บันทึกที่เป็นกระดาษหรือใบลานฉบับที่เก่าแก่ที่สุดของไทยมีอายุกี่ปี?

พอดีผมสยใจข้อความที่แปลจากจารึกวัดมเหยงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งจารึกบนหินไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดสร้างแต่ดูจากการรูปแบบการใช้อักษรปัลลวะจะเป็นรูปแบบที่ใช้กันเมื่อประมาณ พ.ศ.1100  จารึกนี้แตกต่างจารึกอื่นในยุคนั้นซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นจารึกเพื่อประกาศศักดิ์ดาหรือจารึกเป็นบทสวดเพื่อการบูชาต่างๆ แต่จารึกนี้เป็นเรื่องการทำบุญถวายทานเนื่องในโอกาสอะไรสักอย่างที่อ่านไม่ได้เพราะข้อความขาดหายไป  ส่วนที่น่าสนใจคือมีตอนหนึ่งกล่าวถึงรายการสิ่งของที่ถวายพระมีอุปกรณ์สำหรับเขียนหนังสือ ผู้รู้ท่านแปลส่วนนี้ว่า "การเขียนหนังสือจําหน่ายน้ำหมึกกับแผ่นสําหรับเขียน"   จารึกหลักนี้แสดงให้เห็นว่าดินแดนนี้เมื่อ 1,500 ปีที่แล้วมีผู้คนใช้น้ำหมึกเขียนลงวัตถุอะไรบางอย่างที่เรียกว่าแผ่นสำหรับเขียน  ผมเดาความหมายของท่อนนี้ดังนี้ "การเขียนหนังสือ"น่าจะหมายถึงพู่กัน "จำหน่ายน้ำหมึก"น่าจะหมายถึงแท่นฝนหมึก  "แผ่นสำหรับเขียน" น่าจะหมายถึงกระดาษเพราะตอนนั้นทั้งจีนและอินเดียใช้กระดาษกันแล้วและเราก็ติดต่อกับจีนและอินเดียการนำกระดาษและอุปกรณ์การเขียนเข้ามาจึงไม่แปลก


ข้อความบนจารึกวัดมเหยงค์ เป็นอักษรราชวงศ์ปัลลวะของอินเดียใต้ ประมาณ พ.ศ.1100

มาถึงข้อสงสัยของผม  ตอนนี้เรารู้แล้วว่าดินแดนนี้เมื่อ 1,500 ปีที่แล้วนอกจากมีการสลักจารึกลงบนหินที่เรารู้กันดียังมีการบันทึกข้อความลงกระดาษหรือวัสดุอะไรบางอย่างที่ใช้แทนกระดาษได้ แต่เมืองไทยมีอากาศร้อนชื้นทำให้ไม่สามารถการเก็บรักษาไว้ได้แตกต่างกับจีนที่มีความชื้นน้อยเอกสารที่เป็นกระดาษตั้งแต่ยุคราชวงศ์ฮั่นเมื่อ 2,500 มาแล้วก็ยังคงมีให้เห็นได้อยู่  ผมเคยเห็นกระดาษซึ่งเป็นสมุดไทยและคำภีร์ใบลานเก่าแก่ที่สุดก็เป็นยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นมีอายุประมาณ 150 ปี อักษรที่เขียนมีทั้งเขียนด้วยอักษรไทยภาคกลาง อักษรไทยน้อยภาคอีสาน และอักษรขอม เก่าแก่กว่านี้ยังไม่เคยเห็น  มีใครเคยเห็นเอกสารที่เป็นกระดาษหรือใบลานสมัยอยุธยาบ้าง เก็บรักษาอยู่ที่ไหนเผื่อจะได้ไปเที่ยวชมครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่