ไบเดนแนะ ‘พักรบชั่วคราว’ เปิดทางปล่อยตัวประกัน
https://www.bangkokbiznews.com/world/1096752
ประธานาธิบดี
โจ ไบเดน แถลง อิสราเอลและฮามาสควร “
พักรบชั่วคราว” เพื่อให้มีเวลาปล่อยตัวประกันที่ถูกควบคุมตัวในฉนวนกาซา แต่ไม่ได้พูดถึงการหยุดยิงเต็มรูปแบบ
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงาน ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ตอบข้อซักถามของผู้ประท้วงรายหนึ่ง ระหว่างระดมทุนที่เมืองมินนีแอโพลิส รัฐมินนิโซตา เมื่อวันพุธ (1 พ.ย.) ตามเวลาท้องถิ่น
“
ผมอยากให้คุณเรียกร้องให้หยุดยิงเดี๋ยวนี้” ผู้ประท้วงโพล่งถาม
ไบเดน ได้คำตอบว่า “
ผมคิดว่าเราจำเป็นต้องหยุดชั่วคราว การหยุดชั่วคราวหมายถึงการให้เวลาสำหรับเอานักโทษออกมา”
ผู้นำสหรัฐให้เครดิตนายกรัฐมนตรี
เบนจามิน เนทันยาฮูของอิสราเอล ที่ให้เวลา “
นำตัวนักโทษออกมา” ก่อนเปิดการบุกภาคพื้นดิน และสำหรับการจูงใจให้ประธานาธิบดี
อับเดล ฟัตตาห์ เอล ซีซี ของอียิปต์ ที่อนุญาตให้ชาวต่างชาติและชาวปาเลสไตน์บาดเจ็บออกจากกาซาผ่านอียิปต์
ก่อนหน้านั้นในวันเดียวกัน อียิปต์เปิดจุดข้ามแดนราฟาห์ที่ติดกับกาซา อนุญาตให้ประชาชนกลุ่มแรกรวมถึงชาวอเมริกันจำนวนหนึ่งหนีการสู้รบออกมาได้
ส่วนตัว
ไบเดนถูกกลุ่มหัวก้าวหน้า ชาวมุสลิม และชาวอเมริกันเชื้อสายอาหรับวิจารณ์อย่างหนักที่ไปสนับสนุนอิสราเอลโจมตีฮามาสทำให้พลเรือนในกาซาเสียชีวิตหลายพันคน
ตอนมาระดมทุนที่มินนิโซตา
ไบเดนเจอผู้ประท้วงที่เขาไปสนับสนุนปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอลตอบโต้การสังหารหมู่ของฮามาสเมื่อวันที่ 7 ต.ค. ผู้ประท้วงคนหนึ่งที่ตั้งคำถามกับไบเดนอ้างว่าเป็นแรบไบ (นักบวชยิว) เชื่อ
เจสสิกา โรเซนเบิร์ก
“
ผมเข้าใจอารมณ์ความรู้สึก นี่เป็นความลำบากอย่างไม่น่าเชื่อสำหรับชาวอิสราเอล เป็นความลำบากอย่างไม่น่าเชื่อสำหรับโลกมุสลิมเช่นกัน”
ในงานดังกล่าว
ไบเดนกล่าวด้วยว่า เขาสนับสนุนแนวทางสองรัฐให้สร้างรัฐปาเลสไตน์เคียงข้างอิสราเอล
แต่ก็ปกป้องสิทธิของอิสราเอลในการไล่ล่าฮามาสที่สหรัฐและสหภาพยุโรปมองว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย หลังจากฮามาสสังหารชาวอิสราเอลไปราว 1,400 คน ส่วนใหญ่เป็นพลเรือน จับเป็นตัวประกันอีกราว 240 คน
“
ข้อเท็จจริงที่สำคัญคือฮามาสเป็นองค์การก่อการร้าย องค์การก่อการร้ายเต็มตัว” ประธานาธิบดีสหรัฐย้ำ
ในงานหนึ่งที่จัดขึ้นวันพุธเช่นกัน ไบเดนกล่าวว่า เขากระตุ้นให้เพิ่มความช่วยเหลือเข้าไปในกาซา และเรียกร้องให้อิสราเอลปฏิบัติการทางทหาร “
สอดคล้องกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ที่ต้องปกป้องชีวิตพลเมืองเป็นสำคัญ”
“กัณวีร์” มองยุบกอ.รมน.เท่ากับย้ายโครงสร้างทหาร
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_635249/
“กัณวีร์” มองไม่ใช่แค่ยุบ กอ.รมน. แต่ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างนำทหารออกไป จะกระจายอำนาจได้ง่ายขึ้น
นาย
กัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม เปิดเผยสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น. ว่าการยุบ กอ.รมน. นั้นในมุมแรกมองว่า ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งทางพรรคเป็นธรรม และตนก็ได้พูดชัดเจนโดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และรวมกับ 4 อำเภอสงขลา เราเสนอให้มีการยุบ กอ.รมน. ไม่ใช่ยุบแค่ กอ.รมน.อย่างเดียว จะยุบ สปป. ไปด้วย เพราะในเรื่องนี้ เราเห็นความชัดเจนว่าปัญหามันอยู่ในเรื่องเกี่ยวกับระบบโครงสร้างของระบบราชการในพื้นที่ เพราะว่าในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของปัตตานี
มันมีความทับซ้อน ความซับซ้อน ของโครงสร้างระบบราชการทั้งตัว กอ.รมน. สปต. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ,องค์กรปกครองส่วนภูมิภาคเอง คือมันมีหลายๆ อย่างจนให้สร้างเงื่อนไขมากกว่าลดเงื่อนไข เพราะฉะนั้นเรามองเห็นว่าจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง เราจึงเสนอให้มีการยุบ กอ.รมน. แต่ว่าถ้าเรามองในมุมกว้างจะเห็นชัดเจนว่า กอ.รมน. เป็นองกรที่จริงๆ แล้วมันน่าจะดำเนินงานและนำหน้าโดยพลเรือน เราเห็นว่าควรจะมีพลเรือน ตำรวจเข้ามาเดินหน้า ซึ่งโครงสร้างทหารหลังจากที่ยุติบทบาท กอ.รมน.ไปช่วงหนึ่งแล้วมีการฟื้นตัว
กอ.รมน.มาในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา มันเป็นการโยกย้ายโครงสร้างกองทัพเข้ามาอยู่โครงสร้างของ กอ.รมน. จริงๆทหารควรเป็นหน่วยสนับสนุนเท่านั้น การยุบกอ.รมน.จริงๆแล้วถ้าเราสามารถโยกย้ายโครงสร้างกองทัพออกจาก กอ.รมน. มันจะทำให้การสนับสนุนในเรื่องของการกระจายอำนาจได้ง่ายขึ้น อันนี้จะทำให้เราเดินหน้าได้ แต่ถ้าเรายังยึดมั่นในโครงสร้างเดิมคิดว่ายังไงก็เผชิญปัญหาแน่นอน
ทั้งนี้นาย
กัณวีร์ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ว่าเวลามีการเสนอปฏิรูปกองทัพ มีการปฏิรูป กอ.รมน. เราเสนอเป็นจุดๆ ไปเท่านั้นเอง ถ้ามีการเสนอการปรับเปลี่ยนโครงสร้างความมั่นคงทั้งระบบ มองว่าตรงนี้น่าจะเป็นส่วนที่ยอมรับได้ เพราะว่าเราจะเสนอถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ โดยเฉพาะความมั่นคง ถ้าเรายกออกไปได้ทั้งองคาพยบจะทำให้ความมั่นคงของเรามุงเน้นเฉพาะเรื่องความมั่นคง
พริษฐ์ เปิดมติตัวเอง โต้ครหา อุ้มส.ส.ปูอัด ย้ำเห็นด้วยขับพ้นพรรค
https://www.matichon.co.th/politics/news_4263135
พริษฐ์ เปิดมติตัวเอง โต้ครหา อุ้ม ส.ส.ปูอัด ย้ำเห็นด้วยขับพ้นพรรค
จากกรณีที่ เมื่อเวลา 23.00 น. วันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ รัฐสภา นาย
ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค และส.ส.ของพรรคก้าวไกล เพื่อหาข้อยุติกรณีข้อกล่าวหา ส.ส.มีพฤติกรรมคุกคามทางเพศ 2 กรณี คือ นาย
วุฒิพงศ์ ทองเหลา ส.ส.ปราจีนบุรี พรรคก้าวไกล และนาย
ไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล ว่า ที่ประชุมพรรคและ ส.ส.ซึ่งมาประชุมจำนวน 128 คน เนื่องจากหลายคนติดภารกิจ ผลการพิจารณา ปรากฎว่า เห็นตรงกันว่าทั้ง 2 กรณีมีพฤติกรรมคุกคามทางเพศจริง ถือว่าขัดต่อวินัยพรรคขั้นร้ายแรง และอุดมการณ์ และคุณค่าของพรรค ซึ่งโทษสูงสุดคือให้พ้นจากสมาชิกพรรค รองลงมาคือ คัดสิทธิพึงมีและคาดโทษตามกรณี ตามที่มีการนำเสนอข่าวไปแล้วนั้น
เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ หรือ ไอติม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้โพสต์ถึงกรณีดังกล่าวผ่านเว็บไซต์เอ็กซ์ (ทวิตเตอร์เดิม) ว่า
อย่างที่หลายคนทราบจากแถลงการณ์ของหัวหน้าพรรคเมื่อคืน ว่าในส่วนของข้อกล่าวเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศของ ส.ส. ก้าวไกลใน 2 กรณี กรรมการบริหารพรรคได้พิจารณาข้อเท็จจริงแล้วมีมติว่าทั้ง 2 กรณี มีพฤติการณ์ที่คุกคามทางเพศจริง และผิดวินัยร้ายแรงของพรรค โดยเสนอให้ขับพ้นจากสมาชิกพรรค
เมื่อมีข้อเสนอดังกล่าว รัฐธรรมนูญ 2560 ได้กำหนดไว้ว่าการขับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องเป็นการลงมติในที่ประชุมร่วมกันระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมการบริหารพรรค โดยการลงมตินั้นจะต้องได้รับเสียง 3 ใน 4 ของจำนวน ส.ส. และกรรมการบริหารพรรคทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ (ไม่ใช่แค่ที่มาประชุม) ซึ่งจะอยู่ที่จำนวน 116 เสียง จาก 154 เสียง
ผลที่ปรากฎจากการลงมติของ ส.ส. และกรรมการบริหารพรรคที่มาร่วมประชุมทั้งหมด 128 คน:
1. กรณี ส.ส. วุฒิพงษ์ ทองเหลา (ปราจีนบุรี)
– 120 คนลงมติให้ขับออก จึงทำให้การขับออกเกิดขึ้นได้ (เนื่องจากมากกว่า 116 เสียงตามเกณฑ์ 3 ใน 4)
2. กรณี ส.ส. ไชยามพวาน มั่นเพียรจิต (กทม.)
– 106 คนลงมติให้ขับออก จึงทำให้การขับออกยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ (เนื่องจากน้อยกว่า 116 เสียงตามเกณฑ์ 3 ใน 4)
ผมเข้าใจดีว่า ส.ส. ในที่ประชุมคนแต่ละคนได้อภิปรายและลงมติบนข้อตกลงร่วมกันว่าจะไม่มีการเปิดเผยความเห็นหรือการลงมติรายบุคคล แต่ล่าสุด มีบางเพจที่ได้กล่าวหาว่าผมเป็น 1 ใน ส.ส. ที่ลงมติไม่เห็นชอบกับการขับออกคุณไชยามพวาน รวมถึงกล่าวหาว่าผม “รวบรวมเสียง” ให้คนโหวตไม่เห็นด้วยกับการขับออกเพื่อปกป้อง “พวกพ้อง” เนื่องจากผมรู้จักกับคุณไชยามพวานมาก่อนที่เขาจะมาสมัครเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกล
ผมถือว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่อยู่บนข้อเท็จจริงและเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงมาก ผมจึงจำเป็นต้องชี้แจงความจริงดังต่อไปนี้
1. ผมยืนยันว่าจุดยืนและการทำงานของผมตลอดที่ผ่านมา ยึดอยู่บนหลักการที่ผมคิดว่าถูกต้องและข้อเท็จจริงเท่านั้นในทุกกรณี ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับคนที่ผมรู้จักหรือเคยร่วมงานกันมามากน้อยแค่ไหน
2. แม้ผมไม่ได้อยู่ในคณะกรรมการวินัยและกรรมการบริหารพรรคที่รับผิดชอบเรื่องการพิจารณาข้อเท็จจริงของทุกข้อร้องเรียนทางวินัย แต่ในฐานะโฆษกพรรค ผมย่อมต้องมีการทำงานร่วมกันกับคณะกรรมการวินัยในขั้นตอนที่ต้องมีการเตรียมการสื่อสาร – ดังนั้น เมื่อผมทราบว่ามีเรื่องร้องเรียนต่อคุณไชยามพวาน ผมจึงได้ระมัดระวังและเว้นระยะห่างเป็นพิเศษจากกระบวนการทั้งหมดในกรณีนี้ โดยได้แจ้งเหตุผลดังกล่าวต่อประธานกรรมการวินัยพรรค และหลีกเลี่ยงในการแสดงความเห็นใดๆนอกรอบกับ ส.ส. ทุกคนในพรรคที่สอบถามเข้ามา
3. ในที่ประชุมเมื่อวานที่คณะกรรมการวินัยและกรรมการบริหารพรรคได้มีการรายงานข้อเท็จจริงต่อ ส.ส. ทุกคน เพื่อเปิดให้มีกาารอภิปรายความเห็นก่อนจะลงมติ ผมก็ได้ลุกขึ้นอภิปราย โดยมีประเด็นที่สำคัญว่า
– (i) ในมุมมองของผม การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่มีความผิดที่ชัดเจน คือการมีความสัมพันธ์กับทีมงานของตนเอง เพราะไม่ว่าสถานการณ์เฉพาะหน้าดูเหมือนจะมีการยินยอมหรือไม่ แต่ในเมื่อทั้งสองอยู่ใน “ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกัน” ที่ฝ่ายหนึ่งสามารถให้คุณให้โทษอีกฝ่ายหนึ่งได้ในหน้าที่การงาน ดังนั้น จึงไม่สามารถถูกตีความได้ว่าเป็น “ความยินยอม” ที่แท้จริง
– (ii) หากตระหนักว่ากระทำผิดดังกล่าว ทางออกที่ควรจะเป็นคือการที่ผู้กระทำผิด แสดงความรับผิดชอบทางการเมือง โดยที่ไม่ต้องรอให้มีกระบวนการวินิจฉัยลงโทษอย่างเป็นทางการ
4. ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผมจึงเป็น 1 คนที่ลงมติเห็นด้วยกับการขับออกคุณไชยามพวาน ซึ่งเป็นการลงคะแนนแบบเปิดเผยที่เพื่อนๆ ส.ส. ทุกคนรับรู้ และเป็นการตัดสินใจบนหลักการและเหตุผลที่ผมยึดถือ
5. ผมขออภัยเพื่อนๆ ส.ส. ที่ผมจำเป็นต้องเปิดเผยการลงมติของตนเองต่อสาธารณะ แต่ผมจำเป็นต้องชี้แจงข้อกล่าวหาที่รุนแรงว่าผมได้ใช้เหตุผลเรื่องความสัมพันธ์ส่วนตัวในการลงคะแนนและโน้มน้าวคนอื่นในการลงคะแนน ซึ่งไม่เป็นความจริง และผมเชื่อว่า ส.ส. คนอื่นที่เห็นต่างกับผมและลงมติไม่เห็นด้วยกับการขับออกคุณไชยามพวาน ก็ได้ตัดสินใจบนหลักการและเหตุผลที่เขายึดถือ ไม่ใช่เพราะความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือการ “ปกป้องพวกพ้อง”
ผมเชื่อว่าคงไม่ใช่ทุกคนที่เห็นด้วยกับเหตุผลหรือการตัดสินใจของผม แต่ผมยืนยันว่าทุกการตัดสินใจของผมยึดอยู่บนหลักการที่ผมเชื่อว่าถูกต้อง และเป็นหลักการที่ต้องนำมาใช้กับทุกคนอย่างเสมอภาค
https://twitter.com/paritw92/status/1719901113145790595
JJNY : ไบเดนแนะ ‘พักรบชั่วคราว’ ปล่อยตัวประกัน│“กัณวีร์”มองยุบกอ.รมน.│พริษฐ์ เปิดมติตัวเอง โต้ครหา│แม่ค้าทำเนียบโวยนายกฯ
https://www.bangkokbiznews.com/world/1096752
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แถลง อิสราเอลและฮามาสควร “พักรบชั่วคราว” เพื่อให้มีเวลาปล่อยตัวประกันที่ถูกควบคุมตัวในฉนวนกาซา แต่ไม่ได้พูดถึงการหยุดยิงเต็มรูปแบบ
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงาน ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ตอบข้อซักถามของผู้ประท้วงรายหนึ่ง ระหว่างระดมทุนที่เมืองมินนีแอโพลิส รัฐมินนิโซตา เมื่อวันพุธ (1 พ.ย.) ตามเวลาท้องถิ่น
“ผมอยากให้คุณเรียกร้องให้หยุดยิงเดี๋ยวนี้” ผู้ประท้วงโพล่งถามไบเดน ได้คำตอบว่า “ผมคิดว่าเราจำเป็นต้องหยุดชั่วคราว การหยุดชั่วคราวหมายถึงการให้เวลาสำหรับเอานักโทษออกมา”
ผู้นำสหรัฐให้เครดิตนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูของอิสราเอล ที่ให้เวลา “นำตัวนักโทษออกมา” ก่อนเปิดการบุกภาคพื้นดิน และสำหรับการจูงใจให้ประธานาธิบดีอับเดล ฟัตตาห์ เอล ซีซี ของอียิปต์ ที่อนุญาตให้ชาวต่างชาติและชาวปาเลสไตน์บาดเจ็บออกจากกาซาผ่านอียิปต์
ก่อนหน้านั้นในวันเดียวกัน อียิปต์เปิดจุดข้ามแดนราฟาห์ที่ติดกับกาซา อนุญาตให้ประชาชนกลุ่มแรกรวมถึงชาวอเมริกันจำนวนหนึ่งหนีการสู้รบออกมาได้
ส่วนตัวไบเดนถูกกลุ่มหัวก้าวหน้า ชาวมุสลิม และชาวอเมริกันเชื้อสายอาหรับวิจารณ์อย่างหนักที่ไปสนับสนุนอิสราเอลโจมตีฮามาสทำให้พลเรือนในกาซาเสียชีวิตหลายพันคน
ตอนมาระดมทุนที่มินนิโซตาไบเดนเจอผู้ประท้วงที่เขาไปสนับสนุนปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอลตอบโต้การสังหารหมู่ของฮามาสเมื่อวันที่ 7 ต.ค. ผู้ประท้วงคนหนึ่งที่ตั้งคำถามกับไบเดนอ้างว่าเป็นแรบไบ (นักบวชยิว) เชื่อ เจสสิกา โรเซนเบิร์ก
“ผมเข้าใจอารมณ์ความรู้สึก นี่เป็นความลำบากอย่างไม่น่าเชื่อสำหรับชาวอิสราเอล เป็นความลำบากอย่างไม่น่าเชื่อสำหรับโลกมุสลิมเช่นกัน”
ในงานดังกล่าวไบเดนกล่าวด้วยว่า เขาสนับสนุนแนวทางสองรัฐให้สร้างรัฐปาเลสไตน์เคียงข้างอิสราเอล
แต่ก็ปกป้องสิทธิของอิสราเอลในการไล่ล่าฮามาสที่สหรัฐและสหภาพยุโรปมองว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย หลังจากฮามาสสังหารชาวอิสราเอลไปราว 1,400 คน ส่วนใหญ่เป็นพลเรือน จับเป็นตัวประกันอีกราว 240 คน
“ข้อเท็จจริงที่สำคัญคือฮามาสเป็นองค์การก่อการร้าย องค์การก่อการร้ายเต็มตัว” ประธานาธิบดีสหรัฐย้ำ
ในงานหนึ่งที่จัดขึ้นวันพุธเช่นกัน ไบเดนกล่าวว่า เขากระตุ้นให้เพิ่มความช่วยเหลือเข้าไปในกาซา และเรียกร้องให้อิสราเอลปฏิบัติการทางทหาร “สอดคล้องกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ที่ต้องปกป้องชีวิตพลเมืองเป็นสำคัญ”
“กัณวีร์” มองยุบกอ.รมน.เท่ากับย้ายโครงสร้างทหาร
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_635249/
“กัณวีร์” มองไม่ใช่แค่ยุบ กอ.รมน. แต่ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างนำทหารออกไป จะกระจายอำนาจได้ง่ายขึ้น
นายกัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม เปิดเผยสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น. ว่าการยุบ กอ.รมน. นั้นในมุมแรกมองว่า ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งทางพรรคเป็นธรรม และตนก็ได้พูดชัดเจนโดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และรวมกับ 4 อำเภอสงขลา เราเสนอให้มีการยุบ กอ.รมน. ไม่ใช่ยุบแค่ กอ.รมน.อย่างเดียว จะยุบ สปป. ไปด้วย เพราะในเรื่องนี้ เราเห็นความชัดเจนว่าปัญหามันอยู่ในเรื่องเกี่ยวกับระบบโครงสร้างของระบบราชการในพื้นที่ เพราะว่าในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของปัตตานี
มันมีความทับซ้อน ความซับซ้อน ของโครงสร้างระบบราชการทั้งตัว กอ.รมน. สปต. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ,องค์กรปกครองส่วนภูมิภาคเอง คือมันมีหลายๆ อย่างจนให้สร้างเงื่อนไขมากกว่าลดเงื่อนไข เพราะฉะนั้นเรามองเห็นว่าจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง เราจึงเสนอให้มีการยุบ กอ.รมน. แต่ว่าถ้าเรามองในมุมกว้างจะเห็นชัดเจนว่า กอ.รมน. เป็นองกรที่จริงๆ แล้วมันน่าจะดำเนินงานและนำหน้าโดยพลเรือน เราเห็นว่าควรจะมีพลเรือน ตำรวจเข้ามาเดินหน้า ซึ่งโครงสร้างทหารหลังจากที่ยุติบทบาท กอ.รมน.ไปช่วงหนึ่งแล้วมีการฟื้นตัว
กอ.รมน.มาในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา มันเป็นการโยกย้ายโครงสร้างกองทัพเข้ามาอยู่โครงสร้างของ กอ.รมน. จริงๆทหารควรเป็นหน่วยสนับสนุนเท่านั้น การยุบกอ.รมน.จริงๆแล้วถ้าเราสามารถโยกย้ายโครงสร้างกองทัพออกจาก กอ.รมน. มันจะทำให้การสนับสนุนในเรื่องของการกระจายอำนาจได้ง่ายขึ้น อันนี้จะทำให้เราเดินหน้าได้ แต่ถ้าเรายังยึดมั่นในโครงสร้างเดิมคิดว่ายังไงก็เผชิญปัญหาแน่นอน
ทั้งนี้นายกัณวีร์ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ว่าเวลามีการเสนอปฏิรูปกองทัพ มีการปฏิรูป กอ.รมน. เราเสนอเป็นจุดๆ ไปเท่านั้นเอง ถ้ามีการเสนอการปรับเปลี่ยนโครงสร้างความมั่นคงทั้งระบบ มองว่าตรงนี้น่าจะเป็นส่วนที่ยอมรับได้ เพราะว่าเราจะเสนอถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ โดยเฉพาะความมั่นคง ถ้าเรายกออกไปได้ทั้งองคาพยบจะทำให้ความมั่นคงของเรามุงเน้นเฉพาะเรื่องความมั่นคง
พริษฐ์ เปิดมติตัวเอง โต้ครหา อุ้มส.ส.ปูอัด ย้ำเห็นด้วยขับพ้นพรรค
https://www.matichon.co.th/politics/news_4263135
พริษฐ์ เปิดมติตัวเอง โต้ครหา อุ้ม ส.ส.ปูอัด ย้ำเห็นด้วยขับพ้นพรรค
จากกรณีที่ เมื่อเวลา 23.00 น. วันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ รัฐสภา นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค และส.ส.ของพรรคก้าวไกล เพื่อหาข้อยุติกรณีข้อกล่าวหา ส.ส.มีพฤติกรรมคุกคามทางเพศ 2 กรณี คือ นายวุฒิพงศ์ ทองเหลา ส.ส.ปราจีนบุรี พรรคก้าวไกล และนายไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล ว่า ที่ประชุมพรรคและ ส.ส.ซึ่งมาประชุมจำนวน 128 คน เนื่องจากหลายคนติดภารกิจ ผลการพิจารณา ปรากฎว่า เห็นตรงกันว่าทั้ง 2 กรณีมีพฤติกรรมคุกคามทางเพศจริง ถือว่าขัดต่อวินัยพรรคขั้นร้ายแรง และอุดมการณ์ และคุณค่าของพรรค ซึ่งโทษสูงสุดคือให้พ้นจากสมาชิกพรรค รองลงมาคือ คัดสิทธิพึงมีและคาดโทษตามกรณี ตามที่มีการนำเสนอข่าวไปแล้วนั้น
เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพริษฐ์ วัชรสินธุ หรือ ไอติม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้โพสต์ถึงกรณีดังกล่าวผ่านเว็บไซต์เอ็กซ์ (ทวิตเตอร์เดิม) ว่า
อย่างที่หลายคนทราบจากแถลงการณ์ของหัวหน้าพรรคเมื่อคืน ว่าในส่วนของข้อกล่าวเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศของ ส.ส. ก้าวไกลใน 2 กรณี กรรมการบริหารพรรคได้พิจารณาข้อเท็จจริงแล้วมีมติว่าทั้ง 2 กรณี มีพฤติการณ์ที่คุกคามทางเพศจริง และผิดวินัยร้ายแรงของพรรค โดยเสนอให้ขับพ้นจากสมาชิกพรรค
เมื่อมีข้อเสนอดังกล่าว รัฐธรรมนูญ 2560 ได้กำหนดไว้ว่าการขับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องเป็นการลงมติในที่ประชุมร่วมกันระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมการบริหารพรรค โดยการลงมตินั้นจะต้องได้รับเสียง 3 ใน 4 ของจำนวน ส.ส. และกรรมการบริหารพรรคทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ (ไม่ใช่แค่ที่มาประชุม) ซึ่งจะอยู่ที่จำนวน 116 เสียง จาก 154 เสียง
ผลที่ปรากฎจากการลงมติของ ส.ส. และกรรมการบริหารพรรคที่มาร่วมประชุมทั้งหมด 128 คน:
1. กรณี ส.ส. วุฒิพงษ์ ทองเหลา (ปราจีนบุรี)
– 120 คนลงมติให้ขับออก จึงทำให้การขับออกเกิดขึ้นได้ (เนื่องจากมากกว่า 116 เสียงตามเกณฑ์ 3 ใน 4)
2. กรณี ส.ส. ไชยามพวาน มั่นเพียรจิต (กทม.)
– 106 คนลงมติให้ขับออก จึงทำให้การขับออกยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ (เนื่องจากน้อยกว่า 116 เสียงตามเกณฑ์ 3 ใน 4)
ผมเข้าใจดีว่า ส.ส. ในที่ประชุมคนแต่ละคนได้อภิปรายและลงมติบนข้อตกลงร่วมกันว่าจะไม่มีการเปิดเผยความเห็นหรือการลงมติรายบุคคล แต่ล่าสุด มีบางเพจที่ได้กล่าวหาว่าผมเป็น 1 ใน ส.ส. ที่ลงมติไม่เห็นชอบกับการขับออกคุณไชยามพวาน รวมถึงกล่าวหาว่าผม “รวบรวมเสียง” ให้คนโหวตไม่เห็นด้วยกับการขับออกเพื่อปกป้อง “พวกพ้อง” เนื่องจากผมรู้จักกับคุณไชยามพวานมาก่อนที่เขาจะมาสมัครเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกล
ผมถือว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่อยู่บนข้อเท็จจริงและเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงมาก ผมจึงจำเป็นต้องชี้แจงความจริงดังต่อไปนี้
1. ผมยืนยันว่าจุดยืนและการทำงานของผมตลอดที่ผ่านมา ยึดอยู่บนหลักการที่ผมคิดว่าถูกต้องและข้อเท็จจริงเท่านั้นในทุกกรณี ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับคนที่ผมรู้จักหรือเคยร่วมงานกันมามากน้อยแค่ไหน
2. แม้ผมไม่ได้อยู่ในคณะกรรมการวินัยและกรรมการบริหารพรรคที่รับผิดชอบเรื่องการพิจารณาข้อเท็จจริงของทุกข้อร้องเรียนทางวินัย แต่ในฐานะโฆษกพรรค ผมย่อมต้องมีการทำงานร่วมกันกับคณะกรรมการวินัยในขั้นตอนที่ต้องมีการเตรียมการสื่อสาร – ดังนั้น เมื่อผมทราบว่ามีเรื่องร้องเรียนต่อคุณไชยามพวาน ผมจึงได้ระมัดระวังและเว้นระยะห่างเป็นพิเศษจากกระบวนการทั้งหมดในกรณีนี้ โดยได้แจ้งเหตุผลดังกล่าวต่อประธานกรรมการวินัยพรรค และหลีกเลี่ยงในการแสดงความเห็นใดๆนอกรอบกับ ส.ส. ทุกคนในพรรคที่สอบถามเข้ามา
3. ในที่ประชุมเมื่อวานที่คณะกรรมการวินัยและกรรมการบริหารพรรคได้มีการรายงานข้อเท็จจริงต่อ ส.ส. ทุกคน เพื่อเปิดให้มีกาารอภิปรายความเห็นก่อนจะลงมติ ผมก็ได้ลุกขึ้นอภิปราย โดยมีประเด็นที่สำคัญว่า
– (i) ในมุมมองของผม การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่มีความผิดที่ชัดเจน คือการมีความสัมพันธ์กับทีมงานของตนเอง เพราะไม่ว่าสถานการณ์เฉพาะหน้าดูเหมือนจะมีการยินยอมหรือไม่ แต่ในเมื่อทั้งสองอยู่ใน “ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกัน” ที่ฝ่ายหนึ่งสามารถให้คุณให้โทษอีกฝ่ายหนึ่งได้ในหน้าที่การงาน ดังนั้น จึงไม่สามารถถูกตีความได้ว่าเป็น “ความยินยอม” ที่แท้จริง
– (ii) หากตระหนักว่ากระทำผิดดังกล่าว ทางออกที่ควรจะเป็นคือการที่ผู้กระทำผิด แสดงความรับผิดชอบทางการเมือง โดยที่ไม่ต้องรอให้มีกระบวนการวินิจฉัยลงโทษอย่างเป็นทางการ
4. ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผมจึงเป็น 1 คนที่ลงมติเห็นด้วยกับการขับออกคุณไชยามพวาน ซึ่งเป็นการลงคะแนนแบบเปิดเผยที่เพื่อนๆ ส.ส. ทุกคนรับรู้ และเป็นการตัดสินใจบนหลักการและเหตุผลที่ผมยึดถือ
5. ผมขออภัยเพื่อนๆ ส.ส. ที่ผมจำเป็นต้องเปิดเผยการลงมติของตนเองต่อสาธารณะ แต่ผมจำเป็นต้องชี้แจงข้อกล่าวหาที่รุนแรงว่าผมได้ใช้เหตุผลเรื่องความสัมพันธ์ส่วนตัวในการลงคะแนนและโน้มน้าวคนอื่นในการลงคะแนน ซึ่งไม่เป็นความจริง และผมเชื่อว่า ส.ส. คนอื่นที่เห็นต่างกับผมและลงมติไม่เห็นด้วยกับการขับออกคุณไชยามพวาน ก็ได้ตัดสินใจบนหลักการและเหตุผลที่เขายึดถือ ไม่ใช่เพราะความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือการ “ปกป้องพวกพ้อง”
ผมเชื่อว่าคงไม่ใช่ทุกคนที่เห็นด้วยกับเหตุผลหรือการตัดสินใจของผม แต่ผมยืนยันว่าทุกการตัดสินใจของผมยึดอยู่บนหลักการที่ผมเชื่อว่าถูกต้อง และเป็นหลักการที่ต้องนำมาใช้กับทุกคนอย่างเสมอภาค
https://twitter.com/paritw92/status/1719901113145790595