หากไม่มีที่ชาร์จไฟ เราก็คงมีความสุขจากการเล่นมือถือได้สัก 2 ชั่วโมง
หากมีหนังสือดีๆ สักเล่ม เราก็คงเพลิดเพลินได้ตลอดวัน
หากเรามีสติรู้ตัวอยู่กับลมหายใจ เราก็คงมีความสุขได้ไม่จำกัดเวลา
คนส่วนใหญ่อาจมองว่าพุทธศาสนาสอนแต่เรื่องความทุกข์ อะไรก็ทุกข์ ไอ้นั่นก็ทุกข์ แต่ถ้าได้ลองศึกษาและเข้าใจแล้วก็จะพบว่า ศาสนาพุทธสอนให้เรารู้จักพัฒนา "ความสุข" ในชีวิตประจำวันต่างหาก
ความสุขระดับพื้นฐานที่สุด คือความสุขอันได้มาจากการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ความสุขจากการลิ้มรส ความสุขอันเกิดจากการสัมผัส ความสุขจากการได้ฟัง ความสุขจากการได้ดมกลิ่มหอม ความสุขอันได้จากการมองสิ่งที่สวยงาม
แต่ความสุขในระดับนี้มีความเสี่ยงสูง หากกินมากไปก็อ้วนและเป็นโรค แถมอาหารที่กินบางวันก็ไม่อร่อยเสียอีก ยังไม่นับเรื่องเสียงที่ใช่ว่าจะได้ยินสิ่งที่ระรื่นหูได้ตลอดวัน หากเรามีความสุขชนิดนี้แต่เพียงอย่างเดียว มันก็เหมือนกับการที่เรานำไข่ไก่ทั้งหมดที่เรามี ไปใส่ไว้ในตะกร้าใบเดียว หากมันร่วงหล่นลงมา ไม่แคล้วที่ไข่ทั้งหมดจะแตกลง
ท่านจึงให้เราพัฒนาความสุขยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยความสุขชนิดถัดมาคือความสุขอันเกิดจากการเป็นผู้ให้ เมื่อเรามีความสุขชนิดแรกมากเกินกว่าความต้องการแล้ว เราสามารถแบ่งปันความสุขนั้นให้กับผู้อื่นได้ แม้สิ่งที่ได้รับอาจจะมีเพียงแค่รอยยิ้มหรือแค่คำขอบคุณ แต่ความสุขที่ได้รับก็จะทำให้เรารู้สึกอิ่มจากข้างในอยู่นั่นเอง
แต่ความสุขอันเกิดจากการให้ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ กล่าวคือ หากเราให้กับคนที่ไม่สมควรได้รับ หรือเราให้ไปเกินกว่ากำลังที่เรามี แทนที่เราจะได้รับความสุข เราอาจจะได้ความทุกข์ทรมานกลับมาแทน ซึ่งเป็นการไม่ฉลาดเอาเสียเลย
ความสุขระดับต่อมาคือความสุขอันปลอดจาก "ความเบียดเบียน" หรือความ ปกติของจิต หรือในทางเทคนิคเราจะเรียกว่า ศีล ซึ่งในความสุขระดับนี้จะละเอียดยิ่งขึ้นกว่าสองระดับแรก เป็นความสุขที่ได้จากการไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น เช่น ไม่ทำร้ายใคร ไม่นอกใจคู่ของตน ไม่ว่าร้ายแก่กันเพียงแค่อยากให้เขาเจ็บปวด ไม่หยิบฉวยสิ่งใดหากเขาไม่อนุญาต และสุดท้ายไม่ปล่อยให้ตัวเองมึนเมาจนขาดสติยับยั้งช่างใจ
แม้ความสุขในระดับ ศีล จะว่าดีแล้ว แต่ก็ถือว่ายังไม่เพียงพอ เพราะต่อให้เราไม่เบียดเบียนใคร ในสังคมทุกวันนี้ เรายังมีโอกาสโดนเบียดเบียนได้ตลอดเวลา หากเราสามารถป้องกันตัวเราได้ก็ดี แต่ถ้าทำไม่ได้ และปล่อยให้ความโกรธแค้นครอบงำ เราก็ยากจะมีความสุข นั่นจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ต้องทำให้เราพัฒนาในขั้นถัดไป
ขั้นถัดไปเป็นความสุขในระดับที่ละเอียดมาก เป็นความสุขอันเกิดจากความสงบ หรือความสุขอันเกิดจากสมาธิ ความสุขในชนิดนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ เราสามารถระงับไฟในจิตใจเราลงได้ ซึ่งไฟ 3 อย่างที่เผาพลาญจิตใจเราตลอดเวลาก็คือ ไฟจากความโกรธ ไฟจากความโลภ และไฟจากความหลง
ไฟ 3 อย่างนี้เผาเราอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ยากมากๆ ที่ในแต่ละวัน จะไม่มีไฟใน 3 อย่างนี้จะไม่เผาเราเลย นั่นจึงเป็นเหตุให้น้อยคนนัก จะได้พบเจอความสุขจากสมาธิ แต่ถ้าความสุขจากศีลเรามีมากพอ มันจะง่ายขึ้นมากที่เราจะพัฒนาความสุขนี้ได้สำเร็จ และเมื่อไหร่ที่เรามีประสบการณ์จากความสุขชนิดนี้แม้เพียงสักครั้ง คุณจะมองความสุขชนิดอื่นที่กล่าวมาว่าเด็กน้อยไปเลย
แต่อนิจจา แม้ความสุขอันเกิดจากสมาธิจะดีเลิศสักเพียงใด แต่ความสุขชนิดนี้ก็ยังตกเป็นทาสของเวลาอยู่ดี มันไม่จีรังยั่งยืน เมื่อเหตุปัจจัยที่ทำให้มันเกิดได้หมดไป ต่อให้เราอยากแค่ไหน ความสุขชนิดนี้ก็ยากจะกลับมา จนเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าจึงต้องค้นหาความสุขระดับถัดไป
ความสุขระดับนี้นับว่าเป็นความสุขสูงสุดในคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว เป็นความสุขอันเป็นผลจากความสุขในทุกๆ ระดับที่เราเคยพบเจอมาในระดับก่อนๆ ทั้งสิ้น ความสุขในระดับนี้เราจะเรียกว่า ความสุขจากปัญญา หรือความสุขอันเกิดจากการเห็นทุกสิ่งตามความเป็นจริงของมัน
ความสุขชนิดนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราได้มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต ตามสิ่งที่มันเป็นจริง ไม่ใช่สิ่งที่เราหรือเขาอยากจะให้เป็น เห็นว่าทุกสิ่งนั้นเป็นเพียงปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างนึง มันเกิดขึ้นมาได้เพราะเหตุที่ให้มันเกิดนั้นสมบูรณ์ เมื่อเหตุต่างๆ มันคงอยู่ปรากฏการณ์นั้นจึงดำรงอยู่ และเมื่อเหตุที่ให้กำเนิดมันได้หายจากไป ต่อให้รั้งเอาไว้แค่ไหนก็ไม่สามารถห้ามไม่ให้มันดับได้
เมื่อทุกสิ่งนั้นเกิดขึ้นด้วยเหตุและปัจจัย ความเป็นเรา เขาและเธอ จะสามารถอยู่ได้ที่ตรงไหน ความสุข ความทุกข์ทั้งหลาย จึงไม่ต่างจากเพียงปรากฏการณ์ตามธรรมชาติเท่านั้น หามีเราเป็นผู้สุขหรือทุกข์ไม่ เมื่อเราเห็นความเป็นจริงดังนี้แล้ว
เรา ผู้เป็นผู้ทุกข์จึงไม่มีอีกต่อไป
เรา ผู้เป็นผู้เกิดจึงไม่มีอีกต่อไป
เรา ผู้เป็นผู้ตายจึงไม่มีอีกเช่นกัน
นั่นแหละคือที่สุดแห่งความทุกข์ นั่นแหละคือที่สุดแห่งความสุข ที่ผู้ที่ยังมี "เรา" ควรพัฒนาไปให้ถึง
เขียนไว้ที่สถานีรถไฟอยุธยา
3 ธันวาคม 66
ระดับของความสุข ในพุทธศาสนา
หากไม่มีที่ชาร์จไฟ เราก็คงมีความสุขจากการเล่นมือถือได้สัก 2 ชั่วโมง
หากมีหนังสือดีๆ สักเล่ม เราก็คงเพลิดเพลินได้ตลอดวัน
หากเรามีสติรู้ตัวอยู่กับลมหายใจ เราก็คงมีความสุขได้ไม่จำกัดเวลา
คนส่วนใหญ่อาจมองว่าพุทธศาสนาสอนแต่เรื่องความทุกข์ อะไรก็ทุกข์ ไอ้นั่นก็ทุกข์ แต่ถ้าได้ลองศึกษาและเข้าใจแล้วก็จะพบว่า ศาสนาพุทธสอนให้เรารู้จักพัฒนา "ความสุข" ในชีวิตประจำวันต่างหาก
ความสุขระดับพื้นฐานที่สุด คือความสุขอันได้มาจากการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ความสุขจากการลิ้มรส ความสุขอันเกิดจากการสัมผัส ความสุขจากการได้ฟัง ความสุขจากการได้ดมกลิ่มหอม ความสุขอันได้จากการมองสิ่งที่สวยงาม
แต่ความสุขในระดับนี้มีความเสี่ยงสูง หากกินมากไปก็อ้วนและเป็นโรค แถมอาหารที่กินบางวันก็ไม่อร่อยเสียอีก ยังไม่นับเรื่องเสียงที่ใช่ว่าจะได้ยินสิ่งที่ระรื่นหูได้ตลอดวัน หากเรามีความสุขชนิดนี้แต่เพียงอย่างเดียว มันก็เหมือนกับการที่เรานำไข่ไก่ทั้งหมดที่เรามี ไปใส่ไว้ในตะกร้าใบเดียว หากมันร่วงหล่นลงมา ไม่แคล้วที่ไข่ทั้งหมดจะแตกลง
ท่านจึงให้เราพัฒนาความสุขยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยความสุขชนิดถัดมาคือความสุขอันเกิดจากการเป็นผู้ให้ เมื่อเรามีความสุขชนิดแรกมากเกินกว่าความต้องการแล้ว เราสามารถแบ่งปันความสุขนั้นให้กับผู้อื่นได้ แม้สิ่งที่ได้รับอาจจะมีเพียงแค่รอยยิ้มหรือแค่คำขอบคุณ แต่ความสุขที่ได้รับก็จะทำให้เรารู้สึกอิ่มจากข้างในอยู่นั่นเอง
แต่ความสุขอันเกิดจากการให้ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ กล่าวคือ หากเราให้กับคนที่ไม่สมควรได้รับ หรือเราให้ไปเกินกว่ากำลังที่เรามี แทนที่เราจะได้รับความสุข เราอาจจะได้ความทุกข์ทรมานกลับมาแทน ซึ่งเป็นการไม่ฉลาดเอาเสียเลย
ความสุขระดับต่อมาคือความสุขอันปลอดจาก "ความเบียดเบียน" หรือความ ปกติของจิต หรือในทางเทคนิคเราจะเรียกว่า ศีล ซึ่งในความสุขระดับนี้จะละเอียดยิ่งขึ้นกว่าสองระดับแรก เป็นความสุขที่ได้จากการไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น เช่น ไม่ทำร้ายใคร ไม่นอกใจคู่ของตน ไม่ว่าร้ายแก่กันเพียงแค่อยากให้เขาเจ็บปวด ไม่หยิบฉวยสิ่งใดหากเขาไม่อนุญาต และสุดท้ายไม่ปล่อยให้ตัวเองมึนเมาจนขาดสติยับยั้งช่างใจ
แม้ความสุขในระดับ ศีล จะว่าดีแล้ว แต่ก็ถือว่ายังไม่เพียงพอ เพราะต่อให้เราไม่เบียดเบียนใคร ในสังคมทุกวันนี้ เรายังมีโอกาสโดนเบียดเบียนได้ตลอดเวลา หากเราสามารถป้องกันตัวเราได้ก็ดี แต่ถ้าทำไม่ได้ และปล่อยให้ความโกรธแค้นครอบงำ เราก็ยากจะมีความสุข นั่นจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ต้องทำให้เราพัฒนาในขั้นถัดไป
ขั้นถัดไปเป็นความสุขในระดับที่ละเอียดมาก เป็นความสุขอันเกิดจากความสงบ หรือความสุขอันเกิดจากสมาธิ ความสุขในชนิดนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ เราสามารถระงับไฟในจิตใจเราลงได้ ซึ่งไฟ 3 อย่างที่เผาพลาญจิตใจเราตลอดเวลาก็คือ ไฟจากความโกรธ ไฟจากความโลภ และไฟจากความหลง
ไฟ 3 อย่างนี้เผาเราอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ยากมากๆ ที่ในแต่ละวัน จะไม่มีไฟใน 3 อย่างนี้จะไม่เผาเราเลย นั่นจึงเป็นเหตุให้น้อยคนนัก จะได้พบเจอความสุขจากสมาธิ แต่ถ้าความสุขจากศีลเรามีมากพอ มันจะง่ายขึ้นมากที่เราจะพัฒนาความสุขนี้ได้สำเร็จ และเมื่อไหร่ที่เรามีประสบการณ์จากความสุขชนิดนี้แม้เพียงสักครั้ง คุณจะมองความสุขชนิดอื่นที่กล่าวมาว่าเด็กน้อยไปเลย
แต่อนิจจา แม้ความสุขอันเกิดจากสมาธิจะดีเลิศสักเพียงใด แต่ความสุขชนิดนี้ก็ยังตกเป็นทาสของเวลาอยู่ดี มันไม่จีรังยั่งยืน เมื่อเหตุปัจจัยที่ทำให้มันเกิดได้หมดไป ต่อให้เราอยากแค่ไหน ความสุขชนิดนี้ก็ยากจะกลับมา จนเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าจึงต้องค้นหาความสุขระดับถัดไป
ความสุขระดับนี้นับว่าเป็นความสุขสูงสุดในคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว เป็นความสุขอันเป็นผลจากความสุขในทุกๆ ระดับที่เราเคยพบเจอมาในระดับก่อนๆ ทั้งสิ้น ความสุขในระดับนี้เราจะเรียกว่า ความสุขจากปัญญา หรือความสุขอันเกิดจากการเห็นทุกสิ่งตามความเป็นจริงของมัน
ความสุขชนิดนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราได้มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต ตามสิ่งที่มันเป็นจริง ไม่ใช่สิ่งที่เราหรือเขาอยากจะให้เป็น เห็นว่าทุกสิ่งนั้นเป็นเพียงปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างนึง มันเกิดขึ้นมาได้เพราะเหตุที่ให้มันเกิดนั้นสมบูรณ์ เมื่อเหตุต่างๆ มันคงอยู่ปรากฏการณ์นั้นจึงดำรงอยู่ และเมื่อเหตุที่ให้กำเนิดมันได้หายจากไป ต่อให้รั้งเอาไว้แค่ไหนก็ไม่สามารถห้ามไม่ให้มันดับได้
เมื่อทุกสิ่งนั้นเกิดขึ้นด้วยเหตุและปัจจัย ความเป็นเรา เขาและเธอ จะสามารถอยู่ได้ที่ตรงไหน ความสุข ความทุกข์ทั้งหลาย จึงไม่ต่างจากเพียงปรากฏการณ์ตามธรรมชาติเท่านั้น หามีเราเป็นผู้สุขหรือทุกข์ไม่ เมื่อเราเห็นความเป็นจริงดังนี้แล้ว
เรา ผู้เป็นผู้ทุกข์จึงไม่มีอีกต่อไป
เรา ผู้เป็นผู้เกิดจึงไม่มีอีกต่อไป
เรา ผู้เป็นผู้ตายจึงไม่มีอีกเช่นกัน
นั่นแหละคือที่สุดแห่งความทุกข์ นั่นแหละคือที่สุดแห่งความสุข ที่ผู้ที่ยังมี "เรา" ควรพัฒนาไปให้ถึง
เขียนไว้ที่สถานีรถไฟอยุธยา
3 ธันวาคม 66