การเข้า-ออกสมาธิระดับฌาน อุปมาเหมือนเดินขึ้น-ลง ตึก 11 ชั้น
ชั้นแรก คือ ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะจิตเป็นสมาธิเบื้องต้น
เมื่อจิตเริ่มสงบเป็นสมาธิ จะขึ้นชั้นสอง คือ อุปจารสมาธิ สมาธิจวนจะแน่วแน่หรือจวนนิ่ง คนส่วนใหญ่จะติดอยู่ในชั้นที่หนึ่งและสอง
เมื่อจิตตั้งมั่นรวมเป็นสมาธิ หรือ เอกัคตา จิตไม่สับส่ายไปมา ปราศจากนิวรณ์ 5 คือ ความพอใจ ความไม่พอใจ ความขี้เกียจ ความคิดซัดส่ายและความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย จิตตั้งมั่นใน วิตกและวิจารณ์ ความตริตรึกและความใคร่ครวญถึงในลมหายใจเข้า-ออกและคำบริกรรมพุทโธ เป็นชั้นที่สาม หรือ รูปฌานหนึ่ง
ชั้นที่สี่จะเกิดอาการปีติ 5 คือ ขนชูชันน้ำตาไหล เสียวซ่านถึงรูขุมขน รู้สึกซู่ลงมาๆ ตัวโยกขึ้น-ลง (อาการของครูบาบุญชุ่ม) เหมือนตัวลอยขึ้นไปในอากาศ และรู้สึกเย็นซ่านเอิบอาบไปทั่วร่างกาย ชั้นนี้เรียกว่า ทุติยฌาน ขั้นนี้จะทิ้งวิตก วิจารณ์ คือ คำบริกรรม ลมหายหยาบ สั้น เปลี่ยนเป็นลมหายใจละเอียดและยาว
ชั้นที่ห้า ปีติจะดับลง เกิดสุขทางใจ สุขแบบไม่มีสุขใดในโลกเทียบได้ อะดรีนาลีนหรั่งทั้งกายตั้งแต่หัวจรดเท้า เป็นความสุขที่ไม่เคยเกิดขึ้นในชีวิต เอาสมบัติพระจักรพรรดิมาแลกก็ไม่ยอม ชั้นนี้เรียกว่า ตติยฌาน ร่างกายจะตั้งตรงเหมือนไม้บรรทัด ลมหายใจจะแผ่วเบาเหมือนดับหายไปแต่ก็มีลมหายใจอยู่
ขั้นที่หก ลมหายใจและกายจะดับสนิท เหมือนคนไม่หายใจ ไม่สามารถสัมผัสถึงลมหายใจและกายได้อีก ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ มีแต่อุเบกขาและจิตตั้งมั่นดวงเดียว บางครั้งจะเห็นนิมิตเป็นแก้วประกายพรึก หรือความรู้สึกรวมของจิตตั้งมั่นอยู่ท่ามกลางความว่างในฐานของกาย ในขั้นนี้เรียกว่า จตุตถฌาน ในขั้นนี้เป็นสมาธิเหมาะแก่การเจริญวิปัสสนาอย่างยิ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเจริญอานาปานสติจนถึงจตุตถฌาน แล้วทรงเจริญวิปัสสนาทำลายกิเลส อวิชชา ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สมาธิขั้นนี้ ฤทธิ์ อภิญญาก็เกิดในสมาธิขั้นนี้โดยการฝึกกสิณทั้ง 10 กอง คือ การเพ่งดิน น้ำ ลม ไฟ สีขาว แดง เป็นต้น ให้สำเร็จจตุตถฌานสามารถ เหาะเหินเดินอากาศ หยั่งรู้วาระจิต ท่องเที่ยวนรกสวรรค์
ผู้ที่ปฏิบัติถึงขั้นนี้ครั้งแรกเกือบ 100% จะตกใจเพราะไม่มีลมหายใจและหลุดออกจากสมาธิ
ขั้นที่เจ็ด ปัจมฌาน เป็นฌานกึ่งกลางระหว่างรูปฌานและอรูปฌาน เหลือจิตตั้งมั่นดวงเดียวเป็นแก้วประกายพรึก ส่องสว่างเป็นประภัสสรดุจดวงอาทิตย์ ท่ามกลางความว่างไร้สมมุติบัญญัติใดๆ
เป็นจิตร่องรอยกลางห้วงอวกาศที่ว่างเปล่า ไม่สัมผัสถึงกายและลมหายใจ ไร้สุข ไร้ทุกข์ ไร้กาลเวลา ไร้ความคิด ไร้สมมุติปรุงแต่ง แต่จิตมีปัญญาสว่างไสว เห็นไตรลักษณ์และอริยสัจสี่ พระอาจารย์เล็กกล่าวว่า ขั้นนี้เป็นฌานของพระโพธิสัตว์บารมีเข้มเท่านั้น ปุถุชนจะข้ามขั้นนี้เข้าอรูปฌาน
ขั้นที่แปด อากาสานัญจายตนะ เพิกรูปจิตตั้งมั่นในจตุตถฌาน ขยายออกไปในความว่างของอากาศหรืออวกาศอันกว้างใหญ่ไพศาล ในขั้นนี้ใช้ความรู้สึกรู้เวิ้งว้างกว้างใหญ่ของอากาศหรืออวกาศเป็นอารมณ์ของสมาธิ
ขั้นที่เก้า วิญญาณัญจายตนะ ใช้ความรู้สึกรู้กว้างใหญ่ เวิ้งว้างของอากาศหรืออวกาศในอากาสานัญจายตนะเป็นฐาน และทิ้งความรู้สึกรู้เวิ้งว้างกว้างใหญ่ของอากาศหรืออวกาศเสีย เหลือแต่ตัวรู้หรือความรู้สึกรู้ของจิต (วิญญาณ) หรือตัวจิตเท่านั้น รูปและกายใดๆไม่มี
ขั้นที่สิบ อากิญจัญญายตนะ การไม่กำหนดอะไรเลย ความว่างของอากาศหรืออวกาศก็ไม่มี ความรู้สึกรู้หรือตัวรู้ของจิต (วิญญาณ) ก็ไม่มี ไม่มีอะไรเลย
ขั้นที่สิบเอ็ด เนวสัญญานาสัญญายตนะ ทำลายสัญญาความจำได้หมายรู้จนหมดสิ้น เหมือนไม่มีสัญญา คือไม่ยอมรับรู้จดจำอะไรหมด ไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น ความว่างก็ไม่สนใจเหมือนดับหายไป
วสี คือ ผู้ที่สามารถขึ้นลงตึกทั้งหกชั้นหรือสิบเอ็ดชั้นได้ดังใจปรารถนา เป็นพื้นฐานของผู้ฝึกอภิญญาและวิปัสสนาควรทำสมาธิจนได้วสีก่อน
ปล.เขียนจากประสบการณ์ปฏิบัติของตนเองทั้งหมดหากผิดพลาดหรือไม่ตรงตำราขออภัยด้วยครับ
การเข้า-ออกสมาธิระดับฌาน อุปมาเหมือนเดินขึ้น-ลง ตึก 11 ชั้น
ชั้นแรก คือ ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะจิตเป็นสมาธิเบื้องต้น
เมื่อจิตเริ่มสงบเป็นสมาธิ จะขึ้นชั้นสอง คือ อุปจารสมาธิ สมาธิจวนจะแน่วแน่หรือจวนนิ่ง คนส่วนใหญ่จะติดอยู่ในชั้นที่หนึ่งและสอง
เมื่อจิตตั้งมั่นรวมเป็นสมาธิ หรือ เอกัคตา จิตไม่สับส่ายไปมา ปราศจากนิวรณ์ 5 คือ ความพอใจ ความไม่พอใจ ความขี้เกียจ ความคิดซัดส่ายและความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย จิตตั้งมั่นใน วิตกและวิจารณ์ ความตริตรึกและความใคร่ครวญถึงในลมหายใจเข้า-ออกและคำบริกรรมพุทโธ เป็นชั้นที่สาม หรือ รูปฌานหนึ่ง
ชั้นที่สี่จะเกิดอาการปีติ 5 คือ ขนชูชันน้ำตาไหล เสียวซ่านถึงรูขุมขน รู้สึกซู่ลงมาๆ ตัวโยกขึ้น-ลง (อาการของครูบาบุญชุ่ม) เหมือนตัวลอยขึ้นไปในอากาศ และรู้สึกเย็นซ่านเอิบอาบไปทั่วร่างกาย ชั้นนี้เรียกว่า ทุติยฌาน ขั้นนี้จะทิ้งวิตก วิจารณ์ คือ คำบริกรรม ลมหายหยาบ สั้น เปลี่ยนเป็นลมหายใจละเอียดและยาว
ชั้นที่ห้า ปีติจะดับลง เกิดสุขทางใจ สุขแบบไม่มีสุขใดในโลกเทียบได้ อะดรีนาลีนหรั่งทั้งกายตั้งแต่หัวจรดเท้า เป็นความสุขที่ไม่เคยเกิดขึ้นในชีวิต เอาสมบัติพระจักรพรรดิมาแลกก็ไม่ยอม ชั้นนี้เรียกว่า ตติยฌาน ร่างกายจะตั้งตรงเหมือนไม้บรรทัด ลมหายใจจะแผ่วเบาเหมือนดับหายไปแต่ก็มีลมหายใจอยู่
ขั้นที่หก ลมหายใจและกายจะดับสนิท เหมือนคนไม่หายใจ ไม่สามารถสัมผัสถึงลมหายใจและกายได้อีก ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ มีแต่อุเบกขาและจิตตั้งมั่นดวงเดียว บางครั้งจะเห็นนิมิตเป็นแก้วประกายพรึก หรือความรู้สึกรวมของจิตตั้งมั่นอยู่ท่ามกลางความว่างในฐานของกาย ในขั้นนี้เรียกว่า จตุตถฌาน ในขั้นนี้เป็นสมาธิเหมาะแก่การเจริญวิปัสสนาอย่างยิ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเจริญอานาปานสติจนถึงจตุตถฌาน แล้วทรงเจริญวิปัสสนาทำลายกิเลส อวิชชา ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สมาธิขั้นนี้ ฤทธิ์ อภิญญาก็เกิดในสมาธิขั้นนี้โดยการฝึกกสิณทั้ง 10 กอง คือ การเพ่งดิน น้ำ ลม ไฟ สีขาว แดง เป็นต้น ให้สำเร็จจตุตถฌานสามารถ เหาะเหินเดินอากาศ หยั่งรู้วาระจิต ท่องเที่ยวนรกสวรรค์
ผู้ที่ปฏิบัติถึงขั้นนี้ครั้งแรกเกือบ 100% จะตกใจเพราะไม่มีลมหายใจและหลุดออกจากสมาธิ
ขั้นที่เจ็ด ปัจมฌาน เป็นฌานกึ่งกลางระหว่างรูปฌานและอรูปฌาน เหลือจิตตั้งมั่นดวงเดียวเป็นแก้วประกายพรึก ส่องสว่างเป็นประภัสสรดุจดวงอาทิตย์ ท่ามกลางความว่างไร้สมมุติบัญญัติใดๆ
เป็นจิตร่องรอยกลางห้วงอวกาศที่ว่างเปล่า ไม่สัมผัสถึงกายและลมหายใจ ไร้สุข ไร้ทุกข์ ไร้กาลเวลา ไร้ความคิด ไร้สมมุติปรุงแต่ง แต่จิตมีปัญญาสว่างไสว เห็นไตรลักษณ์และอริยสัจสี่ พระอาจารย์เล็กกล่าวว่า ขั้นนี้เป็นฌานของพระโพธิสัตว์บารมีเข้มเท่านั้น ปุถุชนจะข้ามขั้นนี้เข้าอรูปฌาน
ขั้นที่แปด อากาสานัญจายตนะ เพิกรูปจิตตั้งมั่นในจตุตถฌาน ขยายออกไปในความว่างของอากาศหรืออวกาศอันกว้างใหญ่ไพศาล ในขั้นนี้ใช้ความรู้สึกรู้เวิ้งว้างกว้างใหญ่ของอากาศหรืออวกาศเป็นอารมณ์ของสมาธิ
ขั้นที่เก้า วิญญาณัญจายตนะ ใช้ความรู้สึกรู้กว้างใหญ่ เวิ้งว้างของอากาศหรืออวกาศในอากาสานัญจายตนะเป็นฐาน และทิ้งความรู้สึกรู้เวิ้งว้างกว้างใหญ่ของอากาศหรืออวกาศเสีย เหลือแต่ตัวรู้หรือความรู้สึกรู้ของจิต (วิญญาณ) หรือตัวจิตเท่านั้น รูปและกายใดๆไม่มี
ขั้นที่สิบ อากิญจัญญายตนะ การไม่กำหนดอะไรเลย ความว่างของอากาศหรืออวกาศก็ไม่มี ความรู้สึกรู้หรือตัวรู้ของจิต (วิญญาณ) ก็ไม่มี ไม่มีอะไรเลย
ขั้นที่สิบเอ็ด เนวสัญญานาสัญญายตนะ ทำลายสัญญาความจำได้หมายรู้จนหมดสิ้น เหมือนไม่มีสัญญา คือไม่ยอมรับรู้จดจำอะไรหมด ไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น ความว่างก็ไม่สนใจเหมือนดับหายไป
วสี คือ ผู้ที่สามารถขึ้นลงตึกทั้งหกชั้นหรือสิบเอ็ดชั้นได้ดังใจปรารถนา เป็นพื้นฐานของผู้ฝึกอภิญญาและวิปัสสนาควรทำสมาธิจนได้วสีก่อน
ปล.เขียนจากประสบการณ์ปฏิบัติของตนเองทั้งหมดหากผิดพลาดหรือไม่ตรงตำราขออภัยด้วยครับ