นโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท ของรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน ได้ข้อสรุปว่าจะต้อง “กู้เงิน” ผ่านการตรากฎหมาย
คือ พระราชบัญญัติกู้เงิน จำนวน 5 แสนล้านบาท เพื่อนำมาใช้โครงการ
ทันใดนั้น ก็มีเสียงดังก้องมาจากอีกฟากฝั่งตรงข้าม ที่ไม่เห็นด้วยกับการ “กู้มาแจก”
เศรษฐา กล่าวมั่นใจว่า นโยบายนี้เป็นนโยบายที่ดี เหมาะสม และไม่เกี่ยวกับเรื่องเทคนิคหรือกฎหมาย รัฐบาลยืนยันว่าทำถูกต้องทั้งหมด
และทางคณะกรรมการกฤษฎีกา คงจะให้ข้อคิดเห็นในเชิงที่เป็นบวกและเราสามารถทำโครงการนี้ได้
ส่วนเรื่องการ “กู้เงิน” เข้านิยามคำว่า “วิกฤต” ที่จะต้องกู้เงินแล้วหรือไม่ “เศรษฐา” อธิบายว่า มีจุดเดียวคือ มีคำถามว่าตอนนี้เราอยู่ในวิกฤต
หรือไม่ได้อยู่ในวิกฤต มีวิกฤตและความจำเป็นที่ต้องทำหรือไม่ ถ้าบอกว่ามีวิกฤตและความจำเป็นคือเรามีจีดีพีติดลบ แบบนั้นคงไม่ต้องทำ
เพราะจีดีพียังไม่ติดลบ แต่ 9-10 ปี ที่ผ่านมา จีดีพีแค่1.9 %ต่อปี เราไม่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ประเทศอื่นโตกว่าเรา 2 เท่า
คู่แข่งของไทยทั้งประเทศเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีการเติบโต
เขามั่นใจว่า สุดท้ายนายกฯ มั่นใจว่า นโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท จะผ่านสภา เพราะรัฐบาลมีเสียง 320 เสียง
“ผมมั่นใจว่าเสียงของผม อย่างพรรคร่วมรัฐบาลมี 320 เสียง ผมว่าเสียงของผมมั่นคง และเราทำงานเป็นทีม เชื่อว่าผ่าน”
ประชาชาติธุรกิจ ชวนย้อนไปดูการ “กู้เงิน” แต่ละยุค เพราะการกู้เงินเพื่อดำเนินนโยบาย แก้เศรษฐกิจปากท้องของประชาชน มีมาแล้วหลายครั้ง
บางครั้งไม่ได้กู้มาแจกประชาชน แต่กู้มาซื้ออาวุธให้กองทัพก็มี
เงินกู้ยุคคณะราษฎร
ในการกู้เงินช่วงแรกในประเทศไทยนั้น เกิดขึ้นในช่วงที่คณะราษฎรเรืองอำนาจ ซึ่งเป็นช่วงสถานการณ์โลกกำลังตึงเครียด – คาบเกี่ยวกับสงครามโลก
ครั้งที่ 2 รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ช่วงแรก 2481 – 2487 มีการออก 1.พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) พ.ร.บ.จัดการกู้เงินในประเทศเพื่อเกษตรกร พ.ศ. 2481 จำนวน 25 ล้านบาท 2.พ.ร.บ.จัดการกู้เงินในประเทศเพื่ออุตสาหกรรม พ.ศ.2481 วงเงิน 20 ล้านบาท 3.พ.ร.บ.จัดการ
กู้เงินในประเทศเพื่อเทศบาลและการบำรุงท้องที่ พ.ศ.2481 วงเงิน 20 ล้านบาท
4.พ.ร.บ.กู้เงินในประเทศ พ.ศ.2485 ไม่เกิน 60 ล้านบาท โดยให้เรียกว่า “เงินกู้เพื่อชาติพุทธสักราช ๒๔๘๕” 5.พ.ร.บ.กู้เงินในประเทศ พ.ศ.2487
โดยให้เหตุผลเรื่องการกู้เงินเพื่อประโยชน์แก่ชาติ ให้รัฐบาลมีอำนาจกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลัง เป้นจำนวนไม่เกิน 50 ล้านบาท เพื่อการใช้จ่าย
ตามงบประมาณ โดยอาศัย พ.ร.บ.ตั๋วเงินคลัง พ.ศ.2487 เป็นฉบับที่ 6 ดังนั้นในรัฐบาลจอม พล.ป. ออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการกู้เงิน
ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสงครามโลกครั้งที่ 2 จำนวน 6 ฉบับ
หลังจอมพล ป.ต้องลงจากตำแหน่ง “ควง อภัยวงศ์” ได้เข้ามาบริหารประเทศ อันเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่สองกำลังเข้าด้ายเข้าเข็ม
รัฐบาลได้ออก พ.ร.บ.กู้เงินในประเทศ พ.ศ.2487 ขึ้นมา ให้รัฐบาลมีอำนาจกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลัง เป็นจำนวนไม่เกิน 50 ล้านบาท
เพื่อการใช้จ่ายตามงบประมาณ
ต่อมาในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง เศรษฐกิจย่ำแย่ ข้าวยากหมากแพงไปทั่วโลก แถมยังต้องฟื้นเมืองขึ้นมาใหม่จากภัยสงคราม ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ที่ถูกดึงเป็นนายกฯ บนภารกิจต้องเจรจาให้อังกฤษในฐานะแกนนำ
ฝ่ายพันธมิตร ยอมรับไม่ให้ไทยตกเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ได้ตราพ.ร.บ.กู้เงินในประเทศ พ.ศ.2488 จำนวน 100 ล้านบาท เพื่อการใช้จ่ายในราชการ
ปีถัดมารัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาสวัสดิ์ นายกฯ คนอยุธยาบ้าเดียวกับ “ปรีดี พนมยงค์” ได้ตรา พ.ร.บ.กู้เงินในประเทศ พ.ศ.2489 ถึงสองฉบับ
ฉบับแรกให้รัฐบาลกู้เงินไม่เกิน 200 ล้านบาท ฉบับที่ 2 ซึ่งตรากฎหมายในเดือน พ.ย.2489 ให้อำนาจกู้ได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท
“ป๋าเปรม” กู้ซื้ออาวุธจากสหรัฐฯ
ส่วนการกู้เงินในยุคถัดมา ส่วนมากเป็นการกู้เงินด้าน “ซื้ออาวุธ” เพื่อป้องกันประเทศในช่วงที่ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์
โดยเจ้าหนี้รายใหญ่ของไทยคือ “สหรัฐอเมริกา”
16 พ.ย.2519 ในรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ พ.ร.บ.กู้เงินเพื่อป้องกันประเทศ พ.ศ.2519 ให้กระทรวงการคลัง
โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจกู้เงินนามรัฐบาล เพื่อใช้จ่ายในการป้องกันประเทศตามโครงการป้องกันประเทศ การกู้เงินรวมกัน
ต้องไม่เกิน 2 หมื่นล้านบาท โดยให้เหตุผลตอนหนึ่งว่า “โดยที่ประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างรีบด่วน ที่จะต้องปรับปรุงสมรรถนะทางด้าน
ยุทโธปกรณ์ให้แก่กองทัพไทย”
ในวันเดียวกันนั้นมีกฎหมายอีกฉบับประกาศพร้อมกันคือ พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินจากต่างประเทศ พ.ศ.2519
กำหนดเพดานการกู้เงินไว้ที่ กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
โดยรัฐบาลธานินทร์ ให้ เหตุผลว่า “เพื่อใช้จ่ายลงทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ” หลังจากก่อนหน้านี้ ประกาศคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ 53 วันที่ 24 ม.ค.2515 พ.ศ.2519 ได้ให้อำนาจรัฐบาลกู้เงินจากธนาคารระหว่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศไปก่อนแล้ว
และกฎหมายกู้เงินงวดก่อนได้หมดอายุ แต่เพื่อให้การพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ดำเนินการต่อเนื่องต่อไปโดยไม่หยุดชะงัก
จึงต้องให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินจากต่างประเทศ
เจ้าหนี้รายใหญ่คือสหรัฐ
ต่อมาสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ โดย ได้ออก พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินจากรัฐบาลต่างประเทศ เพื่อจัดซื้อยุทโธปกรณ์ทางทหาร พ.ศ. 2524 ในมูลค่าการกู้เงิน เมื่อรวมกับการกู้เงินตาม พ.ร.บ.ให้อำนาจกะทรวงการคลังกู้เงินจากต่างประเทศ พ.ศ.2519 ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีนั้น
ซึ่งเจ้าหนี้คือรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นการกู้เงินในรูปแบบ “การให้สินเชื่อตามโครงการขายยุทโธปกรณ์ทางทหาร” ซึ่งหลังจากนั้น ได้มีประกาศกระทรวงการคลังเพิ่มเติมที่รัฐบาลต้องกู้จากสหรัฐฯ ตามสินเชื่อโครงการดังกล่าว ต่อเนื่อง 6 ปี ตั้งแต่ 2524-2529
ยุคกู้เงินเพื่อกู้เศรษฐกิจ
17 ปีต่อมา เกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง รัฐบาลชวน หลีกภัย ต้องออก พ.ร.ก.กู้เงินขึ้นมาเพื่อแก้วิกฤตจำนวน 3 ฉบับ
รวมที่ให้อำนาจกู้เงินกว่า 1 ล้านล้านบาท คือ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ พ.ศ.2541
กู้ได้ไม่เกิน 2 แสนล้านบาท ภายในวันที่ 31 ธ.ค.2543
พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงองระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2541 กู้ได้ไม่เกิน 3 แสนล้านบาท ภายใน 31 ธ.ค.2543
พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน และจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน พ.ศ2541 กู้เงินจากแหล่งเงินกู้
ในประเทศเพื่อชดใช้ความเสียหาย และปรับโครงสร้างแหล่งเงินทุนของกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ไม่เกิน 5 แสนล้านบาท
ถัดมาอีก 4 ปี ในสมัย รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ได้ออก พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน และจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟู
และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (ระยะที่สอง) พ.ศ. 2545 มูลค่าของการกู้เงินรวมกันต้องไม่เกิน 780,000 ล้านบาท
“แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นยังไม่หมดสิ้น สมควรกำหนดให้กระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือ
กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินระยะที่ 2”
มาร์ค กู้แก้วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์
ครั้นมาถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ตรา พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552
โดยกู้เงินให้มีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 400,000 ล้านบาท ภายใน 31 ธ.ค. 2553 สร้างโปรเจกต์ “ไทยเข้มแข็ง” โดยที่ได้เกิดวิกฤติการณ์ของระบบสถาบันการเงินในต่างประเทศซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลก และส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจของไทยอย่างรุนแรง รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องใช้เงินในการดำเนินมาตรการเพื่อฟื้นฟู เศรษฐกิจอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง
ปู กู้ 3.5แสนล้าน รื้อระบบน้ำ
และในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ตรา พ.ร.ก.ให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ําและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 หลังจากเกิดวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ กทม.เมื่อปลายปี2554 ให้มีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 350,000 ล้านบาทและให้กระทําได้
ภายในกําหนดเวลาไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2556
เมื่อถึงวิกฤตโควิด – 19 รัฐบาลประยุทธ์ จึงต้องเตรียมกู้เงินอีกครั้ง
ประยุทธ็ กู้แก้โควิด
ย้อนกลับไป 30 มีนาคม 2563 ในยุคที่แม่ทัพเศรษฐกิจชื่อ “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” รองนายกรัฐมนตรี เข้าห้องทำงาน “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา”
นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เสนอแพ็กเกจเยียวยาเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากพิษโควิด -19
“สมคิด” เอ่ยปากหลังพบนายกฯ ว่า เตรียมเสนอมาตรการชุดที่ 3 – ชุดใหญ่ เพื่อเยียวยาระบบเศรษฐกิจไทยในช่วงวิฤตการแพร่ระบาดของ
โรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้ชื่อว่า “มาตรการเยียวยา ดูแลระบบเศรษฐกิจไทย”
ที่สุด รัฐบาลประยุทธ์ ได้ออกพระราชกำหนดกู้เงิน ในชื่อว่า พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมวงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2563
รวมถึง พ.ร.ก.ให้อำนาจ ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกสินเชื้อ ดูแลผู้ประกอบการรายเล็ก 5 แสนล้านบาท และดูแลภาคการเงิน 4 แสนล้านบาท
เมื่อโควิด-19 ยังไม่จบง่ายๆ ในเวลาต่อมา 18 พฤษภาคม 2565 ครม.ประยุทธ์ก็อนุมัติ พ.ร.ก.กู้เงินอีก 1 ฉบับ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564
วงเงิน 5 แสนล้านบาท
ลุ้นการกู้เงินครั้งนี้เพื่อดำเนินนโยบายดิจิทัลวอลเลตจะไปรอด – ไม่รอด
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.prachachat.net/politics/news-1435404
จาก กู้เพื่อชาติ ถึง แจกเงิน 10,000 สารพัดเหตุผล “กู้เงิน” ของรัฐบาลไทย
นโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท ของรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน ได้ข้อสรุปว่าจะต้อง “กู้เงิน” ผ่านการตรากฎหมาย
คือ พระราชบัญญัติกู้เงิน จำนวน 5 แสนล้านบาท เพื่อนำมาใช้โครงการ
ทันใดนั้น ก็มีเสียงดังก้องมาจากอีกฟากฝั่งตรงข้าม ที่ไม่เห็นด้วยกับการ “กู้มาแจก”
เศรษฐา กล่าวมั่นใจว่า นโยบายนี้เป็นนโยบายที่ดี เหมาะสม และไม่เกี่ยวกับเรื่องเทคนิคหรือกฎหมาย รัฐบาลยืนยันว่าทำถูกต้องทั้งหมด
และทางคณะกรรมการกฤษฎีกา คงจะให้ข้อคิดเห็นในเชิงที่เป็นบวกและเราสามารถทำโครงการนี้ได้
ส่วนเรื่องการ “กู้เงิน” เข้านิยามคำว่า “วิกฤต” ที่จะต้องกู้เงินแล้วหรือไม่ “เศรษฐา” อธิบายว่า มีจุดเดียวคือ มีคำถามว่าตอนนี้เราอยู่ในวิกฤต
หรือไม่ได้อยู่ในวิกฤต มีวิกฤตและความจำเป็นที่ต้องทำหรือไม่ ถ้าบอกว่ามีวิกฤตและความจำเป็นคือเรามีจีดีพีติดลบ แบบนั้นคงไม่ต้องทำ
เพราะจีดีพียังไม่ติดลบ แต่ 9-10 ปี ที่ผ่านมา จีดีพีแค่1.9 %ต่อปี เราไม่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ประเทศอื่นโตกว่าเรา 2 เท่า
คู่แข่งของไทยทั้งประเทศเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีการเติบโต
เขามั่นใจว่า สุดท้ายนายกฯ มั่นใจว่า นโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท จะผ่านสภา เพราะรัฐบาลมีเสียง 320 เสียง
“ผมมั่นใจว่าเสียงของผม อย่างพรรคร่วมรัฐบาลมี 320 เสียง ผมว่าเสียงของผมมั่นคง และเราทำงานเป็นทีม เชื่อว่าผ่าน”
ประชาชาติธุรกิจ ชวนย้อนไปดูการ “กู้เงิน” แต่ละยุค เพราะการกู้เงินเพื่อดำเนินนโยบาย แก้เศรษฐกิจปากท้องของประชาชน มีมาแล้วหลายครั้ง
บางครั้งไม่ได้กู้มาแจกประชาชน แต่กู้มาซื้ออาวุธให้กองทัพก็มี
เงินกู้ยุคคณะราษฎร
ในการกู้เงินช่วงแรกในประเทศไทยนั้น เกิดขึ้นในช่วงที่คณะราษฎรเรืองอำนาจ ซึ่งเป็นช่วงสถานการณ์โลกกำลังตึงเครียด – คาบเกี่ยวกับสงครามโลก
ครั้งที่ 2 รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ช่วงแรก 2481 – 2487 มีการออก 1.พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) พ.ร.บ.จัดการกู้เงินในประเทศเพื่อเกษตรกร พ.ศ. 2481 จำนวน 25 ล้านบาท 2.พ.ร.บ.จัดการกู้เงินในประเทศเพื่ออุตสาหกรรม พ.ศ.2481 วงเงิน 20 ล้านบาท 3.พ.ร.บ.จัดการ
กู้เงินในประเทศเพื่อเทศบาลและการบำรุงท้องที่ พ.ศ.2481 วงเงิน 20 ล้านบาท
4.พ.ร.บ.กู้เงินในประเทศ พ.ศ.2485 ไม่เกิน 60 ล้านบาท โดยให้เรียกว่า “เงินกู้เพื่อชาติพุทธสักราช ๒๔๘๕” 5.พ.ร.บ.กู้เงินในประเทศ พ.ศ.2487
โดยให้เหตุผลเรื่องการกู้เงินเพื่อประโยชน์แก่ชาติ ให้รัฐบาลมีอำนาจกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลัง เป้นจำนวนไม่เกิน 50 ล้านบาท เพื่อการใช้จ่าย
ตามงบประมาณ โดยอาศัย พ.ร.บ.ตั๋วเงินคลัง พ.ศ.2487 เป็นฉบับที่ 6 ดังนั้นในรัฐบาลจอม พล.ป. ออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการกู้เงิน
ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสงครามโลกครั้งที่ 2 จำนวน 6 ฉบับ
หลังจอมพล ป.ต้องลงจากตำแหน่ง “ควง อภัยวงศ์” ได้เข้ามาบริหารประเทศ อันเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่สองกำลังเข้าด้ายเข้าเข็ม
รัฐบาลได้ออก พ.ร.บ.กู้เงินในประเทศ พ.ศ.2487 ขึ้นมา ให้รัฐบาลมีอำนาจกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลัง เป็นจำนวนไม่เกิน 50 ล้านบาท
เพื่อการใช้จ่ายตามงบประมาณ
ต่อมาในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง เศรษฐกิจย่ำแย่ ข้าวยากหมากแพงไปทั่วโลก แถมยังต้องฟื้นเมืองขึ้นมาใหม่จากภัยสงคราม ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ที่ถูกดึงเป็นนายกฯ บนภารกิจต้องเจรจาให้อังกฤษในฐานะแกนนำ
ฝ่ายพันธมิตร ยอมรับไม่ให้ไทยตกเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ได้ตราพ.ร.บ.กู้เงินในประเทศ พ.ศ.2488 จำนวน 100 ล้านบาท เพื่อการใช้จ่ายในราชการ
ปีถัดมารัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาสวัสดิ์ นายกฯ คนอยุธยาบ้าเดียวกับ “ปรีดี พนมยงค์” ได้ตรา พ.ร.บ.กู้เงินในประเทศ พ.ศ.2489 ถึงสองฉบับ
ฉบับแรกให้รัฐบาลกู้เงินไม่เกิน 200 ล้านบาท ฉบับที่ 2 ซึ่งตรากฎหมายในเดือน พ.ย.2489 ให้อำนาจกู้ได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท
“ป๋าเปรม” กู้ซื้ออาวุธจากสหรัฐฯ
ส่วนการกู้เงินในยุคถัดมา ส่วนมากเป็นการกู้เงินด้าน “ซื้ออาวุธ” เพื่อป้องกันประเทศในช่วงที่ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์
โดยเจ้าหนี้รายใหญ่ของไทยคือ “สหรัฐอเมริกา”
16 พ.ย.2519 ในรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ พ.ร.บ.กู้เงินเพื่อป้องกันประเทศ พ.ศ.2519 ให้กระทรวงการคลัง
โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจกู้เงินนามรัฐบาล เพื่อใช้จ่ายในการป้องกันประเทศตามโครงการป้องกันประเทศ การกู้เงินรวมกัน
ต้องไม่เกิน 2 หมื่นล้านบาท โดยให้เหตุผลตอนหนึ่งว่า “โดยที่ประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างรีบด่วน ที่จะต้องปรับปรุงสมรรถนะทางด้าน
ยุทโธปกรณ์ให้แก่กองทัพไทย”
ในวันเดียวกันนั้นมีกฎหมายอีกฉบับประกาศพร้อมกันคือ พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินจากต่างประเทศ พ.ศ.2519
กำหนดเพดานการกู้เงินไว้ที่ กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
โดยรัฐบาลธานินทร์ ให้ เหตุผลว่า “เพื่อใช้จ่ายลงทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ” หลังจากก่อนหน้านี้ ประกาศคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ 53 วันที่ 24 ม.ค.2515 พ.ศ.2519 ได้ให้อำนาจรัฐบาลกู้เงินจากธนาคารระหว่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศไปก่อนแล้ว
และกฎหมายกู้เงินงวดก่อนได้หมดอายุ แต่เพื่อให้การพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ดำเนินการต่อเนื่องต่อไปโดยไม่หยุดชะงัก
จึงต้องให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินจากต่างประเทศ
เจ้าหนี้รายใหญ่คือสหรัฐ
ต่อมาสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ โดย ได้ออก พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินจากรัฐบาลต่างประเทศ เพื่อจัดซื้อยุทโธปกรณ์ทางทหาร พ.ศ. 2524 ในมูลค่าการกู้เงิน เมื่อรวมกับการกู้เงินตาม พ.ร.บ.ให้อำนาจกะทรวงการคลังกู้เงินจากต่างประเทศ พ.ศ.2519 ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีนั้น
ซึ่งเจ้าหนี้คือรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นการกู้เงินในรูปแบบ “การให้สินเชื่อตามโครงการขายยุทโธปกรณ์ทางทหาร” ซึ่งหลังจากนั้น ได้มีประกาศกระทรวงการคลังเพิ่มเติมที่รัฐบาลต้องกู้จากสหรัฐฯ ตามสินเชื่อโครงการดังกล่าว ต่อเนื่อง 6 ปี ตั้งแต่ 2524-2529
ยุคกู้เงินเพื่อกู้เศรษฐกิจ
17 ปีต่อมา เกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง รัฐบาลชวน หลีกภัย ต้องออก พ.ร.ก.กู้เงินขึ้นมาเพื่อแก้วิกฤตจำนวน 3 ฉบับ
รวมที่ให้อำนาจกู้เงินกว่า 1 ล้านล้านบาท คือ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ พ.ศ.2541
กู้ได้ไม่เกิน 2 แสนล้านบาท ภายในวันที่ 31 ธ.ค.2543
พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงองระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2541 กู้ได้ไม่เกิน 3 แสนล้านบาท ภายใน 31 ธ.ค.2543
พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน และจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน พ.ศ2541 กู้เงินจากแหล่งเงินกู้
ในประเทศเพื่อชดใช้ความเสียหาย และปรับโครงสร้างแหล่งเงินทุนของกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ไม่เกิน 5 แสนล้านบาท
ถัดมาอีก 4 ปี ในสมัย รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ได้ออก พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน และจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟู
และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (ระยะที่สอง) พ.ศ. 2545 มูลค่าของการกู้เงินรวมกันต้องไม่เกิน 780,000 ล้านบาท
“แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นยังไม่หมดสิ้น สมควรกำหนดให้กระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือ
กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินระยะที่ 2”
มาร์ค กู้แก้วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์
ครั้นมาถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ตรา พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552
โดยกู้เงินให้มีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 400,000 ล้านบาท ภายใน 31 ธ.ค. 2553 สร้างโปรเจกต์ “ไทยเข้มแข็ง” โดยที่ได้เกิดวิกฤติการณ์ของระบบสถาบันการเงินในต่างประเทศซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลก และส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจของไทยอย่างรุนแรง รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องใช้เงินในการดำเนินมาตรการเพื่อฟื้นฟู เศรษฐกิจอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง
ปู กู้ 3.5แสนล้าน รื้อระบบน้ำ
และในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ตรา พ.ร.ก.ให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ําและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 หลังจากเกิดวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ กทม.เมื่อปลายปี2554 ให้มีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 350,000 ล้านบาทและให้กระทําได้
ภายในกําหนดเวลาไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2556
เมื่อถึงวิกฤตโควิด – 19 รัฐบาลประยุทธ์ จึงต้องเตรียมกู้เงินอีกครั้ง
ประยุทธ็ กู้แก้โควิด
ย้อนกลับไป 30 มีนาคม 2563 ในยุคที่แม่ทัพเศรษฐกิจชื่อ “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” รองนายกรัฐมนตรี เข้าห้องทำงาน “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา”
นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เสนอแพ็กเกจเยียวยาเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากพิษโควิด -19
“สมคิด” เอ่ยปากหลังพบนายกฯ ว่า เตรียมเสนอมาตรการชุดที่ 3 – ชุดใหญ่ เพื่อเยียวยาระบบเศรษฐกิจไทยในช่วงวิฤตการแพร่ระบาดของ
โรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้ชื่อว่า “มาตรการเยียวยา ดูแลระบบเศรษฐกิจไทย”
ที่สุด รัฐบาลประยุทธ์ ได้ออกพระราชกำหนดกู้เงิน ในชื่อว่า พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมวงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2563
รวมถึง พ.ร.ก.ให้อำนาจ ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกสินเชื้อ ดูแลผู้ประกอบการรายเล็ก 5 แสนล้านบาท และดูแลภาคการเงิน 4 แสนล้านบาท
เมื่อโควิด-19 ยังไม่จบง่ายๆ ในเวลาต่อมา 18 พฤษภาคม 2565 ครม.ประยุทธ์ก็อนุมัติ พ.ร.ก.กู้เงินอีก 1 ฉบับ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564
วงเงิน 5 แสนล้านบาท
ลุ้นการกู้เงินครั้งนี้เพื่อดำเนินนโยบายดิจิทัลวอลเลตจะไปรอด – ไม่รอด
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.prachachat.net/politics/news-1435404