รัฐบาลเศรษฐาเดินหน้าแก้ปัญหาหนี้ทั้งใน-นอกระบบ หวังช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ เปิดลงทะเบียน 1 ธันวาคมนี้ ดึงแบงก์ออมสินช่วยปล่อยกู้ต่อรายละ 5 หมื่น-ธ.ก.ส. สางหนี้ที่ดินให้กู้สูงสุด 2.5 ล้านบาท สภาพัฒน์เผยหนี้ครัวเรือนทะลุ 16 ล้านล้าน เครดิตบูโรเปิดตัวเลขหนี้เสีย 1.05 ล้านล้านบาท ห่วงสินเชื่อ “รถยนต์-บ้าน” ตกชั้นเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้น หลังเห็นสัญญาณความสามารถผ่อนค่างวดสะดุด
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง พร้อมด้วย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯและ รมว.มหาดไทย นายกฤษฎา วิจารณะ รมช.คลัง ร่วมกันแถลง วาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ”
นายเศรษฐากล่าวว่า รัฐบาลเห็นปัญหาหนี้นอกระบบ เป็นปัญหากัดกร่อนสังคมไทยมานาน และเป็นเรื่องใหญ่ของคนไทยจำนวนมาก จะเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ ทำให้การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบเป็นวาระแห่งชาติ ฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ คืนศักดิ์ศรี คืนความหวัง และสร้างความมั่นคงให้กับประชาชนคนไทยทุกคน
นอกจากการแก้ไขหนี้แล้ว รัฐบาลจะฟื้นฟูเศรษฐกิจ สร้างความเข้มแข็งตั้งแต่ระดับครัวเรือน ไปจนถึงระดับมหภาค ยกระดับความเป็นอยู่ ไม่กลับไปเป็นหนี้ล้นพ้นตัวอีก
หนี้นอกระบบ “ค้าทาสยุคใหม่”
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ปัญหาหนี้นอกระบบเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาสังคมอีกหลาย ๆ ประการ รัฐบาลได้ประเมินจำนวนหนี้ครัวเรือนที่มีปัญหาหนี้นอกระบบไว้ คิดเป็นมูลค่า 50,000 ล้านบาท ซึ่งตนคิดว่าตัวเลขนี้น่าจะประเมินไว้ค่อนข้างต่ำ และปัญหาจริง ๆ น่าจะมีมากกว่านั้น
“หนี้นอกระบบเป็นปัญหาส่งผลกระทบต่อทุกคนที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจ ประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นรากฐานของประเทศต้องเจอกับความเปราะบางของหนี้สินที่ใช้เท่าไหร่ก็ไม่มีวันหมด พวกเขาไม่สามารถแม้แต่ฝัน หรือทำตาม passion ได้ ส่งผลกระทบเป็นโดมิโน่เอฟเฟ็กต์ไปทุก ๆ ภาคส่วน สำหรับผมหนี้นอกระบบเป็นการค้าทาสในยุคใหม่ ที่ได้พรากอิสรภาพความฝันไปจากผู้คนในยุคสมัยนี้” นายเศรษฐากล่าวและว่า
รัฐบาลจึงต้องบูรณาการหลายภาคส่วนเข้ามา ทั้งฝ่ายปกครอง ตำรวจ และกระทรวงการคลัง รับบทบาทเป็นตัวกลางสำคัญในการไกล่เกลี่ยพร้อมกันทั้งหมด ดูแลทั้งเจ้าหนี้ ลูกหนี้ อย่างเป็นธรรม ตั้งแต่ต้นกระบวนการไปจนถึงปิดหนี้ การทำสัญญาที่หลายครั้งไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย มีดอกเบี้ยที่ไม่เป็นธรรม และกระบวนการทวงหนี้ที่ใช้ความรุนแรง ต้องจัดให้ทำสัญญาที่เป็นธรรมและเป็นไปตามกฎหมาย
“ผมได้สั่งการในช่วงเดือนพฤศจิกายน ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงมหาดไทย ไปทำการบ้านมา ให้ทั้ง 2 หน่วยงานต้องทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ ให้ดีกว่าในอดีตที่แยกกันทำ ต้องทำด้วยกัน มีมาตรการต่อเนื่องเพื่อไม่ให้ประชาชนกลับเข้าสู่วงจรอีก”
นอกจากนี้จะมีการทำฐานข้อมูลกลาง นำเทคโนโลยีมาช่วยสร้างความโปร่งใสตั้งแต่ต้นจนจบ มีตัวเลขตรวจสอบที่ประชาชนนำไปใช้ติดตามผลได้ มีวิธีการเข้าสู่กระบวนการหลายรูปแบบ เพื่อความสะดวกของประชาชน และต้องมีการสื่อสารกับประชาชนถึงความคืบหน้าต่าง ๆ อย่างตรงไปตรงมา
คลังช่วยปรับโครงสร้างหนี้
นายกรัฐมนตรีระบุว่า “หลังจากขั้นตอนการไกล่เกลี่ยแล้ว รัฐบาลจะช่วยปรับโครงสร้างหนี้ โดยกระทรวงการคลังจะเข้ามาช่วยในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน เพื่อให้ประชาชนสามารถชดใช้หนี้ได้อย่างมีศักดิ์ศรี ผมมั่นใจว่าด้วยเศรษฐกิจที่ดีขึ้น”
และในวันที่ 12 ธ.ค. จะมีการแถลงภาพรวมของหนี้แบบครบวงจร จะครอบคลุมทั้งหนี้ในระบบและนอกระบบอีกครั้งหนึ่ง และจะทำให้โครงการนี้ช่วยปลดปล่อยพี่น้องประชาชนจากการเป็นทาสหนี้นอกระบบ
ดึงออมสิน-ธ.ก.ส.ช่วยปล่อยกู้
ด้านนายกฤษฎากล่าวว่า กระทรวงการคลังจะดูแลเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้และการไกล่เกลี่ยหนี้สิน โดยธนาคารออมสินจะดูแลประชาชนที่กู้หนี้นอกระบบ โดยให้กู้ต่อรายละไม่เกิน 50,000 บาท ระยะเวลา 5 ปี ส่วนสินเชื่อสำหรับอาชีพอิสระเพื่อรายย่อยกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ระยะเวลา 8 ปี ดอกเบี้ยตามความสามารถของลูกหนี้
ส่วนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ช่วยเหลือเกษตรกรซึ่งนำที่ดินทำกินไปจำนองหรือขายฝาก เมื่อไกล่เกลี่ยและปรับปรุงโครงสร้างหนี้นอกระบบแล้ว จะให้สินเชื่อสำหรับให้แก้ไขปัญหาสูงสุดต่อราย 2.5 ล้านบาท
ลงทะเบียน 1 ธ.ค. 66-29 ก.พ. 67
นายอนุทินกล่าวว่า การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบกระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) จะร่วมมือโดยนายอำเภอ และผู้กำกับสถานีตำรวจ ช่วยเหลือลูกหนี้ไกล่เกลี่ย ประนีประนอมข้อพิพาท รวมถึงปราบปรามผู้กระทำความผิดอย่างเด็ดขาด โดยสามารถลงทะเบียน ศูนย์ดำรงธรรม ณ ศาลากลางจังหวัดทุกแห่ง ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอทุกแห่ง ส่วน กทม.สามารถลงทะเบียนได้ที่สำนักงานเขตทุกแห่ง
สำหรับระยะเวลาดำเนินโครงการ แบ่งเป็น ช่วงที่ 1.เปิดรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566-29 กุมภาพันธ์ 2567 2.รวบรวมข้อมูลลูกหนี้ แยกแต่ละประเภทในเดือนมีนาคม 2567 3.ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้ลงทะเบียนในเดือนมีนาคม-สิงหาคม 2567 4.ประเมินผลการดำเนินการตามนโยบายในเดือนกันยายน 2567
https://www.prachachat.net/finance/news-1448658
เปิดลงทะเบียนแก้หนี้ 1 ธ.ค.นี้ เครดิตบูโรห่วงกู้ซื้อ “รถ-บ้าน” ค้างจ่ายพุ่ง
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง พร้อมด้วย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯและ รมว.มหาดไทย นายกฤษฎา วิจารณะ รมช.คลัง ร่วมกันแถลง วาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ”
นายเศรษฐากล่าวว่า รัฐบาลเห็นปัญหาหนี้นอกระบบ เป็นปัญหากัดกร่อนสังคมไทยมานาน และเป็นเรื่องใหญ่ของคนไทยจำนวนมาก จะเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ ทำให้การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบเป็นวาระแห่งชาติ ฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ คืนศักดิ์ศรี คืนความหวัง และสร้างความมั่นคงให้กับประชาชนคนไทยทุกคน
นอกจากการแก้ไขหนี้แล้ว รัฐบาลจะฟื้นฟูเศรษฐกิจ สร้างความเข้มแข็งตั้งแต่ระดับครัวเรือน ไปจนถึงระดับมหภาค ยกระดับความเป็นอยู่ ไม่กลับไปเป็นหนี้ล้นพ้นตัวอีก
หนี้นอกระบบ “ค้าทาสยุคใหม่”
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ปัญหาหนี้นอกระบบเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาสังคมอีกหลาย ๆ ประการ รัฐบาลได้ประเมินจำนวนหนี้ครัวเรือนที่มีปัญหาหนี้นอกระบบไว้ คิดเป็นมูลค่า 50,000 ล้านบาท ซึ่งตนคิดว่าตัวเลขนี้น่าจะประเมินไว้ค่อนข้างต่ำ และปัญหาจริง ๆ น่าจะมีมากกว่านั้น
“หนี้นอกระบบเป็นปัญหาส่งผลกระทบต่อทุกคนที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจ ประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นรากฐานของประเทศต้องเจอกับความเปราะบางของหนี้สินที่ใช้เท่าไหร่ก็ไม่มีวันหมด พวกเขาไม่สามารถแม้แต่ฝัน หรือทำตาม passion ได้ ส่งผลกระทบเป็นโดมิโน่เอฟเฟ็กต์ไปทุก ๆ ภาคส่วน สำหรับผมหนี้นอกระบบเป็นการค้าทาสในยุคใหม่ ที่ได้พรากอิสรภาพความฝันไปจากผู้คนในยุคสมัยนี้” นายเศรษฐากล่าวและว่า
รัฐบาลจึงต้องบูรณาการหลายภาคส่วนเข้ามา ทั้งฝ่ายปกครอง ตำรวจ และกระทรวงการคลัง รับบทบาทเป็นตัวกลางสำคัญในการไกล่เกลี่ยพร้อมกันทั้งหมด ดูแลทั้งเจ้าหนี้ ลูกหนี้ อย่างเป็นธรรม ตั้งแต่ต้นกระบวนการไปจนถึงปิดหนี้ การทำสัญญาที่หลายครั้งไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย มีดอกเบี้ยที่ไม่เป็นธรรม และกระบวนการทวงหนี้ที่ใช้ความรุนแรง ต้องจัดให้ทำสัญญาที่เป็นธรรมและเป็นไปตามกฎหมาย
“ผมได้สั่งการในช่วงเดือนพฤศจิกายน ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงมหาดไทย ไปทำการบ้านมา ให้ทั้ง 2 หน่วยงานต้องทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ ให้ดีกว่าในอดีตที่แยกกันทำ ต้องทำด้วยกัน มีมาตรการต่อเนื่องเพื่อไม่ให้ประชาชนกลับเข้าสู่วงจรอีก”
นอกจากนี้จะมีการทำฐานข้อมูลกลาง นำเทคโนโลยีมาช่วยสร้างความโปร่งใสตั้งแต่ต้นจนจบ มีตัวเลขตรวจสอบที่ประชาชนนำไปใช้ติดตามผลได้ มีวิธีการเข้าสู่กระบวนการหลายรูปแบบ เพื่อความสะดวกของประชาชน และต้องมีการสื่อสารกับประชาชนถึงความคืบหน้าต่าง ๆ อย่างตรงไปตรงมา
คลังช่วยปรับโครงสร้างหนี้
นายกรัฐมนตรีระบุว่า “หลังจากขั้นตอนการไกล่เกลี่ยแล้ว รัฐบาลจะช่วยปรับโครงสร้างหนี้ โดยกระทรวงการคลังจะเข้ามาช่วยในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน เพื่อให้ประชาชนสามารถชดใช้หนี้ได้อย่างมีศักดิ์ศรี ผมมั่นใจว่าด้วยเศรษฐกิจที่ดีขึ้น”
และในวันที่ 12 ธ.ค. จะมีการแถลงภาพรวมของหนี้แบบครบวงจร จะครอบคลุมทั้งหนี้ในระบบและนอกระบบอีกครั้งหนึ่ง และจะทำให้โครงการนี้ช่วยปลดปล่อยพี่น้องประชาชนจากการเป็นทาสหนี้นอกระบบ
ดึงออมสิน-ธ.ก.ส.ช่วยปล่อยกู้
ด้านนายกฤษฎากล่าวว่า กระทรวงการคลังจะดูแลเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้และการไกล่เกลี่ยหนี้สิน โดยธนาคารออมสินจะดูแลประชาชนที่กู้หนี้นอกระบบ โดยให้กู้ต่อรายละไม่เกิน 50,000 บาท ระยะเวลา 5 ปี ส่วนสินเชื่อสำหรับอาชีพอิสระเพื่อรายย่อยกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ระยะเวลา 8 ปี ดอกเบี้ยตามความสามารถของลูกหนี้
ส่วนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ช่วยเหลือเกษตรกรซึ่งนำที่ดินทำกินไปจำนองหรือขายฝาก เมื่อไกล่เกลี่ยและปรับปรุงโครงสร้างหนี้นอกระบบแล้ว จะให้สินเชื่อสำหรับให้แก้ไขปัญหาสูงสุดต่อราย 2.5 ล้านบาท
ลงทะเบียน 1 ธ.ค. 66-29 ก.พ. 67
นายอนุทินกล่าวว่า การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบกระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) จะร่วมมือโดยนายอำเภอ และผู้กำกับสถานีตำรวจ ช่วยเหลือลูกหนี้ไกล่เกลี่ย ประนีประนอมข้อพิพาท รวมถึงปราบปรามผู้กระทำความผิดอย่างเด็ดขาด โดยสามารถลงทะเบียน ศูนย์ดำรงธรรม ณ ศาลากลางจังหวัดทุกแห่ง ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอทุกแห่ง ส่วน กทม.สามารถลงทะเบียนได้ที่สำนักงานเขตทุกแห่ง
สำหรับระยะเวลาดำเนินโครงการ แบ่งเป็น ช่วงที่ 1.เปิดรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566-29 กุมภาพันธ์ 2567 2.รวบรวมข้อมูลลูกหนี้ แยกแต่ละประเภทในเดือนมีนาคม 2567 3.ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้ลงทะเบียนในเดือนมีนาคม-สิงหาคม 2567 4.ประเมินผลการดำเนินการตามนโยบายในเดือนกันยายน 2567
https://www.prachachat.net/finance/news-1448658