เมื่อลูกเป็นโรคหอบหืด ทราบได้อย่างไรว่าลูกมีอาการหอบหืด
ลูกจะหายใจเร็วและแรงกว่าปกติ อาจได้ยินเสียงหวีดขณะหายใจ หน้าอกบุ๋ม และอาจเห็นปีกจมูกบาน
เด็กที่พูดได้จะบอกว่าเหนื่อย แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ถ้าเป็นมากลูกจะเหนื่อยจนไม่มีแรงพูด อาจพบว่าริมฝีปากมีสีเขียวคล้ำได้
อาการหอบในเด็ก เป็นอาการแสดง การหายใจลำบาก และ เป็นอันตรายถึงชีวิต
วันนี้พี่หมอฝั่งธน....จะพามาให้ความรู้ สาเหตุ อาการหอบในเด็ก
อาการหอบในเด็ก เป็นอาการหายใจลำบากและเป็นอันตรายถึงชีวิต
ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด หากมีอาการดังนี้
• หายใจเร็วตื้น หรือ หายใจหอบลึก
• ปลายมือ ปลายเท้า หรือ ริมฝีปากเขียว
• แน่นหน้าอกคล้ายสูดหายใจเข้าไม่ได้
• ทรวงอกบุ๋ม
สาเหตุอาการหอบในเด็ก เกิดจาก
จากระบบหายใจ เช่น
• หลอดลมผิดปกติ ก็เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น หลอดลมไว , หอบหืด
หลอดลมฝอยบวมอักเสบจากการติดเชื้อ , หลอดลมตีบ, หลอดลมอุดกั้น
• ถุงลมปอดผิดปกติ เช่น ปอดติดเชื้อ
• เนื้อเยื่อปอดผิดปกติ เช่น โรคเนื้อเยื่อปอดผิดปกติ
• ของเหลวในช่องเยื่อหุ้มปอด เช่น จากการติดเชื้อ
จากระบบอื่นๆ เช่น
• น้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับภาวะเลือดเป็นกรด มักเกิดในเด็กที่เป็นเบาหวาน
• โรคหัวใจ โรคไต และภาวะน้ำเกินในร่างกาย
อาการหายใจหอบจากเสียงหายใจวี๊ด
เสียงวี๊ดนี้จะถูกตรวจพบได้จากการฟังของแพทย์ ซึ่งเกิดจากอากาศไหลผ่านหลอดลมที่แคบ
ทำให้อากาศไหลวนและเกิดเป็นเสียง บ่งบอกถึงอาการหอบมาจากปัญหาที่หลอดลม
เมื่ออากาศไหลผ่านได้น้อยออกซิเจนและการแลกเปลี่ยนก๊าซของเสียได้ลดลง จึงกระตุ้นให้ร่างกายเพิ่มการหายใจ
โดยจะแสดงอาการหายใจเร็ว กล้ามเนื้อมัดเล็กออกแรงช่วยหายใจเพิ่มจึงทำให้สังเกตเห็นทรวงอกบุ๋ม
และเมื่ออากาศเข้าไม่เพียงพอ จะมีอาการเขียวจากการขาดออกซิเจน และหมดสติจากก๊าซของเสียสะสมมากในร่างกาย
การตรวจร่างกายโดยแพทย์จะช่วยประเมินเสียงหายใจวี๊ด
สาเหตุอาการหายใจเสียงวี๊ดในเด็กเล็กที่พบบ่อย
• หลอดลมฝอยบวมอักเสบจากการติดเชื้อ พบบ่อยในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี จากการติดเชื้อไวรัส
มีอาการไข้หวัดนำมาก่อน และหายใจเหนื่อยมากขึ้น หลอมลมฝอยในเด็กเล็กยังมีขนาดเล็ก
และผนังบวมอักเสบจากกลไกการติดเชื้อ มีเสมหะอยู่ภายใน ทำให้อากาศเข้าได้ยากหรือออกได้ยาก
การพ่นยาเพื่อขยายหลอดลมอาจตอบสนองได้บางส่วน โดยการช่วยขับระบายเสมหะด้วยวิธีที่เหมาะสมมีส่วนช่วยได้มาก
การได้ยาสเตียรอยด์กินหรือฉีดไม่ได้มีข้อบ่งชี้ในการรักษา
ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการหดเกร็งของหลอมลมฝอยร่วมด้วยจากกลไกกระตุ้นของไวรัสบางชนิด
ทำให้อาการหอบเหนื่อยเป็นมากขึ้น ธรรมชาติของโรคจะดีขึ้นเมื่อขับระบายเสมหะได้ดี และเยื่อบุทางเดินหายใจยุบบวม
ทั้งนี้ควรได้รับการตรวจประเมินเพิ่มเติมโดยแพทย์เฉพาะทางและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมในผู้ป่วยรายนั้นต่อไป
• ภาวะหลอดลมไว เมื่อหลอดลมได้รับการกระตุ้น เช่น การติดเชื้อจะมีอาการหดเกร็งทำให้หลอดลมแคบลงและอากาศผ่านได้ยาก
การพ่นยาเพื่อขยายหลอดลมมักตอบสนองดีชั่วคราว สาเหตุอาการหดเกร็งมีกลไกที่ซับซ้อนต้องอาศัยการรักษาด้วยยาชนิดอื่นๆ
ทั้งชนิดยาสูดพ่น และให้ยาทางเส้นเลือด เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาลดการหดเกร็งกล้ามเนื้อหลอดลม เป็นต้น.
อาการหลอดลมไวที่พบบ่อยในเด็กเล็กยังวินิจฉัยได้ไม่แน่ชัด ต้องติดตามใกล้ชิดเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อโรคหอบหืดต่อไป
(แต่มักพบว่ามีประวัติหอบหายใจเสียงวี๊ดและตอบสนองต่อยาพ่นเพื่อขยายหลอดลมเกิน 3 ครั้งในชีวิต หรือเสียงวี๊ดที่มีการหายใจเหนื่อยรุนแรง)
• สาเหตุอื่นที่ควรได้รับการตรวจเพิ่มเติมโดยแพทย์เฉพาะทาง คือ เสียงหายใจวี๊ดเฉพาะตำแหน่ง
(เช่น วัณโรคในหลอดลม วัตถุแปลกปลอม โครงสร้างหลอดลมผิดปกติแต่กำเนิด)
เสียงวี๊ดขนาดใหญ่ที่อาจมีพยาธิสภาพที่หลอดลมใหญ่
(เช่น หลอดลมใหญ่ตีบแคบแต่กำเนิดหรือหลังการใส่ท่อช่วยหายใจ หลอดเลือดใหญ่ในทรวงอกกดทับ)
สาเหตุการหายใจเหนื่อยหอบที่ไม่เกิดจากเสียงวี๊ด ที่พบบ่อยในเด็ก
• ปอดติดเชื้อ บริเวณถุงลมเกิดการอักเสบ
• หลอดลมโป่งพอง เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
หรือวัณโรค ทำให้หลอดลมเสียสภาพถาวร ขับระบายเสมหะได้ยากและไอเรื้อรัง
• ปอดแฟบ เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น สำลักวัตถุแปลกปลอม เสมหะอุดตัน
หลอดลมถูกกดเบียดจากต่อมน้ำเหลืองโต หรือก้อนในทรวงอก
• ของเหลวในเยื่อหุ้มปอดติดเชื้อที่มีภาวะแทรกซ้อน
• หลอดเลือดปอดอุดตัน มักหายใจเหนื่อยและเจ็บหน้าอกเฉียบพลัน หรือมีอาการเขียวร่วมด้วย
สาเหตุเช่น ก้อนเลือดอุดตัน ก้อนการติดเชื้ออุดตันในบริเวณหลอดเลือด
สามารถรักษาได้อย่างไร
1. การใช้ยา แบ่งยารักษาออกเป็นสองกลุ่ม
การบรรเทาอาการ (Quick reliever) เช่น ยาขยายหลอดลม ซึ่งเป็นยาบรรเทาอาการเวลาเด็กมีอาการ ไอหรือหอบหืดกำเริบ
สามารถออกฤทธิ์บรรเทาอาการหลอดลมตีบได้อย่างรวดเร็ว
ยาควบคุมอาการ (controller) ต้องใช้เป็นประจำทุกวัน โดยแพทย์จะพิจารณาเลือกใช้ยาตามความรุนแรงของโรค
และแนะนำให้ใช้ยาอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมอาการไม่ให้เกิดโรคกำเริบ
– สเตียรอยด์แบบพ่น เป็นยาหลักในการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ป่วยควรได้รับการพ่นยาอย่างอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ
– ยาต้านฤทธิ์ Leukotriene
2. การเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และสารอื่นๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ
3. การรักษาโรคร่วมที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ เช่นโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ เป็นต้น
4. การดูแลสุขภาพทั่วไป เช่น การออกกำลังกายที่เหมาะสม การนอนหลับให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
5. รับวัคซีนป้องกันโรค โดยเฉพาะกลุ่มโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
ได้แก่ วัคซีนไอกรน วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนนิวโมคอคคัส (IPD) วัคซีนหัด
การป้องกันการเกิดโรคหืด
หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ สารก่อภูมิแพ้และสารอื่นๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ
การคลอดปกติ
การให้นมแม่อย่างน้อยจนถึงอายุ 4-6 เดือน
หลีกเลี่ยงใกล้ชิดกับป่วยเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อในช่วงอายุ 1 ปีแรก
หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ สารระคายเคือง โดยเฉพาะควันบุหรี่
จะเห็นได้ว่าสาเหตุอาการหอบที่พบบ่อยในเด็กมีหลากหลาย โดยในแต่ละภาวะมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกันออกไป
ดังนั้น อาการหอบในเด็กควรได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและตรวจประเมินสาเหตุที่แท้จริง
โรคหอบหืดในเด็กปัจจุบันมีแนวทางการวินิจฉัยและรักษาที่ชัดเจน
คนไข้ควรได้รับการตรวจประเมินโดยแพทย์และให้การรักษาที่เหมาะสม ค่ะ
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.thonburihospital.com/asthma/
https://www.thonburihospital.com/specialisecenter/pediatric-center/
สาเหตุ อาการหอบในเด็ก
ลูกจะหายใจเร็วและแรงกว่าปกติ อาจได้ยินเสียงหวีดขณะหายใจ หน้าอกบุ๋ม และอาจเห็นปีกจมูกบาน
เด็กที่พูดได้จะบอกว่าเหนื่อย แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ถ้าเป็นมากลูกจะเหนื่อยจนไม่มีแรงพูด อาจพบว่าริมฝีปากมีสีเขียวคล้ำได้
อาการหอบในเด็ก เป็นอาการแสดง การหายใจลำบาก และ เป็นอันตรายถึงชีวิต
วันนี้พี่หมอฝั่งธน....จะพามาให้ความรู้ สาเหตุ อาการหอบในเด็ก
อาการหอบในเด็ก เป็นอาการหายใจลำบากและเป็นอันตรายถึงชีวิต
ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด หากมีอาการดังนี้
• หายใจเร็วตื้น หรือ หายใจหอบลึก
• ปลายมือ ปลายเท้า หรือ ริมฝีปากเขียว
• แน่นหน้าอกคล้ายสูดหายใจเข้าไม่ได้
• ทรวงอกบุ๋ม
สาเหตุอาการหอบในเด็ก เกิดจาก
จากระบบหายใจ เช่น
• หลอดลมผิดปกติ ก็เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น หลอดลมไว , หอบหืด
หลอดลมฝอยบวมอักเสบจากการติดเชื้อ , หลอดลมตีบ, หลอดลมอุดกั้น
• ถุงลมปอดผิดปกติ เช่น ปอดติดเชื้อ
• เนื้อเยื่อปอดผิดปกติ เช่น โรคเนื้อเยื่อปอดผิดปกติ
• ของเหลวในช่องเยื่อหุ้มปอด เช่น จากการติดเชื้อ
จากระบบอื่นๆ เช่น
• น้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับภาวะเลือดเป็นกรด มักเกิดในเด็กที่เป็นเบาหวาน
• โรคหัวใจ โรคไต และภาวะน้ำเกินในร่างกาย
อาการหายใจหอบจากเสียงหายใจวี๊ด
เสียงวี๊ดนี้จะถูกตรวจพบได้จากการฟังของแพทย์ ซึ่งเกิดจากอากาศไหลผ่านหลอดลมที่แคบ
ทำให้อากาศไหลวนและเกิดเป็นเสียง บ่งบอกถึงอาการหอบมาจากปัญหาที่หลอดลม
เมื่ออากาศไหลผ่านได้น้อยออกซิเจนและการแลกเปลี่ยนก๊าซของเสียได้ลดลง จึงกระตุ้นให้ร่างกายเพิ่มการหายใจ
โดยจะแสดงอาการหายใจเร็ว กล้ามเนื้อมัดเล็กออกแรงช่วยหายใจเพิ่มจึงทำให้สังเกตเห็นทรวงอกบุ๋ม
และเมื่ออากาศเข้าไม่เพียงพอ จะมีอาการเขียวจากการขาดออกซิเจน และหมดสติจากก๊าซของเสียสะสมมากในร่างกาย
การตรวจร่างกายโดยแพทย์จะช่วยประเมินเสียงหายใจวี๊ด
สาเหตุอาการหายใจเสียงวี๊ดในเด็กเล็กที่พบบ่อย
• หลอดลมฝอยบวมอักเสบจากการติดเชื้อ พบบ่อยในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี จากการติดเชื้อไวรัส
มีอาการไข้หวัดนำมาก่อน และหายใจเหนื่อยมากขึ้น หลอมลมฝอยในเด็กเล็กยังมีขนาดเล็ก
และผนังบวมอักเสบจากกลไกการติดเชื้อ มีเสมหะอยู่ภายใน ทำให้อากาศเข้าได้ยากหรือออกได้ยาก
การพ่นยาเพื่อขยายหลอดลมอาจตอบสนองได้บางส่วน โดยการช่วยขับระบายเสมหะด้วยวิธีที่เหมาะสมมีส่วนช่วยได้มาก
การได้ยาสเตียรอยด์กินหรือฉีดไม่ได้มีข้อบ่งชี้ในการรักษา
ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการหดเกร็งของหลอมลมฝอยร่วมด้วยจากกลไกกระตุ้นของไวรัสบางชนิด
ทำให้อาการหอบเหนื่อยเป็นมากขึ้น ธรรมชาติของโรคจะดีขึ้นเมื่อขับระบายเสมหะได้ดี และเยื่อบุทางเดินหายใจยุบบวม
ทั้งนี้ควรได้รับการตรวจประเมินเพิ่มเติมโดยแพทย์เฉพาะทางและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมในผู้ป่วยรายนั้นต่อไป
• ภาวะหลอดลมไว เมื่อหลอดลมได้รับการกระตุ้น เช่น การติดเชื้อจะมีอาการหดเกร็งทำให้หลอดลมแคบลงและอากาศผ่านได้ยาก
การพ่นยาเพื่อขยายหลอดลมมักตอบสนองดีชั่วคราว สาเหตุอาการหดเกร็งมีกลไกที่ซับซ้อนต้องอาศัยการรักษาด้วยยาชนิดอื่นๆ
ทั้งชนิดยาสูดพ่น และให้ยาทางเส้นเลือด เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาลดการหดเกร็งกล้ามเนื้อหลอดลม เป็นต้น.
อาการหลอดลมไวที่พบบ่อยในเด็กเล็กยังวินิจฉัยได้ไม่แน่ชัด ต้องติดตามใกล้ชิดเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อโรคหอบหืดต่อไป
(แต่มักพบว่ามีประวัติหอบหายใจเสียงวี๊ดและตอบสนองต่อยาพ่นเพื่อขยายหลอดลมเกิน 3 ครั้งในชีวิต หรือเสียงวี๊ดที่มีการหายใจเหนื่อยรุนแรง)
• สาเหตุอื่นที่ควรได้รับการตรวจเพิ่มเติมโดยแพทย์เฉพาะทาง คือ เสียงหายใจวี๊ดเฉพาะตำแหน่ง
(เช่น วัณโรคในหลอดลม วัตถุแปลกปลอม โครงสร้างหลอดลมผิดปกติแต่กำเนิด)
เสียงวี๊ดขนาดใหญ่ที่อาจมีพยาธิสภาพที่หลอดลมใหญ่
(เช่น หลอดลมใหญ่ตีบแคบแต่กำเนิดหรือหลังการใส่ท่อช่วยหายใจ หลอดเลือดใหญ่ในทรวงอกกดทับ)
สาเหตุการหายใจเหนื่อยหอบที่ไม่เกิดจากเสียงวี๊ด ที่พบบ่อยในเด็ก
• ปอดติดเชื้อ บริเวณถุงลมเกิดการอักเสบ
• หลอดลมโป่งพอง เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
หรือวัณโรค ทำให้หลอดลมเสียสภาพถาวร ขับระบายเสมหะได้ยากและไอเรื้อรัง
• ปอดแฟบ เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น สำลักวัตถุแปลกปลอม เสมหะอุดตัน
หลอดลมถูกกดเบียดจากต่อมน้ำเหลืองโต หรือก้อนในทรวงอก
• ของเหลวในเยื่อหุ้มปอดติดเชื้อที่มีภาวะแทรกซ้อน
• หลอดเลือดปอดอุดตัน มักหายใจเหนื่อยและเจ็บหน้าอกเฉียบพลัน หรือมีอาการเขียวร่วมด้วย
สาเหตุเช่น ก้อนเลือดอุดตัน ก้อนการติดเชื้ออุดตันในบริเวณหลอดเลือด
สามารถรักษาได้อย่างไร
1. การใช้ยา แบ่งยารักษาออกเป็นสองกลุ่ม
การบรรเทาอาการ (Quick reliever) เช่น ยาขยายหลอดลม ซึ่งเป็นยาบรรเทาอาการเวลาเด็กมีอาการ ไอหรือหอบหืดกำเริบ
สามารถออกฤทธิ์บรรเทาอาการหลอดลมตีบได้อย่างรวดเร็ว
ยาควบคุมอาการ (controller) ต้องใช้เป็นประจำทุกวัน โดยแพทย์จะพิจารณาเลือกใช้ยาตามความรุนแรงของโรค
และแนะนำให้ใช้ยาอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมอาการไม่ให้เกิดโรคกำเริบ
– สเตียรอยด์แบบพ่น เป็นยาหลักในการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ป่วยควรได้รับการพ่นยาอย่างอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ
– ยาต้านฤทธิ์ Leukotriene
2. การเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และสารอื่นๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ
3. การรักษาโรคร่วมที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ เช่นโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ เป็นต้น
4. การดูแลสุขภาพทั่วไป เช่น การออกกำลังกายที่เหมาะสม การนอนหลับให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
5. รับวัคซีนป้องกันโรค โดยเฉพาะกลุ่มโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
ได้แก่ วัคซีนไอกรน วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนนิวโมคอคคัส (IPD) วัคซีนหัด
การป้องกันการเกิดโรคหืด
หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ สารก่อภูมิแพ้และสารอื่นๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ
การคลอดปกติ
การให้นมแม่อย่างน้อยจนถึงอายุ 4-6 เดือน
หลีกเลี่ยงใกล้ชิดกับป่วยเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อในช่วงอายุ 1 ปีแรก
หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ สารระคายเคือง โดยเฉพาะควันบุหรี่
จะเห็นได้ว่าสาเหตุอาการหอบที่พบบ่อยในเด็กมีหลากหลาย โดยในแต่ละภาวะมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกันออกไป
ดังนั้น อาการหอบในเด็กควรได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและตรวจประเมินสาเหตุที่แท้จริง
โรคหอบหืดในเด็กปัจจุบันมีแนวทางการวินิจฉัยและรักษาที่ชัดเจน
คนไข้ควรได้รับการตรวจประเมินโดยแพทย์และให้การรักษาที่เหมาะสม ค่ะ
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.thonburihospital.com/asthma/
https://www.thonburihospital.com/specialisecenter/pediatric-center/