ภาพจาก : arabnews.com
กระทรวงการท่องเที่ยวและโบราณคดีแห่งอียิปต์ ประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการค้นพบทางโบราณคดีครั้งสำคัญ: พระพุทธรูปสมัยโรมัน ณ เมืองเบเรนิเก (Berenike) ริมฝั่งทะเลแดง ตั้งอยู่ทางใต้ของประเทศอียิปต์ปัจจุบัน
ช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ (2022) ระหว่างการขุดค้นวิหารแห่งเทพีไอซิส (Isis) ของอียิปต์ ที่เมืองเบเรนิเก บนฝั่งทะเลแดง กลุ่มนักโบราณคดีร่วมระหว่างโปแลนด์และอเมริกันได้สะดุดเข้ากับชุดการค้นพบครั้งสำคัญ
พระพุทธรูปปางยืนสูง 71 ซม. ทำด้วยหินอ่อนของเมดิเตอร์เรเนียนชั้นดี ชิ้นส่วนพระเศียรแตกหักจากพระวรกายแต่ยังอยู่ในสภาพดี ส่วนพระเศียรมีรัศมีรูปวงกลมด้านหลังและแฉกลำแสงกระจายแบบสุริยเทพ (คล้ายเทพเฮลิออสของกรีก, โซลของโรมัน หรือ มิถราของอิหร่าน) ส่วนครึ่งพระกายด้านขวาแตกหักไป พระหัตถ์ซ้ายถือผ้าจีวร และยังมีรูปดอกบัวชูขึ้นด้านข้างซ้าย
พระปฏิมาองค์นี้เป็นศิลปะผสมผสานแบบท้องถิ่นโรมัน-อียิปต์ (Romano-Egyptian style) มีพระรัศมีแยกเป็นแฉกแบบสุริยเทพ เม็ดพระศกหรือผมที่เป็นขดนั้นทำให้เชื่อว่าองค์พระปฏิมาน่าจะถูกสร้างขึ้น ณ โรงช่างแห่งอเล็กซานเดรีย (Alexandria)
ไม่มีจารึกกำกับอยู่ ณ องค์พระ แต่หัวหน้ากองขุด สตีฟ ไซด์โบแธม (Steve Sidebotham) เชื่อว่าน่าจะถูกสั่งจัดทำขึ้นโดยพ่อค้าหัวหน้ากองเรือผู้เป็นชาวพุทธจากอินเดียที่มั่งคั่ง เป็นการถวายบูชาสักการะสำหรับการเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลโดยปลอดภัยมาสู่อาณาจักรโรมัน
ดร.มาริอุส โกยัซดา (Marius Goyazda) หัวหน้าภารกิจฝ่ายโปแลนด์กล่าวว่า พระพุทธรูปที่ถูกค้นพบนั้นทำจากหินอ่อนชั้นดีที่อาจสกัดมาจากพื้นที่ทางตอนใต้ของอิสตันบูล (ในตุรกี) หรืออาจถูกแกะสลักในท้องถิ่นในเบเรนิเกและอุทิศให้กับวัดในท้องถิ่นที่นั่นโดยพ่อค้าชาวอินเดียจากแดนไกล
Stephen Sidbotham หัวหน้าคณะขุดค้นฝั่งอเมริกา กล่าวว่า การค้นพบนี้เกิดขึ้นระหว่างงานขุดค้นที่วิหารโบราณ โดยพบจารึกในภาษาอินเดียโบราณ มีอายุย้อนหลังไปถึงสมัยจักรพรรดิโรมัน ฟิลิปแห่งอาหรับ (Emperor Philip the Arab / Marcus Julius Philippus : ค.ศ. 244 – 249) แต่จารึกนี้มีอายุน่าจะอยู่ในรุ่นหลังกว่าพระพุทธรูป เนื่องจากในวิหารเดียวกันกับพระพุทธรูปได้พบจารึกอื่น ๆ ในภาษากรีกอยู่ที่มีอายุย้อนหลังไปถึงต้นศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช นอกจากนี้ยังพบเหรียญ 2 เหรียญในศตวรรษที่สองจากอาณาจักรศาตวาหนะ (Satavahana) ของอินเดียตอนกลาง
_____________________
■ ความสำคัญของเมืองท่าเบเรนิเก สถานที่ค้นพบริมฝั่งทะเลแดง
ดร.มุสตาฟา วาซีรี (Dr. Mustafa Waziri) เลขาธิการสภาสูงสุดด้านโบราณคดี อ้างว่าภารกิจทางโบราณคดีได้ดำเนินการที่เขตนี้ตั้งแต่ปี 1994 ภายใต้การกำกับดูแลของสภาสูงสุด โดยยืนยันว่าจากการขุดค้นในระยะอันใกล้มานี้ในที่พื้นที่ดังกล่าวได้พบหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างอินเดียกับอียิปต์ในยุคจักรวรรดิโรมัน (Egypt under Roman Empire) ซึ่งอียิปต์เป็นศูนย์กลางบนเส้นทางการค้าที่เชื่อมโยงอาณาจักรโรมันเข้ากับดินแดนต่างๆ ในโลกยุคโบราณรวมทั้งอินเดีย ท่าเรือหลายแห่งในยุคโรมันบนชายฝั่งทะเลแดงในอียิปต์เข้าร่วมในเครือข่ายการค้านี้ และที่สำคัญที่สุดคือเบเรนิเก เรือที่มาจากอินเดียบรรทุกสินค้าสำคัญเช่น พริกไทย หินมีค่า สิ่งทอ และงาช้าง และจะนำมาถ่ายลงที่เมืองท่าแห่งนี้ก่อนจะจัดส่งสินค้าข้ามทะเลทรายไปยังแม่น้ำไนล์ ซึ่งมีเรือลำอื่นจะขนส่งสินค้าไปยังอเล็กซานเดรีย และจากมหานครนี้ไปยังส่วนที่เหลือของจักรวรรดิโรมัน
ปัจจุบัน เบเรนิเกเป็นเพียงพื้นที่รกร้างห่างไกล ไร้พืชพันธุ์ และเต็มไปด้วยฝุ่นทะเลทรายสีแดง ริมฝั่งทะเลแดงที่มีลมกรรโชก ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งของสถาปัตยกรรมอันน่าตื่นใจ เช่น วิหารแห่งเทพเซราปิส (Serapis) โรงกลั่นน้ำหอมแบบโรมัน และโรงอาบน้ำชั้นดี แต่ปัจจุบันกำแพงแทบจะไม่สูงเกินเข่า และที่น่าสนใจยิ่งคือเมืองโบราณนี้เคยเป็นจุดลงจอดเรือและขึ้นฝั่งของเหล่าพ่อค้าวาณิชชาวอินเดียจากแดนไกลหลายชั่วอายุคนซึ่งเดินทางมายังอาณาจักรโรมัน
กษัตริย์ชาวกรีกแห่งราชวงศ์ปโตเลมี (Ptolemaic) ได้ก่อตั้งเมืองท่าเบเรนิเก และเมืองท่าริมฝั่งทะเลแดงอื่น ๆ มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนค.ศ. เพื่อเชื่อมโยงติดต่อด้านการค้ากับอินเดีย (โดยมีเป้าหมายหลักคือการนำเข้าช้างมาใช้ในการศึก) จนกระทั่งโรมันสามารถพิชิตผู้ปกครองรุ่นสุดท้ายแห่งราชวงศ์ปโตเลมี คือ คลีโอพัตราและมาร์ค แอนโทนี ในปี 30 ก่อนค.ศ. ณ ยุทธภูมิที่แอกติอุม (Actium) ส่งผลให้อียิปต์กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน และทำให้การค้ากับซีกโลกตะวันออกแห่งอินเดียเจริญเติบโตเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว (สตราโบบันทึกว่ามากขึ้นกว่ายุคปโตเลมีถึง 5 เท่า และมีเรือที่แล่นไปอินเดียถึง 120 ลำในแต่ละปีจากเพียงท่าเรือเดียว) เกิดคลื่นการค้าต่อเนื่องที่นำราชทูตจากอินเดียมาสู่ราชสำนักโรม และชาวอินเดียได้ปรากฏตัวแพร่หลายในเมืองอเล็กซานเดรีย อันเป็นที่กระจายสินค้าจากทะเลแดง สู่ภูมิภาคอื่น ๆ ในเมดิเตอร์เรเนียน โดยเฉพาะกรุงโรม
_____________________
■ การค้นพบครั้งประวัติศาสตร์
ในอดีตได้เคยมีการค้นพบเศษซากจารึกอักษรพราหมีของอินเดียในอียิปต์ เยเมน และโอมาน, รูปสลักนางยักษีที่ปอมเปอี ซึ่งยืนยันการค้าและความสัมพันธ์ระหว่างอียิปต์ กรีก โรมัน กับอินเดียอย่างแน่ชัด และได้รับรู้เกี่ยวกับเนื้อหาว่าด้วยพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ในบันทึกกรีกโดยเฉพาะจากเมืองอเล็กซานเดรียในยุคต้นศักราชสากล ยืนยันความรู้เรื่องพุทธศาสนาในโลกตะวันตกยุคโบราณ และเก่าแก่ที่สุดคือจารึกอโศก ยุคศตวรรษที่ 3 ก่อนค.ศ. ที่มีการเอ่ยอ้างถึงการส่งธรรมทูตไปสู่อียิปต์ภายใต้การปกครองของปโตเลมี
หากแต่การค้นพบนี้เป็นครั้งแรกของหลักฐานทางพุทธศาสนาในอียิปต์ ที่ได้ยืนยันถึงการปรากฏมีของกลุ่มชาวพุทธอันมีที่มาจากอินเดียในแผ่นดินอียิปต์โดยตรง
นอกจากนั้นการค้นพบครั้งใหม่ที่เบเรนิเกยังได้จุดประกายให้เหล่านักประวัติศาสตร์เห็นความสัมพันธ์แนบแน่นระหว่างโรมกับอินเดียผ่านทะเลแดงผ่านสู่มหาสมุทรอินเดียมากกว่าที่เคยคิดกันมาก่อน ทั้งหลักฐานของร่องรอยอินเดียในจักรวรรดิโรมัน และร่องรอยโรมันในอินเดีย รวมทั้งความสำคัญของเมืองท่าแห่งนี้ที่มีต่อโบราณคดี ประวัติศาสตร์การค้า วรรณคดีโรมัน กษาปณ์ศึกษา ประวัติศาสตร์ศิลป์ และพุทธศาสนา
***หมายเหตุ: - จากประกาศของกระทรวงการท่องเที่ยวและโบราณคดีแห่งอียิปต์ กำหนดอายุพระพุทธรูปจากวัสดุแวดล้อมที่ 2 ศตวรรษก่อนค.ศ. หรือมากกว่า 100 ปีก่อนค.ศ. แต่ในด้านประวัติศาสตร์พุทธศิลป์นั้นควรจะกำหนดอายุหลังกว่านั้นหลายศตวรรษ พระพุทธรูปองค์นี้ดูคล้ายศิลปะคันธาระเพราะความเป็นกรีก–โรมัน แต่ก็มีองค์ประกอบทางศิลปะแบบคุปตะสกุลช่างมถุราของอินเดีย ซึ่งมีอายุในศตวรรษสากลที่ 4-5 เช่น เม็ดไรพระศกขดกลมและการจัดเรียงริ้วจีวรถี่ชิดกัน ในส่วนการทำพระเกศาเป็นเม็ดกลมนั้นเริ่มมีตั้งแต่ศิลปะมถุรา สมัยกุษาณะในศตวรรษสากลที่ 2 ดังนั้นพระพุทธรูปจึงน่าจะมีอายุหลังคริสตกาลไปแล้ว แต่ก็ไม่น่าจะเกินปี 391 ซึ่งจักรพรรดิเธโอโดสิอุสที่ 1 (Theodosius I) สั่งแบนลัทธินอกรีตทุกชนิดนอกจากศาสนาคริสต์
กลุ่มชาวอินเดียที่ไปติดต่อค้าขายถึงอียิปต์ จากเอกสารตะวันตกและหลักฐานจารึกประปราย ก็มีทั้งจากภาคใต้ (ทมิฬ โจฬะ ปาณฑยะ) และภาคตะวันตก (ภารุกัจฉะ/คุชราต) แต่จากพุทธศิลป์แบบทางเหนือสื่อว่าทายกผู้สร้างน่าจะเป็นชาวอินเดียจากภาคตะวันตกเฉียงเหนือ
วัดถ้ำหลายแห่งในแถบคุชราต (เช่น นาสิก) และมหาราษฏร์ทางภาคตะวันตกของอินเดียที่ปรากฏทายกผู้บริจาคว่าเป็น "ยวนะ" หรือ ชาวกรีก ก็อาจเป็นไปได้ว่าคือพ่อค้าชาวกรีก/โรมันที่เดินทางผ่านเรือไปค้าขายและปักหลักในอินเดียจนได้เกิดศรัทธานับถือพุทธศาสนา ผ่านความเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนในกระแสการค้าหมุนเวียนดังกล่าวนั้นเอง
ที่มา :www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02dFKtiHbTrzfbJHVjRnsj8Jb1K29YzfRFXetWJPgX2ENmPh2b7s4WhtngAxi26Sknl&id=100015555556981
ค้นพบพระพุทธรูปในอียิปต์อายุเกือบสองพันปี
ภาพจาก : arabnews.com
กระทรวงการท่องเที่ยวและโบราณคดีแห่งอียิปต์ ประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการค้นพบทางโบราณคดีครั้งสำคัญ: พระพุทธรูปสมัยโรมัน ณ เมืองเบเรนิเก (Berenike) ริมฝั่งทะเลแดง ตั้งอยู่ทางใต้ของประเทศอียิปต์ปัจจุบัน
ช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ (2022) ระหว่างการขุดค้นวิหารแห่งเทพีไอซิส (Isis) ของอียิปต์ ที่เมืองเบเรนิเก บนฝั่งทะเลแดง กลุ่มนักโบราณคดีร่วมระหว่างโปแลนด์และอเมริกันได้สะดุดเข้ากับชุดการค้นพบครั้งสำคัญ
พระพุทธรูปปางยืนสูง 71 ซม. ทำด้วยหินอ่อนของเมดิเตอร์เรเนียนชั้นดี ชิ้นส่วนพระเศียรแตกหักจากพระวรกายแต่ยังอยู่ในสภาพดี ส่วนพระเศียรมีรัศมีรูปวงกลมด้านหลังและแฉกลำแสงกระจายแบบสุริยเทพ (คล้ายเทพเฮลิออสของกรีก, โซลของโรมัน หรือ มิถราของอิหร่าน) ส่วนครึ่งพระกายด้านขวาแตกหักไป พระหัตถ์ซ้ายถือผ้าจีวร และยังมีรูปดอกบัวชูขึ้นด้านข้างซ้าย
พระปฏิมาองค์นี้เป็นศิลปะผสมผสานแบบท้องถิ่นโรมัน-อียิปต์ (Romano-Egyptian style) มีพระรัศมีแยกเป็นแฉกแบบสุริยเทพ เม็ดพระศกหรือผมที่เป็นขดนั้นทำให้เชื่อว่าองค์พระปฏิมาน่าจะถูกสร้างขึ้น ณ โรงช่างแห่งอเล็กซานเดรีย (Alexandria)
ไม่มีจารึกกำกับอยู่ ณ องค์พระ แต่หัวหน้ากองขุด สตีฟ ไซด์โบแธม (Steve Sidebotham) เชื่อว่าน่าจะถูกสั่งจัดทำขึ้นโดยพ่อค้าหัวหน้ากองเรือผู้เป็นชาวพุทธจากอินเดียที่มั่งคั่ง เป็นการถวายบูชาสักการะสำหรับการเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลโดยปลอดภัยมาสู่อาณาจักรโรมัน
ดร.มาริอุส โกยัซดา (Marius Goyazda) หัวหน้าภารกิจฝ่ายโปแลนด์กล่าวว่า พระพุทธรูปที่ถูกค้นพบนั้นทำจากหินอ่อนชั้นดีที่อาจสกัดมาจากพื้นที่ทางตอนใต้ของอิสตันบูล (ในตุรกี) หรืออาจถูกแกะสลักในท้องถิ่นในเบเรนิเกและอุทิศให้กับวัดในท้องถิ่นที่นั่นโดยพ่อค้าชาวอินเดียจากแดนไกล
Stephen Sidbotham หัวหน้าคณะขุดค้นฝั่งอเมริกา กล่าวว่า การค้นพบนี้เกิดขึ้นระหว่างงานขุดค้นที่วิหารโบราณ โดยพบจารึกในภาษาอินเดียโบราณ มีอายุย้อนหลังไปถึงสมัยจักรพรรดิโรมัน ฟิลิปแห่งอาหรับ (Emperor Philip the Arab / Marcus Julius Philippus : ค.ศ. 244 – 249) แต่จารึกนี้มีอายุน่าจะอยู่ในรุ่นหลังกว่าพระพุทธรูป เนื่องจากในวิหารเดียวกันกับพระพุทธรูปได้พบจารึกอื่น ๆ ในภาษากรีกอยู่ที่มีอายุย้อนหลังไปถึงต้นศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช นอกจากนี้ยังพบเหรียญ 2 เหรียญในศตวรรษที่สองจากอาณาจักรศาตวาหนะ (Satavahana) ของอินเดียตอนกลาง
_____________________
■ ความสำคัญของเมืองท่าเบเรนิเก สถานที่ค้นพบริมฝั่งทะเลแดง
ดร.มุสตาฟา วาซีรี (Dr. Mustafa Waziri) เลขาธิการสภาสูงสุดด้านโบราณคดี อ้างว่าภารกิจทางโบราณคดีได้ดำเนินการที่เขตนี้ตั้งแต่ปี 1994 ภายใต้การกำกับดูแลของสภาสูงสุด โดยยืนยันว่าจากการขุดค้นในระยะอันใกล้มานี้ในที่พื้นที่ดังกล่าวได้พบหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างอินเดียกับอียิปต์ในยุคจักรวรรดิโรมัน (Egypt under Roman Empire) ซึ่งอียิปต์เป็นศูนย์กลางบนเส้นทางการค้าที่เชื่อมโยงอาณาจักรโรมันเข้ากับดินแดนต่างๆ ในโลกยุคโบราณรวมทั้งอินเดีย ท่าเรือหลายแห่งในยุคโรมันบนชายฝั่งทะเลแดงในอียิปต์เข้าร่วมในเครือข่ายการค้านี้ และที่สำคัญที่สุดคือเบเรนิเก เรือที่มาจากอินเดียบรรทุกสินค้าสำคัญเช่น พริกไทย หินมีค่า สิ่งทอ และงาช้าง และจะนำมาถ่ายลงที่เมืองท่าแห่งนี้ก่อนจะจัดส่งสินค้าข้ามทะเลทรายไปยังแม่น้ำไนล์ ซึ่งมีเรือลำอื่นจะขนส่งสินค้าไปยังอเล็กซานเดรีย และจากมหานครนี้ไปยังส่วนที่เหลือของจักรวรรดิโรมัน
ปัจจุบัน เบเรนิเกเป็นเพียงพื้นที่รกร้างห่างไกล ไร้พืชพันธุ์ และเต็มไปด้วยฝุ่นทะเลทรายสีแดง ริมฝั่งทะเลแดงที่มีลมกรรโชก ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งของสถาปัตยกรรมอันน่าตื่นใจ เช่น วิหารแห่งเทพเซราปิส (Serapis) โรงกลั่นน้ำหอมแบบโรมัน และโรงอาบน้ำชั้นดี แต่ปัจจุบันกำแพงแทบจะไม่สูงเกินเข่า และที่น่าสนใจยิ่งคือเมืองโบราณนี้เคยเป็นจุดลงจอดเรือและขึ้นฝั่งของเหล่าพ่อค้าวาณิชชาวอินเดียจากแดนไกลหลายชั่วอายุคนซึ่งเดินทางมายังอาณาจักรโรมัน
กษัตริย์ชาวกรีกแห่งราชวงศ์ปโตเลมี (Ptolemaic) ได้ก่อตั้งเมืองท่าเบเรนิเก และเมืองท่าริมฝั่งทะเลแดงอื่น ๆ มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนค.ศ. เพื่อเชื่อมโยงติดต่อด้านการค้ากับอินเดีย (โดยมีเป้าหมายหลักคือการนำเข้าช้างมาใช้ในการศึก) จนกระทั่งโรมันสามารถพิชิตผู้ปกครองรุ่นสุดท้ายแห่งราชวงศ์ปโตเลมี คือ คลีโอพัตราและมาร์ค แอนโทนี ในปี 30 ก่อนค.ศ. ณ ยุทธภูมิที่แอกติอุม (Actium) ส่งผลให้อียิปต์กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน และทำให้การค้ากับซีกโลกตะวันออกแห่งอินเดียเจริญเติบโตเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว (สตราโบบันทึกว่ามากขึ้นกว่ายุคปโตเลมีถึง 5 เท่า และมีเรือที่แล่นไปอินเดียถึง 120 ลำในแต่ละปีจากเพียงท่าเรือเดียว) เกิดคลื่นการค้าต่อเนื่องที่นำราชทูตจากอินเดียมาสู่ราชสำนักโรม และชาวอินเดียได้ปรากฏตัวแพร่หลายในเมืองอเล็กซานเดรีย อันเป็นที่กระจายสินค้าจากทะเลแดง สู่ภูมิภาคอื่น ๆ ในเมดิเตอร์เรเนียน โดยเฉพาะกรุงโรม
_____________________
■ การค้นพบครั้งประวัติศาสตร์
ในอดีตได้เคยมีการค้นพบเศษซากจารึกอักษรพราหมีของอินเดียในอียิปต์ เยเมน และโอมาน, รูปสลักนางยักษีที่ปอมเปอี ซึ่งยืนยันการค้าและความสัมพันธ์ระหว่างอียิปต์ กรีก โรมัน กับอินเดียอย่างแน่ชัด และได้รับรู้เกี่ยวกับเนื้อหาว่าด้วยพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ในบันทึกกรีกโดยเฉพาะจากเมืองอเล็กซานเดรียในยุคต้นศักราชสากล ยืนยันความรู้เรื่องพุทธศาสนาในโลกตะวันตกยุคโบราณ และเก่าแก่ที่สุดคือจารึกอโศก ยุคศตวรรษที่ 3 ก่อนค.ศ. ที่มีการเอ่ยอ้างถึงการส่งธรรมทูตไปสู่อียิปต์ภายใต้การปกครองของปโตเลมี
หากแต่การค้นพบนี้เป็นครั้งแรกของหลักฐานทางพุทธศาสนาในอียิปต์ ที่ได้ยืนยันถึงการปรากฏมีของกลุ่มชาวพุทธอันมีที่มาจากอินเดียในแผ่นดินอียิปต์โดยตรง
นอกจากนั้นการค้นพบครั้งใหม่ที่เบเรนิเกยังได้จุดประกายให้เหล่านักประวัติศาสตร์เห็นความสัมพันธ์แนบแน่นระหว่างโรมกับอินเดียผ่านทะเลแดงผ่านสู่มหาสมุทรอินเดียมากกว่าที่เคยคิดกันมาก่อน ทั้งหลักฐานของร่องรอยอินเดียในจักรวรรดิโรมัน และร่องรอยโรมันในอินเดีย รวมทั้งความสำคัญของเมืองท่าแห่งนี้ที่มีต่อโบราณคดี ประวัติศาสตร์การค้า วรรณคดีโรมัน กษาปณ์ศึกษา ประวัติศาสตร์ศิลป์ และพุทธศาสนา
***หมายเหตุ: - จากประกาศของกระทรวงการท่องเที่ยวและโบราณคดีแห่งอียิปต์ กำหนดอายุพระพุทธรูปจากวัสดุแวดล้อมที่ 2 ศตวรรษก่อนค.ศ. หรือมากกว่า 100 ปีก่อนค.ศ. แต่ในด้านประวัติศาสตร์พุทธศิลป์นั้นควรจะกำหนดอายุหลังกว่านั้นหลายศตวรรษ พระพุทธรูปองค์นี้ดูคล้ายศิลปะคันธาระเพราะความเป็นกรีก–โรมัน แต่ก็มีองค์ประกอบทางศิลปะแบบคุปตะสกุลช่างมถุราของอินเดีย ซึ่งมีอายุในศตวรรษสากลที่ 4-5 เช่น เม็ดไรพระศกขดกลมและการจัดเรียงริ้วจีวรถี่ชิดกัน ในส่วนการทำพระเกศาเป็นเม็ดกลมนั้นเริ่มมีตั้งแต่ศิลปะมถุรา สมัยกุษาณะในศตวรรษสากลที่ 2 ดังนั้นพระพุทธรูปจึงน่าจะมีอายุหลังคริสตกาลไปแล้ว แต่ก็ไม่น่าจะเกินปี 391 ซึ่งจักรพรรดิเธโอโดสิอุสที่ 1 (Theodosius I) สั่งแบนลัทธินอกรีตทุกชนิดนอกจากศาสนาคริสต์
กลุ่มชาวอินเดียที่ไปติดต่อค้าขายถึงอียิปต์ จากเอกสารตะวันตกและหลักฐานจารึกประปราย ก็มีทั้งจากภาคใต้ (ทมิฬ โจฬะ ปาณฑยะ) และภาคตะวันตก (ภารุกัจฉะ/คุชราต) แต่จากพุทธศิลป์แบบทางเหนือสื่อว่าทายกผู้สร้างน่าจะเป็นชาวอินเดียจากภาคตะวันตกเฉียงเหนือ
วัดถ้ำหลายแห่งในแถบคุชราต (เช่น นาสิก) และมหาราษฏร์ทางภาคตะวันตกของอินเดียที่ปรากฏทายกผู้บริจาคว่าเป็น "ยวนะ" หรือ ชาวกรีก ก็อาจเป็นไปได้ว่าคือพ่อค้าชาวกรีก/โรมันที่เดินทางผ่านเรือไปค้าขายและปักหลักในอินเดียจนได้เกิดศรัทธานับถือพุทธศาสนา ผ่านความเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนในกระแสการค้าหมุนเวียนดังกล่าวนั้นเอง
ที่มา :www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02dFKtiHbTrzfbJHVjRnsj8Jb1K29YzfRFXetWJPgX2ENmPh2b7s4WhtngAxi26Sknl&id=100015555556981