ข้อสังเกตบางประการ สัจจบรรพะ ที่ ๕ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
1. อนุปัสสนา – หมายถึง ตามระลึกรู้ธรรมะนั้น ๆ ที่เกิดอยู่ หรือ/และ ดับอยู่ ในปัจจุบันขณะ อะไรปรากฏชัดต่อสติขณะนั้นก็ให้ ตามระลึกรู้ตามนั้น ไม่คิดนึกปรุงแต่ง ฝืนใจ บังคับใจ กดดัน หรือ แม้แต่อยากได้อยากมีอยากเป็น ผู้ปฏิบัติมีหน้าที่กำหนดอารมณ์ปัจจุบันอย่างเท่าทันและรู้ตัวทั่วพร้อม ไม่ใช่แบบหัวหลักหัวตอ ไม่รู้ไม่รู้ไม่ชี้ โดยไม่ยึดติดยินดียินร้ายอะไร ๆ ในอารมณ์ตรงธรรมะที่ปรากฏอยู่ภายในกายในใจ ของผู้มีปฏิบัติ หมายความว่า รู้ธรรมเห็นธรรมด้วยสติสัมปชัญญะ แล้วก็ปล่อยวางปลงได้
2. อนุปัสสนา ๒ แบบ ได้แก่ เพ่งแบบสมาธิ จนได้ฌาน และเพ่งแบบใช้ปัญญากำหนดพิจารณาสามัญลักษณะ ๓ (ไม่จีรัง ไม่ทนต่อการแปรปรวน และ บังคับไม่ได้) ในเรื่องนี้ตรัสเป็นใจความว่า ฌานจะไม่เกิดกันคนไม่มีปัญญา และ ปัญญาจะไม่เกิดกับคนไม่มีฌาน ดังเช่น ศีลสมาธิปัญญา หรือ อริยมรรคมีองค์ ๘ หรือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗
3. อริยสัจจ์ ๔ ตามนัยแห่งโสฬสปัญหา ปรายนวรรค สุตตนิบาต ขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎก และ ใน จูฬนิทเทส ขุททกนิกาย ในคำกล่าวที่ว่า “ไม่ติดอยู่ในที่สุดในเบื่องต้น (ทุกข์สัจจ์) ไม่ติดอยู่ในที่สุดในเบื่องปลาย (ทุกขสมุทัย) และ ไม่ติดอยู่ในท่ามกลาง (ทุกขนิโรธ)”
4. อดีตพระมหาเถระท่านหนึ่งเคยแสดงว่า หากนักปฏิบัติ ๆ ถูกต้อง เพียงกำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕ ความทุกข์ที่เกิดมาตั้งแต่ ชาติ ชรา มรณะ .. ความผิดหวัง จะสงบไปได้โดยอัตโนมัติ
5. ปิยะรูปัง สาตะรูปัง – ในบรรพะนี้ ทรงแสดงถึง อายตนิก ธรรม ๖๐ (๖x๑๐) โดยเริ่มจาก อายตนะภายใน ๖, .. , วิตกความตรึกทางอายตนะภายนอก ๖, และ วิจารความตรองทางอายตนะภายนอก ๖ อันเป็นที่น่ารักใครน่าปรารถนาน่าพอใจ ตรัสว่า ตัณหาจะเกิด - ดับ ก็เกิด - ดับ ที่อายตนิก ธรรม ๖๐ นี้เอง
สัจจบรรพะ ที่ ๕ ธัมมานุธัมมสติปัฏฐาน ฯ
1. อนุปัสสนา – หมายถึง ตามระลึกรู้ธรรมะนั้น ๆ ที่เกิดอยู่ หรือ/และ ดับอยู่ ในปัจจุบันขณะ อะไรปรากฏชัดต่อสติขณะนั้นก็ให้ ตามระลึกรู้ตามนั้น ไม่คิดนึกปรุงแต่ง ฝืนใจ บังคับใจ กดดัน หรือ แม้แต่อยากได้อยากมีอยากเป็น ผู้ปฏิบัติมีหน้าที่กำหนดอารมณ์ปัจจุบันอย่างเท่าทันและรู้ตัวทั่วพร้อม ไม่ใช่แบบหัวหลักหัวตอ ไม่รู้ไม่รู้ไม่ชี้ โดยไม่ยึดติดยินดียินร้ายอะไร ๆ ในอารมณ์ตรงธรรมะที่ปรากฏอยู่ภายในกายในใจ ของผู้มีปฏิบัติ หมายความว่า รู้ธรรมเห็นธรรมด้วยสติสัมปชัญญะ แล้วก็ปล่อยวางปลงได้
2. อนุปัสสนา ๒ แบบ ได้แก่ เพ่งแบบสมาธิ จนได้ฌาน และเพ่งแบบใช้ปัญญากำหนดพิจารณาสามัญลักษณะ ๓ (ไม่จีรัง ไม่ทนต่อการแปรปรวน และ บังคับไม่ได้) ในเรื่องนี้ตรัสเป็นใจความว่า ฌานจะไม่เกิดกันคนไม่มีปัญญา และ ปัญญาจะไม่เกิดกับคนไม่มีฌาน ดังเช่น ศีลสมาธิปัญญา หรือ อริยมรรคมีองค์ ๘ หรือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗
3. อริยสัจจ์ ๔ ตามนัยแห่งโสฬสปัญหา ปรายนวรรค สุตตนิบาต ขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎก และ ใน จูฬนิทเทส ขุททกนิกาย ในคำกล่าวที่ว่า “ไม่ติดอยู่ในที่สุดในเบื่องต้น (ทุกข์สัจจ์) ไม่ติดอยู่ในที่สุดในเบื่องปลาย (ทุกขสมุทัย) และ ไม่ติดอยู่ในท่ามกลาง (ทุกขนิโรธ)”
4. อดีตพระมหาเถระท่านหนึ่งเคยแสดงว่า หากนักปฏิบัติ ๆ ถูกต้อง เพียงกำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕ ความทุกข์ที่เกิดมาตั้งแต่ ชาติ ชรา มรณะ .. ความผิดหวัง จะสงบไปได้โดยอัตโนมัติ
5. ปิยะรูปัง สาตะรูปัง – ในบรรพะนี้ ทรงแสดงถึง อายตนิก ธรรม ๖๐ (๖x๑๐) โดยเริ่มจาก อายตนะภายใน ๖, .. , วิตกความตรึกทางอายตนะภายนอก ๖, และ วิจารความตรองทางอายตนะภายนอก ๖ อันเป็นที่น่ารักใครน่าปรารถนาน่าพอใจ ตรัสว่า ตัณหาจะเกิด - ดับ ก็เกิด - ดับ ที่อายตนิก ธรรม ๖๐ นี้เอง