ทำไมยานพาหนะ ไม่นิยมสร้างให้แข็ง ชนพังยากครับ

https://www.sanook.com/news/9127750/ ทั่วไปเห็นชนแล้วยังกับกล่องกระดาษยังงั้นครับ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ถ้าแข็ง แรงประทะจะส่งผ่านเข้าหาคนในรถ+ถ้าชนคนเดินถนน คนบาดเจ็บเยอะ
เค้าออกแบบให้แข็งบางส่วน บางส่วนออกแบบให้ยุบตัวเพื่อลดแรงประทะแล้วถ่ายเทแรงประทะอ้อมห้องโดยสารไปท้ายรถแทน
ส่วนกันชนหน้า+ท้าย ต้องชนคนเดินถนนที่ความเร็วต่ำได้ปลอดภัยด้วย
ความคิดเห็นที่ 9
ต้องทำความเข้าใจเรื่อง แรงดล (Impulse) ก่อนครับ

ตัวอย่างไว้จินตนาการง่ายๆ
โยนลงมาจากชั้น 5
กรณีที่ 1 เอาไข่ใส่กล่องเหล็กหนาพิเศษ
กรณีที่ 2 เอาไข่ใส่ห่อ bubble หนาๆ

กรณีไหนคุณคิดว่าไข่จะอยู่รอดปลอดภัยไม่แตกครับ?
กรณี 1 ผมว่ากล่องแทบไม่บุบแน่นอน แต่ไข่ไม่น่าเหลือ
กรณี 2 ผมว่า bubble น่าจะแตกแต่ไข่อาจจะรอด

การชนให้มีโอกาสรอดสูงคือชนแล้วต้องมีระยะยุบตัวเพื่อให้เกิดแรงดลน้อยที่สุดจึงจะรอด
หลักการออกแบบรถรุ่นใหม่ๆ จึงไม่นิยมทำให้โครงสร้างรถแข็งๆ แต่มักให้มีระยะยุบตัวมากๆ ก่อนจะถึงห้องโดยสาร (ในที่นี้คือเปลือกไข่)
และออกแบบห้องโดยสาร (เปลือกไข่) ให้มีความแข็งแรงมากๆ เพื่อให้ไข่แดงข้างใน (ผู้โดยสาร) ไม่เละ

แต่อย่างในข่าว น่าจะเป็นกรณีการชนที่ยากที่สุดในการออกแบบรถสมัยใหม่ให้ปลอดภัย คือ
1. การชนข้าง ที่ไม่มีระยะให้รถยุบตัวก่อนถึงห้องโดยสารเลย เพราะด้านข้างก็คือห้องโดยสารตรงๆเลย แรงดลจึงสูงมาก
2. การชนเสาหรือต้นไม้ ระยะยุบตัวแทบไม่ช่วยในกรณีชนเสาเลย เนื่องจากแรงดลที่กระทำจากต่อรถยนต์ focus ไปที่จุดเล็กมากๆ
ทำให้เหล็กฉีกขาดเสียรูปได้ง่ายมากๆ เหมือนเอามีดมาเฉือนเนยเลย

การชนทั้ง 2 กรณีจึงมีโอกาสเกิดความสูญเสียได้มากที่สุด
หลักการออกแบบเพื่อความปลอดภัยในทั้ง 2 กรณีนี้ จึงมักเน้นไปที่อื่นนอกจากกายภาพของรถยนต์ที่มีข้อจำกัดเยอะ
โดยออกแบบถนน/การจราจรให้มีความปลอดภัย เช่น
- ในต่างประเทศมีการใช้เสาไฟฟ้าหรือเสาจรจาที่หักได้เมื่อเกิดการชน
- การเว้นระยะสองข้างถนนที่ให้ใช้ความเร็วได้ โดยไม่ให้มีสิ่งกีดขวางที่เป็นถาวรวัตถุ เช่น ต้นไม้ บ้าน รั้ว สิ่งปลูกสร้างต่างๆ
- การออกแบบการจราจรไม่ให้มีการจราจรที่ความเร็วสูง ไขว้กันเยอะเกินไป
เป็นต้นครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่