JJNY : 5in1 หยุดยิงเทียบเท่าแพ้ฮามาส│กิตติพงษ์ชี้รธน.ไทยถูกฉีกบ่อย│หมอเหวงจี้รบ.│ก.ก.ดันรธน.สกัดรัฐประหาร│หุ้นไทยร่วงต่อ

'เนทันยาฮู'กร้าว หยุดยิงเทียบเท่าแพ้ฮามาส ยอดผู้เสียชีวิตสองฝั่งเกือบหมื่น
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7941580
  
 
วันที่ 31 ต.ค. เอเอฟพีรายงานความคืบหน้าสงครามอิสราเอลกับฮามาสว่า นายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล กล่าวว่าการหยุดยิงในสงครามอิสราเอลต่อต้านฮามาสจะไม่เกิดขึ้น ขณะที่สหประชาชาติ (ยูเอ็น) เตือนว่าความช่วยเหลือที่เข้ามายังไม่เพียงพอต่อความต้องการด้านมนุษยธรรม จากปฏิบัติการทางทหารที่รุนแรงขึ้นทำให้เกิดความหวาดกลัวอย่างมากต่อชะตากรรมของพลเรือน 2.4 ล้านคนในกาซ่า ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขภายใต้ฮามาสระบุว่า มีผู้เสียชีวิตกว่า 8,300 ราย
 
การหยุดยิงจะเทียบเท่ากับการยอมแพ้ต่อฮามาส ยอมจำนนนต่อการก่อการร้าย ซึ่งจะไม่เกิดขึ้น” นายเนทันยาฮูย้ำ พร้อมให้คำมั่นว่าอิสราเอลจะสู้จนกว่าจะชนะในสมรภูมินี้ เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกาที่ปฏิเสธที่จะทำข้อตกลงหยุดยิง นายจอห์น เคอร์บี โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐระบุไม่เชื่อว่าข้อตกลงหยุดยิงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง ทั้งยังกล่าวมั่นใจว่าจะเพิ่มจำนวนรถบรรทุกความช่วยเหลือไปยังกาซ่าผ่านจุดผ่านแดนราฟาห์ทางอียิปต์ได้ถึงราว 100 คันต่อวัน

หลังจากฮามาสโจมตีอิสราเอลเมื่อ 7 ต.ค. ทำให้มีผู้เสียชีวิตฝั่งอิสราเอลกว่า 1,400 ราย อิสราเอลตอบโต้คืนด้วยการโจมตีทางอากาศหลายสัปดาห์และปฏิบัติการภาคพื้นดิน 3 คืนติดต่อกันทางตอนเหนือของกาซ่า ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตมนุษยธรรมที่กำลังลุกลาม
 
วันเดียวกัน กระทรวงการต่างประเทศของอิสราเอลแจ้งว่า น.ส.ชานี ลูค ช่างสักหญิงชาวเยอรมัน-อิสราเอล วัย 23 ปีที่ถูกกองกำลังฮามาสลักพาตัวหลังโจมตีงานเทศกาลดนตรีซูเปอร์โนวาในทะเลทรายของอิสราเอล เมื่อวันที่ 7 ต.ค.นั้น เสียชีวิตลงแล้ว โดยพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลผ่านการวิเคราะห์ดีเอ็นเอจากชิ้นส่วนกะโหลกศีรษะ
 
นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ ของเยอรมนี กล่าวว่า เลวร้ายมาก น.ส.ลูคถูกฆ่าอย่างโหดร้าย แสดงให้เห็นถึงความป่าเถื่อนเบื้องหลังการโจมตีของกลุ่มฮามาสซึ่งต้องรับผิดชอบ และอิสราเอลมีสิทธิ์ที่จะปกป้องตัวเอง
 
ก่อนหน้านี้ครอบครัวของน.ส.ลูคกล่าวว่า เห็นลูกสาวในวิดีโอเพราะน.ส.ลูคมีผมทรงเดรดล็อคและรอยสักที่โดดเด่น ตอนแรกแหล่งข่าวปาเลสไตน์ระบุว่า น.ส.ลูคได้รับบาดเจ็บสาหัสที่ศีรษะและกำลังเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในฉนวนกาซ่า กระทั่งต่อมารัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศอิสราเอลโพสต์ข้อความบนเอ็กซ์ว่า “ชานีซึ่งถูกลักพาตัวไปจากงานเทศกาลดนตรี ถูกกลุ่มก่อการร้ายฮามาสทรมานและพาแห่ไปรอบๆ ฉนวนกาซ่า ประสบกับความสยดสยองที่ไม่อาจหยั่งรู้ได้ ใจเราแตกสลาย



กิตติพงษ์ ชี้ รัฐธรรมนูญไทยถูกฉีกบ่อยครั้ง เพราะ ขาดจิตวิญญาณของ ‘หลักนิติธรรม’
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_4260775

‘กิตติพงษ์’  ชี้เหตุรัฐธรรมนูญไทยถูกฉีกบ่อยครั้ง เพราะขาดจิตวิญญาณของ ‘หลักนิติธรรม’
 
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม นายกิตติพงษ์  กิตยารักษ์ รองประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ คนที่ 2 และอดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้เขียนข้อความเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญไทย ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Kittipong Kittayarak โดยระบุว่า 
 
ทำไมรัฐธรรมนูญไทยจึงถูกฉีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า?
 
ถ้าเป้าหมายสำคัญของการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือการร่างเพื่อไม่ให้ถูกฉีกอีก ผมคิดว่านี่คือคำถามสำคัญที่ควรจะมีการทำความเข้าใจและหาคำตอบร่วมกันก่อนที่จะเริ่มกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ 21 ด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่า 90 ปีนับตั้งแต่ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับแรก การตอบคำถามนี้คงจะมีได้หลายแบบ

แต่สำหรับผม อาจสรุปสั้นๆ ว่า เป็น “เพราะรัฐธรรมนูญไทยขาดจิตวิญญาณของหลักนิติธรรม” หลักนิติธรรม หรือ Rule of Law ไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นคำที่ถูกกล่าวถึงเสมอในถ้อยแถลงของนักการเมืองทุกยุคสมัยทั่วโลก ที่ต้องการสร้างความชอบธรรมให้แก่การใช้อำนาจของตนเอง รวมถึงในประเทศไทยด้วย แม้จะยากในการนิยามความหมายของหลักนิติธรรมอย่างชัดเจนครอบคลุมแบบที่ทุกคนเห็นตรงกัน
แต่ความสำคัญของหลักนิติธรรมก็เป็นที่ยอมรับมาโดยตลอด ว่าเป็นหลักการสำคัญในการปกครองประเทศ ตั้งแต่สมัยโรมันมาจนถึงยุคร่วมสมัย ดังจะเห็นได้จากผลงานของ Dicey ผู้เขียนเรื่อง Introduction to the Study of the Law of the Constitution ในช่วงปี 1885 รวมทั้ง Sir Thomas Bingham ผู้ดำรงตำแหน่ง Lord Chief Justice ของประเทศอังกฤษ จากหนังสือเรื่อง The Rule of Law ที่รวบรวมผลงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ของท่าน ที่ออกมาในปี 2010
 
ความสำคัญของหลักนิติธรรมได้รับการยกระดับอย่างสำคัญเมื่อสหประชาชาติได้กำหนดให้เป็นเป้าหมายหนึ่งใน 17 เป้าหมายของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ (Sustainable Development Goals หรือ SDG) โดยระบุ Rule of Law ในเป้าหมายข้อ 16 และให้ความสำคัญว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ขาดไม่ได้ ที่จะทำให้เกิดการพัฒนาในเป้าหมายอื่นๆ
 
สำหรับผม แม้ว่าการนิยามความหมายของหลักนิติธรรมที่ทุกคนเห็นตรงกันเป็นสิ่งที่ยากมาก แต่หากจะสรุปสั้นๆ ให้เห็นถึงแก่นความคิด ผมอยากเลือกที่จะนิยามว่า “Rule of Law” คือ “กฎเกณฑ์แห่งกฎหมาย” ที่วางกรอบให้กฎหมายสามารถเป็น “หลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน”
 
ด้วยรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่กำหนดโครงสร้างของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ในการใช้อำนาจรัฐ และกำหนดสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน หลักนิติธรรมกับรัฐธรรมนูญจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง รัฐธรรมนูญจึงต้องสามารถสถาปนาหลักนิติธรรมให้เกิดขึ้น การมีอยู่ของรัฐธรรมนูญจึงเปรียบเสมือนการลงเสาเข็มให้กับหลักนิติธรรม กล่าวคือทำให้หลักนิติธรรมเกิดขึ้นจริงและสามารถจับต้องได้
 
ดังนั้น เราอาจสรุปได้ว่า หัวใจของรัฐธรรมนูญก็คือกฎหมายสูงสุดที่ว่าด้วยเรื่องของการวางกรอบการใช้อำนาจของรัฐ และสร้างระบบนิเวศให้เกิดหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน
 
หากรัฐธรรมนูญขาดจิตวิญญาณของหลักนิติธรรม ก็จะกลายเป็นแค่กฎหมายสูงสุดที่ว่าด้วยเรื่องการรองรับอำนาจของรัฐหรือผู้ปกครอง แต่ไม่สามารถสร้างสังคมที่มีระบบประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้จริงแต่อย่างใด
 
โดยนัยนี้รัฐธรรมนูญจึงอาจกลายเป็นเครื่องมือที่สถาปนาการปกครองแบบที่ กฎหมายเป็น “กฎแห่งอำนาจ” หรือระบบ “rule by law” ที่เป็นการปกครองแบบขั้วตรงข้ามกับ “หลักนิติธรรม” หรือ “rule of law” อย่างสิ้นเชิง เมื่อกลับมามองที่ประเทศไทย เราจะเห็นว่าตลอด 90 กว่าปีที่ผ่านมา รัฐธรรมนูญถูกมองว่าเป็นเครื่องมือในการรองรับอำนาจรัฐ เมื่อเปลี่ยนผู้มีอำนาจ ก็มักจะมีการเปลี่ยนกฎกติกาเพื่อรองรับอำนาจกันใหม่ เกิดการฉีกรัฐธรรมนูญ และเขียนฉบับใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า นานวันก็ทำให้รัฐธรรมนูญไทยกลายเป็นเพียงแค่ “กติกาแห่งอำนาจ” ใครได้อำนาจก็มาเขียนกฎใหม่เพื่อให้สามารถอยู่ในเกมอำนาจนี้ได้นานที่สุด
 
แนวปฏิบัตินี้ยังได้รับการรับรองโดยทฤษฎี Legal Positivism ที่นิยามกฎหมายตามแนวความคิดของ John Austin นักปรัชญากฎหมายยุคเก่า ที่ว่ากฎหมายคือคำสั่งของรัฎฐาธิปัตย์ เราจะเห็นว่าระบบกฎหมายของประเทศไทยนับตั้งแต่การเรียนกฎหมายจนไปถึงการบังคับใช้รัฐธรรมนูญก็ตั้งอยู่บนทฤษฎีนี้ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องความชอบธรรมของที่มา และเนื้อหาของกฎหมายเท่าใดนัก
กลับมาที่โจทย์ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ 21 ของไทย
 
หากต้องการร่างให้ฉบับนี้เป็นฉบับสุดท้ายที่เป็นของประชาชนจริงๆ การร่างโดยพิจารณาแค่เรื่องทางเทคนิคกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงเนื้อหา และรูปแบบการเข้าสู่อำนาจ แม้ว่าจะมีการรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มคนหลากหลาย แต่หากไม่ได้มองไปความจำเป็นในการเปลี่ยนวัฒนธรรมทางการเมืองที่รัฐธรรมนูญเป็น “กติกาแห่งอำนาจ” ไปสู่รัฐธรรมนูญที่สถาปนาหลักนิติธรรมเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน ก็ทำให้อดตั้งคำถามไม่ได้ว่า เรากำลังเดินบนทางที่จะมุ่งสู่เป้าหมายดังกล่าวอยู่หรือไม่
 
ดังนั้นจึงอาจมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราตัองให้ความสำคัญกับเรื่อง “คุณค่า” และ “ระบบนิเวศ” ของรัฐธรรมนูญอย่างจริงจัง เพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญของประชาชน ที่ประชาชนสามารถพึ่งพาได้จริง
 
คำถามที่ประชาชนสามารถเข้าใจได้ง่ายๆ และสามารถร่วมกันค้นหาคำตอบได้ เช่น ทำไมรัฐธรรมนูญของไทยถึงถูกฉีกบ่อยๆ แล้วครั้งนี้จะร่างอย่างไรให้ไม่ถูกฉีกอีก จึงมีความสำคัญมาก คำถามเหล่านี้ แม้เป็นคำถามที่เข้าใจง่าย แต่ไม่ใช่คำถามที่ตอบได้ง่าย
 
นับตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2475 ที่ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับแรก ผ่านมาแล้วกว่า 90 ปี วัฒนธรรมทางการเมืองที่รับรองให้รัฐธรรมนูญเป็นกติกาแห่งอำนาจของผู้ปกครอง โดยไม่สร้างหลักประกันสิทธิเสรีภาพให้กับประชาชน จึงฝังรากลึก การจะเริ่มร่างรัฐธรรมนูญของประชาชนที่จะสถาปนาหลักนิติธรรมให้เกิดขึ้นจริงได้ในประเทศไทย จึงเป็นเรื่องยากมาก
 
แต่ยากแค่ไหน ก็เป็นโจทย์ที่สำคัญและจำเป็น และเป็นโจทย์ที่ควรค่าแก่การใช้เวลา ผมหวังว่ากระบวนการประชามติที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งคำถามเพื่อเปิดประเด็นและเปิดพื้นที่ให้คนไทยทั้งประเทศได้เข้ามาเข้าใจและร่วมกันสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ที่มีจิตวิญญาณของหลักนิติธรรมอย่างแท้จริงไปด้วยกัน
 
https://www.facebook.com/kittipong.kittayarak/posts/pfbid02Ss8tiHAixaN78CvrEGbRzMyK7nJBGTT5C294fGniwUiiGwPyfDT15f3C5z1Np4VPl



หมอเหวง ชี้ เจตนารมณ์ ‘ลุงนวมทอง’ ยังไม่เป็นจริง จี้ รบ.เศรษฐา ‘ร่างรธน.ใหม่’ ห่วงปมตั้ง ส.ส.ร.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4260053

หมอเหวง ชี้ เจตนารมณ์ ‘ลุงนวมทอง’ ยังไม่เป็นจริง จี้ รบ.เศรษฐา ‘ร่าง รธน.ใหม่’ ห่วงปมตั้ง ส.ส.ร.
 
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ที่สดมภ์อนุสรณ์ นวมทอง ไพรวัลย์ ถนนวิภาวดี เขตจตุจักร กรุงเทพฯ คณะประชาชนทวงคืนความยุติธรรม จัดงานรำลึก “17 ปี ลุงนวมทอง ไพรวัลย์

บรรยากาศเวลา 12.15 น. กลุ่มคนเสื้อแดงและเครือข่ายทยอยเดินทางมาร่วมกิจกรรมรำลึก โดยร่วมรับประทานอาหารกลางวัน ก่อนเริ่มพิธีสงฆ์ในเวลา 13.00 น.
 
บรรยากาศการจัดงาน มีการติดตั้งป้ายไวนิลสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ สะท้อนเหตุการณ์ถึงเรื่องราวนายนวมทอง ไพรวัลย์ ตำนานผู้ขับแท็กซี่ชนรถถัง ต้านรัฐประหาร เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2549 มีการนำพวงหรีดมาวางรำลึกบริเวณทางเดินข้างสะพานลอย อาทิ พวงหรีดจากครอบครัวลุงนวมทอง ไพวัลย์, ทะลุแก๊ซ, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นายแพทย์เหวง โตจิราการ, อาจารย์ธิดา ถาวรเศรษฐวีระกานต์ มุสิกพงศ์, คณะประชาชนทวงคืนความยุติธรรม 2553 (คปช.), ญาติวีรชนเมษา-พฤษภา 53 และมูลนิธิวีรชนประชาธิปไตย เป็นต้น
 
ต่อมาเวลา 13.00 น. เริ่มพิธีสงฆ์ ถวายสังฆทาน อุทิศส่วนกุศล อาจารย์ธิดา ประธานในพิธี นายแพทย์เหวง โตจิราการ อดีตแกนนำ นปช. และคณะกรรมการประชาชนทวงคืนความยุติธรรม 2553, นายปิยรัฐ จงเทพ หรือโตโต้ ส.ส.พรรคก้าวไกล เขตพระโขนง-บางนา ร่วมถวายสังฆทาน

นายแพทย์เหวง คณะกรรมการประชาชนทวงคืนความยุติธรรม 2553 กล่าวว่า ลุงนวมทองได้เขียนในจดหมายลาตายว่า ชาติหน้าเกิดมา คงไม่ได้เจอการปฏิวัติ ซึ่งเป็นการแถลงเจตนารมณ์ที่ชัดเจน ว่าไม่ต้องการเห็นการรัฐประหาร พวกเราต้องช่วยกันยุติการรัฐประหารให้ได้ แต่วันนี้เราต้องช่วยกันทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ เพราะทุกวันนี้รัฐประหารยังอยู่ แม้มีการพูดว่ามีการเลือกตั้งแล้ว ตนขอเถียงใจขาดดิ้น เพราะรัฐธรรมนูญ 2560 เป็นรัฐธรรมนูญที่สืบทอดจากกลุ่มรัฐประหาร การลงประชามติมันฟังไม่ได้ เพราะลงประชามติแบบปืนจ่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่