การไม่เอาโทษ ไม่เอาผิดกับผู้คนที่ไม่ได้จงใจ ตั้งใจหรือเจตนากระทำผิด นับเป็นเรื่องที่สมควรเป็นอย่างยิ่งดังนั้น การนิรโทษกรรมให้กับคนที่ไม่ได้ตั้งใจทำผิด ไม่ได้จงใจกระทำความผิด จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องกระทำ เพื่อให้คนผู้นั้นไม่ต้องได้รับโทษทัณฑ์ใดๆ
แต่ทว่า การไม่ลงโทษผู้จงใจ ตั้งใจ หรือเจตนากระทำผิด คือการเพาะบ่มให้เกิดการทำผิดมากยิ่งๆ ขึ้นไปในอนาคต เพราะคนที่ตั้งใจทำผิด เมื่อเขาทำผิดแล้วไม่ได้รับการลงโทษตามสมควรแก่เหตุ เขาก็จะไม่สำนึก และจะกระทำผิดไปเรื่อยๆ ขณะเดียวกัน คนอื่นๆ ที่เห็นว่าผู้กระทำผิด แล้วไม่ถูกลงโทษ ก็จะทำตามแบบอย่าง โดยอ้างว่าเมื่อคนอื่นทำผิดแล้วไม่ถูกลงโทษ ตนเองก็ไม่ควรถูกลงโทษ เมื่อทำความผิดในแบบเดียวกัน
บ้านเมืองไทยของเราทุกคนนี้ มีความน่ารักอยู่หลายประการ แต่ก็มีความน่ารังเกียจอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ที่ว่าน่ารักนั้นก็คือ คนไทยเรามักไม่ค่อยถือสาหาความกัน หากใครก็ตามทำผิด แล้วสำนึกผิด แล้วรับปากเป็นมั่นเป็นเหมาะว่าจะไม่กระทำผิดอีกต่อไป หรือหากผู้กระทำผิดนั้น ทำผิดไปโดยไม่ได้เจตนา เมื่อเป็นแบบนี้ ก็จะไม่มีการถือสาหาความกันต่อไป แต่ที่น่ารังเกียจก็คือ มีคนบางจำพวก บางประเภท อาศัยช่องทางเช่นนี้เอาตัวรอดเมื่อจงใจทำผิด แล้วก็พยายามร้องขอให้สังคมไม่เอาผิด ไม่ถือโทษ โดยเฉพาะพวกที่อ้างว่าทำไปโดยข้ออ้างว่าบกพร่องโดยสุจริต รวมถึงพวกที่จงในกระทำผิด แต่ชอบอ้างว่าเป็นความผิดในคดีทางการเมือง มิใช่คดีความทางอาญารวมถึงพวกที่กระทำผิดฐานก่อการรัฐประหาร หรือการชุมนุมทางการเมือง
คนกลุ่มผู้ก่อเหตุรัฐประหารสามารถใช้อำนาจในฐานะรัฏฐาธิปัตย์ ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ตนเองได้เพราะเขาคือผู้กระทำรัฐประหาร ทำให้ไม่ต้องรับโทษทัณฑ์ใดๆ อันถือเป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อยกเว้นความผิด หรือยกเว้นโทษให้ผู้ก่อการ
ตามปกติของการนิรโทษกรรม จะมีรูปแบบดังนี้ อภัยโทษ นิรโทษกรรม และล้างมลทิน ซึ่งทั้งสามกรณีนี้เป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับผู้มีฐานะเป็นรัฏฐาธิปัตย์เท่านั้น โดยการอภัยโทษ เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ทรงใช้ผ่านฝ่ายบริหาร ส่วนการนิรโทษกรรม เป็นการตรากฎหมายโดยผ่านฝ่ายนิติบัญญัติในรูปแบบพระราชบัญญัติ หรือหากกระทำผ่านฝ่ายบริหาร ก็ออกในรูปแบบพระราชกำหนด ส่วนการล้างมลทิน คือการลบประวัติการกระทำผิดอันเกิดจากการกระทำผิดที่ไม่ยุติธรรม ซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติในการตรากฎหมายล้างมลทิน
เราจะเห็นชัดๆ ว่าในสังคมไทยนั้น มีคนบางกลุ่มจงใจกระทำความผิด แล้วอ้างว่าเป็นความผิดทางการเมือง แต่เมื่อดูเจตนาแท้จริง และเจตนาเบื้องลึกแล้วพบว่า คนกลุ่มดังกล่าวใช้ข้ออ้างเรื่องความผิดทางการเมืองเพื่อทำให้ตนเองไม่ต้องรับโทษทางอาญาเท่านั้น เช่น การจงใจล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยกลอุบายต่างๆ นานาสารพัด แต่เมื่อถูกจับกุมตัว ก็อ้างว่าเป็นการทำผิดด้วยคดีการเมือง ทั้งๆ ที่ความผิดมาตรา 112 เป็นความผิดทางอาญา
ส่วนการมีความเห็นทางการเมืองที่แตกแยกแบ่งเป็นกลุ่มเป็นสีนั้น อันที่จริงก็ยังพอจะนับได้ว่าเป็นความขัดแย้งอันเนื่องมาจากแนวคิดทางการเมืองที่ต่างกันแต่ก็จะพบว่าคนจำนวนไม่น้อยที่อ้างว่าอยู่สีต่างๆ นั้น มีพฤติกรรมกระทำความผิดทางอาญาอย่างชัดเจน เช่น การใช้อาวุธสงครามในการชุมนุมประท้วง การจงใจใช้ความรุนแรงสารพัดชนิดกับฝ่ายตรงข้ามที่เห็นต่างกัน หรือแม้กระทั่งพวกที่เป็นผู้สนับสนุนพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง แล้วจงใจใช้ความรุนแรงกับผู้สนับสนุนพรรคการเมืองอื่น แต่กลับอ้างว่าเป็นการกระทำผิดทางการเมืองซึ่งเรื่องเช่นนี้ไม่ควรนับเป็นเรื่องการเมือง เพราะผู้กระทำผิดจงใจใช้ความรุนแรงอย่างชัดเจน อย่างเช่น การใช้อาวุธสงครามเข็ญฆ่าฝ่ายที่มีความเห็นตรงกันข้ามกับตน หรือการจงใจล้อมรถยนต์ของนายกรัฐมนตรีบางคน แล้วใช้ความรุนแรงพร้อมด้วยอาวุธกระทำต่อบุคคล โดยมีเป้าประสงค์จะให้เสียชีวิต แบบนี้ไม่ใช่เรื่องการเมือง แต่มันคือการจงใจก่อคดีอาญา แบบนี้จะขอให้นิรโทษกรรม โดยอ้างว่าเป็นคดีการเมืองไม่ได้ และไม่ควรพิจารณาว่าพฤติกรรมดังกล่าวคือเรื่องของคดีการเมือง
แน่นอนว่า ผู้จงใจกระทำผิดกฎหมายอาญาต้องได้รับโทษโดยไม่จำเป็นต้องเบี่ยงประเด็นไปเป็นคดีการเมือง การอ้างว่าออกไปชุมชนด้วยความสงบ แล้วถูกล้อมปราบ ล้อมฆ่า เรื่องแบบนี้สามารถพิสูจน์ว่าชุมนุมด้วยความสงบแท้จริง หรือไม่ หากเป็นความจริง ผู้ล้อมปราบล้อมฆ่าประชาชนก็ต้องได้รับโทษขั้นสูงสุด แต่หากเป็นการชุมนุมที่เต็มไปด้วยอาวุธสงคราม เต็มไปด้วยความรุนแรงทุกรูปแบบ ขอบอกว่าแบบนี้ไม่ใช่การชุมนุมโดยสงบสันติ ปราศจากอาวุธ แต่ถือเป็นการจงใจก่อจลาจลแบบนี้ไม่ควรได้รับการนิรโทษกรรมด้วยประการทั้งปวง หากนิรโทษกรรมให้คนจงใจก่อจลาจล ต่อไปก็จะมีการก่อจลาจลแบบไม่รู้จบ เพราะจงใจก่อเหตุแล้ว ไม่ต้องรับโทษ ขอให้จับตาดูให้ดีว่า พรรคการเมืองบางพรรคจงใจยั่วยุให้เกิดจลาจล แล้วพยายามขอนิรโทษกรรมให้กับผู้ก่อเหตุจลาจล จับตาดูพรรคการเมืองจำพวกนี้ให้จงดี เพราะมันคือตัวการก่อเหตุจลาจล
https://www.naewna.com/politic/columnist/56583
นิรโทษกรรม เพื่อให้ (บางคน) กลับมาทำผิดใหม่ กระนั้นหรือ - บทบรรณาธิการข่าวคอลัมน์การเมือง
แต่ทว่า การไม่ลงโทษผู้จงใจ ตั้งใจ หรือเจตนากระทำผิด คือการเพาะบ่มให้เกิดการทำผิดมากยิ่งๆ ขึ้นไปในอนาคต เพราะคนที่ตั้งใจทำผิด เมื่อเขาทำผิดแล้วไม่ได้รับการลงโทษตามสมควรแก่เหตุ เขาก็จะไม่สำนึก และจะกระทำผิดไปเรื่อยๆ ขณะเดียวกัน คนอื่นๆ ที่เห็นว่าผู้กระทำผิด แล้วไม่ถูกลงโทษ ก็จะทำตามแบบอย่าง โดยอ้างว่าเมื่อคนอื่นทำผิดแล้วไม่ถูกลงโทษ ตนเองก็ไม่ควรถูกลงโทษ เมื่อทำความผิดในแบบเดียวกัน
บ้านเมืองไทยของเราทุกคนนี้ มีความน่ารักอยู่หลายประการ แต่ก็มีความน่ารังเกียจอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ที่ว่าน่ารักนั้นก็คือ คนไทยเรามักไม่ค่อยถือสาหาความกัน หากใครก็ตามทำผิด แล้วสำนึกผิด แล้วรับปากเป็นมั่นเป็นเหมาะว่าจะไม่กระทำผิดอีกต่อไป หรือหากผู้กระทำผิดนั้น ทำผิดไปโดยไม่ได้เจตนา เมื่อเป็นแบบนี้ ก็จะไม่มีการถือสาหาความกันต่อไป แต่ที่น่ารังเกียจก็คือ มีคนบางจำพวก บางประเภท อาศัยช่องทางเช่นนี้เอาตัวรอดเมื่อจงใจทำผิด แล้วก็พยายามร้องขอให้สังคมไม่เอาผิด ไม่ถือโทษ โดยเฉพาะพวกที่อ้างว่าทำไปโดยข้ออ้างว่าบกพร่องโดยสุจริต รวมถึงพวกที่จงในกระทำผิด แต่ชอบอ้างว่าเป็นความผิดในคดีทางการเมือง มิใช่คดีความทางอาญารวมถึงพวกที่กระทำผิดฐานก่อการรัฐประหาร หรือการชุมนุมทางการเมือง
คนกลุ่มผู้ก่อเหตุรัฐประหารสามารถใช้อำนาจในฐานะรัฏฐาธิปัตย์ ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ตนเองได้เพราะเขาคือผู้กระทำรัฐประหาร ทำให้ไม่ต้องรับโทษทัณฑ์ใดๆ อันถือเป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อยกเว้นความผิด หรือยกเว้นโทษให้ผู้ก่อการ
ตามปกติของการนิรโทษกรรม จะมีรูปแบบดังนี้ อภัยโทษ นิรโทษกรรม และล้างมลทิน ซึ่งทั้งสามกรณีนี้เป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับผู้มีฐานะเป็นรัฏฐาธิปัตย์เท่านั้น โดยการอภัยโทษ เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ทรงใช้ผ่านฝ่ายบริหาร ส่วนการนิรโทษกรรม เป็นการตรากฎหมายโดยผ่านฝ่ายนิติบัญญัติในรูปแบบพระราชบัญญัติ หรือหากกระทำผ่านฝ่ายบริหาร ก็ออกในรูปแบบพระราชกำหนด ส่วนการล้างมลทิน คือการลบประวัติการกระทำผิดอันเกิดจากการกระทำผิดที่ไม่ยุติธรรม ซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติในการตรากฎหมายล้างมลทิน
เราจะเห็นชัดๆ ว่าในสังคมไทยนั้น มีคนบางกลุ่มจงใจกระทำความผิด แล้วอ้างว่าเป็นความผิดทางการเมือง แต่เมื่อดูเจตนาแท้จริง และเจตนาเบื้องลึกแล้วพบว่า คนกลุ่มดังกล่าวใช้ข้ออ้างเรื่องความผิดทางการเมืองเพื่อทำให้ตนเองไม่ต้องรับโทษทางอาญาเท่านั้น เช่น การจงใจล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยกลอุบายต่างๆ นานาสารพัด แต่เมื่อถูกจับกุมตัว ก็อ้างว่าเป็นการทำผิดด้วยคดีการเมือง ทั้งๆ ที่ความผิดมาตรา 112 เป็นความผิดทางอาญา
ส่วนการมีความเห็นทางการเมืองที่แตกแยกแบ่งเป็นกลุ่มเป็นสีนั้น อันที่จริงก็ยังพอจะนับได้ว่าเป็นความขัดแย้งอันเนื่องมาจากแนวคิดทางการเมืองที่ต่างกันแต่ก็จะพบว่าคนจำนวนไม่น้อยที่อ้างว่าอยู่สีต่างๆ นั้น มีพฤติกรรมกระทำความผิดทางอาญาอย่างชัดเจน เช่น การใช้อาวุธสงครามในการชุมนุมประท้วง การจงใจใช้ความรุนแรงสารพัดชนิดกับฝ่ายตรงข้ามที่เห็นต่างกัน หรือแม้กระทั่งพวกที่เป็นผู้สนับสนุนพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง แล้วจงใจใช้ความรุนแรงกับผู้สนับสนุนพรรคการเมืองอื่น แต่กลับอ้างว่าเป็นการกระทำผิดทางการเมืองซึ่งเรื่องเช่นนี้ไม่ควรนับเป็นเรื่องการเมือง เพราะผู้กระทำผิดจงใจใช้ความรุนแรงอย่างชัดเจน อย่างเช่น การใช้อาวุธสงครามเข็ญฆ่าฝ่ายที่มีความเห็นตรงกันข้ามกับตน หรือการจงใจล้อมรถยนต์ของนายกรัฐมนตรีบางคน แล้วใช้ความรุนแรงพร้อมด้วยอาวุธกระทำต่อบุคคล โดยมีเป้าประสงค์จะให้เสียชีวิต แบบนี้ไม่ใช่เรื่องการเมือง แต่มันคือการจงใจก่อคดีอาญา แบบนี้จะขอให้นิรโทษกรรม โดยอ้างว่าเป็นคดีการเมืองไม่ได้ และไม่ควรพิจารณาว่าพฤติกรรมดังกล่าวคือเรื่องของคดีการเมือง
แน่นอนว่า ผู้จงใจกระทำผิดกฎหมายอาญาต้องได้รับโทษโดยไม่จำเป็นต้องเบี่ยงประเด็นไปเป็นคดีการเมือง การอ้างว่าออกไปชุมชนด้วยความสงบ แล้วถูกล้อมปราบ ล้อมฆ่า เรื่องแบบนี้สามารถพิสูจน์ว่าชุมนุมด้วยความสงบแท้จริง หรือไม่ หากเป็นความจริง ผู้ล้อมปราบล้อมฆ่าประชาชนก็ต้องได้รับโทษขั้นสูงสุด แต่หากเป็นการชุมนุมที่เต็มไปด้วยอาวุธสงคราม เต็มไปด้วยความรุนแรงทุกรูปแบบ ขอบอกว่าแบบนี้ไม่ใช่การชุมนุมโดยสงบสันติ ปราศจากอาวุธ แต่ถือเป็นการจงใจก่อจลาจลแบบนี้ไม่ควรได้รับการนิรโทษกรรมด้วยประการทั้งปวง หากนิรโทษกรรมให้คนจงใจก่อจลาจล ต่อไปก็จะมีการก่อจลาจลแบบไม่รู้จบ เพราะจงใจก่อเหตุแล้ว ไม่ต้องรับโทษ ขอให้จับตาดูให้ดีว่า พรรคการเมืองบางพรรคจงใจยั่วยุให้เกิดจลาจล แล้วพยายามขอนิรโทษกรรมให้กับผู้ก่อเหตุจลาจล จับตาดูพรรคการเมืองจำพวกนี้ให้จงดี เพราะมันคือตัวการก่อเหตุจลาจล
https://www.naewna.com/politic/columnist/56583