$$ ว่าไงละ บรรดาสาวก Big Bang ทั้งหลาย หาสนามบินลงกันได้หรือยัง ? หลังจากการค้นพบของกล้องเจมส์ เว็บบ์ $$

...เรื่อง อวกาศ ดาราศาสตร์ บิ๊กแบง อะไรต่างๆ เห็นเงียบกันไปนานแล้ว หลังจากการค้นพบข้อมูลใหม่ๆจากกล้อง James Webb Telescope
...ดูเหมือนคลิปต่างๆสารพัดคลิปที่ทะยอยๆออกมาหลังๆนี้  ปฏิเสธทฤษฏีเดิมๆ เช่น บิ๊กแบง ..ฯ เป็นต้น.. กันหมดแล้ว
...ข้อสรุปล่าสุด ดูเหมือนจะสรุปว่า เอกภพ  ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีจุดสิ้นสุด ไม่มีขอบเขต ไม่มีอายุ (ซึ่งตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงกล่าวไว้เมื่อกว่า 2,600 ปี มาแล้ว)
                                  ดูคลิปล่าสุดบางคลิปข้างล่าง เขาบรรยายสรุปเป็นภาษาอังกฤษง่ายๆ ชัดเจน
                                                  https://www.youtube.com/watch?v=p7uDz98ZrRE
                                                                     คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
คุณผีเสื้อพเนจร  จขกท.นี้
จะใช้คำว่า "มีปม" ก็ได้นะ 🤣😂

เพราะแก "หมกมุ่น" เหลือเกิน .....
คุณผีเสื้อพเนจรไม่เชื่อเรื่องทฤษฏี Big bang
ที่ไม่เชื่อเนี่ย  มิใช่ว่ามีความเห็นต่างทางวิทยาศาสตร์นะ
แต่คุณผีเสื้อพเนจรไม่เชื่อทฤษฏี Big bang
เพราะว่า ขัด กับสิ่งที่พระพุทธเจ้าเคยกล่าวไว้
https://ppantip.com/topic/42150606/comment2

เรื่อง Big bang และเรื่อง Cosmic microwave background (CMB)
ได้มีการศึกษามาตั้งแต่ยุค 60
มีการส่งดาวเทียมขึ้นไป 4 โครงการ
มีการศึกษา/ต่อยอดกันอย่างต่อเนื่อง
แต่คุณผีเสื้อพเนจรใช้คำว่า .....
"มโน - จินตนาการเองเอง"
เทียบกับ "ญาณหยั่งรู้" แล้วเนี่ย
ใคร "มโน" กันแน่ ..... โคตรขรรม 😂🤣

ก่อนหน้านี้ในเดือนกรกฏาคม
คุณผีเสื้อพเนจร ก็ตั้งกระทู้แนว ๆ นี้
(โปรดสังเกตภาษาที่ใช้ ..... แสดง "อคติ" ชัดเจน)
https://ppantip.com/topic/42130014


เรื่องการค้นพบแกแลคซี่ที่ไกลมาก ๆ
และมีค่า Red-shift สูง ๆ  และเป็นแกแลคซี่
ที่มีมวลมหาศาลอย่างผิดปกติแบบไม่น่าเป็นไปได้
มีข่าวมาตั้งแต่ต้นปีนี้ (2023) แล้ว

ข้อสรุป ณ วันนี้ คือ .....
ข้อมูลใหม่นี้ทำให้บรรดานักวิทยาศาสตร์แปลกใจ
แต่  จะต้องศึกษากันต่อไป


ผมขออธิบายยาว ๆ ให้ท่านผู้อ่านกระทู้ที่ไม่ได้ติดตามเรื่องนี้นะครับ
ก่อนอื่น  ขออธิบายเรื่อง Λ-CDM ก่อน (Lambda-CDM model)

Lambda-Cold Dark Matter  เป็นแบบจำลองมาตรฐาน
ของการศึกษาจักรวาลวิทยาตามทฤษฎี Big bang
เป็นความพยายามอธิบายถึงการมีอยู่และโครงสร้างของ
- รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล
  (Microwave background Radiation : CMBR)
- โครงสร้างขนาดใหญ่ของเอกภพ
- การขยายตัวของเอกภพออกด้วยอัตราเร่ง

นี่คือแบบจำลองที่เรียบง่ายที่สุดที่เห็นพ้องกันว่า
สอดคล้องกับปรากฏการณ์ที่สังเกตได้มานาน
จากการเฝ้าติดตามมาหลายสิบปี
และที่ผ่านมาก็ไม่มีฝ่ายใดเห็นแย้ง model นี้

แบบจำลอง Lambda-CDM  อ้างอิงจากพารามิเตอร์ 6 ตัว ได้แก่
- ความหนาแน่นทางกายภาพของ Dark matter
- ความหนาแน่นของ Dark energy
- Scalar spectral index
- Curvature fluctuation amplitude
- Reionization optical depth
.... จากข้อมูลเหล่านี้ จะสามารถคำนวณหาค่าอื่น ๆ ในแบบจำลอง
(รวมถึงค่าคงที่ Hubble และอายุของเอกภพ) ได้

ทีนี้ ..... เมื่อกลางปี 2022  
JWST ได้ค้นพบแกแลคซี่ที่ไกลมาก
จากข้อมูลบางอย่างของแกแลคซี่ไกล ๆ เหล่านั้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสำรวจ 2 รายการ  คือ
- JWST Advanced Deep Extragalactic Survey (JADES)
- Cosmic Evolution Early Release Science Survey (SEERS)
ได้พบกาแลคซีจำนวนหนึ่งที่มี redshifts z มากกว่า 10
กาแลคซีเหล่านี้เป็นหนึ่งในกาแลคซีที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยสังเกตมา
พวกมันอยู่ไกลมากจนเทียบย้อนเวลาไปได้
จนถึงช่วงเวลาที่เอกภพมีอายุน้อยกว่า 500 ล้านปี
กาแล็กซีเหล่านี้ไม่เพียงแต่มีขนาดใหญ่
และมีการพัฒนามากกว่าที่คาดไว้เท่านั้น
แต่ยังมีอัตราการผลิตดาวฤกษ์ที่สูงอีกด้วย

มวลโดยประมาณของกาแลคซีเหล่านั้น
หลายแห่งมีขนาดค่อนข้างใหญ่ประมาณ 1010 เท่าของดวงอาทิตย์
นั่นยังเล็กกว่าทางช้างเผือกมาก ๆๆๆ
.... แต่สำหรับเอกภพยุคแรก
พวกมันมีขนาดมหึมาจนแทบเป็นไปไม่ได้ทีเดียว


.... นี่คือจุดที่กลุ่มคน และ นักวิทยาศาสตร์/ดาราศาสตร์
ที่คัดค้าน/ไม่เห็นด้วยกับทฤษฏี Big bang ตั้งแต่แรก  
ได้ออกมาโต้แย้งว่า  กาแลคซีนั้นพัฒนาไปไกลเกินไป
และเร็วเกินไปที่จะก่อตัวขึ้นในเวลาน้อยกว่า 500 ล้านปี
.... ดังนั้น  ทฤษฏี Big bang จึงผิด
แถมยังลามไปบอกว่า Dark matter / Dark energy ไม่มีจริง
หลังจากนั้นก็ช่วงปลายปี 2022 ก็เริ่มมีคลิป Youtube
และ บทความต่าง ๆ ออกมาประปราย
ที่ท่าน จขกท.นำเสนอมานี้  ก็เป็นคลิปพวกนี้นี่เอง

แต่ .... นักดาราศาสตร์อีกฝ่าย (เสียงข้างมาก 😂🤣)
กลับเห็นว่าการค้นพบนี้แสดงให้เห็นถึงความท้าทาย
ในการจำลองเอกภพในยุคแรกเริ่ม  โดยพวกเขาอธิบาย
ไปในแนวทางเดียวกันว่ากุญแจสำคัญในการจำลองจักรวาล
คือ  การสร้างแบบจำลองอย่างละเอียด  มีเงื่อนไขหลากหลาย
และ  ใส่ตัวแปรที่ updated ลงไปด้วย

การศึกษาเมื่อปี 2018 - 2020  มีการใช้แบบจำลองความละเอียดสูง
เรียกกันว่า "Renaissance" ทำงานบน Super-Computer
Blue Waters Sustained Petascale Computing ที่มหาวิทยาลัย Illinois
การจำลองนี้สามารถจำลองกาแลคซีในเอกภพในยุคแรกเริ่ม
ซึ่งมีตั้งแต่ขนาดเล็กแค่ 10,000 เท่าของมวลดวงอาทิตย์
เป็นหนึ่งในการจำลองที่มีรายละเอียดมากที่สุดในปัจจุบัน

ทีมงานของ JWST  ได้สอบกาแลคซี 6 แห่งจากการสำรวจของ
JADES และ SEERS   ซึ่งมี red-shift z มากกว่า 10
เมื่อทีมงานเปรียบเทียบแกแลคซี่เหล่านั้น
กับค่าเฉลี่ยของแกแลคซี่จากแบบจำลอง Renaissance
พวกเขาพบว่ามีความสอดคล้องกันอย่างชัดเจน
นั่น .... สรุปได้ว่าสิ่งที่ JWST ยังคงสนับสนุนทฤษฏี Big bang ครับ

   การจำลองด้วย SuperComputer ที่นำเอา
สภาพดั้งเดิมของเอกภพเมื่อหลายพันล้านปีก่อน
มาจำลองตามกฎของฟิสิกส์เพื่อสร้างกาแลคซีสมัยแรกเริ่ม
โดยจำลองกับพารามิเตอร์พื้นฐานของแบบจำลอง ΛCDM
(ตามที่ผมกล่าวไว้ข้างบน)
การจำลองแบบครบถ้วนอย่างนี้
ทำให้นักวิจัยสามารถเล่นกับแบบจำลองได้หลายประเภท
หากไม่มีแบบจำลองใดเลยที่สามารถสร้างกาแลคซี
ที่มีมวลมากขนาดนั้นได้ในยุคแรกเริ่มนั้น ....
ΛCDM ก็อาจมีปัญหาว่าไม่ถูกต้อง

โชคดีที่ไม่มีปัญหาดังกล่าวเลย
ผลการจำลองปรากฏว่ามีกาแลคซีที่มีมวล 108 เท่า
ของดวงอาทิตย์ในเอกภพในยุคแรก .... ผลลัพท์นี้
ได้ส่งไปยัง The Astrophysical Journal Letters  และเผยแพร่ทาง arXiv

จากที่ผมอธิบายไป
คุณผีเสื้อพเนจร เคยแย้งกลับผมแล้ว
https://ppantip.com/topic/42130014/comment5-1

ผมก็ขอเรียนว่า
การค้นพบจากกล้องโทรทรรศน์ JWST ครั้งนี้
จะต้องได้รับการตรวจสอบ / ศึกษาต่อไปก่อน
ก่อนที่จะ "สรุป" หรือ "ล้มล้าง" ทฤษฏี Big bang เดิมได้
ดังนั้น  เราในฐานะคนธรรมดาที่สนใจในวิทยาศาสตร์
ก็ต้องติดตามการศึกษาทางดาราศาสตร์เรื่องนี้ต่อไปเรื่อย ๆ

ขอเรียนคุณผีเสื้อพเนจร  ว่า
ไม่มี "สาวก" Big bang
ไม่มีใครจะต้องหาสนามบินลง
ไม่มีใครต้องเสียหน้า
มีแต่คนที่สนใจเรื่องดาราศาสตร์
และพร้อมยอมรับทฤษฏใหม่ ๆ
และมีสาวกพระพุทธเจ้าที่หมกมุ่นเกินไป
แค่นั้นแหละ ท่าน
ความคิดเห็นที่ 10
....ขอถามว่า แบบจำลอง Lambda-CDM
(๑) มีเอกภพเดียว แค่นั้น หรือ ? ไม่มีเอกภพอื่นๆอีก ใช่ไหม ?
แบบจำลอง Lambda-CDM นี้
ศึกษาเอกภพเดียวที่วิทยาศาสตร์รับรู้ขณะนี้เท่านั้น
ไม่มีประเด็นเอกภพที่สอง  หรือ เอกภพอื่น ๆ เลยครับ

ดังนั้น  แบบจำลอง Lambda-CDM
ไม่สามารถตอบได้ว่ามีเอกภพอื่น ๆ หรือไม่

(๒) อธิบายได้ไหมว่า นอกขอบเขตของเอกภพคืออะไร ?  เอกภพขยายตัวออกไปในพื้นที่ว่างอะไร ? กาแล๊กซี่ที่อยู่นอกสุด ที่กำลังวิ่งห่างออกไปเรื่อยๆ วิ่งไปในอะไร ?
-  นอกขอบเขตของเอกภพคืออะไร ?
- เอกภพขยายตัวออกไปในพื้นที่ว่างอะไร ?
2 ข้อนี้อธิบายไม่ได้เลยครับ

ส่วนกาแล๊กซี่ที่อยู่นอกสุด ที่กำลังวิ่งห่างออกไปเรื่อย ๆ  นั้น
ก็วิ่งไปใน Spacetime  ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่า Spacetime สิ้นสุดที่ใด
มีขอบเขตหรือไม่ ?

(๓) กาแล๊กซี่ที่กล้องเจมส์เว็บบ์ค้นเจอหลายกาแล๊กซี่  ซึ่งมีอายุไม่กี่ร้อยล้านปีหลังบิ๊กแบงนั้น ขนาดใหญ่โต ใหญ่กว่ากาแล๊กซี่ทางช้างเผือกซะอีก ใหญ่กว่า 10 เท่า ก็มี  ...อธิบายว่าไง ในประเด็นนี้
นี่แหละที่แบบจำลอง Lambda-CDM ยังอธิบายไม่ได้
และทฤษฏี / การศึกษาอื่น ๆ ก็ยังอธิบายไม่ได้เช่นกัน
แต่ .... อย่างที่ผมบอกไปแหละนะ
การค้นพบใหม่ ๆ ที่แปลกประหลาด  
อธิบายไม่ได้  ก็ต้องหาความรู้กันต่อไป
มันมิได้เป็น "ข้อสรุป" ว่าทฤษฏีจักรวาลวิทยาใด ๆ จะผิด

...อย่าลืมว่า แบบจำลอง Lambda-CDM ก็คือ แบบจำลองที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมาแล้วให้คอมพิวเตอร์ช่วยจำลองให้ ตามที่มนุษย์วางแผนให้มันทำ..แต่ ข้อมูลที่กล้องเจมส์เว็บ คือ ข้อมูลจริงๆ ไม่ใช่แบบจำลอง ไม่ใช่การวางแผนกำหนดให้คอมพิวเตอร์ช่วยทำให้ ...ใครจะเลือกเชื่อถือแบบจำลอง หรือ เลือกเชื่อถือข้อมูลจริงๆ ..พิจารณาเลือกเอาเอง
จากที่ท่านกล่าวมา .....
มันก็กลับไปสู่ประโยคเดิม ๆ แหละครับ
คือ  หากมีข้อมูลใหม่ทางวิทยาศาสตร์
ที่ตรวจสอบ/ศึกษา  จนสามารถอธิบายได้แล้ว
ทฤษฏีเดิมก็จะถูกล้มล้างไป

แต่ .... ณ วันนี้ข้อมูลจากกล้อง James Webb นั้น
เป็นเพียงการตีความ Red-shift data  และ Light spectrum
ที่ James Webb ให้ data ออกมา
ไปเป็นระยะทาง และ มวลแกแลคซี่นั้น ๆ
ซึ่ง  มันมิใช่สิ่งยืนยันว่าแกแลคซี่เหล่านั้นมีอายุจริง ๆ เท่าใด

อีก 1 ประเด็นสำคัญก็คือ ....
แกแลคซี่ F200DB-045 นี้
เป็นแค่ Photometric redshift data จาก James Webb
ยังไม่ได้ confirm ซ้ำด้วยกรรมวิธี Spectroscopic
ดังนั้น  ค่า Redshift = 20.4 นี้
ยังจะต้องรอการ confirm ด้วย spectroscopic อีกที
กรณีนี้เหมือนกับแกแลคซี่ CEERS-93316
ที่ตอนแรกค้นพบว่ามี Redshift = 16.1 (Photometric redshift)
แต่ .... เมื่อวิเคราะห์ซ้ำด้วย Spectroscopic
ค่า Redshift ของแกแลคซี่ CEERS-93316
จริง ๆ แล้วคือ 4.9 เท่านั้น

ท่านลองไปหาในคลิปต่าง ๆ  หรือในเวบใด ๆ ใน Google ดูก็ได้
ไม่มีแหล่งใดยืนยันว่าการค้นพบของ James Webb นี้
เป็นการพิสูจน์ว่าแกแลคซี่เหล่านั้นมีอายุมากกว่า Big bang
หรือ  ทฤษฏี Big bang ถูกล้มล้าง
มีแต่กล่าวรวม ๆ ว่า  การค้นพบนี้น่าแปลกใจมาก
และจะต้องศึกษากันต่อไป

ประเด็นของกระทู้นี้  คือ .....
คุณผีเสื้อพเนจรมีความเชื่อหัวปักหัวปำ
ว่าไม่มีการเกิด Big bang  
แต่เอกภพมีมาตลอด  คือมีมาตลอดกาล
จนไม่สามารถหาจุดเริ่มต้นได้
เพราะมันเป็นไปตามที่พระพุทธเจ้า "หยั่งรู้"
ดังนั้น  เมื่อมีการค้นพบใหม่ ๆ อย่างกรณี James Webb นี้
คุณผีเสื้อพเนจรจึงดีใจหูตาแหกมาตั้งกระทู้
เพื่อ confirm ว่าพระพุทธเจ้าหยั่งรู้ถูกต้อง
และก็แถมด้วยการ "ด้อยค่า" วิทยาศาสตร์
ในฝ่ายที่ขัดแย้งกับญาณหยั่งรู้
ว่า  มโน  จินตนาการไปเอง
ความคิดเห็นที่ 12
ผมเชื่อในแบบจำลองด้วยเหตุผลว่า ....

1. แบบจำลองนี้เป็นการตกผลึกจากองค์ความรู้
ตั้งแต่ยุค 60 ที่เริ่มศึกษาเรื่อง CMB - Big bang

2. แบบจำลองนี้ถูกทดสอบมานับสิบ ๆ ครั้ง
จากสถาบันการศึกษาทั่วโลก  

ส่วนข้อมูลจาก James Webb นั้น
แน่นอนว่าผมโคตเชื่อเลยแหละ
เพราะ James Webb คือเทคโนโลยีล่าสุด
แต่ ..... data จาก James Webb ที่ถูกนำเสนอออกมา
มันยังไม่ตกผลึก หรือ ได้รับการวิเคราะห์ซ้ำไงครับ
( จากที่ผมยกตัวอย่างเรื่อง Spectroscopic redshift
  กับ  Photometry redshift ไง  ว่ามันจะต้อง confirm กันก่อน
  ว่าแกแลคซี่ที่มี Redshift สูง ๆ ระดับ 20 +  เนี่ย
  มันใช่ค่านั้นจริงไหม ? )

หาก (สมมุติ)  กลางปีหน้ามีการออกมาประกาศว่า
จากการ confirm ทุกกรรมวิธีแล้วแกแลคซี่นั้น
มี Redshift 20.6 จริง ๆ  นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก
ก็จะไปศึกษาเรื่องนี้กันใหม่  เพื่อปรับปรุงทฤษฏี Big bang
ให้ถูกต้องมากขึ้น ..... เนี่ยแหละท่าน  มันมีเพียงเท่านี้แหละ
มิใช่ว่าจะ "กระเหี้ยนกระหือรือ" มาตั้งกระทู้
ว่า  ฉันชนะแล้ว  พระพุทธเจ้าถูก  Big bang ผิด
Facepalm
ความคิดเห็นที่ 9
มันจบตั้งแต่นายโยงมาพระพุทธเจ้าแล้ว…..
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่