อาหารวาร ที่ ๒
[๑๑๓] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร และทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
ก็อาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร ทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร เป็นไฉน? ได้แก่อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ เพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ อย่างเป็นไฉน? คือ
๑ อาหาร คือ คำข้าว หยาบหรือละเอียด
๒ อาหาร คือ ผัสสะ
๓ อาหาร คือ ความคิดอ่าน [จงใจ]
๔ อาหาร คือ วิญญาณ [ความรู้แจ้งทางทวาร ๖]
เหตุเกิดแห่งอาหารย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาหารย่อมมีเพราะตัณหาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจมั่นชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร
ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร ทางที่จะให้ถึงความดับอาหารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และ มานานุสัย ว่าเรามีอยู่ โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
· การไม่บริโภคด้วยตัณหา เช่น ตามใจปาก เป็นต้น แต่บริโภคด้วยการรู้ตัวทั่ว พร้อม บริโภคตามทางสายกลาง ไม่บริโภคเล่น กินจุบกินจิบ ให้กินเป็นมื้อเป็นคราว ไม่ต้องงดหรืออดอาหารจนทำตนหรือร่างกายในทุกข์ กินไปตามปกติ
· กินด้วยการรู้ว่าอะไรคือ ประโยชน์แท้การกินจริง ๆ ไม่กินเล่นตามใจปาก
· การทำให้การกินเป็นการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องไปวัดหรือสถานปฏิบัติธรรม
· มีสติสัมปชัญญะจดจออยู่กับอาหาร ไม่งดหรืออดอาหาร แต่งดหรืออดตัณหา เพื่อละลายความอยาก ยังอร่อยได้โอชะได้สารอาหารจากการกินเหมือนเดิม
· อาหาเรปฏิกูลสัญญา เป็นกรรมฐานสายแนวเดียวกับอสุภกรรมฐานหรือกายคตาสติ สำหรับการละกิเลสสายราคะ เช่นกามราคะ เป็นต้น โดยตรง
· กินอาหารด้วยความว่าง ๆ จากตัณหาจากการตามใจปาก เห็นคุณของการกินแต่พอดี ไม่มากน้อยไป เห็นโทษของการกินด้วยกิเลส อันนำมาซึ่งโรคภัยจากการกินเกินกว่าประมาณ
· กินอาหารหลากหลาย ให้ได้สารอาหารครบ ๕ หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายบ้าง
· ใช้อาหารเป็นจุดกำหนดหรืออารมณ์ของอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำการกินให้เป็นการปฏิบัติธรรม ตามสำนวนว่า “ใช้อาหาร (อาหาร ๔ อย่าง) ละอาหาร (ตัณหา)”
· ในที่สุดนี้ Diet ของเราก็จะไม่ใช่ ไดอด อีกต่อไป แต่จะเป็น Development. Spiritual Development พัฒนาการทางจิตวิญญาณ. หรือ Mind Development การพัฒนาอบรมจิต จิตภาวนา ไปพร้อม ๆ กับ กายภาวนา การพัฒนาอบรมสุขภาพทางกาย ดังกล่าวมาฉะนี้ แล ฯ
Diet ในพระพุทธศาสนา
[๑๑๓] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร และทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
ก็อาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร ทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร เป็นไฉน? ได้แก่อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ เพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ อย่างเป็นไฉน? คือ
๑ อาหาร คือ คำข้าว หยาบหรือละเอียด
๒ อาหาร คือ ผัสสะ
๓ อาหาร คือ ความคิดอ่าน [จงใจ]
๔ อาหาร คือ วิญญาณ [ความรู้แจ้งทางทวาร ๖]
เหตุเกิดแห่งอาหารย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาหารย่อมมีเพราะตัณหาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจมั่นชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร
ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร ทางที่จะให้ถึงความดับอาหารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และ มานานุสัย ว่าเรามีอยู่ โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
· การไม่บริโภคด้วยตัณหา เช่น ตามใจปาก เป็นต้น แต่บริโภคด้วยการรู้ตัวทั่ว พร้อม บริโภคตามทางสายกลาง ไม่บริโภคเล่น กินจุบกินจิบ ให้กินเป็นมื้อเป็นคราว ไม่ต้องงดหรืออดอาหารจนทำตนหรือร่างกายในทุกข์ กินไปตามปกติ
· กินด้วยการรู้ว่าอะไรคือ ประโยชน์แท้การกินจริง ๆ ไม่กินเล่นตามใจปาก
· การทำให้การกินเป็นการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องไปวัดหรือสถานปฏิบัติธรรม
· มีสติสัมปชัญญะจดจออยู่กับอาหาร ไม่งดหรืออดอาหาร แต่งดหรืออดตัณหา เพื่อละลายความอยาก ยังอร่อยได้โอชะได้สารอาหารจากการกินเหมือนเดิม
· อาหาเรปฏิกูลสัญญา เป็นกรรมฐานสายแนวเดียวกับอสุภกรรมฐานหรือกายคตาสติ สำหรับการละกิเลสสายราคะ เช่นกามราคะ เป็นต้น โดยตรง
· กินอาหารด้วยความว่าง ๆ จากตัณหาจากการตามใจปาก เห็นคุณของการกินแต่พอดี ไม่มากน้อยไป เห็นโทษของการกินด้วยกิเลส อันนำมาซึ่งโรคภัยจากการกินเกินกว่าประมาณ
· กินอาหารหลากหลาย ให้ได้สารอาหารครบ ๕ หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายบ้าง
· ใช้อาหารเป็นจุดกำหนดหรืออารมณ์ของอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำการกินให้เป็นการปฏิบัติธรรม ตามสำนวนว่า “ใช้อาหาร (อาหาร ๔ อย่าง) ละอาหาร (ตัณหา)”
· ในที่สุดนี้ Diet ของเราก็จะไม่ใช่ ไดอด อีกต่อไป แต่จะเป็น Development. Spiritual Development พัฒนาการทางจิตวิญญาณ. หรือ Mind Development การพัฒนาอบรมจิต จิตภาวนา ไปพร้อม ๆ กับ กายภาวนา การพัฒนาอบรมสุขภาพทางกาย ดังกล่าวมาฉะนี้ แล ฯ