สงครามอิสราเอล-ฮามาสทำโลกอาหรับหวั่นเกิด “นักบา” ครั้งใหม่
https://tna.mcot.net/world-1260761
ไคโร 24 ต.ค.- ภาพเต็นท์ที่พักจำนวนมากของชาวปาเลสไตน์พลัดถิ่นในฉนวนกาซาเพราะสงครามอิสราเอล-ฮามาสที่ดำเนินมาตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม ทำให้ประเทศอาหรับที่เป็นเพื่อนบ้านอิสราเอลหวั่นว่าจะเกิด “
นักบา” (Nakba)” ขึ้นอีกครั้ง
นักบา แปลว่า หายนะ หมายถึงการที่ชาวปาเลสไตน์หลั่งไหลอพยพหรือถูกบังคับให้อพยพมากถึง 760,000 คนในสงครามที่นำมาสู่การก่อตั้งอิสราเอลเมื่อ 75 ปีก่อน ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลที่ต่อเนื่องมานานกว่า 2 สัปดาห์ ทำให้ชาวปาเลสไตน์ถูกสังหารแล้วมากกว่า 5,000 คน และต้องพลัดถิ่นภายในมากกว่า 1 ล้านคนจากประชากรทั้งหมด 2 ล้าน 4 แสนคน การที่อิสราเอลเตือนให้คนในกาซาอพยพลงใต้ก่อนเปิดปฏิบัติการรุกภาคพื้นดิน ยิ่งจุดกระแสวิตกเรื่องนักบาขึ้นมาอีกครั้ง
ประธานาธิบดี
อับเดล ฟัตตาห์ อัล-ซีซี ของอียิปต์ย้ำว่า อิสราเอลในฐานะกองกำลังยึดครองมีหน้ารับผิดชอบชีวิตพลเรือนชาวปาเลสไตน์ตามกฎหมายสากล หากอิสราเอลมีแนวคิดที่จะบังคับชาวปาเลสไตน์พลัดถิ่น ก็ควรไปตั้งเต็นท์รองรับที่ทะเลทรายเนเกฟ (Negev) ทางตอนใต้ของอิสราเอล หลังจากอดีตเจ้าหน้าที่อิสราเอลหลายคนเสนอให้อียิปต์ตั้งเต็นท์รองรับชาวปาเลสไตน์ที่ทะเลทรายบนคาบสมุทรไซนายด้วยเงินสนับสนุนจากนานาชาติ
สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 ของจอร์แดนและประธานาธิบดี
มาห์มุด อับบาสของปาเลสไตน์เคยเตือนว่า หากอิสราเอลสามารถขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากกาซาได้สำเร็จ อิสราเอลก็อาจขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากเวสต์แบงก์เช่นกัน.-สำนักข่าวไทย
ชี้สงครามอิสราเอล-ฮามาสเสี่ยงกระทบเศรษฐกิจโลกรุนแรง
https://tna.mcot.net/world-1260652
ริยาด 24 ต.ค.- ประธานธนาคารโลกชี้ว่า สงครามอิสราเอล-ฮามาสอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก
อาเจย์ บังกา ประธานธนาคารโลกกล่าวบนเวทีความริเริ่มการลงทุนในอนาคต (Future Investment Initiative) ครั้งที่ 7 ที่กรุงริยาดของซาอุดีอาระเบีย หรือที่มักถูกเรียกว่า การประชุมดาวอสในทะเลทราย มีผู้ลงทะเบียนร่วมงาน 3 วัน 24-26 ตุลาคม 2566 มากกว่า 6,000 คนว่า เมื่อคำนึงถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในอิสราเอลและกาซาอยู่ในขณะนี้ เขาเชื่อว่าผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจจะรุนแรงยิ่งกว่า และทุกคนกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่อันตรายมาก
เอเอฟพีตั้งข้อสังเกตว่า ความรุนแรงในอิสราเอลและกาซาที่ปะทุขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม เป็นภาพที่ขัดแย้งอย่างยิ่งกับวิสัยทัศน์ภูมิภาคตะวันออกกลางที่มีเสถียรภาพและรุ่งเรืองตามที่ซาอุดีอาระเบียพยายามรณรงค์ส่งเสริม โดยได้ฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิหร่านเมื่อต้นปี และอยู่ระหว่างหารือเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ระดับปกติกับอิสราเอล ก่อนที่ต้องระงับไปเมื่ออิสราเอลทำสงครามกับฮามาส.-สำนักข่าวไทย
ไอติม เตือนสส.รัฐบาล เลื่อนญัตติทำประชามติ ชี้ประชาชนจับตา สมเหตุผลหรือไม่
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7930191
ไอติม ยันไม่มีความจำเป็น วิปรัฐบาล จ่อเลื่อนวาระอื่นแทรกคิวญัตติประชามติจัดทำ รธน.ใหม่ มองไม่ต้องกังวลซ้ำซ้อน เหตุเป็นกลไกคู่ขนาน ชี้ประชาชนจับตาดูอยู่สมเหตุสมผลหรือไม่
เมื่อวันที่ 24 ต.ค.2566 ที่พรรคก้าวไกล นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวถึงวิปรัฐบาลมีมติจะเลื่อนนำระเบียบวาระอื่นมาแทรกคิวญัตติเดิมที่เรื่องแรกจะเป็นญัตติพิจารณาประชามติเพื่อนำไปสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่พรรคก้าวไกลเป็นผู้เสนอว่า พรรคก้าวไกลเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องเลื่อนวาระอื่นเข้ามาแทรก สามารถดำเนินการตามระเบียบวาระเดิมได้
ส่วนที่วิปรัฐบาลกังวลว่า ญัตติดังกล่าวจะซ้ำซ้อนกับการทำงานของรัฐบาล ตนไม่ได้มองอย่างนั้น เนื่องจาก พ.ร.บ.ประชามติ ปี 2564 ระบุว่าการเสนอทำประชามติ เสนอได้ผ่าน 3 กลไกคู่ขนานกัน คือ รัฐบาลเป็นผู้ริเริ่มการดำเนินการ หรือให้ประชาชนร่วมกันเข้าชื่อ หรือ สส. เป็นผู้เสนอ โดยผ่านความเห็นชอบจากทั้ง 2 สภา
นาย
พริษฐ์ กล่าวว่า ถ้าดำเนินการตามระเบียบวาระเดิม และเปิดให้อภิปรายในวันที่ 25 ต.ค.ได้ ไม่ว่ารัฐบาลจะมีจุดยืนอย่างไร ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลทั้งนั้น โดยความเป็นไปได้แรกคือ หากรัฐบาลเห็นตรงกับพรรคก้าวไกลว่าควรเดินหน้าจัดทำรัฐธรรมนูญด้วยประชามติที่มีคำถามตรงไปตรงมา ก็ใช้เวลาอภิปรายไม่นาน แล้วลงมติ เพราะญัตติดังกล่าว เคยถูกเสนอมาแล้วเมื่อสมัยประชุมที่ผ่านมา และสภาลงมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์
ความเป็นไปได้ที่สอง คือ รัฐบาลอาจยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับคำถามประชามติและวิธีดำเนินการ ดังนั้น การอภิปรายในสภา น่าจะเป็นการรวบรวมความเห็นที่ดี แม้คณะกรรมการศึกษาการจัดทำประชามติของรัฐบาลมี 30 กว่าคน แต่พื้นที่สภาก็มีประโยชน์ต่อรัฐบาลในการรับฟังความเห็นของผู้ได้รับการเลือกจากประชาชนอย่างแท้จริง
ความเป็นไปได้ที่ 3 คือ รัฐบาลอาจมีจุดยืนเรื่องการทำประชามติที่แตกต่างจากพรรคก้าวไกล พรรคก้าวไกลในฐานะฝ่ายค้านก็เหลือเพียงกลไกสภาเพียงช่องทางเดียวเพื่อโน้มน้าวเพื่อนสมาชิกในฝ่ายนิติบัญญัติ
สำหรับทางออกของเรื่องนี้ นาย
พริษฐ์ กล่าวว่า ภาระการพิสูจน์จะอยู่ที่ สส.ฝั่งรัฐบาล เพราะอย่างแรก สส.ของรัฐบาลก็ต้องเป็นผู้เสนอให้เลื่อนวาระอื่นเข้ามาแทรกคิว ซึ่งสส.ฝ่ายรัฐบาล จะต้องเป็นผู้พิสูจน์ว่ามีเหตุผลความจำเป็นอย่างไรที่ต้องเลื่อนระเบียบวาระ ส่วนเจตนาในการเลื่อนของฝ่ายรัฐบาลเป็นอย่างไรนั้น ต้องถามฝ่ายรัฐบาล แต่พรรคก้าวไกลยืนยันว่าไม่ซ้ำซ้อน
นาย
พริษฐ์ กล่าวว่า คงต้องพยายามหารือกันระหว่างวิปทั้ง 2 ฝ่าย ตามระบบรัฐสภา ถ้าจะลงมติ สส.ฝ่ายรัฐบาลก็เป็นเสียงข้างมาก แต่นอกจากเรื่องตัวเลขแล้ว ประชาชนก็จับตาดูอยู่ว่าผลจะเป็นเช่นไร และมีความสมเหตุสมผลหรือไม่
“นักวิชาการ” ตั้ง 6 โจทย์ใหญ่ที่ “นายกฯเศรษฐา” จะต้องเผชิญต่อจากนี้
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4248698
ศ.ดร.
สุรชาติ บำรุงสุข คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนทนาในรายการ The Politics เห็นด้วยที่ไทยต้องกลับไปสู่เวทีโลก แต่นายกฯต้องปรับภาษากาย การวางท่าทีต้องมีการเตรียม เพราะเมื่อออกเวทีโลก เป็นโจทย์ที่ต้องคิดต่อ เห็นด้วยที่ไทยต้องกลับไปสู่เวทีโลก เตรียมตัว เตรียมประเด็น และเตรียมท่าที ต้องคิดคู่ขนานกันให้ได้ เพราะในอนาคตจะมีโทย์ต่างๆ อีกมากจะเข้ามากระทบกับการทำงานด้านต่างประเทศของไทย โดยเสนอ 6 โจทย์ใหญ่ที่รัฐบาลจะต้องเผชิญ ติดตามรายละเอียดจากคลิปด้านล่างนี้
JJNY : 5in1 หวั่นเกิด“นักบา”ครั้งใหม่│สงครามเสี่ยงกระทบศก.โลก│ไอติมเตือนสส.รัฐบาล│6 โจทย์เศรษฐาต้องเผชิญ│เทขายหุ้นแบง
https://tna.mcot.net/world-1260761
ไคโร 24 ต.ค.- ภาพเต็นท์ที่พักจำนวนมากของชาวปาเลสไตน์พลัดถิ่นในฉนวนกาซาเพราะสงครามอิสราเอล-ฮามาสที่ดำเนินมาตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม ทำให้ประเทศอาหรับที่เป็นเพื่อนบ้านอิสราเอลหวั่นว่าจะเกิด “นักบา” (Nakba)” ขึ้นอีกครั้ง
นักบา แปลว่า หายนะ หมายถึงการที่ชาวปาเลสไตน์หลั่งไหลอพยพหรือถูกบังคับให้อพยพมากถึง 760,000 คนในสงครามที่นำมาสู่การก่อตั้งอิสราเอลเมื่อ 75 ปีก่อน ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลที่ต่อเนื่องมานานกว่า 2 สัปดาห์ ทำให้ชาวปาเลสไตน์ถูกสังหารแล้วมากกว่า 5,000 คน และต้องพลัดถิ่นภายในมากกว่า 1 ล้านคนจากประชากรทั้งหมด 2 ล้าน 4 แสนคน การที่อิสราเอลเตือนให้คนในกาซาอพยพลงใต้ก่อนเปิดปฏิบัติการรุกภาคพื้นดิน ยิ่งจุดกระแสวิตกเรื่องนักบาขึ้นมาอีกครั้ง
ประธานาธิบดีอับเดล ฟัตตาห์ อัล-ซีซี ของอียิปต์ย้ำว่า อิสราเอลในฐานะกองกำลังยึดครองมีหน้ารับผิดชอบชีวิตพลเรือนชาวปาเลสไตน์ตามกฎหมายสากล หากอิสราเอลมีแนวคิดที่จะบังคับชาวปาเลสไตน์พลัดถิ่น ก็ควรไปตั้งเต็นท์รองรับที่ทะเลทรายเนเกฟ (Negev) ทางตอนใต้ของอิสราเอล หลังจากอดีตเจ้าหน้าที่อิสราเอลหลายคนเสนอให้อียิปต์ตั้งเต็นท์รองรับชาวปาเลสไตน์ที่ทะเลทรายบนคาบสมุทรไซนายด้วยเงินสนับสนุนจากนานาชาติ
สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 ของจอร์แดนและประธานาธิบดีมาห์มุด อับบาสของปาเลสไตน์เคยเตือนว่า หากอิสราเอลสามารถขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากกาซาได้สำเร็จ อิสราเอลก็อาจขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากเวสต์แบงก์เช่นกัน.-สำนักข่าวไทย
ชี้สงครามอิสราเอล-ฮามาสเสี่ยงกระทบเศรษฐกิจโลกรุนแรง
https://tna.mcot.net/world-1260652
ริยาด 24 ต.ค.- ประธานธนาคารโลกชี้ว่า สงครามอิสราเอล-ฮามาสอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก
อาเจย์ บังกา ประธานธนาคารโลกกล่าวบนเวทีความริเริ่มการลงทุนในอนาคต (Future Investment Initiative) ครั้งที่ 7 ที่กรุงริยาดของซาอุดีอาระเบีย หรือที่มักถูกเรียกว่า การประชุมดาวอสในทะเลทราย มีผู้ลงทะเบียนร่วมงาน 3 วัน 24-26 ตุลาคม 2566 มากกว่า 6,000 คนว่า เมื่อคำนึงถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในอิสราเอลและกาซาอยู่ในขณะนี้ เขาเชื่อว่าผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจจะรุนแรงยิ่งกว่า และทุกคนกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่อันตรายมาก
เอเอฟพีตั้งข้อสังเกตว่า ความรุนแรงในอิสราเอลและกาซาที่ปะทุขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม เป็นภาพที่ขัดแย้งอย่างยิ่งกับวิสัยทัศน์ภูมิภาคตะวันออกกลางที่มีเสถียรภาพและรุ่งเรืองตามที่ซาอุดีอาระเบียพยายามรณรงค์ส่งเสริม โดยได้ฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิหร่านเมื่อต้นปี และอยู่ระหว่างหารือเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ระดับปกติกับอิสราเอล ก่อนที่ต้องระงับไปเมื่ออิสราเอลทำสงครามกับฮามาส.-สำนักข่าวไทย
ไอติม เตือนสส.รัฐบาล เลื่อนญัตติทำประชามติ ชี้ประชาชนจับตา สมเหตุผลหรือไม่
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7930191
ไอติม ยันไม่มีความจำเป็น วิปรัฐบาล จ่อเลื่อนวาระอื่นแทรกคิวญัตติประชามติจัดทำ รธน.ใหม่ มองไม่ต้องกังวลซ้ำซ้อน เหตุเป็นกลไกคู่ขนาน ชี้ประชาชนจับตาดูอยู่สมเหตุสมผลหรือไม่
เมื่อวันที่ 24 ต.ค.2566 ที่พรรคก้าวไกล นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวถึงวิปรัฐบาลมีมติจะเลื่อนนำระเบียบวาระอื่นมาแทรกคิวญัตติเดิมที่เรื่องแรกจะเป็นญัตติพิจารณาประชามติเพื่อนำไปสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่พรรคก้าวไกลเป็นผู้เสนอว่า พรรคก้าวไกลเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องเลื่อนวาระอื่นเข้ามาแทรก สามารถดำเนินการตามระเบียบวาระเดิมได้
ส่วนที่วิปรัฐบาลกังวลว่า ญัตติดังกล่าวจะซ้ำซ้อนกับการทำงานของรัฐบาล ตนไม่ได้มองอย่างนั้น เนื่องจาก พ.ร.บ.ประชามติ ปี 2564 ระบุว่าการเสนอทำประชามติ เสนอได้ผ่าน 3 กลไกคู่ขนานกัน คือ รัฐบาลเป็นผู้ริเริ่มการดำเนินการ หรือให้ประชาชนร่วมกันเข้าชื่อ หรือ สส. เป็นผู้เสนอ โดยผ่านความเห็นชอบจากทั้ง 2 สภา
นายพริษฐ์ กล่าวว่า ถ้าดำเนินการตามระเบียบวาระเดิม และเปิดให้อภิปรายในวันที่ 25 ต.ค.ได้ ไม่ว่ารัฐบาลจะมีจุดยืนอย่างไร ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลทั้งนั้น โดยความเป็นไปได้แรกคือ หากรัฐบาลเห็นตรงกับพรรคก้าวไกลว่าควรเดินหน้าจัดทำรัฐธรรมนูญด้วยประชามติที่มีคำถามตรงไปตรงมา ก็ใช้เวลาอภิปรายไม่นาน แล้วลงมติ เพราะญัตติดังกล่าว เคยถูกเสนอมาแล้วเมื่อสมัยประชุมที่ผ่านมา และสภาลงมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์
ความเป็นไปได้ที่สอง คือ รัฐบาลอาจยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับคำถามประชามติและวิธีดำเนินการ ดังนั้น การอภิปรายในสภา น่าจะเป็นการรวบรวมความเห็นที่ดี แม้คณะกรรมการศึกษาการจัดทำประชามติของรัฐบาลมี 30 กว่าคน แต่พื้นที่สภาก็มีประโยชน์ต่อรัฐบาลในการรับฟังความเห็นของผู้ได้รับการเลือกจากประชาชนอย่างแท้จริง
ความเป็นไปได้ที่ 3 คือ รัฐบาลอาจมีจุดยืนเรื่องการทำประชามติที่แตกต่างจากพรรคก้าวไกล พรรคก้าวไกลในฐานะฝ่ายค้านก็เหลือเพียงกลไกสภาเพียงช่องทางเดียวเพื่อโน้มน้าวเพื่อนสมาชิกในฝ่ายนิติบัญญัติ
สำหรับทางออกของเรื่องนี้ นายพริษฐ์ กล่าวว่า ภาระการพิสูจน์จะอยู่ที่ สส.ฝั่งรัฐบาล เพราะอย่างแรก สส.ของรัฐบาลก็ต้องเป็นผู้เสนอให้เลื่อนวาระอื่นเข้ามาแทรกคิว ซึ่งสส.ฝ่ายรัฐบาล จะต้องเป็นผู้พิสูจน์ว่ามีเหตุผลความจำเป็นอย่างไรที่ต้องเลื่อนระเบียบวาระ ส่วนเจตนาในการเลื่อนของฝ่ายรัฐบาลเป็นอย่างไรนั้น ต้องถามฝ่ายรัฐบาล แต่พรรคก้าวไกลยืนยันว่าไม่ซ้ำซ้อน
นายพริษฐ์ กล่าวว่า คงต้องพยายามหารือกันระหว่างวิปทั้ง 2 ฝ่าย ตามระบบรัฐสภา ถ้าจะลงมติ สส.ฝ่ายรัฐบาลก็เป็นเสียงข้างมาก แต่นอกจากเรื่องตัวเลขแล้ว ประชาชนก็จับตาดูอยู่ว่าผลจะเป็นเช่นไร และมีความสมเหตุสมผลหรือไม่
“นักวิชาการ” ตั้ง 6 โจทย์ใหญ่ที่ “นายกฯเศรษฐา” จะต้องเผชิญต่อจากนี้
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4248698
ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนทนาในรายการ The Politics เห็นด้วยที่ไทยต้องกลับไปสู่เวทีโลก แต่นายกฯต้องปรับภาษากาย การวางท่าทีต้องมีการเตรียม เพราะเมื่อออกเวทีโลก เป็นโจทย์ที่ต้องคิดต่อ เห็นด้วยที่ไทยต้องกลับไปสู่เวทีโลก เตรียมตัว เตรียมประเด็น และเตรียมท่าที ต้องคิดคู่ขนานกันให้ได้ เพราะในอนาคตจะมีโทย์ต่างๆ อีกมากจะเข้ามากระทบกับการทำงานด้านต่างประเทศของไทย โดยเสนอ 6 โจทย์ใหญ่ที่รัฐบาลจะต้องเผชิญ ติดตามรายละเอียดจากคลิปด้านล่างนี้