แชร์ว่อน ‘ส.ว.คนดัง’ ถูกเจ้าของร้านอาหารที่ไอซ์แลนด์ไล่ออกนอกร้าน ซัดรับไม่ได้กับสิ่งที่ทำ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4207164
แชร์ว่อน ‘ส.ว.คนดัง’ ถูกเจ้าของร้านอาหารที่ไอซ์แลนด์ไล่ออกนอกร้าน ซัดรับไม่ได้กับสิ่งที่ทำ
เมื่อวันที่ 30 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แวดวงออนไลน์กำลังวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก กรณี ส.ว.รายหนึ่ง ที่เดินทางไปที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในไอซ์แลนด์ แต่ถูกเจ้าของร้านคนไทย ไล่ออกจากร้าน
โดย เจ้าของร้านได้โพสต์คลิปวิดีโอ ตั้งแต่ขับรถเดินทางไปที่ร้านอาหารดังกล่าว ซึ่งในคลิปวิดีโอได้บอกว่า แค้นมาก เคยชอบมากขนาดว่าซื้อหนังสืออ่าน แต่เห็นที่ไปสัมภาษณ์ต่างๆ ใกล้ที่ว่ายน้ำ ก็มีแต่ร้านเรา ดูซิ แค้นมาก เมื่อทราบว่าเป็นคนตัวจริง ชายดังกล่าวได้พูดว่า “
ออกไป ส.ว. ที่นี่ไม่ต้อนรับ เคยสัญญาแล้วว่าถ้าเจอที่ไหนนะ ไป ไม่ต้องมาร้านกู ไปเลย เคยรู้หรือเปล่า ว่าชอบขนาดไหน”
ขณะที่ ส.ว.คนดังกล่าว ก็โบกมือ ทำเป็นว่าไม่สนใจ และกล่าวว่า “
ไม่เป็นไรค่ะ พูดกันดีๆได้เนอะ”
ซึ่ง เจ้าของร้านก็ได้เรียกพนักงานมาเชิญออก ส.ว.คนดังได้ยักไหล่ ทำให้เจ้าของร้านพูดว่า “
ร้านกูจริงๆ ออกไป” และบอกว่า “
ให้พูดดีๆไหม ร้านผมนะครับ ผมไม่ได้ว่าทุกคน ผมว่าเขาคนเดียว”
ขณะที่ ส.ส.พรรครัฐบาลที่ร่วมทริป ก็เข้ามาสอบถามว่าอะไร ต้องแยกแยะนะ ทำให้เจ้าของร้านพูดว่า “
ไม่ได้ว่าคนอื่น ว่าเขาคนเดียว พูดตรงๆ ไม่ได้ว่าคนอื่น สิ่งที่เขาทำกับประเทศไทย รับไม่ได้”
ด้านคณะส.ส. ส.ว. ก็จี้สอบถามว่า “
ทำอะไร” ขณะที่เจ้าของร้านบอกว่า “
ไม่อยากคุย เพราะคุณก็ไม่อยากคุย เวลาจะพูดอะไร ผมเกลียดคุณมาก” คณะส.ว.จึงบอกว่า
ถ้าไม่รับ จะไป เจ้าของร้านก็บอกว่า
ไม่รับอยู่แล้ว
ต่อมา ส.ส.ฟากรัฐบาล ก็ได้เปิดกล้องถ่ายคลิปกลับเช่นกัน ขณะที่เจ้าของร้านพยายามพูดว่า “
ไม่ครับ ออกไปเลย ไม่ได้ว่าพวกคุณ ผมไม่เอาคนเดียว ส.ว.คนนี้ผมไม่เอา เป็นส.ว…มาก ผมเอา ขอเชิญออกไป เชิญ พี่อยากนั่งผมไม่ว่า แต่คนอื่นไม่เอา”
ส.ว.คนดัง ก็ยังได้ถ่ายคลิปวิดีโออัดไว้ แล้วถามว่า “
นี่ร้านพี่หรอ” เจ้าของจึงได้บอกว่า “
ใช่ครับ”
คลิปดังกล่าว มีคนเข้าชมและเข้าไปวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมาก โดยคนได้นำไปแชร์ต่อในแพลตฟอร์มอื่นๆจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม มีหลายคนได้ออกมาให้ข้อมูลว่า บุคคลในคลิป อาจไม่ใช่เจ้าของร้าน แต่เป็น Head Chef ของร้านดังกล่าว
https://www.facebook.com/suwagee.klampaiboon/posts/pfbid02pXFgtiuMeFvQAVuQvQ7LNsohiGE2v4KZZEjvBm5mGegxYjpBmvhN7BN13jPqTB9pl
รู้จักสส.ภูมิใจไทย “มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช” เพื่อนร่วมทริป “หมอพรทิพย์”
https://www.dailynews.co.th/news/2764101/
รู้จักสส.ภูมิใจไทย “มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช เพื่อนร่วมทริปล่าแสงเหนือของหมอพรทิพย์ ที่อยู่ในเหตุการณ์เจ้าของร้านอาหารต่างแดนไล่พ้นร้าน
เมื่อวันที่ 30 ก.ย.โลกออนไลน์ได้มีการแชร์คลิปวิดีโอของผู้ใช้บัญชี ติ๊กต็อกรายหนึ่ง ซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหารแห่งหนึ่งในประเทศไอซ์แลนด์ โดยเจ้าตัวได้ไลฟ์สดขับไล่ผู้หญิงคนหนึ่ง คล้ายคุณหญิง
พรทิพย์ โรจนสุนันท์ ที่มีคณะติดตามไปด้วยขณะเข้ามาที่ร้านอาหารของตัวเอง พร้อมกับไลฟ์สดวิพากษ์วิจารณ์ พร้อมกับชี้นิ้วให้นักการเมืองคนดังกล่าวออกไปทันที ขณะที่นักการเมืองไม่มีทีท่าตกใจและตอบโต้เจ้าของร้านแต่อย่างใด
โดยหญิงที่สวมเสื้อกันหนาวสีเขียวที่เดินทางมาด้วยพยายามถามว่าเป็นร้านของชายคนนี้จริงหรือไม่ ชายคนนี้ยืนยันและเรียกพนักงานมาเชิญตัวออกไป ทำให้คนดังกล่าวที่มากับสว.คนดังกล่าว บอกกลับไปว่า พวกตนมาเที่ยวและอยากให้แยกแยะ ชายคนนี้ตอบว่าเพราะตนแยกแยะจึงไล่สว.คนเดียว คนอื่นจะใช้บริการของร้านต่อก็ไม่มีปัญหา
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบว่า หญิงเสื้อกันหนาวสีเขียวที่เดินทางไปกับ หมอพรทิพย์ คือ นางสาว
มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช หรือ เปิ้ล สส.ลพบุรี พรรคภูมิใจไทย
ประวัติสส.
มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช
เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 ปัจจุบันอายุ 59 ปี เป็นบุตรสาวของ นาย
กมล จิระพันธุ์วาณิช อดีต สส. ลพบุรี 8 สมัย และ นาง
พยงค์ จิระพันธุ์วาณิช และเป็นน้องสาวของนาย
สุบรรณ จิระพันธุ์วาณิช อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และ ระดับปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
มัลลิกา เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองลพบุรี ในช่วงปี พ.ศ. 2534 ถึง พ.ศ. 2538 และ และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี เขตอำเภอท่าวุ้ง ในช่วง พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2552 ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในการเลือกตั้งซ่อมของจังหวัดลพบุรี แทนบิดาที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี ใน พ.ศ. 2552 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา
มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ
การเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2552 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย
อียูบีบเอกชนเข้า CBAM ต้นทุนตรวจคาร์บอนพุ่ง
https://www.prachachat.net/economy/news-1405230
ฝุ่นตลบยุโรปบังคับใช้ CBAM 1 ต.ค. 2566 บีบเอกชนไทยรายงานการปล่อย “คาร์บอนฟุตพรินต์” ใน 6 สินค้า 3 ปีแรก ขีดเส้นเก็บค่าธรรมเนียมปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปี 2569 “ส.อ.ท.” ชำแหละไส้ในมาตรการยุ่งยาก-ซับซ้อน-สร้างภาระเอกชนปรับตัวไม่ทัน “เอสเอ็มอี” อ่วมต้นทุนค่าตรวจคาร์บอนแพงลิบ
1 ตุลาคมนี้ เป็นวันแรกที่สหภาพยุโรปเริ่มบังคับใช้มาตรการกับสินค้าที่ปล่อยคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) ที่กำหนดให้ผู้ผลิตและส่งออกสินค้า 6 กลุ่ม คือ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย ไฟฟ้า และไฮโดรเจน ต้องแจ้งปริมาณสินค้าที่นำเข้ามาในอียู และปริมาณปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ในกระบวนการผลิตสินค้า ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2566-31 ธ.ค. 2568 จากนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 ผู้นำเข้าจะต้องซื้อ “ใบรับรอง CBAM” ตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่เช่นนั้นจะมีบทลงโทษ
แม้ว่าภาพรวมการส่งออกสินค้า 6 รายการไปอียูจะมีมูลค่าเพียง 1.49% ของภาพรวมการส่งออก หรือประมาณ 14,712 ล้านบาท ในปี 2565 ที่ผ่านมา แต่มาตรการนี้เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการจำนวนมากนับหมื่นราย และโอกาสจะขยายไปสู่สินค้าอื่น ๆ อีกมากมายในอนาคต
พาณิชย์เดินหน้าทุกทาง
นาง
อรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมได้เตรียมพร้อม โดยได้ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) สถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เพื่อให้ข้อมูลกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมรับมือกับมาตรการ CBAM ล่าสุดได้มีผู้เชี่ยวชาญจากสหภาพยุโรปเดินทางเข้ามาร่วมให้ข้อมูล เตรียมความพร้อมส่งออกสินค้าตามมาตรฐาน CBAM โดยช่วงแรกจะเป็นการรายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การตรวจสอบรับรองการรายงานของภาคเอกชน โดยหน่วยงานสอบทาน (verification and accreditation)
ก่อนหน้านี้กรมเจรจาฯได้จัดทำแบบสำรวจความเห็นภาคเอกชนเกี่ยวกับการใช้มาตรการ CBAM พบว่า ข้อห่วงกังวลภาคธุรกิจไทยมีหลายเรื่อง เช่น การรายงานข้อมูลการปล่อยคาร์บอนอาจเป็นข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้า เพราะมีข้อมูลด้านเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตซึ่งเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากนี้ แต่ละประเทศยังมีความพร้อมที่แตกต่างกันมาก ทำให้ต้องหยิบยกเรื่องนี้ไปหารือในการประชุมองค์การการค้าโลก (WTO) หลายครั้ง
และมีสมาชิกหลายประเทศรวมถึงไทยที่แสดงความกังวล และไม่เห็นด้วยต่อการใช้ประเด็นเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมมาเป็นมาตรการกีดกันทางการค้า แต่ก็ยังไม่ได้ยื่นคำร้องใด ๆ เพราะยังติดกระบวนการอนุญาโตตุลาการของ WTO ที่มีปัญหาไม่สามารถแต่งตั้งชุดแอปเพลเลตบอดี้ได้
เปิดไส้ใน กม.ลูก CBAM
ล่าสุดเมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกกฎหมายลำดับรอง พร้อมแนวปฏิบัติ (guidance doccument) สำหรับ 6 กลุ่มสินค้า ประกอบด้วย 40 ข้อบท แบ่งเป็น 5 บทย่อย สาระสำคัญ เช่น การกำหนดคำจำกัดความ สิทธิและหน้าที่ในการรายงานผู้ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการรายงาน การบริหารงานเกี่ยวกับการรายงาน CBAM การบังคับใช้ และองค์ประกอบทางเทคนิคเกี่ยวกับ CBAM transitional registry และมี 9 ภาคผนวก เช่น ภาคผนวก
ข้อมูลที่จะส่งในรายงาน CBAM คำจำกัดความและเส้นทางการผลิตสินค้า กฎในการพิจารณาข้อมูล รวมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับการติดตั้ง การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิต และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้า เป็นต้น
หากศึกษาในรายละเอียดจะพบว่า นอกจาก 6 กลุ่มสินค้าแล้ว ยังมีการจำแนกเป็น 18 สินค้าย่อย เช่น เหล็ก มีสินค้ากลุ่มย่อย เช่น นอต สายเคเบิล เป็นต้น และมีข้อกำหนดการรายงานแตกต่างกันแต่ละประเภทสินค้า เช่น บางกลุ่มให้รายงานเฉพาะการปล่อยสารคาร์บอนไดออกไซด์ แต่บางกลุ่มอย่างปุ๋ยต้องรายงานทั้งการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และไนตรัสออกไซด์ เป็นต้น
สำหรับกระบวนการรายงานเริ่มตั้งแต่ให้ผู้นำเข้าสินค้าไทยต้องลงทะเบียนในระบบก่อน จากนั้นต้องมาเทียบว่าสินค้าชนิดนั้นอยู่ในลิสต์รายการย่อย หรือ CN code หรือไม่ ซึ่งแม้ว่าในช่วงแรกจะยังให้เวลาปรับตัว 3 ปี แต่หากมีการรายงานล่าช้า 6 เดือนอาจจะมีการลงโทษด้วย และที่สำคัญในอนาคตอียูจะขยายมาตรการ CBAM ไปยังสินค้าชนิดอื่น ๆ มากขึ้น
นอกจากนี้ อียูยังกำหนดว่าหากไทยจะขอส่วนลดการออกใบอนุญาต CBAM จะต้องผ่านเกณฑ์เงื่อนไข 2 ข้อ คือ ประเทศต้นทาง (ไทย) ต้องมีระบบการตลาดคาร์บอนภาคบังคับในระบบเดียวกับที่อียูใช้ในปัจจุบัน และใช้ราคากลางในตลาดคาร์บอนอียูที่คิดอยู่ที่ 3 ยูโรต่อตันคาร์บอน หรือไทยต้องมีการร่างกฎหมายเพื่อเก็บภาษีคาร์บอน ซึ่งแน่นอนว่าไทยจะไม่ได้รับส่วนลด เพราะตอนนี้ไทยยังไม่มีการปฏิบัติทั้ง 2 เงื่อนไขเลย ตลาดคาร์บอนของไทยปัจจุบันเป็นตลาดซื้อขายเสรี ซึ่งอียูไม่ยอมรับ ดังนั้น ผู้ที่ดำเนินการเรื่องนี้จะต้องเตรียมพร้อมรับมือ
ไทยไม่พร้อม-หวั่นผู้ส่งออกลดออร์เดอร์
นาย
สุวิทย์ ธรณินทร์พานิช ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด ส.อ.ท. และประธานกรรมการ มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน เปิดเผย “
ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้รายละเอียดของการรายงานคาร์บอนเครดิตในช่วงแรกตามมาตรการ CBAM ยังขาดความชัดเจน มีการส่งเอกสารไกด์ไลน์จำนวน 90 หน้า มาให้อ่าน ซึ่งพบว่ากระบวนการค่อนข้างซับซ้อน และสร้างภาระต้นทุนให้เอกชน เพราะต้องมีการจ้างหน่วยงานสอบทาน (verify) ที่ปัจจุบันมีอยู่ไม่กี่รายและส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติ ที่สำคัญคือมีอัตราค่าจ้างในการสอบทานต่อสินค้าค่อนข้างสูง
อย่างไรก็ตาม ช่วงแรกผู้ประกอบการที่ต้องรายงาน CBAM น่าจะมีเฉพาะรายใหญ่ ระดับ tier 1 เท่านั้น และจากการหารือกับผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่จากญี่ปุ่นเองก็ค่อนข้างกังวลเรื่องนี้ และจากการประสานกับผู้ผลิตชิ้นส่วน tier 1 ซึ่งมีประมาณ 9 บริษัท แม้จะทำได้ แต่หากลึกลงไปถึงผู้ผลิตชิ้นส่วน tier 2 และ tier 3 แต่ละชั้น จำนวนหลายร้อยรายยังไม่มีความเข้าใจเรื่องนี้ และหากนับจำนวนเอสเอ็มอีทั้งหมดในแต่ละอุตสาหกรรมที่จะกระทบน่าจะเป็นหมื่นราย
JJNY : ‘ส.ว.คนดัง’ ถูกเจ้าของร้านอาหารไล่│รู้จักสส.ภท.“มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช”│อียูบีบเอกชนเข้า CBAM│น้ำท่วมนิวยอร์ก
https://www.matichon.co.th/politics/news_4207164
แชร์ว่อน ‘ส.ว.คนดัง’ ถูกเจ้าของร้านอาหารที่ไอซ์แลนด์ไล่ออกนอกร้าน ซัดรับไม่ได้กับสิ่งที่ทำ
เมื่อวันที่ 30 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แวดวงออนไลน์กำลังวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก กรณี ส.ว.รายหนึ่ง ที่เดินทางไปที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในไอซ์แลนด์ แต่ถูกเจ้าของร้านคนไทย ไล่ออกจากร้าน
โดย เจ้าของร้านได้โพสต์คลิปวิดีโอ ตั้งแต่ขับรถเดินทางไปที่ร้านอาหารดังกล่าว ซึ่งในคลิปวิดีโอได้บอกว่า แค้นมาก เคยชอบมากขนาดว่าซื้อหนังสืออ่าน แต่เห็นที่ไปสัมภาษณ์ต่างๆ ใกล้ที่ว่ายน้ำ ก็มีแต่ร้านเรา ดูซิ แค้นมาก เมื่อทราบว่าเป็นคนตัวจริง ชายดังกล่าวได้พูดว่า “ออกไป ส.ว. ที่นี่ไม่ต้อนรับ เคยสัญญาแล้วว่าถ้าเจอที่ไหนนะ ไป ไม่ต้องมาร้านกู ไปเลย เคยรู้หรือเปล่า ว่าชอบขนาดไหน”
ขณะที่ ส.ว.คนดังกล่าว ก็โบกมือ ทำเป็นว่าไม่สนใจ และกล่าวว่า “ไม่เป็นไรค่ะ พูดกันดีๆได้เนอะ”
ซึ่ง เจ้าของร้านก็ได้เรียกพนักงานมาเชิญออก ส.ว.คนดังได้ยักไหล่ ทำให้เจ้าของร้านพูดว่า “ร้านกูจริงๆ ออกไป” และบอกว่า “ให้พูดดีๆไหม ร้านผมนะครับ ผมไม่ได้ว่าทุกคน ผมว่าเขาคนเดียว”
ขณะที่ ส.ส.พรรครัฐบาลที่ร่วมทริป ก็เข้ามาสอบถามว่าอะไร ต้องแยกแยะนะ ทำให้เจ้าของร้านพูดว่า “ไม่ได้ว่าคนอื่น ว่าเขาคนเดียว พูดตรงๆ ไม่ได้ว่าคนอื่น สิ่งที่เขาทำกับประเทศไทย รับไม่ได้”
ด้านคณะส.ส. ส.ว. ก็จี้สอบถามว่า “ทำอะไร” ขณะที่เจ้าของร้านบอกว่า “ไม่อยากคุย เพราะคุณก็ไม่อยากคุย เวลาจะพูดอะไร ผมเกลียดคุณมาก” คณะส.ว.จึงบอกว่า ถ้าไม่รับ จะไป เจ้าของร้านก็บอกว่า ไม่รับอยู่แล้ว
ต่อมา ส.ส.ฟากรัฐบาล ก็ได้เปิดกล้องถ่ายคลิปกลับเช่นกัน ขณะที่เจ้าของร้านพยายามพูดว่า “ไม่ครับ ออกไปเลย ไม่ได้ว่าพวกคุณ ผมไม่เอาคนเดียว ส.ว.คนนี้ผมไม่เอา เป็นส.ว…มาก ผมเอา ขอเชิญออกไป เชิญ พี่อยากนั่งผมไม่ว่า แต่คนอื่นไม่เอา”
ส.ว.คนดัง ก็ยังได้ถ่ายคลิปวิดีโออัดไว้ แล้วถามว่า “นี่ร้านพี่หรอ” เจ้าของจึงได้บอกว่า “ใช่ครับ”
คลิปดังกล่าว มีคนเข้าชมและเข้าไปวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมาก โดยคนได้นำไปแชร์ต่อในแพลตฟอร์มอื่นๆจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม มีหลายคนได้ออกมาให้ข้อมูลว่า บุคคลในคลิป อาจไม่ใช่เจ้าของร้าน แต่เป็น Head Chef ของร้านดังกล่าว
https://www.facebook.com/suwagee.klampaiboon/posts/pfbid02pXFgtiuMeFvQAVuQvQ7LNsohiGE2v4KZZEjvBm5mGegxYjpBmvhN7BN13jPqTB9pl
รู้จักสส.ภูมิใจไทย “มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช” เพื่อนร่วมทริป “หมอพรทิพย์”
https://www.dailynews.co.th/news/2764101/
รู้จักสส.ภูมิใจไทย “มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช เพื่อนร่วมทริปล่าแสงเหนือของหมอพรทิพย์ ที่อยู่ในเหตุการณ์เจ้าของร้านอาหารต่างแดนไล่พ้นร้าน
เมื่อวันที่ 30 ก.ย.โลกออนไลน์ได้มีการแชร์คลิปวิดีโอของผู้ใช้บัญชี ติ๊กต็อกรายหนึ่ง ซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหารแห่งหนึ่งในประเทศไอซ์แลนด์ โดยเจ้าตัวได้ไลฟ์สดขับไล่ผู้หญิงคนหนึ่ง คล้ายคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ที่มีคณะติดตามไปด้วยขณะเข้ามาที่ร้านอาหารของตัวเอง พร้อมกับไลฟ์สดวิพากษ์วิจารณ์ พร้อมกับชี้นิ้วให้นักการเมืองคนดังกล่าวออกไปทันที ขณะที่นักการเมืองไม่มีทีท่าตกใจและตอบโต้เจ้าของร้านแต่อย่างใด
โดยหญิงที่สวมเสื้อกันหนาวสีเขียวที่เดินทางมาด้วยพยายามถามว่าเป็นร้านของชายคนนี้จริงหรือไม่ ชายคนนี้ยืนยันและเรียกพนักงานมาเชิญตัวออกไป ทำให้คนดังกล่าวที่มากับสว.คนดังกล่าว บอกกลับไปว่า พวกตนมาเที่ยวและอยากให้แยกแยะ ชายคนนี้ตอบว่าเพราะตนแยกแยะจึงไล่สว.คนเดียว คนอื่นจะใช้บริการของร้านต่อก็ไม่มีปัญหา
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบว่า หญิงเสื้อกันหนาวสีเขียวที่เดินทางไปกับ หมอพรทิพย์ คือ นางสาว มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช หรือ เปิ้ล สส.ลพบุรี พรรคภูมิใจไทย
ประวัติสส.มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช
เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 ปัจจุบันอายุ 59 ปี เป็นบุตรสาวของ นายกมล จิระพันธุ์วาณิช อดีต สส. ลพบุรี 8 สมัย และ นางพยงค์ จิระพันธุ์วาณิช และเป็นน้องสาวของนายสุบรรณ จิระพันธุ์วาณิช อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และ ระดับปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
มัลลิกา เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองลพบุรี ในช่วงปี พ.ศ. 2534 ถึง พ.ศ. 2538 และ และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี เขตอำเภอท่าวุ้ง ในช่วง พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2552 ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในการเลือกตั้งซ่อมของจังหวัดลพบุรี แทนบิดาที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี ใน พ.ศ. 2552 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา
มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ
การเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2552 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย
อียูบีบเอกชนเข้า CBAM ต้นทุนตรวจคาร์บอนพุ่ง
https://www.prachachat.net/economy/news-1405230
ฝุ่นตลบยุโรปบังคับใช้ CBAM 1 ต.ค. 2566 บีบเอกชนไทยรายงานการปล่อย “คาร์บอนฟุตพรินต์” ใน 6 สินค้า 3 ปีแรก ขีดเส้นเก็บค่าธรรมเนียมปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปี 2569 “ส.อ.ท.” ชำแหละไส้ในมาตรการยุ่งยาก-ซับซ้อน-สร้างภาระเอกชนปรับตัวไม่ทัน “เอสเอ็มอี” อ่วมต้นทุนค่าตรวจคาร์บอนแพงลิบ
1 ตุลาคมนี้ เป็นวันแรกที่สหภาพยุโรปเริ่มบังคับใช้มาตรการกับสินค้าที่ปล่อยคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) ที่กำหนดให้ผู้ผลิตและส่งออกสินค้า 6 กลุ่ม คือ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย ไฟฟ้า และไฮโดรเจน ต้องแจ้งปริมาณสินค้าที่นำเข้ามาในอียู และปริมาณปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ในกระบวนการผลิตสินค้า ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2566-31 ธ.ค. 2568 จากนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 ผู้นำเข้าจะต้องซื้อ “ใบรับรอง CBAM” ตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่เช่นนั้นจะมีบทลงโทษ
แม้ว่าภาพรวมการส่งออกสินค้า 6 รายการไปอียูจะมีมูลค่าเพียง 1.49% ของภาพรวมการส่งออก หรือประมาณ 14,712 ล้านบาท ในปี 2565 ที่ผ่านมา แต่มาตรการนี้เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการจำนวนมากนับหมื่นราย และโอกาสจะขยายไปสู่สินค้าอื่น ๆ อีกมากมายในอนาคต
พาณิชย์เดินหน้าทุกทาง
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมได้เตรียมพร้อม โดยได้ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) สถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เพื่อให้ข้อมูลกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมรับมือกับมาตรการ CBAM ล่าสุดได้มีผู้เชี่ยวชาญจากสหภาพยุโรปเดินทางเข้ามาร่วมให้ข้อมูล เตรียมความพร้อมส่งออกสินค้าตามมาตรฐาน CBAM โดยช่วงแรกจะเป็นการรายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การตรวจสอบรับรองการรายงานของภาคเอกชน โดยหน่วยงานสอบทาน (verification and accreditation)
ก่อนหน้านี้กรมเจรจาฯได้จัดทำแบบสำรวจความเห็นภาคเอกชนเกี่ยวกับการใช้มาตรการ CBAM พบว่า ข้อห่วงกังวลภาคธุรกิจไทยมีหลายเรื่อง เช่น การรายงานข้อมูลการปล่อยคาร์บอนอาจเป็นข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้า เพราะมีข้อมูลด้านเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตซึ่งเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากนี้ แต่ละประเทศยังมีความพร้อมที่แตกต่างกันมาก ทำให้ต้องหยิบยกเรื่องนี้ไปหารือในการประชุมองค์การการค้าโลก (WTO) หลายครั้ง
และมีสมาชิกหลายประเทศรวมถึงไทยที่แสดงความกังวล และไม่เห็นด้วยต่อการใช้ประเด็นเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมมาเป็นมาตรการกีดกันทางการค้า แต่ก็ยังไม่ได้ยื่นคำร้องใด ๆ เพราะยังติดกระบวนการอนุญาโตตุลาการของ WTO ที่มีปัญหาไม่สามารถแต่งตั้งชุดแอปเพลเลตบอดี้ได้
เปิดไส้ใน กม.ลูก CBAM
ล่าสุดเมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกกฎหมายลำดับรอง พร้อมแนวปฏิบัติ (guidance doccument) สำหรับ 6 กลุ่มสินค้า ประกอบด้วย 40 ข้อบท แบ่งเป็น 5 บทย่อย สาระสำคัญ เช่น การกำหนดคำจำกัดความ สิทธิและหน้าที่ในการรายงานผู้ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการรายงาน การบริหารงานเกี่ยวกับการรายงาน CBAM การบังคับใช้ และองค์ประกอบทางเทคนิคเกี่ยวกับ CBAM transitional registry และมี 9 ภาคผนวก เช่น ภาคผนวก
ข้อมูลที่จะส่งในรายงาน CBAM คำจำกัดความและเส้นทางการผลิตสินค้า กฎในการพิจารณาข้อมูล รวมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับการติดตั้ง การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิต และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้า เป็นต้น
หากศึกษาในรายละเอียดจะพบว่า นอกจาก 6 กลุ่มสินค้าแล้ว ยังมีการจำแนกเป็น 18 สินค้าย่อย เช่น เหล็ก มีสินค้ากลุ่มย่อย เช่น นอต สายเคเบิล เป็นต้น และมีข้อกำหนดการรายงานแตกต่างกันแต่ละประเภทสินค้า เช่น บางกลุ่มให้รายงานเฉพาะการปล่อยสารคาร์บอนไดออกไซด์ แต่บางกลุ่มอย่างปุ๋ยต้องรายงานทั้งการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และไนตรัสออกไซด์ เป็นต้น
สำหรับกระบวนการรายงานเริ่มตั้งแต่ให้ผู้นำเข้าสินค้าไทยต้องลงทะเบียนในระบบก่อน จากนั้นต้องมาเทียบว่าสินค้าชนิดนั้นอยู่ในลิสต์รายการย่อย หรือ CN code หรือไม่ ซึ่งแม้ว่าในช่วงแรกจะยังให้เวลาปรับตัว 3 ปี แต่หากมีการรายงานล่าช้า 6 เดือนอาจจะมีการลงโทษด้วย และที่สำคัญในอนาคตอียูจะขยายมาตรการ CBAM ไปยังสินค้าชนิดอื่น ๆ มากขึ้น
นอกจากนี้ อียูยังกำหนดว่าหากไทยจะขอส่วนลดการออกใบอนุญาต CBAM จะต้องผ่านเกณฑ์เงื่อนไข 2 ข้อ คือ ประเทศต้นทาง (ไทย) ต้องมีระบบการตลาดคาร์บอนภาคบังคับในระบบเดียวกับที่อียูใช้ในปัจจุบัน และใช้ราคากลางในตลาดคาร์บอนอียูที่คิดอยู่ที่ 3 ยูโรต่อตันคาร์บอน หรือไทยต้องมีการร่างกฎหมายเพื่อเก็บภาษีคาร์บอน ซึ่งแน่นอนว่าไทยจะไม่ได้รับส่วนลด เพราะตอนนี้ไทยยังไม่มีการปฏิบัติทั้ง 2 เงื่อนไขเลย ตลาดคาร์บอนของไทยปัจจุบันเป็นตลาดซื้อขายเสรี ซึ่งอียูไม่ยอมรับ ดังนั้น ผู้ที่ดำเนินการเรื่องนี้จะต้องเตรียมพร้อมรับมือ
ไทยไม่พร้อม-หวั่นผู้ส่งออกลดออร์เดอร์
นายสุวิทย์ ธรณินทร์พานิช ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด ส.อ.ท. และประธานกรรมการ มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้รายละเอียดของการรายงานคาร์บอนเครดิตในช่วงแรกตามมาตรการ CBAM ยังขาดความชัดเจน มีการส่งเอกสารไกด์ไลน์จำนวน 90 หน้า มาให้อ่าน ซึ่งพบว่ากระบวนการค่อนข้างซับซ้อน และสร้างภาระต้นทุนให้เอกชน เพราะต้องมีการจ้างหน่วยงานสอบทาน (verify) ที่ปัจจุบันมีอยู่ไม่กี่รายและส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติ ที่สำคัญคือมีอัตราค่าจ้างในการสอบทานต่อสินค้าค่อนข้างสูง
อย่างไรก็ตาม ช่วงแรกผู้ประกอบการที่ต้องรายงาน CBAM น่าจะมีเฉพาะรายใหญ่ ระดับ tier 1 เท่านั้น และจากการหารือกับผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่จากญี่ปุ่นเองก็ค่อนข้างกังวลเรื่องนี้ และจากการประสานกับผู้ผลิตชิ้นส่วน tier 1 ซึ่งมีประมาณ 9 บริษัท แม้จะทำได้ แต่หากลึกลงไปถึงผู้ผลิตชิ้นส่วน tier 2 และ tier 3 แต่ละชั้น จำนวนหลายร้อยรายยังไม่มีความเข้าใจเรื่องนี้ และหากนับจำนวนเอสเอ็มอีทั้งหมดในแต่ละอุตสาหกรรมที่จะกระทบน่าจะเป็นหมื่นราย