อิสราเอลเดินหน้าถล่มกาซาหลังญัตติหยุดยิงยูเอ็นล่ม
https://tna.mcot.net/world-1285655
อิสราเอลถล่มทางเหนือของกาซา 8 ธ.ค.66
เยรูซาเล็ม 9 ธ.ค.- อิสราเอลเดินหน้าโจมตีกองกำลังฮามาสในกาซาในวันนี้ หลังจากสหรัฐใช้สิทธิยับยั้งการลงญัตติของสหประชาชาติที่เรียกร้องให้หยุดยิงในสงครามอิสราเอล-ฮามาสที่ดำเนินมานานกว่า 2 เดือนแล้ว
กระทรวงสาธารณสุขของฮามาสแถลงวันนี้ว่า อิสราเอลได้โจมตีเมืองข่าน ยูนิส ทางตอนใต้ของกาซา สังหารคน 6 คน และโจมตีเมืองราฟาห์ ที่อยู่ทางใต้ของกาซาเช่นกัน สังหารคน 5 คน ขณะที่กองทัพอิสราเอลแถลงเมื่อวานนี้ว่า ได้โจมตีเป้าหมายในกาซา 450 จุดในช่วง 24 ชั่วโมง พร้อมกับเผยแพร่คลิปการโจมตีจากกองเรือรบที่ลอยลำอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน กระทรวงสาธารณสุขของฮามาสระบุว่า การโจมตีดังกล่าวสังหารคน 40 คน ใกล้เมืองกาซาซิตีที่อยู่ทางเหนือ และอีกสิบกว่าคนในเมืองจาบาเลียและเมืองข่าน ยูนิส
การโจมตีมีขึ้นหลังจากสหรัฐใช้สิทธิยับยั้งหรือวีโต้การลงมติญัตติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอสซี (UNSC) เมื่อวันศุกร์ที่เรียกร้องให้หยุดยิงในกาซาทันที นาย
โรเบิร์ต วูด ผู้แทนสหรัฐกล่าวว่า ญัตตินี้ไม่สนใจความเป็นจริง และจะไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น ขณะที่นาย
เอไล โคเฮน รัฐมนตรีต่างประเทศอิสราเอลกล่าวว่า การหยุดยิงจะช่วยยับยั้งการล่มสลายขององค์กรก่อการร้ายฮามาสที่กำลังก่ออาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และจะช่วยให้ฮามาสปกครองกาซาได้ต่อไป
ฮามาสแถลงวันนี้ประณามการวีโต้ของสหรัฐว่า เป็นการมีส่วนร่วมโดยตรงกับฝ่ายยึดครอง (หมายถึงอิสราเอล) ในการสังหารประชาชนและในการเดินหน้าสังหารหมู่และฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ นายกรัฐมนตรี
โมฮัมเหม็ด ชเตเยห์ของปาเลสไตน์กล่าวว่า เป็นเรื่องน่าอดสูและเป็นการปล่อยให้ฝ่ายยึดครองสังหารหมู่ ทำลาย และกำจัดผู้คนต่อไป ขณะที่องค์กรแพทย์ไร้พรมแดนตำหนิยูเอ็นเอสซีว่า สมรู้ร่วมคิดกับการเข่นฆ่าผู้คน.-814.-สำนักข่าวไทย
ผู้ใช้แรงงานพอใจ! ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แนะรัฐช่วยลดค่าครองชีพ
https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/212156
พอใจ! ผู้ใช้แรงงานโคราช รู้สึกพอใจในระดับหนึ่งหลังจากมีการประกาศเตรียมปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แต่อยากให้รัฐช่วยแก้ปัญหาในการลดค่าครองชีพ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) กระทรวงแรงงาน ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปี 2566 โดยเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำทั้ง 77 จังหวัด ในอัตราเพิ่มขึ้น 2-16 บาท ซึ่งจังหวัดนครราชสีมา มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจาก 340 บาท เป็น 352 บาท โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับผู้ใช้แรงงานนั้น
ล่าสุด ผู้สื่อข่าวได้สอบถามกลุ่มผู้ใช้แรงงานก่อสร้าง ในพื้นที่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา ต่างก็รู้สึกดีใจที่รัฐบาลได้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้เป็นของขวัญปีใหม่ในครั้งนี้ โดยนายธีรพงศ์ ชูมี อายุ 35 ปี ช่างทาสี กล่าวว่า ตนเองนั้นรู้สึกดีใจมากที่รัฐบาลจะให้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้กับผู้ใช้แรงงานในพื้นที่ จ.นครราชสีมา เพราะทุกวันนี้ค่าครองชีพทุกอย่างก็ปรับขึ้นสูงต่อเนื่อง เช่นค่าอาหารในแต่ละวันก็ต้องใช้ไม่ต่ำกว่า 200-300 บาท ค่าแรงแต่ละวันแทบจะไม่มีเงินเก็บเลย ถ้าได้ค่าแรงเพิ่มขึ้นก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี
ซึ่งตนเองนั้นก็อยากให้ปรับขึ้นค่าแรงถึงวันละ 400-500 บาทไปเลย แต่ก็รู้สึกเป็นห่วงนายจ้าง กลัวว่าถ้าปรับขึ้นค่าแรงสูงไปแล้ว จะสู้ค่าแรงไม่ไหว เพราะทุกวันนี้ค่าวัสดุก่อสร้างต่างๆ ก็ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน และอีกอย่างถ้าปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแล้ว ตนก็เชื่อว่าสินค้าอื่นๆ ก็คงจะพากันปรับขึ้นตามมาอีกแน่ๆ เพราะเขามีต้นทุนที่สูงขึ้นจากค่าแรงนี้ด้วย
เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง ชุดที่ 22 (กรรมการไตรภาคี) ได้มีมติให้ปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำทั้ง 77 จังหวัด ในอัตราเพิ่มขึ้น 2-16 บาท โดยค่าจ้างขั้นต่ำที่เพิ่มมากที่สุด คือ จ.ภูเก็ต คือ 370 เพิ่มขึ้นจาก 354 บาท และต่ำที่สุดคือ 330 บาท ใน 3 จังหวัด คือ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 328 บาท ขณะที่กรุงเทพ ปรับเพิ่มเป็น 363 บาท ซึ่งผลการประชุมดังกล่าว จะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 12 ธันวาคมนี้ เพื่อรับรองและให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
ฟังมุมนายจ้าง "ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ" บนเศรษฐกิจปี 2567 ที่ยังเปราะบาง
https://www.thansettakij.com/business/economy/582898
ฟังเสียงเอกชนฝั่งนายจ้าง หลัง ค่าจ้างขั้นต่ำ หรือ ค่าแรงขั้นต่ำ อัตราใหม่ 77 จังหวัด ได้ข้อสรุปแล้ว เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.37% ขณะที่เศรษฐกิจไทยปี 2567 ยังมีความเปราะบาง
ดร.
ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย เปิดเผยรายงานพิเศษ "
ค่าจ้างขั้นต่ำ" อัตราใหม่ ภายใต้ความเปราะบางของเศรษฐกิจปี 2567 ว่า ค่าจ้างขั้นต่ำถูกใช้เป็นจุดขายการตลาดช่วงการเลือกตั้งที่ผ่านมาหลังจัดตั้งรัฐบาล นอกจากนโยบายผลักดันเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่มาพร้อมกับค่าจ้าง 400 บาท
ในช่วงแรกมีความคึกคักที่จะผลักดัน แต่ช่วงหลังเงินดิจิทัลถูกยืดไปอย่างน้อยเดือนพฤษภาคมปีหน้า ด้านการปรับอัตราค้าจ้างซึ่งช่วงหลังผู้นำรัฐบาลกล่าว ว่าเป็นเพียงเป้าหมายให้ไปถึง 400 บาท แต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการค่าจ้าง หลังจากกรรมการค่าจ้าง หรือไตรภาคี มีการคุยกันอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนตุลาคม ที่ผ่านมา และวันที่ 8 ธันวาคม 2566 เป็นการประชุมครั้งสุดท้ายเพื่อหาข้อสรุป
หลังจากมีการเจรจา 3 ฝ่าย ที่สุดสามารถปรับค่าจ้างเป็น 17 อัตรา ครอบคลุม 77 จังหวัด โดยอัตราการปรับค่าจ้างทั่วประเทศเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.37% จังหวัดที่ได้ค่าจ้างสูงสุด คือ "ภูเก็ต" อัตราค่าจ้าง 370 บาทต่อวัน เพิ่มขึ้นวันละ 16 บาท คิดเป็น 4.52% สำหรับจังหวัดที่ได้ค่าจ้างต่ำสุดของประเทศ คือ "นราธิวาส ปัตตานีและยะลา" เพิ่มขึ้นวันละ 2 บาทคิดเป็น 0.61%
ขณะที่ กทม. และปริมณฑลอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 363 บาท เพิ่มขึ้นวันละ 10 บาท คิดเป็น 2.832% หลังจากนำเสนอ ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นวันที่ 12 ธันวาคม 2566 แรงงานทั่วประเทศ จะได้รับค่าจ้างใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567
บอร์ดค่าจ้าง เคาะ “ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ” ปี 2567 ทั่วประเทศ สูงสุด 370 บาท
เบื้องหลังการต่อรองไตรภาคี
เบื้องหลังการต่อรองของคณะกรรมการไตรภาคี ทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างต่างทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์เต็มที่ แต่ด้วยสภาวะเศรษฐกิจปีนี้ ซึ่งยังอยู่ในอาการซึมต่อเนื่องมาจากปี 2565 เป็นผลจากเศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงขาลงทำให้ GDP ปี 2566 อาจขยายตัวได้ไม่เกิน 2.5%
เป็นผลจากการส่งออก ถึงแม้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายจะเริ่มเป็นบวก แต่โดยภาพรวมการส่งออกปีนี้อาจหดตัว 1.62% ด้านการลงทุนขยายตัวได้เล็กน้อย สำหรับภาคท่องเที่ยวซึ่งมีการฟื้นตัวอย่างเป็นนัย มีนักท่องเที่ยวเข้ามาประมาณ 28 ล้านคนแต่ยังต่ำกว่าเป้าหมาย สำหรับปีหน้าคาดว่าอาจจะถึง 35-36 ล้านคน
การที่ท่องเที่ยวฟื้นตัว ส่งผลต่อการบริโภคประชาชนที่ขยายตัวได้ 7.8% ด้านอุตสาหกรรมการผลิตยังทรงตัว กำลังการผลิตหดตัว 4% สำหรับปี 2567 ยังมีความไม่แน่นอนและเปราะบาง มีการประเมินว่าเศรษฐกิจไทยอาจขยายตัว ได้ประมาณ 3.2% เป็นผลจากเศรษฐกิจโลกปีหน้ายังอยู่ในช่วงชะลอตัวหรือฟื้นตัวแบบช้าๆ
ประเทศคู่ค้า หลัก เช่น สหรัฐอเมริกา, อียู, ญี่ปุ่น, จีน เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราต่ำ ซึ่งจะเป็นความเสียงการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทย ขณะนี้เริ่มเห็นสถานประกอบการบางแห่งเริ่มปลดแรงงาน หรือปิดกิจการ ซึ่งแนวโน้มในปีหน้าอาจมากขึ้น ปัจจัยที่กล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่นำมาพิจารณาในการปรับค่าจ้างครั้งนี้
นิยาม "อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ"
การปรับค่าจ้างขั้นต่ำปี 2567 กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานคณะกรรมการค่าจ้าง ได้จัดทำกรอบแนวทางและหลักเกณฑ์ ความเหมาะสม เริ่มจากนิยามกำหนดว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับแรงงานแรกเข้า 1 คนให้สามารถดำรงชีพได้ตามความเหมาะสมตามสภาพเศรษฐกิจ สังคมและความสามารถของธุรกิจ ในท้องถิ่นนั้น
โดยอธิบายเพิ่มเติมว่า แรงงานทั่วไปแรกเข้าทำงาน หมายถึง ผู้ที่เพิ่งจบการศึกษาหรือจบมาหลายปี แต่ไม่เคยทำงานหรือเคยทำงานมาแล้ว แต่ระยะเวลาการทำงานเก่ากับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบันไม่เกิน 1 ปี
ด้านหลักเกณฑ์การพิจารณามีการกำหนดเป็นกรอบอยู่ในมาตรา 87 แห่งพรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2560) ประกอบด้วย 6 หลักเกณฑ์ ซึ่งมีการจัดทำเป็นสูตรในการคำนวณทางเศรษฐศาสตร์และคณิตศาสตร์อย่างเป็น ระบบเป็นที่ยอมรับจากทั้งนายจ้าง ลูกจ้างและกรรมการภาครัฐ หลักเกณฑ์การพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำ เช่น
1. อัตราค่าจ้างที่แรงงานได้รับอยู่ โดยใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละจังหวัดเป็นฐานคำนวณ
2. "Labor's Contribution” อัตราการสมทบของแรงงานต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) เฉลี่ย 5 ย้อนหลัง
3. อัตราการเปลี่ยนแปลงของผลิตภาพแรงงานเฉลี่ยปี 2560-2564
4. อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยปี 2562-2566 ซึ่งค่าเฉลี่ยประมาณ 1.70%
5. มาตรฐานการครองชีพใช้ข้อมูลรายได้ต่อหัวประชากรแต่ละจังหวัดใช้ข้อมูลของ “สศช.”
6. ตัวแปรเชิงคุณภาพ เช่น ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) อัตราการเปลี่ยนแปลงของ GPP จังหวัด ดัชนีเชื่อมั่นทางธุรกิจของประเทศ (BSI) ใช้ข้อมูลของ ธปท. ฯลฯ
แนะ กกต. คุมการเมืองอย่าใช้เป็นเครื่องมือหาเสียง
จากที่กล่าวจะเห็นได้ว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ มีเกณฑ์และรูปแบบที่ชัดเจน อ้างอิงหลักเศรษฐศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่สำคัญมีข้อกำหนดเป็นกฎหมายที่ชัดเจน กำหนดเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้างและอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด หรือที่เรียกว่า ไตรภาคี
แม้แต่การเสนอเข้าไปในครม.เป็นเพียงวาระเพื่อทราบ ข้อมูลเหล่านี้จะต้องเผยแพร่ให้ประชาชนรับทราบ จะได้ไม่ไปเชื่อนักการเมืองที่จะนำค่าจ้างขั้นต่ำมาเป็นนโยบายหาเสียง
ประการสำคัญองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น “กกต.” หรือคณะกรรมการเลือกตั้ง จะต้องกำหนดไว้ชัดเจนว่า หากมีการละเมิดต้องมีบทลงโทษ ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในการหาเสียงเลือกตั้ง
แม้แต่ทางวิชาการอาจารย์บางท่านยังไปชูประเด็นว่า ค่าจ้างขั้นต่ำ ต้องเลี้ยงครอบครัวได้ 2-3 คน ให้สามารถผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ทั้งที่ปรากฏในนิยามชัดเจนว่า ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นค่าจ้างแรกเข้าทำงานของคนหนึ่งคน ที่จะดำรงชีพได้ตามความเหมาะสมตามสภาพเศรษฐกิจ-สังคม และความสามารถของธุรกิจในท้องถิ่นนั้น
ค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นอัตราอ้างอิงคุ้มครองแรงงาน โดยไม่จำกัดว่าเป็นแรงงานต่างด้าว-การศึกษา เพศ-ศาสนา ความเชื่อรวมไปถึงแรงงานสูงอายุหรือผู้พิการ เป็นการคุ้มครองแรงงานกลุ่มเปราะบางให้ได้รับค่าจ้างอย่างน้อยขั้นต่ำเท่ากฎหมายกำหนด
ประเทศไทยถึงแม้เปลือกนอกดูเหมือนจะเข้าสู่เศรษฐกิจ 4.0 แต่แท้จริงเนื้อในติดกับดักเศรษฐกิจที่ใช้แรงงานเข้มข้น ฉากทัศน์เชิงประจักษ์ภาคการผลิต-บริการ เกษตรกรรม-เกษตรแปรรูป-ประมงส่วนใหญ่ ใช้แรงงานเข้มข้น ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ราคาต่ำขาดนวัตกรรมหรือแบรนด์ของตัวเอง
ทำให้ต้องแข่งขันด้านราคากับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศคู่แข่งส่งออก ซึ่งมีต้นทุนค่าจ้างต่ำกว่าไทยค่อนข้างมาก ค่าจ้างจึงต้องเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องกำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือมาตรการให้เศรษฐกิจไทยหลุดพ้นจากค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งจะเป็นข้อถกเถียงกันไปอีกนาน
JJNY : เดินหน้าถล่มกาซา│ผู้ใช้แรงงานพอใจ! แนะรัฐช่วยลดค่าครองชีพ│ฟังมุมนายจ้าง"ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ"│
https://tna.mcot.net/world-1285655
เยรูซาเล็ม 9 ธ.ค.- อิสราเอลเดินหน้าโจมตีกองกำลังฮามาสในกาซาในวันนี้ หลังจากสหรัฐใช้สิทธิยับยั้งการลงญัตติของสหประชาชาติที่เรียกร้องให้หยุดยิงในสงครามอิสราเอล-ฮามาสที่ดำเนินมานานกว่า 2 เดือนแล้ว
กระทรวงสาธารณสุขของฮามาสแถลงวันนี้ว่า อิสราเอลได้โจมตีเมืองข่าน ยูนิส ทางตอนใต้ของกาซา สังหารคน 6 คน และโจมตีเมืองราฟาห์ ที่อยู่ทางใต้ของกาซาเช่นกัน สังหารคน 5 คน ขณะที่กองทัพอิสราเอลแถลงเมื่อวานนี้ว่า ได้โจมตีเป้าหมายในกาซา 450 จุดในช่วง 24 ชั่วโมง พร้อมกับเผยแพร่คลิปการโจมตีจากกองเรือรบที่ลอยลำอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน กระทรวงสาธารณสุขของฮามาสระบุว่า การโจมตีดังกล่าวสังหารคน 40 คน ใกล้เมืองกาซาซิตีที่อยู่ทางเหนือ และอีกสิบกว่าคนในเมืองจาบาเลียและเมืองข่าน ยูนิส
การโจมตีมีขึ้นหลังจากสหรัฐใช้สิทธิยับยั้งหรือวีโต้การลงมติญัตติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอสซี (UNSC) เมื่อวันศุกร์ที่เรียกร้องให้หยุดยิงในกาซาทันที นายโรเบิร์ต วูด ผู้แทนสหรัฐกล่าวว่า ญัตตินี้ไม่สนใจความเป็นจริง และจะไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น ขณะที่นายเอไล โคเฮน รัฐมนตรีต่างประเทศอิสราเอลกล่าวว่า การหยุดยิงจะช่วยยับยั้งการล่มสลายขององค์กรก่อการร้ายฮามาสที่กำลังก่ออาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และจะช่วยให้ฮามาสปกครองกาซาได้ต่อไป
ฮามาสแถลงวันนี้ประณามการวีโต้ของสหรัฐว่า เป็นการมีส่วนร่วมโดยตรงกับฝ่ายยึดครอง (หมายถึงอิสราเอล) ในการสังหารประชาชนและในการเดินหน้าสังหารหมู่และฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ นายกรัฐมนตรีโมฮัมเหม็ด ชเตเยห์ของปาเลสไตน์กล่าวว่า เป็นเรื่องน่าอดสูและเป็นการปล่อยให้ฝ่ายยึดครองสังหารหมู่ ทำลาย และกำจัดผู้คนต่อไป ขณะที่องค์กรแพทย์ไร้พรมแดนตำหนิยูเอ็นเอสซีว่า สมรู้ร่วมคิดกับการเข่นฆ่าผู้คน.-814.-สำนักข่าวไทย
ผู้ใช้แรงงานพอใจ! ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แนะรัฐช่วยลดค่าครองชีพ
https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/212156
พอใจ! ผู้ใช้แรงงานโคราช รู้สึกพอใจในระดับหนึ่งหลังจากมีการประกาศเตรียมปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แต่อยากให้รัฐช่วยแก้ปัญหาในการลดค่าครองชีพ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) กระทรวงแรงงาน ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปี 2566 โดยเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำทั้ง 77 จังหวัด ในอัตราเพิ่มขึ้น 2-16 บาท ซึ่งจังหวัดนครราชสีมา มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจาก 340 บาท เป็น 352 บาท โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับผู้ใช้แรงงานนั้น
ล่าสุด ผู้สื่อข่าวได้สอบถามกลุ่มผู้ใช้แรงงานก่อสร้าง ในพื้นที่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา ต่างก็รู้สึกดีใจที่รัฐบาลได้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้เป็นของขวัญปีใหม่ในครั้งนี้ โดยนายธีรพงศ์ ชูมี อายุ 35 ปี ช่างทาสี กล่าวว่า ตนเองนั้นรู้สึกดีใจมากที่รัฐบาลจะให้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้กับผู้ใช้แรงงานในพื้นที่ จ.นครราชสีมา เพราะทุกวันนี้ค่าครองชีพทุกอย่างก็ปรับขึ้นสูงต่อเนื่อง เช่นค่าอาหารในแต่ละวันก็ต้องใช้ไม่ต่ำกว่า 200-300 บาท ค่าแรงแต่ละวันแทบจะไม่มีเงินเก็บเลย ถ้าได้ค่าแรงเพิ่มขึ้นก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี
เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง ชุดที่ 22 (กรรมการไตรภาคี) ได้มีมติให้ปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำทั้ง 77 จังหวัด ในอัตราเพิ่มขึ้น 2-16 บาท โดยค่าจ้างขั้นต่ำที่เพิ่มมากที่สุด คือ จ.ภูเก็ต คือ 370 เพิ่มขึ้นจาก 354 บาท และต่ำที่สุดคือ 330 บาท ใน 3 จังหวัด คือ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 328 บาท ขณะที่กรุงเทพ ปรับเพิ่มเป็น 363 บาท ซึ่งผลการประชุมดังกล่าว จะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 12 ธันวาคมนี้ เพื่อรับรองและให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
ฟังมุมนายจ้าง "ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ" บนเศรษฐกิจปี 2567 ที่ยังเปราะบาง
https://www.thansettakij.com/business/economy/582898
ฟังเสียงเอกชนฝั่งนายจ้าง หลัง ค่าจ้างขั้นต่ำ หรือ ค่าแรงขั้นต่ำ อัตราใหม่ 77 จังหวัด ได้ข้อสรุปแล้ว เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.37% ขณะที่เศรษฐกิจไทยปี 2567 ยังมีความเปราะบาง
ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย เปิดเผยรายงานพิเศษ "ค่าจ้างขั้นต่ำ" อัตราใหม่ ภายใต้ความเปราะบางของเศรษฐกิจปี 2567 ว่า ค่าจ้างขั้นต่ำถูกใช้เป็นจุดขายการตลาดช่วงการเลือกตั้งที่ผ่านมาหลังจัดตั้งรัฐบาล นอกจากนโยบายผลักดันเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่มาพร้อมกับค่าจ้าง 400 บาท
ในช่วงแรกมีความคึกคักที่จะผลักดัน แต่ช่วงหลังเงินดิจิทัลถูกยืดไปอย่างน้อยเดือนพฤษภาคมปีหน้า ด้านการปรับอัตราค้าจ้างซึ่งช่วงหลังผู้นำรัฐบาลกล่าว ว่าเป็นเพียงเป้าหมายให้ไปถึง 400 บาท แต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการค่าจ้าง หลังจากกรรมการค่าจ้าง หรือไตรภาคี มีการคุยกันอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนตุลาคม ที่ผ่านมา และวันที่ 8 ธันวาคม 2566 เป็นการประชุมครั้งสุดท้ายเพื่อหาข้อสรุป
หลังจากมีการเจรจา 3 ฝ่าย ที่สุดสามารถปรับค่าจ้างเป็น 17 อัตรา ครอบคลุม 77 จังหวัด โดยอัตราการปรับค่าจ้างทั่วประเทศเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.37% จังหวัดที่ได้ค่าจ้างสูงสุด คือ "ภูเก็ต" อัตราค่าจ้าง 370 บาทต่อวัน เพิ่มขึ้นวันละ 16 บาท คิดเป็น 4.52% สำหรับจังหวัดที่ได้ค่าจ้างต่ำสุดของประเทศ คือ "นราธิวาส ปัตตานีและยะลา" เพิ่มขึ้นวันละ 2 บาทคิดเป็น 0.61%
ขณะที่ กทม. และปริมณฑลอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 363 บาท เพิ่มขึ้นวันละ 10 บาท คิดเป็น 2.832% หลังจากนำเสนอ ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นวันที่ 12 ธันวาคม 2566 แรงงานทั่วประเทศ จะได้รับค่าจ้างใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567
บอร์ดค่าจ้าง เคาะ “ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ” ปี 2567 ทั่วประเทศ สูงสุด 370 บาท
เบื้องหลังการต่อรองไตรภาคี
เบื้องหลังการต่อรองของคณะกรรมการไตรภาคี ทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างต่างทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์เต็มที่ แต่ด้วยสภาวะเศรษฐกิจปีนี้ ซึ่งยังอยู่ในอาการซึมต่อเนื่องมาจากปี 2565 เป็นผลจากเศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงขาลงทำให้ GDP ปี 2566 อาจขยายตัวได้ไม่เกิน 2.5%
เป็นผลจากการส่งออก ถึงแม้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายจะเริ่มเป็นบวก แต่โดยภาพรวมการส่งออกปีนี้อาจหดตัว 1.62% ด้านการลงทุนขยายตัวได้เล็กน้อย สำหรับภาคท่องเที่ยวซึ่งมีการฟื้นตัวอย่างเป็นนัย มีนักท่องเที่ยวเข้ามาประมาณ 28 ล้านคนแต่ยังต่ำกว่าเป้าหมาย สำหรับปีหน้าคาดว่าอาจจะถึง 35-36 ล้านคน
การที่ท่องเที่ยวฟื้นตัว ส่งผลต่อการบริโภคประชาชนที่ขยายตัวได้ 7.8% ด้านอุตสาหกรรมการผลิตยังทรงตัว กำลังการผลิตหดตัว 4% สำหรับปี 2567 ยังมีความไม่แน่นอนและเปราะบาง มีการประเมินว่าเศรษฐกิจไทยอาจขยายตัว ได้ประมาณ 3.2% เป็นผลจากเศรษฐกิจโลกปีหน้ายังอยู่ในช่วงชะลอตัวหรือฟื้นตัวแบบช้าๆ
ประเทศคู่ค้า หลัก เช่น สหรัฐอเมริกา, อียู, ญี่ปุ่น, จีน เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราต่ำ ซึ่งจะเป็นความเสียงการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทย ขณะนี้เริ่มเห็นสถานประกอบการบางแห่งเริ่มปลดแรงงาน หรือปิดกิจการ ซึ่งแนวโน้มในปีหน้าอาจมากขึ้น ปัจจัยที่กล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่นำมาพิจารณาในการปรับค่าจ้างครั้งนี้
นิยาม "อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ"
การปรับค่าจ้างขั้นต่ำปี 2567 กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานคณะกรรมการค่าจ้าง ได้จัดทำกรอบแนวทางและหลักเกณฑ์ ความเหมาะสม เริ่มจากนิยามกำหนดว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับแรงงานแรกเข้า 1 คนให้สามารถดำรงชีพได้ตามความเหมาะสมตามสภาพเศรษฐกิจ สังคมและความสามารถของธุรกิจ ในท้องถิ่นนั้น
โดยอธิบายเพิ่มเติมว่า แรงงานทั่วไปแรกเข้าทำงาน หมายถึง ผู้ที่เพิ่งจบการศึกษาหรือจบมาหลายปี แต่ไม่เคยทำงานหรือเคยทำงานมาแล้ว แต่ระยะเวลาการทำงานเก่ากับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบันไม่เกิน 1 ปี
ด้านหลักเกณฑ์การพิจารณามีการกำหนดเป็นกรอบอยู่ในมาตรา 87 แห่งพรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2560) ประกอบด้วย 6 หลักเกณฑ์ ซึ่งมีการจัดทำเป็นสูตรในการคำนวณทางเศรษฐศาสตร์และคณิตศาสตร์อย่างเป็น ระบบเป็นที่ยอมรับจากทั้งนายจ้าง ลูกจ้างและกรรมการภาครัฐ หลักเกณฑ์การพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำ เช่น
1. อัตราค่าจ้างที่แรงงานได้รับอยู่ โดยใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละจังหวัดเป็นฐานคำนวณ
2. "Labor's Contribution” อัตราการสมทบของแรงงานต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) เฉลี่ย 5 ย้อนหลัง
3. อัตราการเปลี่ยนแปลงของผลิตภาพแรงงานเฉลี่ยปี 2560-2564
4. อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยปี 2562-2566 ซึ่งค่าเฉลี่ยประมาณ 1.70%
5. มาตรฐานการครองชีพใช้ข้อมูลรายได้ต่อหัวประชากรแต่ละจังหวัดใช้ข้อมูลของ “สศช.”
6. ตัวแปรเชิงคุณภาพ เช่น ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) อัตราการเปลี่ยนแปลงของ GPP จังหวัด ดัชนีเชื่อมั่นทางธุรกิจของประเทศ (BSI) ใช้ข้อมูลของ ธปท. ฯลฯ
แนะ กกต. คุมการเมืองอย่าใช้เป็นเครื่องมือหาเสียง
จากที่กล่าวจะเห็นได้ว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ มีเกณฑ์และรูปแบบที่ชัดเจน อ้างอิงหลักเศรษฐศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่สำคัญมีข้อกำหนดเป็นกฎหมายที่ชัดเจน กำหนดเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้างและอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด หรือที่เรียกว่า ไตรภาคี
แม้แต่การเสนอเข้าไปในครม.เป็นเพียงวาระเพื่อทราบ ข้อมูลเหล่านี้จะต้องเผยแพร่ให้ประชาชนรับทราบ จะได้ไม่ไปเชื่อนักการเมืองที่จะนำค่าจ้างขั้นต่ำมาเป็นนโยบายหาเสียง
ประการสำคัญองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น “กกต.” หรือคณะกรรมการเลือกตั้ง จะต้องกำหนดไว้ชัดเจนว่า หากมีการละเมิดต้องมีบทลงโทษ ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในการหาเสียงเลือกตั้ง
แม้แต่ทางวิชาการอาจารย์บางท่านยังไปชูประเด็นว่า ค่าจ้างขั้นต่ำ ต้องเลี้ยงครอบครัวได้ 2-3 คน ให้สามารถผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ทั้งที่ปรากฏในนิยามชัดเจนว่า ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นค่าจ้างแรกเข้าทำงานของคนหนึ่งคน ที่จะดำรงชีพได้ตามความเหมาะสมตามสภาพเศรษฐกิจ-สังคม และความสามารถของธุรกิจในท้องถิ่นนั้น
ค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นอัตราอ้างอิงคุ้มครองแรงงาน โดยไม่จำกัดว่าเป็นแรงงานต่างด้าว-การศึกษา เพศ-ศาสนา ความเชื่อรวมไปถึงแรงงานสูงอายุหรือผู้พิการ เป็นการคุ้มครองแรงงานกลุ่มเปราะบางให้ได้รับค่าจ้างอย่างน้อยขั้นต่ำเท่ากฎหมายกำหนด
ประเทศไทยถึงแม้เปลือกนอกดูเหมือนจะเข้าสู่เศรษฐกิจ 4.0 แต่แท้จริงเนื้อในติดกับดักเศรษฐกิจที่ใช้แรงงานเข้มข้น ฉากทัศน์เชิงประจักษ์ภาคการผลิต-บริการ เกษตรกรรม-เกษตรแปรรูป-ประมงส่วนใหญ่ ใช้แรงงานเข้มข้น ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ราคาต่ำขาดนวัตกรรมหรือแบรนด์ของตัวเอง
ทำให้ต้องแข่งขันด้านราคากับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศคู่แข่งส่งออก ซึ่งมีต้นทุนค่าจ้างต่ำกว่าไทยค่อนข้างมาก ค่าจ้างจึงต้องเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องกำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือมาตรการให้เศรษฐกิจไทยหลุดพ้นจากค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งจะเป็นข้อถกเถียงกันไปอีกนาน