JJNY : พิธา-ชัยธวัชลั่น ต้องคืนความยุติธรรม│‘ช่อ’ถอด รัฐกำจัดความเห็นต่าง│แคนาดาเผชิญ“ใบไม้ร่วง”ร้อน│รัสเซียโจมตีงานศพ

พิธา-ชัยธวัช ลั่น 47 ปี 6 ตุลา บทเรียนไม่ควรลืม ต้องคืนความยุติธรรม ชี้เหตุยื่นร่าง พ.ร.บ.นิรโทษ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4218146
 
 
พิธา-ชัยธวัช ลั่น 47 ปี 6 ตุลา บทเรียนไม่ควรลืม ต้องคืนความยุติธรรม ไม่ใช่แค่รำลึก ชี้เหตุยื่นร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
 
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ที่สวนประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์ กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเครือข่าย ร่วมจัดงาน “47 ปี 6 ตุลาฯ : กว่าจะเป็นประชาธิปไตย”
 
เวลา 08.10 น. ตัวแทนจากภาคการเมือง และประชาชน ร่วมกันวางพวงหรีด อาทิ ญาติวีรชน 6 ตุลา, มูลนิธิ และสถาบันปรีดี พนมยงค์, ญาติวีรชน 14 ตุลา, องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อดีต 18 ผู้ต้องหา 6 ตุลา, ชมรมโดมรวมใจ, ผู้แทนพรรคการเมือง, สหภาพ และสหพันธ์แรงงาน, สมัชชาคนจน, มูลนิธินิคม จันทรวิทุร, เครือข่ายเดือนตุลา, มูลนิธิ 14 ตุลา, ญาติวีรชนพฤษภา 35, มูลนิธิศักยภาพชุมชน, มูลนิธิจิตร ภูมิศักดิ์, กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย
 
ดร.ณหทัย ทิวไผ่งาม ผู้แทนวางพวงหรีดจากคณะรัฐสภา, รองศาสตราจารย์ ดร.นายสุรัตน์ ทีรฆาภิบาล อธิการบดีฝ่ายบริหารท่าพระจันทร์และวิเทศสัมพันธ์ ผู้แทนวางพวงหรีดจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นายมนตรี บุญจรัส ตัวแทนวางพวงหรีดจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และหัวหน้าพรรคประชาชาติ, ผู้แทนพรรคประชาธิปัตย์, นาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี ตัวแทนจากพรรคไทยสร้างไทย วางพวงหรีดมีข้อความว่า ‘เราต้องการรัฐธรรมนูญ’, รองศาสตราจารย์ ชูศักดิ์ ศิรินิล ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย, นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคก้าวไกล, นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล, นางสาวพรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้า, นางธิดา ถาวรเศรษฐ อดีตแกนนำ นปช. เป็นต้น
 
นายพิธากล่าวว่า เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519 เป็นบทเรียนที่เราไม่ควรลืมว่า สิ่งที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 47 ปีที่แล้ว เป็นความรุนแรงที่ไปไกลเกินกว่าที่ใครควรจะรับได้ ที่คนในรุ่นปัจจุบันควรต้องถอดบทเรียนจากสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมศึกษาและทำความเข้าใจจากหลักฐานที่มีมากขึ้นในวันนี้ ให้เห็นถึงมุมองที่แตกต่างว่ามีโครงสร้างอะไรบางอย่างที่ต้องการทำให้เราลืมเหตุการณ์ในครั้งนี้เพื่อทดแทนด้วยความว่างเปล่า หลายปีที่ผ่านมา มีความพยายามสะสางประวัติศาสตร์ข้อเท็จจริงมาตลอด แม้จะยังไม่มีผลสรุปว่าใครต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ 47 ปีที่แล้ว แต่ในอีกด้านหนึ่งเราก็เห็นได้ว่าคนรุ่นนี้เข้าถึงความจริงที่มีคนพยายามปกปิดมาตลอดมากกว่าคนรุ่นตนมากแล้ว
 
นี่คือเหตุผลว่าทำไมพรรคก้าวไกลจึงพยายามทำงานเพื่อทำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 47 ปีที่แล้วไม่เกิดขึ้นอีกในสังคมไทย ด้วยการยื่นร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เมื่อวานนี้ (5 ต.ค.) ให้เป็นการถอนฟืนออกจากกองไฟ ไม่ให้เกิดความแตกแยกที่ไม่จบสิ้น ให้เกิดการสืบหาข้อเท็จจริง เกิดความยุติธรรม และให้สังคมเดินหน้าต่อไปได้” นายพิธากล่าว
 
ด้านนายชัยธวัชกล่าวว่าในวาระ 47 ปี เราไม่ควรพูดถึงเพียงแค่การรำลึกถึงเหตุการณ์ในอดีตเท่านั้น เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตยังคงสะท้อนปัญหาทางการเมืองในสังคมไทยที่ยังเป็นโจทย์ตกค้างมาถึงปัจจุบันหลายเรื่อง เช่น สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงออกทางการเมือง ระบบกฎหมายและอำนาจรัฐต้องเคารพชีวิตและร่างกายของประชาชน ไม่ให้อำนาจใดมาพรากชีวิตและร่างกายของประชาชน ยังไม่นับว่าในสถานการณ์ปัจจุบันยังมีคนถูกดำเนินคดีอย่างรุนแรง จำคุก และละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน เพียงเพราะความคิดเห็นทางการเมืองหลายพันคน
 
นั่นคือเหตุผลที่ทำให้พรรคก้าวไกลตัดสินใจยื่นร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ให้กับผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดเนื่องจากความเห็นทางการเมือง นับตั้งแต่วันแรกที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมมาจนถึงปัจจุบัน ที่สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองยังยืดเยื้อไม่จบสิ้น ต่างฝ่ายต่างคิดว่าตัวเองเจตนาดี แสดงความคิดเห็นและชุมนุมเพื่อสร้างสังคมที่ดีในมุมของตัวเอง แต่เกิดความขัดแย้งมาจนไม่มีทางออกขนาดนี้
 
ประตูบานแรกที่จะนำไปสู่การหันหน้ามาคุยกัน ตั้งต้นใหม่ทางการเมืองตามเป้าหมายของรัฐบาลในการสร้างความปรองดอง ก็คือการคืนความยุติธรรม ทำให้ทุกฝ่ายลดกำแพงมาพูดคุยกัน ใช้กระบวนการประชาธิปไตยแสวงหากติกาการเมืองแบบใหม่ที่เรายอมรับที่จะอยู่ร่วมกัน
 
พรรคก้าวไกลเชื่อว่ากระบวนการนิติบัญญัติในสภาจะเป็นพื้นที่ให้เราเอาความเห็นที่ไม่ตรงกัน มาออกแบบร่วมกันด้วยความรอบคอบ รอบด้าน มีวุฒิภาวะ และมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย ที่พรรครัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน รวมทั้ง สว. มีความเห็นที่เป็นจุดร่วมกันได้ ดังนั้น จึงขอเชิญชวนให้ทุกฝ่ายมาพิจารณาร่วมกัน เสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมในฉบับของตัวเองขึ้นมาด้วยก็ได้ ผ่านวาระหนึ่งแล้วค่อยไปว่ากันในรายละเอียดที่เห็นต่างกันในวาระที่ 2 และ 3 ได้” นายชัยธวัชกล่าว



47 ปี จากล้อมปราบ สู่นิติสงคราม ‘ช่อ’ ถอดบทเรียน รัฐกำจัดความเห็นต่าง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4218149

47 ปี จากล้อมปราบ สู่นิติสงคราม ‘ช่อ’ ถอดบทเรียน รัฐกำจัดความเห็นต่าง
 
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ที่สวนประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์ กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเครือข่าย ร่วมจัดงาน “47 ปี 6 ตุลาฯ : กว่าจะเป็นประชาธิปไตย
 
เวลา 08.10 น. ตัวแทนจากภาคการเมือง และประชาชน ร่วมกันวางพวงหรีด อาทิ ญาติวีรชน 6 ตุลา, มูลนิธิ และสถาบันปรีดี พนมยงค์, ญาติวีรชน 14 ตุลา, องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อดีต 18 ผู้ต้องหา 6 ตุลา, ชมรมโดมรวมใจ, ผู้แทนพรรคการเมือง, สหภาพ และสหพันธ์แรงงาน, สมัชชาคนจน, มูลนิธินิคม จันทรวิทุร, เครือข่ายเดือนตุลา, มูลนิธิ 14 ตุลา, ญาติวีรชนพฤษภา 35, มูลนิธิศักยภาพชุมชน, มูลนิธิจิตร ภูมิศักดิ์, กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย
 
ดร.ณหทัย ทิวไผ่งาม ผู้แทนวางพวงหรีดจากคณะรัฐสภา, รองศาสตราจารย์ ดร.นายสุรัตน์ ทีรฆาภิบาล อธิการบดีฝ่ายบริหารท่าพระจันทร์และวิเทศสัมพันธ์ ผู้แทนวางพวงหรีดจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นายมนตรี บุญจรัส ตัวแทนวางพวงหรีดจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และหัวหน้าพรรคประชาชาติ, ผู้แทนพรรคประชาธิปัตย์, นาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี ตัวแทนจากพรรคไทยสร้างไทย วางพวงหรีดมีข้อความว่า ‘เราต้องการรัฐธรรมนูญ’, รองศาสตราจารย์ ชูศักดิ์ ศิรินิล ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย, นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคก้าวไกล, นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล, นางสาวพรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้า, นางธิดา ถาวรเศรษฐ อดีตแกนนำ นปช. เป็นต้น
 
นางสาวพรรณิการ์ ให้สัมภาษณ์ ‘มติชน’ ต่อการถอดบทเรียนเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ว่า เหตุการณ์ดังกล่าว คือกำจัดคนที่มีความคิดแตกต่างจากภาครัฐ มีความคิดทางการเมืองที่ไม่เหมือนกับอำนาจรัฐ
 
ณ วันนั้นใช้การยิงทิ้ง ตามยิงกันต่อในป่า มาในวันนี้ถามว่ามีความแตกต่างไหม ในทางหนึ่งไม่แตกต่าง การดำเนินการกับผู้เห็นต่างทางการเมือง จากผู้กุมอำนาจรัฐ ยังคงมีการดำเนินการอย่างโหดเหี้ยม ในรูปแบบที่แตกต่างออกไป แทนที่จะยิงกันทิ้ง ยิงกันกลางเมือง ก็ใช้วิธีนิติสงคราม ใช้กฎหมายแล้วก็อ้างว่าทำผิดกฎหมาย โดนเข้าคุก การดูจากเหตุการณ์ 6 ตุลา มาจนถึงทุกวันนี้ สิ่งเดียวที่ยังคงเหมือนเดิม คือ การใช้อำนาจรัฐ มาจัดการคนที่เห็นต่าง
 
วิธีการแก้ไขง่ายมาก ถ้ารัฐต้องการที่จะแก้ไข ถ้ารัฐมีความจริงใจในการแก้ไข หากถอดบทเรียนจะเห็นได้ว่าคุณฆ่าความเห็นที่แตกต่างไม่ได้หรอก คุณฆ่าคนได้ แต่ความคิดจะยังแพร่กระจายออกไป เขาก็เลยออกนิรโทษกรรมกันมา
 
ฉะนั้น มาถึงวันนี้เราคิดว่าถ้ารัฐจะเริ่ม เริ่มได้เลย ตัวพ.ร.ก.นิรโทษกรรม พรรคก้าวไกลเพิ่งเสนอไปเมื่อวานนี้ ณ วันนี้ถ้ามีการนิรโทษกรรม คืนอิสระ คืนศักดิ์ศรี ให้กัลคนที่เพียงเห็นต่างทางการเมือง เพียงเพราะแสดงออกทางการเมือง จะเป็นการเริ่มต้นและเป็นหมุดหมายใหม่ ว่าเห็นต่างก็อยู่ด้วยกันได้” นางสาวพรรณิการ์กล่าว
 
นางสาวพรรณิการ์ กล่าวอีกว่า มันไม่ใช่การทำเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ต่อไปมันจะเป็นบรรทัดฐาน ไม่ว่าจะมีความเห็นที่แตกต่างกันอย่างไร ฝักใฝ่ฝ่ายไหน อย่างน้อยจะได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย



แคนาดาเผชิญ “ฤดูใบไม้ร่วง” ร้อนเป็นประวัติการณ์-อุณหภูมิพุ่ง 30 องศาเซลเซียส
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7902882

แคนาดาเผชิญ “ฤดูใบไม้ร่วง” – เอเอฟพี รายงานวันที่ 6 ต.ค. ว่า นายฌอง-ฟิลิปเป บีแกง นักอุตุนิยมวิทยาด้านสิ่งแวดล้อมของแคนาดา เปิดเผยว่า
 
พื้นที่ภาคตะวันออกของแคนาดาเผชิญหน้ากับ ฤดูใบไม้ร่วง ที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ของประเทศ หลังอุณหภูมิสูงเกือบ 30 องศาเซลเซียสในช่วงสัปดาห์นี้
 
ผู้เชี่ยวชาญแสดงความกังวลว่าผู้คนต้องดิ้นรนในการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อรับมือกับสภาพอากาศเลวร้ายสุดขั้วจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ “เป็นเรื่องปกติที่จะมีอากาศอบอุ่นเป็นครั้งคราว แต่ความร้อนจัดเช่นนี้ถือว่าผิดปกติมาก” นายแบแกงกล่าว
 
และว่ามีการทำลายสถิติอุณหภูมิในช่วง 3 วันที่ผ่านมาในรัฐควิเบก รวมถึงรัฐใกล้เคียง โดยเมื่อวันพุธที่ 4 ต.ค. อุณหภูมิในเมืองมอนทรีออลสูงถึง 29.3 องศาเซลเซียส สูงกว่าสถิติ 26.7 องศาเซลเซียสในปี 2548 หรือเมื่อ 18 ปีก่อน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่