ก.ล.ต. โชว์ฟอร์ม 4 เดือนแรก ฟันโทษอาญา-แพ่ง 15 เคส ปลื้มThai ESG พุ่ง 17.42%

ก.ล.ต. โชว์ผลงาน 4 เดือนแรกปี’68 ฟันโทษใช้กฎหมาย อาญา-แพ่งแล้ว 15 คดี รวม 68 ราย ปิดบัญชีม้าดิจิทัลกว่า 2.7 หมื่นบัญชี รับแจ้งเบาะแสหลอกลงทุน รวม 2,735 ครั้ง ปลื้ม กองทุน Thai ESG พุ่ง 17.42% แตะ 34,745 ล้านบาท

นายเอนก อยู่ยืน รองเลขาธิการ และโฆษกสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เปิดเผยว่า ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2568 ก.ล.ต. ได้มีการบังคับใช้กฎหมาย โดยการกล่าวโทษดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิดต่อพนักงานสอบสวน (บก.ปอศ. และดีเอสไอ) รวม 7 คดี ผู้กระทำผิด 26 ราย โดยฐานความผิดในเรื่องการสร้างราคา 4 คดี ผู้กระทำผิด 14 ราย , การเผยแพร่ข่าวเท็จ 1 คดี ผู้กระทำผิด 1 ราย  และประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาต 2 คดี ผู้กระทำผิด 11 ราย ซึ่งอยู่ในชั้นพนักงานสอบสวนในก

ขณะที่การบังคับใช้มาตรการลงโทษทางแพ่ง ทางคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง (ค.ม.พ.) ได้พิจารณาทั้งหมด 8 คดี ผู้กระทำผิด 42 ราย โดยฐานความผิด ได้แก่ การแพร่ข่าว/ข้อความเท็จ 1 คดี ผู้กระทำผิด 2 ราย , การสร้างราคา 4 คดี ผู้กระทำผิด 26 ราย , ใช้ข้อมูลภายในหรือการเปิดเผยข้อมูลภายใน 2 คดี ผู้กระทำผิด 12 ราย , การแสดงข้อความอันเป็นเท็จ/ปกปิดข้อความจริง 1 คดี ผู้กระทำผิด 2 ราย

โดยการสร้างราคา 4 คดี ประกอบด้วย

(1) ผู้กระทำความผิด 2 ราย กรณีสร้างราคาหลักทรัพย์ RPC

(2) ผู้กระทำความผิด 1 ราย กรณีสร้างราคา 4 หลักทรัพย์ (ABM F&D TVDH-W3 และ AMR)

(3) ผู้กระทำความผิด 13 ราย กรณีสร้างราคา 4 หลักทรัพย์ (MAX EIC NEWS และ NEWS-W5)

(4) ผู้กระทำความผิด 10 ราย กรณีสร้างราคาหรือปริมาณหลักทรัพย์ TCC

ทั้งนี้การตกลงทำบันทึกการยินยอมปฏิบัติตามมาตรการลงโทษทางแพ่งที่ ค.ม.พ. กำหนด ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2568 รวม 4 คดี มีผู้กระทำผิด 14 ราย โดยมีค่าปรับทางแพ่ง จำนวน 14.14 ล้านบาท และชดใช้เงินเท่าผลประโยชน์ที่ได้รับ จำนวน 10.20 ล้านบาท

ซึ่งการมีคำพิพากษาในคดีที่ ก.ล.ต. ยื่นฟ้องเพื่อให้ศาลแพ่งกำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่ง คดีมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จำนวน 6 คดี (ศาลชั้นต้น 1 คดี และศาลอุทธรณ์ 5 คดี)  โดยศาลพิพากษาให้ ก.ล.ต. ชนะคดี โดยลงโทษและกำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งแก่จำเลยในอัตราสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนด

และอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น/ศาลอุทธรณ์ จำนวน 15 คดี แบ่งเป็น 11 คดี อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น และ 4 คดี อยู่ระหว่างอุทธรณ์ (ทั้ง 4 คดี ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ ก.ล.ต. ชนะคดี โดยลงโทษและกำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งแก่จำเลยในอัตราสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนด)

รับแจ้งเบาะแสหลอกลงทุน 2,735 ครั้ง อมยิ้ม11
นอกจากนี้ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2568 ก.ล.ต. ได้รับแจ้งเบาะแสหลอกลงทุน รวม 2,735 ครั้ง ผ่านระบบรับแจ้งใน 6 ช่องทาง ได้แก่ เว็บไซต์สำนักงาน ก.ล.ต. โทรศัพท์ อีเมล เดินทางมาที่สำนักงาน ระบบบริการสนทนา และไปรษณีย์

โดยมีบัญชีโซเชียลมีเดียเข้าข่ายหลอกลงทุนที่ประสานผู้ให้บริการแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียและหน่วยงานภาครัฐเพื่อปิดกั้น จำนวน 1,849 บัญชี โดยผู้ให้บริการแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียได้ปิดกั้นไปแล้ว 99.94% ภายในเวลา 7 นาที – 48 ชั่วโมง และให้คำปรึกษาในเรื่องการหลอกลงทุน จำนวน 886 ครั้ง

ปิดบัญชีม้าดิจิทัลกว่า 2.7 หมื่นบัญชี เพี้ยนหืม
ด้านความคืบหน้าการดำเนินการหลังจาก พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ และ พ.ร.ก. อาชญากรรมทางเทคโนโลยีฯ ฉบับแก้ไขมีผลใช้บังคับ (13 เม.ย. 68) โดยผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลได้มีการระงับบัญชีต้องสงสัยว่าเป็นบัญชีม้า ตามที่ได้รับข้อมูลจากกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ไปแล้วมากกว่า 27,000 บัญชี รวมมูลค่าทรัพย์สินมากกว่า 169.29 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 18 เม.ย.)

สำหรับการปิดช่องทางการเข้าถึงแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่เข้าข่ายเป็นการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต จะมีกระบวนการที่กระชับกว่าเดิม เนื่องจากมีการลดขั้นตอน

ปลื้ม Thai ESG พุ่ง 17.42% อมยิ้ม03
นายเอนก กล่าวต่อว่า ความคืบหน้ากองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) มีการขยายตัวต่อเนื่อง โดยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ณ สิ้นเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 17.42% มาอยู่ที่ 34,745 ล้านบาท จาก 29,591 ล้านบาท เมื่อสิ้นปี 2567 โดยเฉพาะกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ เพิ่มขึ้นถึง 31.42% ขณะที่กองทุนที่เน้นตราสารทุนเพิ่มขึ้น 1.94% สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

ในขณะนี้ ก.ล.ต. ยังเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อการปรับปรุงหลักเกณฑ์ Thai ESG (ซึ่งจะเป็นเกณฑ์สำหรับ Thai ESGX ด้วย) เพื่อเพิ่มทางเลือกในการลงทุนในโทเคนดิจิทัลกลุ่มความยั่งยืน รวมทั้งเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้ผู้ประเมิน ESG และบริหารสภาพคล่อง โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นจนถึง 28 พ.ค. 2568

ด้านความคืบหน้ากรณี ก.ล.ต. บังคับใช้มาตรการลงโทษทางแพ่งกับ นายจักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ และสั่งห้ามเป็นผู้บริหารใน บมจ. เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป (JKN) แต่ปัจจุบันยังคงดำรงตำแหน่งอยู่ กรณีนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ผู้บริหารบจ.ยังไม่ลงจากตำแหน่งแม้ถูก ก.ล.ต. กล่าวโทษ ซึ่งโดยส่วนมากเมื่อก.ล.ต. ชี้มูลความผิดมักจะลาออกจากตำแหน่งด้วยตนเอง เพราะบริษัทจดทะเบียนให้ความสำคัญกับธรรมาภิบาล

อย่างไรก็ตาม กรณี JKN ถือว่ายังอยู่ในกระบวนการที่ให้เวลาเซ็นยินยอมรับปฏิบัติตามมาตรการลงโทษทางแพ่ง ถือว่ายังไม่มีผลเบ็ดเสร็จหากเจ้าตัวยังไม่ได้รับการเซ็นยินยอม ผู้บริหารยังคงดำรงตำแหน่งทำหน้าที่ได้จนกว่าจะครบกำหนด ซึ่งกระบวนการเซ็นสัญญายินยอม มีช่วงระยะเวลาให้พิจารณาโดยผู้กระทำผิดอาจขอขยายระยะเวลาได้ ขึ้นกับการพิจารณาความสมเหตุสมผลจาก ก.ล.ต. ประกอบกัน แต่หากผู้ที่ถูกกล่าวโทษไม่เซ็นยินยอมรับโทษในกรอบเวลาที่กำหนด ก.ล.ต.จะนำส่งสำนวนต่อตุลาการต่อไป...

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/finance/news-1807204


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่