เท้ง ชี้ ‘ติดที่ส.ส.กลัวคดี’ ยัน ปชน.พร้อมโหวต ‘นิรโทษประชาชน’ คาดยื่นใหม่ทันสมัยหน้า
https://www.matichon.co.th/politics/news_5060766
เท้ง ลั่น ติดที่ ส.ส.กลัวคดี – ปชน.พร้อมโหวตรับ ‘นิรโทษประชาชน’ คาดยื่นสภาฯ ทันสมัยหน้า ‘สมยศ’ หวังส.ส.กล้าหาญ
เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ที่ห้อง 102 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน (6 องค์กร) จัดงาน ‘
1 ปีนิรโทษกรรมประชาชน’ เพื่ออัพเดตความคืบหน้า หลังผ่านมาเป็นระยะเวลากว่าหนึ่งปี ที่ได้มีการยื่นเสนอร่างกฎหมาย พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาคดีทางการเมือง ซึ่งในปัจจุบันยังมีผู้ถูกคุมขังโดยไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวเป็นจำนวนมาก
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศภายในงาน มีการออกบูธจากเครือข่ายต่างๆ อาทิ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw, สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, Freedom bridge, พิพิธภัณฑ์สามัญชน, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล ประเทศไทย เป็นต้น ซึ่งไฮไลต์คือ
เวที ‘Exclusive Talk’ แลกเปลี่ยนมุมมองความคืบหน้าของ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน ทั้งนี้ มีนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ตัวแทนพรรค นักวิชาการ อาทิ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.
ธงชัย วินิจจะกูล แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สหรัฐอเมริกา ตลอดจนประชาชนทั่วไป ร่วมฟังอย่างคับคั่ง
ต่อมาเวลา 18.45 น. นาย
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หรือ ส.ส.เท้ง ผู้นำฝ่ายค้าน หัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวในหัวข้อ ‘ฝ่ายค้านและคดีการเมือง’
นาย
ณัฐพงษ์กล่าวว่า สิ่งสำคัญตอนนี้คือ กำลังใจ ตนไม่อยากใช้เวทีนี้ เป็นเวทีต่อสู้ของฝ่ายค้าน-รัฐบาล แต่ขอเป็นตัวแทนฝั่งการเมืองที่มาเป็นกำลังใจ ซึ่งหากดูจากบริบทตอนนี้ มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน อะไรเป็นตัวแปรที่เราจะผลักดันต่อ หาก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน ล่าช้าออกไป จะมีวิธีอื่นในการช่วยเหลือ เยียวยาหรือไม่
“
มีคำถามที่อยากชวนคิด ทำไมประชาชนที่ออกไปเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ ถูกดำเนินคดี แต่การเยียวยากลับไม่มีสิทธิ หลายคนไม่ได้รับโทษ
ตั้งแต่ปี 2549 ที่มีการปฏิวัติ มีการนิรโทษกรรมไปแล้ว 4 ครั้ง นิรโทษกรรมให้กับการก่อกบฏให้ตัวเอง เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน”
นาย
ณัฐพงษ์ชี้ว่า ทาง สภาฯ ได้แต่รับร่างรายงาน แต่ข้อสังเกตยังไม่ได้รับ ซึ่งหลายข้อสังเกตนั้น สามารถส่งให้บางหน่วยงานดำเนินการไปได้ก่อน แต่ ส.ส.ส่วนใหญ่ของบางพรรค ไม่ได้โหวตรับ
ในตอนหนึ่ง นายณัฐพงษ์ หยิบยกข้อมูลมาบอกเล่าด้วยว่า จากข้อมูลบางแหล่ง มีคนได้รับผลกระทบ หลักหมื่น-แสน (คดีการเมือง) ซึ่งทุกครั้งที่มีการรัฐประหาร ก็มักจะมีการเขียนนิรโทษกรรมให้ตัวเองเสมอ
แล้วใครได้ประโยชน์จากการนิรโทษกรรม ?
พันธมิตร 200 คน, เสื้อแดงและ นปช.1,150 คน , กปปส. 221 คน เราจะพบว่าตัวเลขรวมพอๆ กับที่ คนรุ่นใหม่ ออกมาชุมนุมแล้วถูกดำเนินคดี คือ 1,683 คน
จากนั้น นาย
ณัฐพงษ์กล่าวถึง ‘4 ร่าง 5 แนวทาง’ ของ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน ถามว่าน่าจะเข้าสภาเมื่อไหร่ ตนคาดว่า สมัยประชุมนี้ แต่ถ้าดูจากวาระประชุมปัจจุบันแล้ว มีเรื่องด่วน วาระ ครม.แทรกเข้ามา ถ้าทันสมัยประชุมนี้ก็ถือว่าเร็วมาก หรืออีกทีก็อาจจะเดือนกรกฎาคม
“ถ้าประเมิน ผมคิดว่าสมัยประชุมหน้า อาจจะยังพอทัน ในการยื่นพิจารณาในสภาฯ”
“ที่อยากชวนคุย มีคำถามที่สำคัญคือ ‘ใครเป็นผู้กำหนดอนาคต นิรโทษกรรม’ หลายคนอาจจะคิดว่า เพื่อไทย หรือภูมิใจไทย ที่ผ่านมาตัวแปรที่สำคัญคือ พรรคร่วมรัฐบาล ถ้าภูมิใจไทยไม่เอา เพื่อไทยก็ไปต่อไม่ได้”
“เรื่องนี้เราได้ความแน่ชัดจากการประชุมวันที่ 2 สิ่งที่เกิดขึ้น ‘เกมในสภา’ คือ ภูมิใจไทย วอล์กเอ้าต์ และให้ ส.ว.ที่เชื่อว่ายึดโยงกับบางพรรค โหวตไม่ผ่าน พูดง่ายๆ ‘ เพื่อรอดูว่าเพื่อไทยจะเดินเกมต่ออย่างไร’
นาย
ณัฐพงษ์เผยด้วยว่า มีความกังวลใจจากเพื่อนสมาชิกพรรคเพื่อไทย แม้แต่การอภิปราย ก็ยังกังวล ไม่กล้าพูดจนกว่าจะมีการตีความแน่ชัด สภาวะที่เกิดในสภา คือ ส.ส.กลัวที่ตัวเองจะโดนคดี ไม่กล้าแม้แต่จะอภิปราย คล้ายๆ กับกรณี ‘ร่างรายงาน’ ที่กังวลว่าจะมีคดีตามมา
“พอเป็นร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ความจริงในฝั่งพรรคประชาชน เราโหวตรับทุกร่างในวาระที่ 1 ได้อยู่แล้ว แล้วไปถกเถียงในวาระต่อไป แต่คำถามคือเขาจะโหวตกันหรือเปล่า
ผมว่า สภาวะการเมืองภาพใหญ่ มันติดอยู่ที่ ‘ นักการเมืองส่วนใหญ่ กลัวการใช้อำนาจของตัวเอง จะทำให้มีคดีตามมา’ ดูจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่จะอภิปรายก็ยังไม่กล้า ข้อสังเกตรายงาน ไม่กล้าโหวตรับ”
นาย
ณัฐพงษ์กล่าวต่อว่า แล้วใครเป็นผู้กำหนด เรื่อง นิรโทษกรรม ตนมองว่าทุกร่างที่เสนอเข้าไปในสภาฯ หากไม่แตะ ม.112 ก็มีโอกาสที่จะดันต่อ
“
หากมีอาจจะยากหน่อย แต่อย่างไรก็ตาม สุดท้าย คนที่จะเปลี่ยนภาพบริบทการเมืองได้ คือทำอย่างไร ให้คนที่นั่งในสภา มีความยึดโยงกับประชาชนให้มากที่สุด” นาย
ณัฐพงษ์กล่าว
ในช่วงท้าย นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย สอบถามว่า
พรรคประชาน มีแนวโน้มถูกตัดสิทธิ ตนอยากให้กลับมายืนได้
“ผมอยากเห็นภาพ ส.ส.ถือป้าย รูปภาพนักโทษการเมืองอีก ถึงตอนนั้นถ้าผมต้องอยู่ในคุก ก็จะนอนตายตาหลับ ผมได้เห็นภาพนั้น 2-3 ครั้ง ผมว่ามีพลังมาก
อีกครั้ง คือตอนเปิดอภิปรายเรื่องใหญ่ เพื่อพูดถึงการอดอาหารของตะวันและแบม ส่งผลต่อการให้ประกันตัว” นายสมยศกล่าว และว่า
แต่ปัจจุบัน ไม่มีภาพลักษณะนั้น อยากให้พรรคประชาชน กลับสู่ความกล้าหาญ
“ให้ตายอย่างนี้ ดีกว่าถูกเขาแบนไม่ให้ทำงานในการเมือง ‘ตายในสนามรบ ดีกว่าสยบอยู่ใต้เท้า’ ไหนๆ ก็ไหนๆ อยากให้คนชื่อเท้ง ถูกจารึกในหน้าประวัติศาสตร์ ให้นิรโทษกรรมเป็นผลงานที่จารึก แพ้ไม่เป็นไร แต่อยากให้ไปแบบนี้” นายสมยศกล่าว
ด้าน นาย
ณัฐพงษ์ กล่าวว่า ยืนยันว่าไม่ถอยแน่นอน ไม่มีการปรับจุดยืนและอุดมการณ์ต่อสู้ของพรรคแน่นอน ตั้งแต่อนาคตใหม่ พรรคก้าวไกล เราเข้ามาเพื่อต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลง
“
อยากสื่อสารจากใจ ผมว่าประเทศต้องการผู้นำที่ดีกว่าผม ถ้าอนาคตใหม่ ก้าวไกลไม่ถูกยุบ เรามีผู้นำที่ดีกว่าผมแน่นอน ประเทศไทยคู่ควรกับผู้นำที่ดีกว่านี้ แต่เราต้องยืนหยัดสู้ พวกเราไม่ไปไหนแน่นอน” นาย
ณัฐพงษ์กล่าว
เมื่อมีผู้ถามว่า มีกลไกไหนบ้าง ที่จะสามารถให้นักโทษการเมืองเข้าไปให้ข้อมูล กับทางสภาฯ ได้?
โดย นาย
ณัฐพงษ์ระบุว่า เป็นข้อเสนอที่ดี และอยากให้ช่วยกันผลักดันให้ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับของพรรคประชาชน ให้ผ่านวาระ 1 ให้ได้
เวลา 19.40 น. ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศในช่วงท้าย มีการจับสลากร่วมสนุก เพื่อมอบของที่ระลึกให้กับผู้ร่วมงาน
ทั้งนี้เมื่อเชิญ นาย
ณัฐพงษ์ มาร่วมจับสลาก ปรากฏว่าจับได้ชื่อ นาย
นภสินธุ์ ตรีรยาภิวัฒน์ หรือ สายน้ำ อดีตนักเคลื่อนไหวกลุ่มทะลุแก๊ส
ทนายเมย์เสียดาย นิรโทษปชช. ง่ายสุด แต่นักการเมืองไม่สน เผยตอนนี้ ขนุน อดอาหารในคุก
https://www.matichon.co.th/politics/news_5060616
ทนายเมย์เสียดาย นิรโทษปชช. ง่ายสุด แต่นักการเมืองไม่สน เผยตอนนี้ ขนุน อดอาหารในคุก
‘
ทนายเมย์’ ย้ำ ‘
นิรโทษกรรมปชช.’ ไม่ใช่แก้กฎหมาย – เสียดาย ง่ายสุดแต่นักการเมืองไม่สนใจ พ้อ ‘
ขนุน’ อดอาหารประท้วงวันแรก ด้าน ณัฐชนน ลั่น ‘
ศึกษา รอเวลา ปัดตก’ ส.ส.เท้ง ร่วมฟัง
เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ที่ห้อง 102 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน (6 องค์กร) จัดงาน ‘
1 ปีนิรโทษกรรมประชาชน’ เพื่ออัพเดตความคืบหน้า หลังผ่านมาเป็นระยะเวลากว่าหนึ่งปี ที่ได้มีการมีการยื่นเสนอร่างกฎหมาย พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาคดีทางการเมือง ซึ่งในปัจจุบันยังมีผู้ถูกคุมขังโดยไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวเป็นจำนวนมาก
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศภายในงาน มีการออกบูธจากเครือข่ายต่างๆ อาทิ โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw, สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, Freedom bridge, พิพิธภัณฑ์สามัญชน, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล ประเทศไทย เป็นต้น ทั้งนี้มีนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ตัวแทนพรรค นักวิชาการ อาทิ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ธงชัย วินิจจะกูล แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สหรัฐอเมริกา ตลอดจนประชาชนทั่วไป ร่วมฟังอย่างคับคั่ง
ซึ่งไฮไลต์คือเวที ‘Exclusive Talk’ แลกเปลี่ยนมุมมองความคืบหน้าของ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน โดย น.ส.
พูนสุข พูนสุขเจริญ หรือ
ทนายเมย์ จากศูนย์ทนายฯ ผู้เสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน,
ณัฐฐา อัชฌานุเคราะห์ จากศูนย์ทนาย ร่วมอัพเดตสถานการณ์คดีทางการเมือง, ธี
ถิระนัย และ
มายด์ ชัยพร อดีตผู้ต้องขังทางการเมือง เล่าเรื่องนิรโทษกรรมกับชีวิตของผู้ดำเนินคดีทางการเมือง, นายณธกร นิธิศจรูญเดช จาก แอมเนสตี้ ประเทศไทย กับหัวข้อ ‘ความหวังผ่านจดหมาย’, นัสรี พุ่มเกื้อ ผู้อำนวยการจากเครือข่ายประชาชนเพื่อสิทธิทางการเมือง หรือ ThumbRights กล่าวในหัวข้อ ‘ทางเลือกอื่นๆ นอกจากการนิรโทษกรรม ?’
นอกจากนี้ยังมี นาย
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หรือ เท้ง ผู้นำฝ่ายค้าน หัวหน้าพรรคประชาชน มาร่วมกล่าวในหัวข้อ ‘
ฝ่ายค้านและคดีการเมือง’ อีกด้วย
ในตอนหนึ่ง น.ส.
พูนสุข กล่าวย้ำว่า การนิรโทษกรรม เป็นการลบล้างผลพวงทางการเมือง เพียงช่วงหนึ่งเท่านั้น ไมใช่การแก้ไขกฎหมาย เป็นเรื่องเล็กๆ ที่นักการเมืองอาจจะไม่สนใจ แต่ทำได้ง่ายที่สุด โดยไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง หรือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใด ซึ่งถ้าทำ เราจะมีโอกาสกลับมาค่อยๆ คุยกันได้
“น่าเสียดาย ที่วาระการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ ในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าเราไม่ได้ถกเถียงในเรื่องเดียวกัน ง่ายที่สุด อยากให้คุยทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อน ซึ่งการนิรโทษกรรมประชาชน เป็นข้อเรียกร้องที่มีมาตั้งแต่ปี 2563”
“
เป็นไปได้ว่าจะเข้าสภาฯ ได้อีกทีกลางปีนี้ แต่ว่า บรรยากาศผู้ต้องขัง วันนี้ ขนุน สิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ ประกาศอดอาหารวันแรก มีคนป่วยไม่ได้รับการรักษา แค่สิ่งที่เห็นคือการซัพพอร์ตของประชาชนไม่ได้หายไปไหน เรายังเห็นการช่วยเหลือผู้ต้องขัง หวังว่าเราจะค่อยๆ จับมือ หาโอกาสแก้ปัญหานี้ร่วมกันต่อไป” น.ส.
พูนสุขกล่าว
จากนั้น นาย
ณัฐชนน ไพโรจน์ อดีตสมาชิกแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ชวนผู้ร่วมงาน ตอบคำถาม ลุ้นรับของรางวัล อาทิ ประเทศไทย มีกฎหมายนิรโทษกรรมมาแล้วกี่ฉบับ ? โดยคำตอบที่ถูกต้องคือ 23 ฉบับ โดยมีผู้ตอบถูก 9 คน
รวมถึงคำถาม อาทิ ‘
นิรโทษกรรมในอดีตฉบับใดบ้างที่ไม่นิรโทษกรรมคดี ม.112’ คำตอบคือ นิรโทษกรรมสุดซอย
‘ภาคประชาชนรวบรวมชื่อได้กี่ชื่อ เพื่อเสนอร่างนิรโทษกรรมเข้าสู่สภาฯ?’ โดยคำตอบคือ 36,723 รายชื่อ
‘ปัจจุบันมีผู้ต้องขังทางการเมืองอยู่ในเรือนจำกี่คน?’ โดยคำตอบคือ 44 คน
รวมถึง ‘
จริงหรือไม่ เพื่อไทยกำลังจะเสนอร่างนิรโทษกรรมของตัวเอง’ ซึ่งคำตอบคือ ‘จริง’
โดยในตอนหนึ่ง นายณัฐชนนยังกล่าวถึงการยื่น ร่างกฎหมาย พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน ด้วยว่า
“1 ปีเหมือนนาน แต่จริงๆ ไม่นาน หลายคนคิดว่าคงมีอะไรอัพเดตเยอะ แต่ความจริงคือ ‘ศึกษา รอเวลา ปัดตก’ ก็อยากจะชวนพวกเราคุยถึงทิศทางในอนาคต”
JJNY : เท้งยัน ปชน.พร้อมโหวต ‘นิรโทษปชช.’│ทนายเมย์เสียดาย นิรโทษปชช.│ชี้รากปัญหา‘ประกันสังคม’│เตือนทั่วไทยอากาศแปรปรวน
https://www.matichon.co.th/politics/news_5060766
เท้ง ลั่น ติดที่ ส.ส.กลัวคดี – ปชน.พร้อมโหวตรับ ‘นิรโทษประชาชน’ คาดยื่นสภาฯ ทันสมัยหน้า ‘สมยศ’ หวังส.ส.กล้าหาญ
เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ที่ห้อง 102 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน (6 องค์กร) จัดงาน ‘1 ปีนิรโทษกรรมประชาชน’ เพื่ออัพเดตความคืบหน้า หลังผ่านมาเป็นระยะเวลากว่าหนึ่งปี ที่ได้มีการยื่นเสนอร่างกฎหมาย พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาคดีทางการเมือง ซึ่งในปัจจุบันยังมีผู้ถูกคุมขังโดยไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวเป็นจำนวนมาก
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศภายในงาน มีการออกบูธจากเครือข่ายต่างๆ อาทิ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw, สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, Freedom bridge, พิพิธภัณฑ์สามัญชน, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล ประเทศไทย เป็นต้น ซึ่งไฮไลต์คือ
เวที ‘Exclusive Talk’ แลกเปลี่ยนมุมมองความคืบหน้าของ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน ทั้งนี้ มีนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ตัวแทนพรรค นักวิชาการ อาทิ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ธงชัย วินิจจะกูล แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สหรัฐอเมริกา ตลอดจนประชาชนทั่วไป ร่วมฟังอย่างคับคั่ง
ต่อมาเวลา 18.45 น. นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หรือ ส.ส.เท้ง ผู้นำฝ่ายค้าน หัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวในหัวข้อ ‘ฝ่ายค้านและคดีการเมือง’
นายณัฐพงษ์กล่าวว่า สิ่งสำคัญตอนนี้คือ กำลังใจ ตนไม่อยากใช้เวทีนี้ เป็นเวทีต่อสู้ของฝ่ายค้าน-รัฐบาล แต่ขอเป็นตัวแทนฝั่งการเมืองที่มาเป็นกำลังใจ ซึ่งหากดูจากบริบทตอนนี้ มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน อะไรเป็นตัวแปรที่เราจะผลักดันต่อ หาก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน ล่าช้าออกไป จะมีวิธีอื่นในการช่วยเหลือ เยียวยาหรือไม่
“มีคำถามที่อยากชวนคิด ทำไมประชาชนที่ออกไปเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ ถูกดำเนินคดี แต่การเยียวยากลับไม่มีสิทธิ หลายคนไม่ได้รับโทษ
ตั้งแต่ปี 2549 ที่มีการปฏิวัติ มีการนิรโทษกรรมไปแล้ว 4 ครั้ง นิรโทษกรรมให้กับการก่อกบฏให้ตัวเอง เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน”
นายณัฐพงษ์ชี้ว่า ทาง สภาฯ ได้แต่รับร่างรายงาน แต่ข้อสังเกตยังไม่ได้รับ ซึ่งหลายข้อสังเกตนั้น สามารถส่งให้บางหน่วยงานดำเนินการไปได้ก่อน แต่ ส.ส.ส่วนใหญ่ของบางพรรค ไม่ได้โหวตรับ
ในตอนหนึ่ง นายณัฐพงษ์ หยิบยกข้อมูลมาบอกเล่าด้วยว่า จากข้อมูลบางแหล่ง มีคนได้รับผลกระทบ หลักหมื่น-แสน (คดีการเมือง) ซึ่งทุกครั้งที่มีการรัฐประหาร ก็มักจะมีการเขียนนิรโทษกรรมให้ตัวเองเสมอ
แล้วใครได้ประโยชน์จากการนิรโทษกรรม ?
พันธมิตร 200 คน, เสื้อแดงและ นปช.1,150 คน , กปปส. 221 คน เราจะพบว่าตัวเลขรวมพอๆ กับที่ คนรุ่นใหม่ ออกมาชุมนุมแล้วถูกดำเนินคดี คือ 1,683 คน
จากนั้น นายณัฐพงษ์กล่าวถึง ‘4 ร่าง 5 แนวทาง’ ของ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน ถามว่าน่าจะเข้าสภาเมื่อไหร่ ตนคาดว่า สมัยประชุมนี้ แต่ถ้าดูจากวาระประชุมปัจจุบันแล้ว มีเรื่องด่วน วาระ ครม.แทรกเข้ามา ถ้าทันสมัยประชุมนี้ก็ถือว่าเร็วมาก หรืออีกทีก็อาจจะเดือนกรกฎาคม
“ถ้าประเมิน ผมคิดว่าสมัยประชุมหน้า อาจจะยังพอทัน ในการยื่นพิจารณาในสภาฯ”
“ที่อยากชวนคุย มีคำถามที่สำคัญคือ ‘ใครเป็นผู้กำหนดอนาคต นิรโทษกรรม’ หลายคนอาจจะคิดว่า เพื่อไทย หรือภูมิใจไทย ที่ผ่านมาตัวแปรที่สำคัญคือ พรรคร่วมรัฐบาล ถ้าภูมิใจไทยไม่เอา เพื่อไทยก็ไปต่อไม่ได้”
“เรื่องนี้เราได้ความแน่ชัดจากการประชุมวันที่ 2 สิ่งที่เกิดขึ้น ‘เกมในสภา’ คือ ภูมิใจไทย วอล์กเอ้าต์ และให้ ส.ว.ที่เชื่อว่ายึดโยงกับบางพรรค โหวตไม่ผ่าน พูดง่ายๆ ‘ เพื่อรอดูว่าเพื่อไทยจะเดินเกมต่ออย่างไร’
นายณัฐพงษ์เผยด้วยว่า มีความกังวลใจจากเพื่อนสมาชิกพรรคเพื่อไทย แม้แต่การอภิปราย ก็ยังกังวล ไม่กล้าพูดจนกว่าจะมีการตีความแน่ชัด สภาวะที่เกิดในสภา คือ ส.ส.กลัวที่ตัวเองจะโดนคดี ไม่กล้าแม้แต่จะอภิปราย คล้ายๆ กับกรณี ‘ร่างรายงาน’ ที่กังวลว่าจะมีคดีตามมา
“พอเป็นร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ความจริงในฝั่งพรรคประชาชน เราโหวตรับทุกร่างในวาระที่ 1 ได้อยู่แล้ว แล้วไปถกเถียงในวาระต่อไป แต่คำถามคือเขาจะโหวตกันหรือเปล่า
ผมว่า สภาวะการเมืองภาพใหญ่ มันติดอยู่ที่ ‘ นักการเมืองส่วนใหญ่ กลัวการใช้อำนาจของตัวเอง จะทำให้มีคดีตามมา’ ดูจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่จะอภิปรายก็ยังไม่กล้า ข้อสังเกตรายงาน ไม่กล้าโหวตรับ”
นายณัฐพงษ์กล่าวต่อว่า แล้วใครเป็นผู้กำหนด เรื่อง นิรโทษกรรม ตนมองว่าทุกร่างที่เสนอเข้าไปในสภาฯ หากไม่แตะ ม.112 ก็มีโอกาสที่จะดันต่อ
“หากมีอาจจะยากหน่อย แต่อย่างไรก็ตาม สุดท้าย คนที่จะเปลี่ยนภาพบริบทการเมืองได้ คือทำอย่างไร ให้คนที่นั่งในสภา มีความยึดโยงกับประชาชนให้มากที่สุด” นายณัฐพงษ์กล่าว
ในช่วงท้าย นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย สอบถามว่า
พรรคประชาน มีแนวโน้มถูกตัดสิทธิ ตนอยากให้กลับมายืนได้
“ผมอยากเห็นภาพ ส.ส.ถือป้าย รูปภาพนักโทษการเมืองอีก ถึงตอนนั้นถ้าผมต้องอยู่ในคุก ก็จะนอนตายตาหลับ ผมได้เห็นภาพนั้น 2-3 ครั้ง ผมว่ามีพลังมาก
อีกครั้ง คือตอนเปิดอภิปรายเรื่องใหญ่ เพื่อพูดถึงการอดอาหารของตะวันและแบม ส่งผลต่อการให้ประกันตัว” นายสมยศกล่าว และว่า
แต่ปัจจุบัน ไม่มีภาพลักษณะนั้น อยากให้พรรคประชาชน กลับสู่ความกล้าหาญ
“ให้ตายอย่างนี้ ดีกว่าถูกเขาแบนไม่ให้ทำงานในการเมือง ‘ตายในสนามรบ ดีกว่าสยบอยู่ใต้เท้า’ ไหนๆ ก็ไหนๆ อยากให้คนชื่อเท้ง ถูกจารึกในหน้าประวัติศาสตร์ ให้นิรโทษกรรมเป็นผลงานที่จารึก แพ้ไม่เป็นไร แต่อยากให้ไปแบบนี้” นายสมยศกล่าว
ด้าน นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า ยืนยันว่าไม่ถอยแน่นอน ไม่มีการปรับจุดยืนและอุดมการณ์ต่อสู้ของพรรคแน่นอน ตั้งแต่อนาคตใหม่ พรรคก้าวไกล เราเข้ามาเพื่อต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลง
“อยากสื่อสารจากใจ ผมว่าประเทศต้องการผู้นำที่ดีกว่าผม ถ้าอนาคตใหม่ ก้าวไกลไม่ถูกยุบ เรามีผู้นำที่ดีกว่าผมแน่นอน ประเทศไทยคู่ควรกับผู้นำที่ดีกว่านี้ แต่เราต้องยืนหยัดสู้ พวกเราไม่ไปไหนแน่นอน” นายณัฐพงษ์กล่าว
เมื่อมีผู้ถามว่า มีกลไกไหนบ้าง ที่จะสามารถให้นักโทษการเมืองเข้าไปให้ข้อมูล กับทางสภาฯ ได้?
โดย นายณัฐพงษ์ระบุว่า เป็นข้อเสนอที่ดี และอยากให้ช่วยกันผลักดันให้ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับของพรรคประชาชน ให้ผ่านวาระ 1 ให้ได้
เวลา 19.40 น. ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศในช่วงท้าย มีการจับสลากร่วมสนุก เพื่อมอบของที่ระลึกให้กับผู้ร่วมงาน
ทั้งนี้เมื่อเชิญ นายณัฐพงษ์ มาร่วมจับสลาก ปรากฏว่าจับได้ชื่อ นายนภสินธุ์ ตรีรยาภิวัฒน์ หรือ สายน้ำ อดีตนักเคลื่อนไหวกลุ่มทะลุแก๊ส
ทนายเมย์เสียดาย นิรโทษปชช. ง่ายสุด แต่นักการเมืองไม่สน เผยตอนนี้ ขนุน อดอาหารในคุก
https://www.matichon.co.th/politics/news_5060616
ทนายเมย์เสียดาย นิรโทษปชช. ง่ายสุด แต่นักการเมืองไม่สน เผยตอนนี้ ขนุน อดอาหารในคุก
‘ทนายเมย์’ ย้ำ ‘นิรโทษกรรมปชช.’ ไม่ใช่แก้กฎหมาย – เสียดาย ง่ายสุดแต่นักการเมืองไม่สนใจ พ้อ ‘ขนุน’ อดอาหารประท้วงวันแรก ด้าน ณัฐชนน ลั่น ‘ศึกษา รอเวลา ปัดตก’ ส.ส.เท้ง ร่วมฟัง
เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ที่ห้อง 102 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน (6 องค์กร) จัดงาน ‘1 ปีนิรโทษกรรมประชาชน’ เพื่ออัพเดตความคืบหน้า หลังผ่านมาเป็นระยะเวลากว่าหนึ่งปี ที่ได้มีการมีการยื่นเสนอร่างกฎหมาย พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาคดีทางการเมือง ซึ่งในปัจจุบันยังมีผู้ถูกคุมขังโดยไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวเป็นจำนวนมาก
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศภายในงาน มีการออกบูธจากเครือข่ายต่างๆ อาทิ โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw, สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, Freedom bridge, พิพิธภัณฑ์สามัญชน, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล ประเทศไทย เป็นต้น ทั้งนี้มีนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ตัวแทนพรรค นักวิชาการ อาทิ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ธงชัย วินิจจะกูล แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สหรัฐอเมริกา ตลอดจนประชาชนทั่วไป ร่วมฟังอย่างคับคั่ง
ซึ่งไฮไลต์คือเวที ‘Exclusive Talk’ แลกเปลี่ยนมุมมองความคืบหน้าของ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน โดย น.ส.พูนสุข พูนสุขเจริญ หรือ ทนายเมย์ จากศูนย์ทนายฯ ผู้เสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน, ณัฐฐา อัชฌานุเคราะห์ จากศูนย์ทนาย ร่วมอัพเดตสถานการณ์คดีทางการเมือง, ธี ถิระนัย และ มายด์ ชัยพร อดีตผู้ต้องขังทางการเมือง เล่าเรื่องนิรโทษกรรมกับชีวิตของผู้ดำเนินคดีทางการเมือง, นายณธกร นิธิศจรูญเดช จาก แอมเนสตี้ ประเทศไทย กับหัวข้อ ‘ความหวังผ่านจดหมาย’, นัสรี พุ่มเกื้อ ผู้อำนวยการจากเครือข่ายประชาชนเพื่อสิทธิทางการเมือง หรือ ThumbRights กล่าวในหัวข้อ ‘ทางเลือกอื่นๆ นอกจากการนิรโทษกรรม ?’
นอกจากนี้ยังมี นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หรือ เท้ง ผู้นำฝ่ายค้าน หัวหน้าพรรคประชาชน มาร่วมกล่าวในหัวข้อ ‘ฝ่ายค้านและคดีการเมือง’ อีกด้วย
ในตอนหนึ่ง น.ส.พูนสุข กล่าวย้ำว่า การนิรโทษกรรม เป็นการลบล้างผลพวงทางการเมือง เพียงช่วงหนึ่งเท่านั้น ไมใช่การแก้ไขกฎหมาย เป็นเรื่องเล็กๆ ที่นักการเมืองอาจจะไม่สนใจ แต่ทำได้ง่ายที่สุด โดยไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง หรือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใด ซึ่งถ้าทำ เราจะมีโอกาสกลับมาค่อยๆ คุยกันได้
“น่าเสียดาย ที่วาระการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ ในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าเราไม่ได้ถกเถียงในเรื่องเดียวกัน ง่ายที่สุด อยากให้คุยทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อน ซึ่งการนิรโทษกรรมประชาชน เป็นข้อเรียกร้องที่มีมาตั้งแต่ปี 2563”
“เป็นไปได้ว่าจะเข้าสภาฯ ได้อีกทีกลางปีนี้ แต่ว่า บรรยากาศผู้ต้องขัง วันนี้ ขนุน สิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ ประกาศอดอาหารวันแรก มีคนป่วยไม่ได้รับการรักษา แค่สิ่งที่เห็นคือการซัพพอร์ตของประชาชนไม่ได้หายไปไหน เรายังเห็นการช่วยเหลือผู้ต้องขัง หวังว่าเราจะค่อยๆ จับมือ หาโอกาสแก้ปัญหานี้ร่วมกันต่อไป” น.ส.พูนสุขกล่าว
จากนั้น นายณัฐชนน ไพโรจน์ อดีตสมาชิกแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ชวนผู้ร่วมงาน ตอบคำถาม ลุ้นรับของรางวัล อาทิ ประเทศไทย มีกฎหมายนิรโทษกรรมมาแล้วกี่ฉบับ ? โดยคำตอบที่ถูกต้องคือ 23 ฉบับ โดยมีผู้ตอบถูก 9 คน
รวมถึงคำถาม อาทิ ‘นิรโทษกรรมในอดีตฉบับใดบ้างที่ไม่นิรโทษกรรมคดี ม.112’ คำตอบคือ นิรโทษกรรมสุดซอย
‘ภาคประชาชนรวบรวมชื่อได้กี่ชื่อ เพื่อเสนอร่างนิรโทษกรรมเข้าสู่สภาฯ?’ โดยคำตอบคือ 36,723 รายชื่อ
‘ปัจจุบันมีผู้ต้องขังทางการเมืองอยู่ในเรือนจำกี่คน?’ โดยคำตอบคือ 44 คน
รวมถึง ‘จริงหรือไม่ เพื่อไทยกำลังจะเสนอร่างนิรโทษกรรมของตัวเอง’ ซึ่งคำตอบคือ ‘จริง’
โดยในตอนหนึ่ง นายณัฐชนนยังกล่าวถึงการยื่น ร่างกฎหมาย พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน ด้วยว่า
“1 ปีเหมือนนาน แต่จริงๆ ไม่นาน หลายคนคิดว่าคงมีอะไรอัพเดตเยอะ แต่ความจริงคือ ‘ศึกษา รอเวลา ปัดตก’ ก็อยากจะชวนพวกเราคุยถึงทิศทางในอนาคต”