าเทียม’ แล้วจะเกิดอะไรขึ้น? จุดเด่นสำคัญของร่างฉบับคณะรัฐมนตรี
- บุคคล 2 คน ไม่ว่าเพศใดสามารถหมั้นและสมรสกันได้
พ.ร.บ ฉบับนี้ จะให้ผู้ที่มีสถานะบุคคลตามกฏหมายสามารถมีสถานะทางครอบครัวเหมือนกับกับคู่สมรสชาย - หญิง โดยจะได้รับสิทธิ หน้าที่ และสถานะทางครอบครัวเท่าเทียมกันทุกประการ และจะเปลี่ยนคำเรียกที่ใช้ตามกฏหมายจากคู่สมรส ชาย - หญิง เป็น บุคคล - บุคคล และผู้หมั้น - ผู้รับหมั้น เพื่อให้ครอบคลุมกับทุกบุคคล
- เพิ่มเหตุเรียกค่าทดแทน และเหตุฟ้องหย่าให้ครอบคลุมทุกเพศ
กรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งไปมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม จะถือเป็นเหตุให้ฟ้องหย่าได้ และเพิ่มเหตุในมาตรา 43 และมาตรา 45 เพื่อให้การฟ้องหย่าสอดคล้องกับลักษณะความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไปเป็นระหว่าง ‘คู่สมรส’
- จัดการทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการสมรส เข้าถึงสิทธิและสวัสดิการได้
การจัดการทรัพย์สินสำหรับคู่รักในกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นอุปสรรคใหญ่มาโดยตลอด เมื่อทำให้สถานะของคู่สมรสชัดเจนแล้วจะช่วยให้กับคู่รัก LGBTQIAN+ ให้จัดการทรัพย์สินได้ราบรื่นยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในแง่เรื่องสิทธิและสวัสดิการ อาทิ การจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่กำหนดให้จ่ายเงินแก่สามีหรือภริยา กลุ่มคู่รักผู้มีความหลากหลายทางเพศก็จะได้รับสิทธิ
- ปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับบิดา มารดา และบุตร ให้สอดคล้องกับความสัมพันธ์ “คู่สมรส”
ร่างกฎหมายฉบันนี้ มีการแก้ไขส่วนที่เกี่ยวข้องกับบิดา มารดา และบุตร ให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับการแก้ไขในส่วนอื่นของร่าง พ.ร.บ. ซึ่งในร่างที่มีการเสนอก่อนหน้านี้ไม่ได้แก้ไขในส่วนนี้ โดยจะแก้จาก ‘สามี’ และ ‘ภริยา’ เป็น ‘คู่สมรส’ เพื่อให้มีความหมายครอบคลุมคู่สมรสไม่ว่าจะมีเพศใด
- กำหนดให้หน่วยงานรัฐทบทวนกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับรองสิทธิที่เท่าเทียมกัน
เมื่อมีการผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการตามมาตรา 67 ซึ่งให้หน่วยงานของรัฐทบทวนกฎหมายในความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อรองรับสิทธิ หน้าที่ สถานะทางกฎหมาย หรือเรื่องอื่น ๆ ให้แก่คู่สมรสให้สอดคล้องกับการแก้ไขกฎหมายในครั้งนี้
หลักการเพื่อความรักเท่าเทียม
การผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม เป็นเรื่องสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่จะทำให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันและมีเสรีภาพตามกฎหมาย โดยเฉพาะสำหรับกลุ่ม LGBTQIAN+ ที่จะมีสิทธิและอำนาจในการสร้างสถาบันครอบครัวตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน สิทธิการจัดการมรดก หรือจะเป็นเรื่องที่สำคัญแก่ชีวิต แต่ได้ถูกมองข้ามไป เช่น สิทธิในการตัดสินใจทางการแพทย์และการรักษาพยาบาล เป็นต้น
แรงกระเพื่อมจากไทยสู่ระดับภูมิภาค
การผ่านร่างกฏหมายสมรสเท่าเทียมจะทำให้ไทยเป็นชาติที่จะมีกฏหมายรับรองการแต่งงานของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ต่อจากไชนีส ไทเปและเนปาล ซึ่งเป็นการปักหมุดประเทศไทยลงในแผนที่ของชุมชนชาว LGBTQIAN+ ซึ่งจะส่งผลต่อการเสนอตัวเพื่อเป็นเจ้าภาพงาน WorldPride ในปี 2028
งาน WorldPride เป็นงานสำหรับ LGBTQIAN+ ระดับโลกที่นำโดยองค์กรนานาชาติ InterPride ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร โดยจะประสานงานร่วมกับองค์กรที่ทำงานด้าน LGBTQIAN+ ในท้องถิ่น ในแต่ละปี ผู้จัดจะเลือกเมืองเจ้าภาพผ่านการประมูลที่ได้รับการโหวตในระหว่างการประชุมสามัญประจำปีของ InterPride
กิจกรรมหลักของบริษัท ได้แก่ พิธีเปิดและปิด ขบวนพาเหรด Pride ซึ่งอาจเป็นขบวนพาเหรดของเมืองเจ้าภาพผสมกับขบวนที่จัดขึ้นเป็นพิเศษสำหรับ WorldPride และการประชุมสิทธิมนุษยชนของ LGBTQIAN+
หากได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพ จะเป็นการยืนยันกับนานาประเทศว่าประเทศไทยเปิดกว้างและโอบรับความหลากหลาย และพร้อมที่ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวและทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับคนทุกเพศ
ภาพจาก AFP
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่
https://www.tnnthailand.com/news/politics/159569/
เปิดรายละเอียดร่างกฎหมาย ‘สมรสเท่าเทียม’ ฉบับที่เสนอโดยรัฐบาล เปิดทางสร้างความเท่าเทียมให้ทุกคู่รัก
ทั้งนี้ พรรคเพื่อไทย ได้เปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับจุดเด่นร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับที่เสนอโดยรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย เปิดทางสู่การสร้างความเท่าเทียมให้กับทุกคู่รัก
ความสำคัญของ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือกฎหมาย ‘สมรสเท่าเทียม’ คือ การสร้างความเสมอภาคแก่ประชาชนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ให้สามารถสมรสได้เหมือนกับคู่รักชายหญิง ซึ่งนำมาสู่การได้รับสิทธิในด้านต่าง ๆ ทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความเจ็บป่วย การจัดการมรดก ลดความยุ่งยากและอุปสรรคในชีวิต เพิ่มโอกาสในการใช้ชีวิตอย่างมีเกียรติ ศักดิ์ศรี และมีความสุข
พรรคเพื่อไทยและอีกหลายฝ่ายได้ร่วมกันผลักดันร่าง พ.ร.บ สมรสเท่าเทียมตั้งแต่สมัยสภาชุดก่อน แต่ยุบสภาเสียก่อน เมื่อเพื่อไทยได้เป็นแกนนำรัฐบาล จึงดำเนินการเร่งพิจารณากฎหมายฉบับใหม่ และเสนอโดยคณะรัฐมนตรี (ครม.)
นอกจากการผ่านร่างจะเป็นสร้างความเสมอภาคในสังคมแล้ว ยังจะเป็นการสร้างแรงกระเพื่อมให้กับการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพงาน World Pride 2028 ที่ช่วยส่งเสริม Festival Economy ที่กระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ให้พี่น้องประชาชน
‘สมรสเท่าเทียม’ แล้วจะเกิดอะไรขึ้น? จุดเด่นสำคัญของร่างฉบับคณะรัฐมนตรี
- บุคคล 2 คน ไม่ว่าเพศใดสามารถหมั้นและสมรสกันได้
พ.ร.บ ฉบับนี้ จะให้ผู้ที่มีสถานะบุคคลตามกฏหมายสามารถมีสถานะทางครอบครัวเหมือนกับกับคู่สมรสชาย - หญิง โดยจะได้รับสิทธิ หน้าที่ และสถานะทางครอบครัวเท่าเทียมกันทุกประการ และจะเปลี่ยนคำเรียกที่ใช้ตามกฏหมายจากคู่สมรส ชาย - หญิง เป็น บุคคล - บุคคล และผู้หมั้น - ผู้รับหมั้น เพื่อให้ครอบคลุมกับทุกบุคคล
- เพิ่มเหตุเรียกค่าทดแทน และเหตุฟ้องหย่าให้ครอบคลุมทุกเพศ
กรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งไปมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม จะถือเป็นเหตุให้ฟ้องหย่าได้ และเพิ่มเหตุในมาตรา 43 และมาตรา 45 เพื่อให้การฟ้องหย่าสอดคล้องกับลักษณะความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไปเป็นระหว่าง ‘คู่สมรส’
- จัดการทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการสมรส เข้าถึงสิทธิและสวัสดิการได้
การจัดการทรัพย์สินสำหรับคู่รักในกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นอุปสรรคใหญ่มาโดยตลอด เมื่อทำให้สถานะของคู่สมรสชัดเจนแล้วจะช่วยให้กับคู่รัก LGBTQIAN+ ให้จัดการทรัพย์สินได้ราบรื่นยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในแง่เรื่องสิทธิและสวัสดิการ อาทิ การจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่กำหนดให้จ่ายเงินแก่สามีหรือภริยา กลุ่มคู่รักผู้มีความหลากหลายทางเพศก็จะได้รับสิทธิ
- ปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับบิดา มารดา และบุตร ให้สอดคล้องกับความสัมพันธ์ “คู่สมรส”
ร่างกฎหมายฉบันนี้ มีการแก้ไขส่วนที่เกี่ยวข้องกับบิดา มารดา และบุตร ให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับการแก้ไขในส่วนอื่นของร่าง พ.ร.บ. ซึ่งในร่างที่มีการเสนอก่อนหน้านี้ไม่ได้แก้ไขในส่วนนี้ โดยจะแก้จาก ‘สามี’ และ ‘ภริยา’ เป็น ‘คู่สมรส’ เพื่อให้มีความหมายครอบคลุมคู่สมรสไม่ว่าจะมีเพศใด
- กำหนดให้หน่วยงานรัฐทบทวนกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับรองสิทธิที่เท่าเทียมกัน
เมื่อมีการผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการตามมาตรา 67 ซึ่งให้หน่วยงานของรัฐทบทวนกฎหมายในความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อรองรับสิทธิ หน้าที่ สถานะทางกฎหมาย หรือเรื่องอื่น ๆ ให้แก่คู่สมรสให้สอดคล้องกับการแก้ไขกฎหมายในครั้งนี้
หลักการเพื่อความรักเท่าเทียม
การผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม เป็นเรื่องสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่จะทำให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันและมีเสรีภาพตามกฎหมาย โดยเฉพาะสำหรับกลุ่ม LGBTQIAN+ ที่จะมีสิทธิและอำนาจในการสร้างสถาบันครอบครัวตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน สิทธิการจัดการมรดก หรือจะเป็นเรื่องที่สำคัญแก่ชีวิต แต่ได้ถูกมองข้ามไป เช่น สิทธิในการตัดสินใจทางการแพทย์และการรักษาพยาบาล เป็นต้น
แรงกระเพื่อมจากไทยสู่ระดับภูมิภาค
การผ่านร่างกฏหมายสมรสเท่าเทียมจะทำให้ไทยเป็นชาติที่จะมีกฏหมายรับรองการแต่งงานของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ต่อจากไชนีส ไทเปและเนปาล ซึ่งเป็นการปักหมุดประเทศไทยลงในแผนที่ของชุมชนชาว LGBTQIAN+ ซึ่งจะส่งผลต่อการเสนอตัวเพื่อเป็นเจ้าภาพงาน WorldPride ในปี 2028
งาน WorldPride เป็นงานสำหรับ LGBTQIAN+ ระดับโลกที่นำโดยองค์กรนานาชาติ InterPride ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร โดยจะประสานงานร่วมกับองค์กรที่ทำงานด้าน LGBTQIAN+ ในท้องถิ่น ในแต่ละปี ผู้จัดจะเลือกเมืองเจ้าภาพผ่านการประมูลที่ได้รับการโหวตในระหว่างการประชุมสามัญประจำปีของ InterPride
กิจกรรมหลักของบริษัท ได้แก่ พิธีเปิดและปิด ขบวนพาเหรด Pride ซึ่งอาจเป็นขบวนพาเหรดของเมืองเจ้าภาพผสมกับขบวนที่จัดขึ้นเป็นพิเศษสำหรับ WorldPride และการประชุมสิทธิมนุษยชนของ LGBTQIAN+
หากได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพ จะเป็นการยืนยันกับนานาประเทศว่าประเทศไทยเปิดกว้างและโอบรับความหลากหลาย และพร้อมที่ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวและทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับคนทุกเพศ
ภาพจาก AFP
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tnnthailand.com/news/politics/159569/