วันที่ 18 มีนาคม ที่ผ่านมา NASA ได้เผยแพร่ภาพถ่ายของระบบดาว HR8799 ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 130 ปีแสง
ในการการถ่ายภาพนี้ กล้อง James Webb ได้ใช้กล้องถ่ายภาพอินฟาเรดช่วงใกล้(NIRCam) ซึ่งภายในติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพแบบ Coronagraph (อุปกรณ์บังแสงจากดาวฤกษ์แม่) เผยให้เห็นภาพดาวเคราะห์ 4 ดวง ที่กำลังโคจรรอบดาวฤกษ์แม่ HR8799 โดยดาวเคราะห์ 4 ดวงดังกล่าวประกอบด้วยดาวเคราะห์ดังต่อไปนี้ เรียงลำดับจากวงโคจรในสุดถึงนอกสุด
1. HR8799 e
2. HR8799 d
3. HR8799 c
4. HR8799 b
ภาพถ่ายจากกล้อง James Webb โดยการใช้เทคนิคการถ่ายภาพแบบ Coronagraph (ตรงกลางที่เป็นรูปดาว คืออุปกรณ์ Coronagraph ที่กำลังบังแสงดาวฤกษ์ HR8799 อยู่)
โดยระบบดาวนี้เป็นระบบดาวที่อายุน้อยที่สุด คือมีอายุเพียง 30 ล้านปีเท่านั้น (ระบบสุริยะของเรา มีอายุ 4600 ล้านปี นับตั้งแต่ดวงอาทิตย์เริ่มก่อกำเนิด)
ข้อมูลนี้จากกล้องง James Webb บ่งชี้ว่า ชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ยักษ์ทั้ง 4 ดวงนี้ ประกอบไปด้วย คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นหลักฐานชัดเจนมาก ที่ยืนยันว่า ดาวเคราะห์ทั้งยักษ์ทั้ง 4 ดวงนี้ มีจุดกำเนิดที่คล้ายดาวพฤหัส และดาวเสาร์ ในระบบสุริยะของเรา โดยสร้างแกนแข็งขึ้นอย่างช้าๆ ซึ่งดึงดูดก๊าซจากภายในจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด (จานพอกพูนมวล)
นอกจากนี้ยังพบ ก๊าซออกซิเจน และเหล็กอยู่เป็นจำนวนมากในชั้นบรรยากาศของดาว
ข้อมูลจาก NASA :
https://science.nasa.gov/missions/webb/nasas-webb-images-young-giant-exoplanets-detects-carbon-dioxide/
กล้อง James Webb ถ่ายภาพ ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะแบบโดยตรง
ในการการถ่ายภาพนี้ กล้อง James Webb ได้ใช้กล้องถ่ายภาพอินฟาเรดช่วงใกล้(NIRCam) ซึ่งภายในติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพแบบ Coronagraph (อุปกรณ์บังแสงจากดาวฤกษ์แม่) เผยให้เห็นภาพดาวเคราะห์ 4 ดวง ที่กำลังโคจรรอบดาวฤกษ์แม่ HR8799 โดยดาวเคราะห์ 4 ดวงดังกล่าวประกอบด้วยดาวเคราะห์ดังต่อไปนี้ เรียงลำดับจากวงโคจรในสุดถึงนอกสุด
1. HR8799 e
2. HR8799 d
3. HR8799 c
4. HR8799 b
ภาพถ่ายจากกล้อง James Webb โดยการใช้เทคนิคการถ่ายภาพแบบ Coronagraph (ตรงกลางที่เป็นรูปดาว คืออุปกรณ์ Coronagraph ที่กำลังบังแสงดาวฤกษ์ HR8799 อยู่)
โดยระบบดาวนี้เป็นระบบดาวที่อายุน้อยที่สุด คือมีอายุเพียง 30 ล้านปีเท่านั้น (ระบบสุริยะของเรา มีอายุ 4600 ล้านปี นับตั้งแต่ดวงอาทิตย์เริ่มก่อกำเนิด)
ข้อมูลนี้จากกล้องง James Webb บ่งชี้ว่า ชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ยักษ์ทั้ง 4 ดวงนี้ ประกอบไปด้วย คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นหลักฐานชัดเจนมาก ที่ยืนยันว่า ดาวเคราะห์ทั้งยักษ์ทั้ง 4 ดวงนี้ มีจุดกำเนิดที่คล้ายดาวพฤหัส และดาวเสาร์ ในระบบสุริยะของเรา โดยสร้างแกนแข็งขึ้นอย่างช้าๆ ซึ่งดึงดูดก๊าซจากภายในจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด (จานพอกพูนมวล)
นอกจากนี้ยังพบ ก๊าซออกซิเจน และเหล็กอยู่เป็นจำนวนมากในชั้นบรรยากาศของดาว
ข้อมูลจาก NASA : https://science.nasa.gov/missions/webb/nasas-webb-images-young-giant-exoplanets-detects-carbon-dioxide/