นักดาราศาสตร์พบหลักฐานที่ชัดเจนมาก ของสิ่งมีชีวิตนอกโลก

Nikku Madhusudhan นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศสหราชอาณาจักร ได้นำข้อมูลการสังเกตการณ์ดาวเคราะห์ K2-18b ของกล้องโทรทัศน์อวกาศ James Webb มาทำการวิจัย

โดยกล้อง James Webb ใช้เทคนิคการสังเกตการณ์โดยวิธี  Transit Photometry ซึ่งเป็นการตรวจจับการลดลงของแสงจากดาวฤกษ์แม่เมื่อดาวเคราะห์เคลื่อนที่มาบัง อุปกรณ์บนกล้อง James Webb นั้นมีความละเอียดมาพอที่จะสามารถตรวจจับแสงจากดาวฤกษ์แม่ที่เคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์แล้วสามารถใช้ Spectrometer ตรวจจับองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นั้นๆได้


เดือนกันยายน ปี 2023 กล้อง James Webb ได้ทำการสังเกตดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะชื่อ K2-18b และ คุณ Nikku Madhusudhan นักดาราศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้นำข้อมูลนี้ไปทำการศึกษาวิจัยต่อ

ผลการวิจัยพบว่าชั้นบรรยากาศของ K2-18b เต็มไปด้วย สารประกอบเคมีที่มีชื่อว่า dimethyl sulfide และ dimethyl disulfide ซึ่งบนโลกนั้นทั้ง dimethyl sulfide และ dimethyl disulfide ต่างเกิดจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น คือ เกิดจากแพลงตอน นั่นเอง นี่จึงเป็นหลักฐานที่ชัดเจนมากที่สุดเท่าที่เรามีถึงการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตนอกโลก



ภาพแสดงข้อมูล Spectrum ที่ตรวจจับได้โดยอุปกรณ์ Spectrometer ของกล้อง James Webb

ข้อมูลจาก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ : https://www.cam.ac.uk/stories/strongest-hints-of-biological-activity
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่