นายกสมาคมทนายฯ ชี้ปม ‘ช่อ’ ถูกตัดสิทธิ รธน.บิดเบือนอำนาจ ปชช. บี้รัฐบาลเร่งร่างฉบับใหม่
https://www.matichon.co.th/politics/news_4199224
นายกสมาคมทนายฯ ชี้ปม ‘ช่อ’ ถูกตัดสิทธิ สะท้อนรัฐธรรมนูญบิดเบือนอำนาจ ปชช. ยิ่งใช้ยิ่งเกิดความขัดแย้ง บี้รัฐบาลเร่งร่างใหม่ พร้อมนิรโทษกรรมคืนสิทธิทางการเมือง
เมื่อวันที่ 26 กันยายน นาย
นรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 25 กันยายน ระบุว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 219 บัญญัติให้มีมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อควบคุมการปฏิบัติตนของผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ซึ่งรวมถึง ส.ส.และคณะรัฐมนตรี เพื่อให้การดำรงตำแหน่งและการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวมีความสง่างาม อันจะทำให้ได้รับความน่าเชื่อถือ เคารพยกย่อง เสมือนพระสงฆ์ที่ถือศีลและปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ย่อมจะได้รับการเคารพกราบไหว้จากสาธุชนอย่างเต็มใจ
มาตรฐานทางจริยธรรมจึงมีขึ้นเพื่อควบคุมการปฏิบัติตน หรือการครองตนในขณะดำรงตำแหน่ง เพราะหากมีการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมเกิดขึ้นก่อน หรือภายหลังการดำรงตำแหน่ง ก็ไม่ทำให้เกิดความเสียหาย หรือกระทบต่อการดำรงตำแหน่ง จึงไม่มีเหตุที่จะไปถอดถอนผู้นั้นอีก เช่น กรณีของพระองคุลีมาลที่แม้จะเคยฆ่าคนมามากมาย อันถือเป็นอาบัติขั้นปาราชิก แต่เกิดขึ้นก่อนการบวช จึงไม่ทำให้ท่านขาดจากความเป็นสงฆ์ ผู้ใดจะเอาการกระทำนั้นมากล่าวหาเพื่อให้ท่านขาดจากความเป็นสงฆ์ในภายหลังไม่ได้
ในทางสากล หากบุคคลในองค์กรใดมีการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎกติกาก็จะให้องค์กรนั้นเป็นผู้ดำเนินการ หากเป็นนักการเมืองที่มาจากประชาชนก็จะให้องค์กรที่มาจากประชาชนขับ หรือถอดถอนผู้นั้นออกจากตำแหน่ง เช่น กรณีวุฒิสมาชิกของสหรัฐลงมติให้ถอดถอนประธานาธิบดี อดีตประธานาธิบดี หรือกรณีของสงฆ์ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดพระธรรมวินัยก็จะให้คณะสงฆ์เป็นผู้พิจารณา หรือแม้แต่ผู้พิพากษาที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยก็ให้คณะกรรมการตุลาการเป็นผู้พิจารณา เป็นต้น ยกเว้นการกระทำนั้นเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาด้วย จึงจะส่งเฉพาะเรื่องนั้นให้ศาลพิจารณาลงโทษทางอาญา
ดังนั้น การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ประชาชนและศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จึงผิดพลาดและบิดเบือนอำนาจของประชาชน ผลของการตัดสินได้สร้างความขัดแย้งทางการเมืองอีกครั้ง จึงเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่เหมาะสมกับสังคมประชาธิปไตย การปล่อยให้รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ต่อไปจะทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น รัฐบาลจึงควรเร่งกระบวนการเพื่อให้ประชาชนได้มีรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นเองบังคับใช้ รวมทั้งควรล้างบาปนิรโทษกรรมคืนสิทธิทางการเมืองให้กับบุคคลที่ถูกตัดสิทธิด้วย
‘ศิธา’ ชี้ไทยยุคนี้ การเมืองหักมุมยิ่งกว่าซีรีส์ เจ้าหน้าที่ไล่บี้ยิ่งกว่าหนังโคลัมเบีย ใครคุม Soft Power เหนื่อยแน่
https://www.matichon.co.th/politics/news_4199213
‘ศิธา’ ชี้ ไทยยุคนี้ การเมืองหักมุมยิ่งกว่าซีรีส์-เจ้าหน้าที่ไล่บี้ยิ่งกว่าหนังโคลัมเบีย บอกเลยใครคุม Soft Power เหนื่อยแน่
เมื่อวันที่ 26 กันยายน น.ต.
ศิธา ทิวารี แคนดิเดตนายกฯพรรคไทยสร้างไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ความว่า
“
ประเทศไทย เข้าสู่ยุคที่
– การเมือง หักมุม ยิ่งกว่าซีรีส์
– เจ้าหน้าที่ ไล่บี้ ยิ่งกว่าหนังโคลัมเบีย
– แก๊งมาเฟีย โยงใย ยิ่งกว่าละคร
ขณะที่ ซีรีส์, หนัง, ละคร โดน Censor ข้อห้ามหยุมหยิม ตัดจนดูแทบไม่รู้เรื่อง ชีวิตจริงตื่นเต้น น่าติดตามมากกว่า
ใครคุม Soft Power ด้านภาพยนตร์ไทย ผลักดันกันเหนื่อย บอกเลย”
https://www.facebook.com/Sitadivari/posts/pfbid02mt2heCp3wkXmMi2PsNWQe3hNuEYcw9JkQnASJJtEgfXHtQJH6mfgN97Zu25Cry4ol
+ยูโอบี เผยความเชื่อมั่นด้านศก. พบ 72% ระวังจับจ่าย หวั่นเศรษฐกิจชะลอตัว
https://www.matichon.co.th/economy/news_4199292
ยูโอบี เผยความเชื่อมั่นด้านศก. พบ 72% ระวังจับจ่าย หวั่นเศรษฐกิจชะลอตัว
เมื่อวันที่ 25 กันยายน นาย
ยุทธชัย เตยะราชกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่ารายงาน ACSS ที่จัดทำขึ้นโดยธนาคารยูโอบีฉบับล่าสุด ได้มีการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญสำหรับทั้งผู้บริโภคและภาคธุรกิจเพื่อให้เข้าใจถึงสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งได้มีการศึกษาเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจาก 5 ประเทศในอาเซียน ประกอบด้วย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนิเซีย ไทย และ เวียดนาม เป็นประจำทุกปี รายงานปีที่ 4 ฉบับล่าสุดได้จัดทำขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2566 โดยในประเทศไทยได้สำรวจคำตอบของผู้บริโภค 600 คนจากหลายกลุ่มประชากร
พบว่า ความกังวลทางการเงินส่งผลให้ผู้บริโภคชาวไทย ใช้จ่ายอย่างรัดกุมและวางแผนการลงทุน
ผลสำรวจพบว่าร้อยละ 57 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น โดยมีความกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่สูงขึ้นร้อยละ 14 เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และความกังวลเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เกี่ยวกับการออมที่ลดลง
นอกจากนี้ รายงานยังระบุแนวโน้มที่น่าสนใจของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการออมและการลงทุน Gen Z เป็นกลุ่มที่ระมัดระวังที่สุด โดยร้อยละ 41 มีแผนออมเงินมากขึ้นในปีนี้ ในขณะที่ Gen Y มุ่งเน้นการลงทุนมากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น
ความกังวลทางการเงิน ส่งผลให้ผู้บริโภคชาวไทยรัดกุมกับค่าใช้จ่ายและการลงทุนมากขึ้น ร้อยละ 57 ติดตามค่าใช้จ่ายของตนผ่านแพลตฟอร์มธนาคารดิจิทัล ผู้บริโภคจำนวนมากขึ้นให้ความสนใจกับเครื่องมือทางการเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น เงินฝากออมทรัพย์ และเงินฝากประจำ อีกทั้งยังกระจายการลงทุนไปยังกลุ่มสินทรัพย์อื่นๆ ที่ไม่ใช่เครื่องมือทางการเงิน เช่น แผนประกัน อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
จากผลสำรวจ ธนาคารยูโอบีจึงเน้นถึงความสำคัญของการวางแผนความมั่งคั่งในระยะยาว อย่างรอบคอบและมีการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
“
การวางแผนความมั่งคั่งที่เหมาะกับระดับความเสี่ยงของแต่ละบุคคล และการเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินด้านความยั่งยืนเข้าไปเป็นกลยุทธ์การลงทุนจะช่วยสร้างความมั่งคั่งที่ยืนยาวให้แก่ผู้บริโภคได้” นาย
ยุทธชัยกล่าว
ผู้บริโภคไทยใช้บริการธนาคารดิจิทัลมากที่สุด
ประเทศไทยมีผู้ใช้บริการธนาคารดิจิทัลมากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน ในปีที่ผ่านมาร้อยละ 61 ใช้แอปพลิเคชันธนาคารบนมือถือ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาค วิธีการชำระเงินที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ อีวอลเล็ตและการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ด รายงานยังพบว่ากว่า 4 ใน 5 ของผู้บริโภคชาวไทยใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลด้านการลงทุนและการจัดการความมั่งคั่ง โดย Gen Y เป็นกลุ่มที่ใช้บริการด้านการลงทุนมากที่สุด
นอกจากการเปิดรับบริการธนาคารดิจิทัล ผู้บริโภคยังพร้อมแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวกับธนาคารเพื่อรับบริการเฉพาะบุคคลมากขึ้นร้อยละ 89 ของผู้สำรวจเลือกที่จะแบ่งปันข้อมูลผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร มากกว่าแอปพลิเคชันแบบอื่นๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสนใจของผู้บริโภค ในการเปิดรับข้อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่คัดสรรเฉพาะจากธนาคาร
“ยูโอบีมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเรื่องการธนาคารแบบเฉพาะบุคคล (Personalised Banking) ผ่านแอปพลิเคชัน UOB TMRW ที่ขับเคลื่อนด้วย AI วิเคราะห์ข้อมูลธุรกรรมทางการเงิน ทำให้เข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง และสามารถช่วยให้บริหารจัดการเงินในแบบที่ลูกค้าต้องการ นอกจากนี้ ธนาคารกำลังพัฒนาแอปพิเคชัน UOB TMRW เพิ่มเติม เพื่อให้คำปรึกษาวางแผนด้านการลงทุนอัตโนมัติแบบเฉพาะบุคคล ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าบริหารจัดการการเงินได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สอดคล้องกับข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากรายงานฉบับนี้”
JJNY : บี้รบ.เร่งร่างฉบับใหม่│‘ศิธา’ชี้การเมืองหักมุมยิ่งกว่าซีรีส์│พบ 72%ระวังจับจ่าย│รร.รัสเซียเตรียมความพร้อมนักเรียน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4199224
นายกสมาคมทนายฯ ชี้ปม ‘ช่อ’ ถูกตัดสิทธิ สะท้อนรัฐธรรมนูญบิดเบือนอำนาจ ปชช. ยิ่งใช้ยิ่งเกิดความขัดแย้ง บี้รัฐบาลเร่งร่างใหม่ พร้อมนิรโทษกรรมคืนสิทธิทางการเมือง
เมื่อวันที่ 26 กันยายน นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 25 กันยายน ระบุว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 219 บัญญัติให้มีมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อควบคุมการปฏิบัติตนของผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ซึ่งรวมถึง ส.ส.และคณะรัฐมนตรี เพื่อให้การดำรงตำแหน่งและการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวมีความสง่างาม อันจะทำให้ได้รับความน่าเชื่อถือ เคารพยกย่อง เสมือนพระสงฆ์ที่ถือศีลและปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ย่อมจะได้รับการเคารพกราบไหว้จากสาธุชนอย่างเต็มใจ
มาตรฐานทางจริยธรรมจึงมีขึ้นเพื่อควบคุมการปฏิบัติตน หรือการครองตนในขณะดำรงตำแหน่ง เพราะหากมีการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมเกิดขึ้นก่อน หรือภายหลังการดำรงตำแหน่ง ก็ไม่ทำให้เกิดความเสียหาย หรือกระทบต่อการดำรงตำแหน่ง จึงไม่มีเหตุที่จะไปถอดถอนผู้นั้นอีก เช่น กรณีของพระองคุลีมาลที่แม้จะเคยฆ่าคนมามากมาย อันถือเป็นอาบัติขั้นปาราชิก แต่เกิดขึ้นก่อนการบวช จึงไม่ทำให้ท่านขาดจากความเป็นสงฆ์ ผู้ใดจะเอาการกระทำนั้นมากล่าวหาเพื่อให้ท่านขาดจากความเป็นสงฆ์ในภายหลังไม่ได้
ในทางสากล หากบุคคลในองค์กรใดมีการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎกติกาก็จะให้องค์กรนั้นเป็นผู้ดำเนินการ หากเป็นนักการเมืองที่มาจากประชาชนก็จะให้องค์กรที่มาจากประชาชนขับ หรือถอดถอนผู้นั้นออกจากตำแหน่ง เช่น กรณีวุฒิสมาชิกของสหรัฐลงมติให้ถอดถอนประธานาธิบดี อดีตประธานาธิบดี หรือกรณีของสงฆ์ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดพระธรรมวินัยก็จะให้คณะสงฆ์เป็นผู้พิจารณา หรือแม้แต่ผู้พิพากษาที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยก็ให้คณะกรรมการตุลาการเป็นผู้พิจารณา เป็นต้น ยกเว้นการกระทำนั้นเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาด้วย จึงจะส่งเฉพาะเรื่องนั้นให้ศาลพิจารณาลงโทษทางอาญา
ดังนั้น การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ประชาชนและศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จึงผิดพลาดและบิดเบือนอำนาจของประชาชน ผลของการตัดสินได้สร้างความขัดแย้งทางการเมืองอีกครั้ง จึงเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่เหมาะสมกับสังคมประชาธิปไตย การปล่อยให้รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ต่อไปจะทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น รัฐบาลจึงควรเร่งกระบวนการเพื่อให้ประชาชนได้มีรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นเองบังคับใช้ รวมทั้งควรล้างบาปนิรโทษกรรมคืนสิทธิทางการเมืองให้กับบุคคลที่ถูกตัดสิทธิด้วย
‘ศิธา’ ชี้ไทยยุคนี้ การเมืองหักมุมยิ่งกว่าซีรีส์ เจ้าหน้าที่ไล่บี้ยิ่งกว่าหนังโคลัมเบีย ใครคุม Soft Power เหนื่อยแน่
https://www.matichon.co.th/politics/news_4199213
‘ศิธา’ ชี้ ไทยยุคนี้ การเมืองหักมุมยิ่งกว่าซีรีส์-เจ้าหน้าที่ไล่บี้ยิ่งกว่าหนังโคลัมเบีย บอกเลยใครคุม Soft Power เหนื่อยแน่
เมื่อวันที่ 26 กันยายน น.ต.ศิธา ทิวารี แคนดิเดตนายกฯพรรคไทยสร้างไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ความว่า
“ประเทศไทย เข้าสู่ยุคที่
– การเมือง หักมุม ยิ่งกว่าซีรีส์
– เจ้าหน้าที่ ไล่บี้ ยิ่งกว่าหนังโคลัมเบีย
– แก๊งมาเฟีย โยงใย ยิ่งกว่าละคร
ขณะที่ ซีรีส์, หนัง, ละคร โดน Censor ข้อห้ามหยุมหยิม ตัดจนดูแทบไม่รู้เรื่อง ชีวิตจริงตื่นเต้น น่าติดตามมากกว่า
ใครคุม Soft Power ด้านภาพยนตร์ไทย ผลักดันกันเหนื่อย บอกเลย”
https://www.facebook.com/Sitadivari/posts/pfbid02mt2heCp3wkXmMi2PsNWQe3hNuEYcw9JkQnASJJtEgfXHtQJH6mfgN97Zu25Cry4ol
+ยูโอบี เผยความเชื่อมั่นด้านศก. พบ 72% ระวังจับจ่าย หวั่นเศรษฐกิจชะลอตัว
https://www.matichon.co.th/economy/news_4199292
ยูโอบี เผยความเชื่อมั่นด้านศก. พบ 72% ระวังจับจ่าย หวั่นเศรษฐกิจชะลอตัว
เมื่อวันที่ 25 กันยายน นายยุทธชัย เตยะราชกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่ารายงาน ACSS ที่จัดทำขึ้นโดยธนาคารยูโอบีฉบับล่าสุด ได้มีการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญสำหรับทั้งผู้บริโภคและภาคธุรกิจเพื่อให้เข้าใจถึงสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งได้มีการศึกษาเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจาก 5 ประเทศในอาเซียน ประกอบด้วย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนิเซีย ไทย และ เวียดนาม เป็นประจำทุกปี รายงานปีที่ 4 ฉบับล่าสุดได้จัดทำขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2566 โดยในประเทศไทยได้สำรวจคำตอบของผู้บริโภค 600 คนจากหลายกลุ่มประชากร
พบว่า ความกังวลทางการเงินส่งผลให้ผู้บริโภคชาวไทย ใช้จ่ายอย่างรัดกุมและวางแผนการลงทุน
ผลสำรวจพบว่าร้อยละ 57 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น โดยมีความกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่สูงขึ้นร้อยละ 14 เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และความกังวลเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เกี่ยวกับการออมที่ลดลง
นอกจากนี้ รายงานยังระบุแนวโน้มที่น่าสนใจของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการออมและการลงทุน Gen Z เป็นกลุ่มที่ระมัดระวังที่สุด โดยร้อยละ 41 มีแผนออมเงินมากขึ้นในปีนี้ ในขณะที่ Gen Y มุ่งเน้นการลงทุนมากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น
ความกังวลทางการเงิน ส่งผลให้ผู้บริโภคชาวไทยรัดกุมกับค่าใช้จ่ายและการลงทุนมากขึ้น ร้อยละ 57 ติดตามค่าใช้จ่ายของตนผ่านแพลตฟอร์มธนาคารดิจิทัล ผู้บริโภคจำนวนมากขึ้นให้ความสนใจกับเครื่องมือทางการเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น เงินฝากออมทรัพย์ และเงินฝากประจำ อีกทั้งยังกระจายการลงทุนไปยังกลุ่มสินทรัพย์อื่นๆ ที่ไม่ใช่เครื่องมือทางการเงิน เช่น แผนประกัน อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
จากผลสำรวจ ธนาคารยูโอบีจึงเน้นถึงความสำคัญของการวางแผนความมั่งคั่งในระยะยาว อย่างรอบคอบและมีการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
“การวางแผนความมั่งคั่งที่เหมาะกับระดับความเสี่ยงของแต่ละบุคคล และการเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินด้านความยั่งยืนเข้าไปเป็นกลยุทธ์การลงทุนจะช่วยสร้างความมั่งคั่งที่ยืนยาวให้แก่ผู้บริโภคได้” นายยุทธชัยกล่าว
ผู้บริโภคไทยใช้บริการธนาคารดิจิทัลมากที่สุด
ประเทศไทยมีผู้ใช้บริการธนาคารดิจิทัลมากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน ในปีที่ผ่านมาร้อยละ 61 ใช้แอปพลิเคชันธนาคารบนมือถือ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาค วิธีการชำระเงินที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ อีวอลเล็ตและการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ด รายงานยังพบว่ากว่า 4 ใน 5 ของผู้บริโภคชาวไทยใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลด้านการลงทุนและการจัดการความมั่งคั่ง โดย Gen Y เป็นกลุ่มที่ใช้บริการด้านการลงทุนมากที่สุด
นอกจากการเปิดรับบริการธนาคารดิจิทัล ผู้บริโภคยังพร้อมแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวกับธนาคารเพื่อรับบริการเฉพาะบุคคลมากขึ้นร้อยละ 89 ของผู้สำรวจเลือกที่จะแบ่งปันข้อมูลผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร มากกว่าแอปพลิเคชันแบบอื่นๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสนใจของผู้บริโภค ในการเปิดรับข้อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่คัดสรรเฉพาะจากธนาคาร
“ยูโอบีมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเรื่องการธนาคารแบบเฉพาะบุคคล (Personalised Banking) ผ่านแอปพลิเคชัน UOB TMRW ที่ขับเคลื่อนด้วย AI วิเคราะห์ข้อมูลธุรกรรมทางการเงิน ทำให้เข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง และสามารถช่วยให้บริหารจัดการเงินในแบบที่ลูกค้าต้องการ นอกจากนี้ ธนาคารกำลังพัฒนาแอปพิเคชัน UOB TMRW เพิ่มเติม เพื่อให้คำปรึกษาวางแผนด้านการลงทุนอัตโนมัติแบบเฉพาะบุคคล ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าบริหารจัดการการเงินได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สอดคล้องกับข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากรายงานฉบับนี้”