โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) เป็นอีกหนึ่งโครงการร่วมลงทุนกับภาคเอกชนที่มีความล่าช้ากว่าแผน โดย “จุฬา สุขมานพ” เลขาธิการคณะกรรมการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ออกมายอมรับว่า ขณะนี้คาดว่าโครงการจะล่าช้าไปประมาณ 1 ปี จากเดิมที่คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2570 ไปเป็น 2571
สืบเนื่องจากขณะนี้เอกชนยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง เพราะมีเงื่อนไขของการออกหนังสืออนุญาตเข้าพื้นที่ (NTP) ทางเอกชนคู่สัญญาจำเป็นต้องได้รับหนังสืออนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดยจากการประเมินในขณะนี้ โครงการไฮสปีดเทรนปกติต้องใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปี ดังนั้นตามแผนปัจจุบันจะผลักดันให้เริ่มก่อสร้างในปี 2567 จึงคาดว่าจะสร้างเสร็จในปี 2571 ทำให้การเปิดให้บริการได้ช่วงประมาณปี 2571
อย่างไรก็ดี อีกหนึ่งสัญญาณของการเริ่มต้นดำเนินโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน ล่าสุดที่ประชุมเจรจาหลักการเพื่อการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการนี้ ซึ่งประกอบด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สกพอ. และบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เอกชนคู่สัญญา ได้มีมติร่วมกันถึงแนวทางแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน โดยเตรียมเสนอสำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาเห็นชอบในเดือน ม.ค.นี้
นายอนันต์ โพธ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เผยว่า การแก้ไขสัญญาใหม่ขณะนี้ได้ข้อสรุปร่วมกันแล้ว โดยจะเตรียมรายละเอียดเสนอไปยังสำนักอัยการสูงสุดพิจารณาภายในเดือน ม.ค. 2567คาดว่ากระบวนการต่างๆ จะใช้เวลาพิจารณาราว 30 วัน ก่อนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติ เบื้องต้นจึงคาดว่าจะลงนามแก้ไขสัญญาใหม่ร่วมกับเอกชนคู่สัญญา บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ภายในเดือน พ.ค.2567
โดยเมื่อมีการลงนามสัญญาใหม่ เงื่อนไขสัญญาระบุไว้ว่าเอกชนจะต้องเริ่มจ่ายค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ตามที่เสนอขอผ่อนจ่ายรวม 7 งวด แบ่งเป็น งวดที่ 1-6 งวดละ 1,067.11 ล้านบาท และงวดที่ 7 จำนวน 5,328.47 ล้านบาท โดยเมื่อลงนามสัญญาแล้วเสร็จ เอกชนจะต้องจ่ายค่าสิทธิรวม 3 งวด วงเงินรวมกว่า 3 พันล้านบาท ซึ่งเป็นยอดชำระย้อนหลังรวม 3 ปี ระหว่างปี 2564 – 2566 ส่วนที่เหลืออีก 4 งวด จะจ่ายตามกำหนดสัญญาภายในวันที่ 24 ต.ค.ของแต่ละปี
โดยหากแบ่งการชำระค่าสิทธิแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ออกเป็น 7 งวด ของแต่ละปี ได้แก่
งวดที่ 1 จำนวน 1,067.11 ล้านบาท
งวดที่ 2 จำนวน 1,067.11 ล้านบาท
งวดที่ 3 จำนวน 1,067.11 ล้านบาท
งวดที่ 4 จำนวน 1,067.11 ล้านบาท
งวดที่ 5 จำนวน 1,067.11 ล้านบาท
งวดที่ 6 จำนวน 1,067.11 ล้านบาท
งวดที่ 7 จำนวน 5,328.47 ล้านบาท
ทั้งนี้ ภายหลังการแก้สัญญาแล้ว ร.ฟ.ท. จะยังคงได้รับค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ครบจำนวน 10,671 ล้านบาท บวกดอกเบี้ยและค่าเสียโอกาสของ ร.ฟ.ท.อีกจำนวน 1,060 ล้านบาท รวมได้รับเป็นวงเงิน 11,731 ล้านบาท
'CP' เตรียมควัก 3 พันล้าน จ่ายงวดแรกบริหาร 'แอร์พอร์ตลิงก์'
สืบเนื่องจากขณะนี้เอกชนยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง เพราะมีเงื่อนไขของการออกหนังสืออนุญาตเข้าพื้นที่ (NTP) ทางเอกชนคู่สัญญาจำเป็นต้องได้รับหนังสืออนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดยจากการประเมินในขณะนี้ โครงการไฮสปีดเทรนปกติต้องใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปี ดังนั้นตามแผนปัจจุบันจะผลักดันให้เริ่มก่อสร้างในปี 2567 จึงคาดว่าจะสร้างเสร็จในปี 2571 ทำให้การเปิดให้บริการได้ช่วงประมาณปี 2571
อย่างไรก็ดี อีกหนึ่งสัญญาณของการเริ่มต้นดำเนินโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน ล่าสุดที่ประชุมเจรจาหลักการเพื่อการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการนี้ ซึ่งประกอบด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สกพอ. และบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เอกชนคู่สัญญา ได้มีมติร่วมกันถึงแนวทางแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน โดยเตรียมเสนอสำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาเห็นชอบในเดือน ม.ค.นี้
นายอนันต์ โพธ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เผยว่า การแก้ไขสัญญาใหม่ขณะนี้ได้ข้อสรุปร่วมกันแล้ว โดยจะเตรียมรายละเอียดเสนอไปยังสำนักอัยการสูงสุดพิจารณาภายในเดือน ม.ค. 2567คาดว่ากระบวนการต่างๆ จะใช้เวลาพิจารณาราว 30 วัน ก่อนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติ เบื้องต้นจึงคาดว่าจะลงนามแก้ไขสัญญาใหม่ร่วมกับเอกชนคู่สัญญา บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ภายในเดือน พ.ค.2567
โดยเมื่อมีการลงนามสัญญาใหม่ เงื่อนไขสัญญาระบุไว้ว่าเอกชนจะต้องเริ่มจ่ายค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ตามที่เสนอขอผ่อนจ่ายรวม 7 งวด แบ่งเป็น งวดที่ 1-6 งวดละ 1,067.11 ล้านบาท และงวดที่ 7 จำนวน 5,328.47 ล้านบาท โดยเมื่อลงนามสัญญาแล้วเสร็จ เอกชนจะต้องจ่ายค่าสิทธิรวม 3 งวด วงเงินรวมกว่า 3 พันล้านบาท ซึ่งเป็นยอดชำระย้อนหลังรวม 3 ปี ระหว่างปี 2564 – 2566 ส่วนที่เหลืออีก 4 งวด จะจ่ายตามกำหนดสัญญาภายในวันที่ 24 ต.ค.ของแต่ละปี
โดยหากแบ่งการชำระค่าสิทธิแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ออกเป็น 7 งวด ของแต่ละปี ได้แก่
งวดที่ 1 จำนวน 1,067.11 ล้านบาท
งวดที่ 2 จำนวน 1,067.11 ล้านบาท
งวดที่ 3 จำนวน 1,067.11 ล้านบาท
งวดที่ 4 จำนวน 1,067.11 ล้านบาท
งวดที่ 5 จำนวน 1,067.11 ล้านบาท
งวดที่ 6 จำนวน 1,067.11 ล้านบาท
งวดที่ 7 จำนวน 5,328.47 ล้านบาท
ทั้งนี้ ภายหลังการแก้สัญญาแล้ว ร.ฟ.ท. จะยังคงได้รับค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ครบจำนวน 10,671 ล้านบาท บวกดอกเบี้ยและค่าเสียโอกาสของ ร.ฟ.ท.อีกจำนวน 1,060 ล้านบาท รวมได้รับเป็นวงเงิน 11,731 ล้านบาท