อาจารย์ มช. เล่าเคยโดนหักเงิน เหลือ 118 บาท แสนลำบาก เผยใช้ชีวิตยังไง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7865908
อาจารย์ มช. เผยเคยโดนหักเงินเดือน ได้รับ 118 บาท มา 1 ปี ใช้ชีวิตแสนลำบาก ต้องขี่มอเตอร์ไซค์เก่าไปสอนหนังสือ น้ำมันหมดกลางทางก็เคยมาแล้ว
ประเด็นเรื่องการแบ่งจ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 รอบต่อหนึ่งเดือน กำลังเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมอย่างกว้างขวางทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
ต่อเรื่องดังกล่าว ผศ.
ทัศนัย เศรษฐเสรี อาจารย์ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขียนเล่าชีวิตข้าราชการในแง่มุมหนึ่ง ความว่า
ตอนมาบรรจุเป็นอาจารย์ประจำเมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว ได้รับเงินเดือนประมาณ 17,500 บาท พ่อกับแม่เอาเงินบำนาญซื้อที่ดินให้แปลงหนึ่งและออกค่าสร้างบ้านให้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งผมไปกู้สวัสดิการมหาวิทยาลัยมาทำบ้านให้เสร็จโดยไม่บอกพ่อกับแม่
ในทุกเดือน เงินเดือน 70% ถูกหักอัตโนมัติ จ่ายหนี้ให้สวัสดิการฯ เหลือสตางค์ไม่กี่พันบาทสำหรับใช้จ่าย ซึ่งสำหรับผมพอ เพราะไม่ได้ใช้เงินกับอะไรเลยในตอนนั้น มีเพียงค่ากินอยู่ ค่าน้ำมันรถไปทำงาน ซื้อต้นไม้มาปลูก อะไรประมาณนั้น
จนมีข้อพิพาทกับมหาวิทยาลัยเรื่องการลาศึกษาต่อ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการรับทุนฯ และต้องไปจบที่ศาลปกครอง ใช้เวลาอยู่ 5 ปี กว่าเรื่องจะสิ้นสุด แต่ก่อนเรื่องจะจบที่ศาลปกครอง ก็โดนมหาลัยหักเงินเดือนที่เหลือไม่กี่พันบาทอยู่แล้ว ด้วยเหตุผลของการใช้เวลาในการลาศึกษาเกินกำหนด
ทัศนัย เศรษฐเสรี ิอาจารย์ ม.เชียงใหม่
ทั้งที่ความจริงเรื่องการลายังไม่มีการอนุมัติและยังมาปฏิบัติงานสอนหนังสือปกติ กว่า 5 ปีที่ผู้บริหารไม่ลงความเห็นว่าจะอนุมัติให้ลาหรือไม่ให้ลา จนมหาวิทยาลัยใช้วิธี (หรือวิชามาร) ให้อนุมัติการลาย้อนหลัง และจ่ายเงินส่วนที่เคยหักไปจากเงินเดือนทั้งหมดคืนมา
ตลอดเวลา 1 ปีเต็ม ยอดเงินที่เข้าบัญชีทุกเดือนหลังหักหนี้สวัสดิการและส่วนที่มหาลัยหักไปอีก เหลืออยู่ 118 บาท
ผมมีเงินเดือนใช้ 118 บาทเป็นเวลา 1 ปี คงจะจินตนาการกันไม่ออกว่าใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างไร?
บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดทุกใบที่มีอยู่ มียอดการใช้เต็มทุกใบ หมุนเอาบัตรใบนั้นมาจ่ายบัตรใบนี้ วนๆ ไป ธนาคารโทรทวงหนี้จนกลัวที่จะรับโทรศัพท์ เวลาแม่มาหาทีก็จะไปซื้อเสบียงมาตุนไว้ให้ ซึ่งเป็นปกติทุกครั้งที่แม่หรือพ่อมาหา แต่ผมไม่เคยเอ่ยปากบอกว่าอยู่โดยไม่มีสตางค์สักบาท
รถยนต์ก็ไม่ขับ ไม่มีเงินเติมน้ำมัน ใช้มอเตอร์ไซค์เก่าๆ น้ำปลา น้ำซอสต่างๆ ที่แม่ซื้อไว้ให้ก็เอาไว้กินกับข้าวต้มที่หุงจากข้าวเหนียวเพื่อให้ได้ปริมาณเยอะๆ พอที่จะแบ่งกับลูกหมา 2 ตัว ที่พ่อส่งมาให้จากกรุงเทพ ลุงคนหนึ่งปลูกกระต๊อบอยู่หน้าบ้าน ทำแปลงผักเล็กๆ ก็จะแบ่งผักมาให้กินบ้างเป็นบางครั้ง ก็มีกินเพียงแค่นั้น
บุหรี่ก็เก็บจิ้งหรีดสูบมั่ง ซื้อยาเส้นมาสูบมั่ง ขี่มอเตอร์ไซค์เก่าไปสอนหนังสือ น้ำมันหมดกลางทาง ไปไม่ถึงห้องเรียนก็เคย หลังการบรรยายเสร็จหน้ามืดจะเป็นลมเพราะไม่ได้กินข้าวก็บ่อย นักศึกษาในปีนั้นเคยเห็นผมสะอึกออกมาเป็นเลือดบนโต๊ะในวิชาสัมนาก็เคยมี ไม่สบายมาก แต่หยุดสอนหนังสือไม่ได้
เรื่องที่เล่าให้ฟังคือประสบการณ์ของพนักงานของรัฐคนหนึ่ง ที่ไม่ได้มีสมบัติพัสถานติดตัวอะไรเลยมาโดยกำเนิด ผมเชื่อว่าข้าราชการและพนักงานของรัฐอีกหลายแสนคนในประเทศนี้คงไม่ได้มีความสุขสบายไปมากกว่าตัวผมเองนัก
โชคดีอยู่เรื่องหนึ่งคือ ตอนนั้นไม่มีใครจะมีความคิดจ่ายเงินเดือนเป็น 2 รอบ ไม่เช่นนั้นผมคงจะได้รับเงิน 59 บาท ทุก 2 อาทิตย์
https://www.facebook.com/thasnai.sethaseree.5/posts/6700348430058781
“หมิว สิริลภัส”ประเมินอภิปรายนโยบาย รบ.เศรษฐา ก้าวไกลตั้งคำถามได้ดีแต่ไม่ได้คำตอบ
https://www.matichon.co.th/clips/news_4179324
หมิว สิริลภัส กองตระการ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล มองว่า ส.ส.ก้าวไกลอภิปรายตั้งคำถามรัฐบาลได้ดี บางคำถามไม่มีคำตอบ ขณะที่คำแถลงนโยบายกว้างไป นโยบายที่หาเสียงหลายอย่างตกหล่นไป ลงพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชน ไม่มีการเคลมผลงาน ตั้งศูนย์ปฏิบัติงานให้ชาวบ้านติดต่อได้รวดเร็วขึ้น ชมคลิป
นักเศรษฐศาสตร์ KKP ชี้ ครม.อนุมัติมาตรการลดแลกแจกแถม กระทบวินัยการเงินการคลัง
https://www.prachachat.net/finance/news-1392942
“ดร.พิพัฒน์” หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ KKP โพสต์เฟซบุ๊ก ตั้งข้อสังเกตหลัง ครม. อนุมัติมาตรการลดแลกแจกแถม ชี้รัฐบาลเสพติดการขาดดุล ฟันธงกระทบวินัยการคลัง หวั่นส่งผลต่อต้นทุนการเงินภาคธุรกิจ
วันที่ 14 กันยายน 2566 ดร.
พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) โพสซ์เฟซบุ๊ก “
Pipat Luengnaruemitchai” ระบุว่า
“วินัยการคลัง” เมื่อรัฐบาลเสพติดการขาดดุล
การประชุม ครม. เมื่อวานนี้ นอกเหนือจากการอนุมัติมาตรการลดแลกแจกแถมทั้งหลาย ที่ต้องใช้เงินทั้งในงบประมาณ (ลดภาษีสรรพสามิต) และกลไกอื่น ๆ
รัฐบาลได้อนุมัติกรอบการคลังระยะปานกลาง (medium term fiscal framework) ที่ควรจะเป็นกรอบการดำเนินงานของรัฐบาล และบอกกับนักลงทุนว่ารัฐบาลมีแผนในการจัดการการเงินอย่างไรในอนาคต
มีข้อน่าสนใจสามเรื่อง
หนึ่ง มีการปรับเพิ่มการขาดดุลงบประมาณปีหน้าเพิ่มขึ้นจาก 5.93 แสนล้าน เป็น 6.93 แสนล้าน เพิ่มงบประมาณขึ้น 1.3 แสนล้าน และเพิ่มประมาณการรายได้ขึ้นอีกนิดหน่อย
“
ผมสงสัย แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นการสร้างช่องว่างเพื่อใส่มาตรการแจกเงิน 5.6 แสนล้าน ซึ่งการขาดดุลก็เกือบเต็ม max ตามกรอบ พ.ร.บ. หนี้สาธารณะ หรือเปล่า ถ้าใช่ ก็มีข้อสงสัยอยู่ว่าเราจะหาเงินจากไหนมาชดเชยมาตรการที่เหลืออีก 4.3 แสนล้าน เข้าใจว่าจะให้ธนาคารของรัฐออกไปก่อนและตั้งงบประมาณชดเชยทีหลัง แต่ก็ถูกจำกัดด้วยกรอบมาตรา 28 ของ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ ที่อาจจะต้องยกขึ้น แต่อาจจะยกขึ้นได้ไม่มากนัก ที่เหลือจะให้ใครออกก่อน หรือต้องขายอะไรทิ้ง”
ประเด็นที่สอง คือมีการปรับกรอบการขาดดุลงบประมาณในอนาคตขึ้นทั้งแผง จากเดิมที่เราคาดกันว่า ว่าจะค่อย ๆปรับการขาดดุลงบประมาณลดลง และจะพยายามทำงบประมาณ “สมดุล” ในระยะยาว แผนดังกล่าวโดนใส่ลิ้นชักไปก่อน
“
สงสัยว่านี่คือน่าจะเป็นการตั้งงบประมาณเพื่อชดเชยการแจกเงิน ที่เราคงต้องใช้หนี้ปีละ 0.6% ของ GDP ไปอีกสี่ห้าปีหรือเปล่า แต่เหมือนว่ารัฐบาลกำลังคาดว่าจะไม่ปรับลดงบประมาณอื่น ๆ ลง หรือหารายได้ใหม่เพื่อชดเชยเลยหรือเปล่า”
สามคือ รัฐบาลคาดว่าหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นไปแถว ๆ 65% ของ GDP จากเดิมประมาณ 61% และกดไม่ลงตามที่คาดก่อนหน้านี้ และไปใกล้เพดานระดับ 70% ของ GDP ที่เราเพิ่งจะยกขึ้นมาไม่นาน ซึ่งจะทำให้ buffer ทางการคลังเพื่อรองรับ shock ในอนาคตมีน้อยลง
“
ถ้านี่คือผลจากการแจกเงิน วาทกรรมที่บอกว่า เราสามารถแจกเงินได้ โดยไม่กระทบวินัยการคลัง ไม่เป็นภาระงบประมาณนั้นเป็นไปไม่ได้เลย นอกจากนี้ยังข้างเคียงอีก เช่น ในระยะไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยระยะยาวของไทย ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนหนึ่งอาจจะปรับตามอัตราดอกเบี้ยนอกประเทศ แต่อีกส่วนอาจจะสะท้อนความเสี่ยงด้านการคลังและ supply ของพันธบัตรรัฐบาลที่สูงขึ้นด้วย ซึ่งหมายความว่าต้นทุนการเงินของรัฐบาล และเอกชนไทยก็ปรับตัวสูงขึ้น”
นอกจากนี้ การใช้เงินนอกงบประมาณ ให้แบงก์รัฐออกเงินไปก่อน ก็อาจจะทำให้ต้องมีการระดมสภาพคล่องจนกระทบต่อต้นทุนการเงินในตลาดเพิ่มขึ้นไปอีกหรือไม่
“
จนน่าคิดนะครับ ว่ากระทบต่อความมั่นใจของนักลงทุน และบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อจะออกมาเขย่าปรับมุมมองต่อ rating ของไทยอีกหรือเปล่า”
นอกจากนี้ การคาดดุลการคลังที่สูงขึ้น และการอุดหนุนราคาน้ำมันและค่าไฟ อาจจะทำให้การดุลบัญชีเดินสะพัดที่เราคาดว่าจะจะดีขึ้น แย่ลงไปจนกระทบต่อค่าเงินได้เหมือนกัน เพราะส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของเรากับ ตปท สูงเหลือเกิน
“
หรือนี่อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ นายกรัฐมนตรีไม่ควรนั่งควบ รมว.คลัง เพราะ รมว.คลัง ควรจะเป็นคนคุมกระเป๋าเงินของรัฐบาล และควรเป็นสติที่คานรัฐบาล ว่าการใช้เงินมีข้อจำกัด และวินัยของการใช้เงินควรเป็นอย่างไร” หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ KKP ระบุ
https://www.facebook.com/lpipat/posts/pfbid0fR76yuUJrARhPsX7YA28BrX2UaCcdNRgn5ZW9YHiNJgHeRqkk5rgM7GsfFKfrGFml
JJNY : อาจารย์ มช. เล่าเคยโดนหักเงิน│“หมิว สิริลภัส”ประเมินอภิปราย│KKP ชี้กระทบวินัยการคลัง│เงินเฟ้ออาร์เจนตินาส.ค.พุ่ง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7865908
อาจารย์ มช. เผยเคยโดนหักเงินเดือน ได้รับ 118 บาท มา 1 ปี ใช้ชีวิตแสนลำบาก ต้องขี่มอเตอร์ไซค์เก่าไปสอนหนังสือ น้ำมันหมดกลางทางก็เคยมาแล้ว
ประเด็นเรื่องการแบ่งจ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 รอบต่อหนึ่งเดือน กำลังเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมอย่างกว้างขวางทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
ต่อเรื่องดังกล่าว ผศ.ทัศนัย เศรษฐเสรี อาจารย์ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขียนเล่าชีวิตข้าราชการในแง่มุมหนึ่ง ความว่า
ตอนมาบรรจุเป็นอาจารย์ประจำเมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว ได้รับเงินเดือนประมาณ 17,500 บาท พ่อกับแม่เอาเงินบำนาญซื้อที่ดินให้แปลงหนึ่งและออกค่าสร้างบ้านให้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งผมไปกู้สวัสดิการมหาวิทยาลัยมาทำบ้านให้เสร็จโดยไม่บอกพ่อกับแม่
ในทุกเดือน เงินเดือน 70% ถูกหักอัตโนมัติ จ่ายหนี้ให้สวัสดิการฯ เหลือสตางค์ไม่กี่พันบาทสำหรับใช้จ่าย ซึ่งสำหรับผมพอ เพราะไม่ได้ใช้เงินกับอะไรเลยในตอนนั้น มีเพียงค่ากินอยู่ ค่าน้ำมันรถไปทำงาน ซื้อต้นไม้มาปลูก อะไรประมาณนั้น
จนมีข้อพิพาทกับมหาวิทยาลัยเรื่องการลาศึกษาต่อ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการรับทุนฯ และต้องไปจบที่ศาลปกครอง ใช้เวลาอยู่ 5 ปี กว่าเรื่องจะสิ้นสุด แต่ก่อนเรื่องจะจบที่ศาลปกครอง ก็โดนมหาลัยหักเงินเดือนที่เหลือไม่กี่พันบาทอยู่แล้ว ด้วยเหตุผลของการใช้เวลาในการลาศึกษาเกินกำหนด
ทัศนัย เศรษฐเสรี ิอาจารย์ ม.เชียงใหม่
ทั้งที่ความจริงเรื่องการลายังไม่มีการอนุมัติและยังมาปฏิบัติงานสอนหนังสือปกติ กว่า 5 ปีที่ผู้บริหารไม่ลงความเห็นว่าจะอนุมัติให้ลาหรือไม่ให้ลา จนมหาวิทยาลัยใช้วิธี (หรือวิชามาร) ให้อนุมัติการลาย้อนหลัง และจ่ายเงินส่วนที่เคยหักไปจากเงินเดือนทั้งหมดคืนมา
ตลอดเวลา 1 ปีเต็ม ยอดเงินที่เข้าบัญชีทุกเดือนหลังหักหนี้สวัสดิการและส่วนที่มหาลัยหักไปอีก เหลืออยู่ 118 บาท
ผมมีเงินเดือนใช้ 118 บาทเป็นเวลา 1 ปี คงจะจินตนาการกันไม่ออกว่าใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างไร?
บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดทุกใบที่มีอยู่ มียอดการใช้เต็มทุกใบ หมุนเอาบัตรใบนั้นมาจ่ายบัตรใบนี้ วนๆ ไป ธนาคารโทรทวงหนี้จนกลัวที่จะรับโทรศัพท์ เวลาแม่มาหาทีก็จะไปซื้อเสบียงมาตุนไว้ให้ ซึ่งเป็นปกติทุกครั้งที่แม่หรือพ่อมาหา แต่ผมไม่เคยเอ่ยปากบอกว่าอยู่โดยไม่มีสตางค์สักบาท
รถยนต์ก็ไม่ขับ ไม่มีเงินเติมน้ำมัน ใช้มอเตอร์ไซค์เก่าๆ น้ำปลา น้ำซอสต่างๆ ที่แม่ซื้อไว้ให้ก็เอาไว้กินกับข้าวต้มที่หุงจากข้าวเหนียวเพื่อให้ได้ปริมาณเยอะๆ พอที่จะแบ่งกับลูกหมา 2 ตัว ที่พ่อส่งมาให้จากกรุงเทพ ลุงคนหนึ่งปลูกกระต๊อบอยู่หน้าบ้าน ทำแปลงผักเล็กๆ ก็จะแบ่งผักมาให้กินบ้างเป็นบางครั้ง ก็มีกินเพียงแค่นั้น
บุหรี่ก็เก็บจิ้งหรีดสูบมั่ง ซื้อยาเส้นมาสูบมั่ง ขี่มอเตอร์ไซค์เก่าไปสอนหนังสือ น้ำมันหมดกลางทาง ไปไม่ถึงห้องเรียนก็เคย หลังการบรรยายเสร็จหน้ามืดจะเป็นลมเพราะไม่ได้กินข้าวก็บ่อย นักศึกษาในปีนั้นเคยเห็นผมสะอึกออกมาเป็นเลือดบนโต๊ะในวิชาสัมนาก็เคยมี ไม่สบายมาก แต่หยุดสอนหนังสือไม่ได้
เรื่องที่เล่าให้ฟังคือประสบการณ์ของพนักงานของรัฐคนหนึ่ง ที่ไม่ได้มีสมบัติพัสถานติดตัวอะไรเลยมาโดยกำเนิด ผมเชื่อว่าข้าราชการและพนักงานของรัฐอีกหลายแสนคนในประเทศนี้คงไม่ได้มีความสุขสบายไปมากกว่าตัวผมเองนัก
โชคดีอยู่เรื่องหนึ่งคือ ตอนนั้นไม่มีใครจะมีความคิดจ่ายเงินเดือนเป็น 2 รอบ ไม่เช่นนั้นผมคงจะได้รับเงิน 59 บาท ทุก 2 อาทิตย์
https://www.facebook.com/thasnai.sethaseree.5/posts/6700348430058781
“หมิว สิริลภัส”ประเมินอภิปรายนโยบาย รบ.เศรษฐา ก้าวไกลตั้งคำถามได้ดีแต่ไม่ได้คำตอบ
https://www.matichon.co.th/clips/news_4179324
หมิว สิริลภัส กองตระการ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล มองว่า ส.ส.ก้าวไกลอภิปรายตั้งคำถามรัฐบาลได้ดี บางคำถามไม่มีคำตอบ ขณะที่คำแถลงนโยบายกว้างไป นโยบายที่หาเสียงหลายอย่างตกหล่นไป ลงพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชน ไม่มีการเคลมผลงาน ตั้งศูนย์ปฏิบัติงานให้ชาวบ้านติดต่อได้รวดเร็วขึ้น ชมคลิป
นักเศรษฐศาสตร์ KKP ชี้ ครม.อนุมัติมาตรการลดแลกแจกแถม กระทบวินัยการเงินการคลัง
https://www.prachachat.net/finance/news-1392942
“ดร.พิพัฒน์” หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ KKP โพสต์เฟซบุ๊ก ตั้งข้อสังเกตหลัง ครม. อนุมัติมาตรการลดแลกแจกแถม ชี้รัฐบาลเสพติดการขาดดุล ฟันธงกระทบวินัยการคลัง หวั่นส่งผลต่อต้นทุนการเงินภาคธุรกิจ
วันที่ 14 กันยายน 2566 ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) โพสซ์เฟซบุ๊ก “Pipat Luengnaruemitchai” ระบุว่า
“วินัยการคลัง” เมื่อรัฐบาลเสพติดการขาดดุล
การประชุม ครม. เมื่อวานนี้ นอกเหนือจากการอนุมัติมาตรการลดแลกแจกแถมทั้งหลาย ที่ต้องใช้เงินทั้งในงบประมาณ (ลดภาษีสรรพสามิต) และกลไกอื่น ๆ
รัฐบาลได้อนุมัติกรอบการคลังระยะปานกลาง (medium term fiscal framework) ที่ควรจะเป็นกรอบการดำเนินงานของรัฐบาล และบอกกับนักลงทุนว่ารัฐบาลมีแผนในการจัดการการเงินอย่างไรในอนาคต
มีข้อน่าสนใจสามเรื่อง
หนึ่ง มีการปรับเพิ่มการขาดดุลงบประมาณปีหน้าเพิ่มขึ้นจาก 5.93 แสนล้าน เป็น 6.93 แสนล้าน เพิ่มงบประมาณขึ้น 1.3 แสนล้าน และเพิ่มประมาณการรายได้ขึ้นอีกนิดหน่อย
“ผมสงสัย แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นการสร้างช่องว่างเพื่อใส่มาตรการแจกเงิน 5.6 แสนล้าน ซึ่งการขาดดุลก็เกือบเต็ม max ตามกรอบ พ.ร.บ. หนี้สาธารณะ หรือเปล่า ถ้าใช่ ก็มีข้อสงสัยอยู่ว่าเราจะหาเงินจากไหนมาชดเชยมาตรการที่เหลืออีก 4.3 แสนล้าน เข้าใจว่าจะให้ธนาคารของรัฐออกไปก่อนและตั้งงบประมาณชดเชยทีหลัง แต่ก็ถูกจำกัดด้วยกรอบมาตรา 28 ของ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ ที่อาจจะต้องยกขึ้น แต่อาจจะยกขึ้นได้ไม่มากนัก ที่เหลือจะให้ใครออกก่อน หรือต้องขายอะไรทิ้ง”
ประเด็นที่สอง คือมีการปรับกรอบการขาดดุลงบประมาณในอนาคตขึ้นทั้งแผง จากเดิมที่เราคาดกันว่า ว่าจะค่อย ๆปรับการขาดดุลงบประมาณลดลง และจะพยายามทำงบประมาณ “สมดุล” ในระยะยาว แผนดังกล่าวโดนใส่ลิ้นชักไปก่อน
“สงสัยว่านี่คือน่าจะเป็นการตั้งงบประมาณเพื่อชดเชยการแจกเงิน ที่เราคงต้องใช้หนี้ปีละ 0.6% ของ GDP ไปอีกสี่ห้าปีหรือเปล่า แต่เหมือนว่ารัฐบาลกำลังคาดว่าจะไม่ปรับลดงบประมาณอื่น ๆ ลง หรือหารายได้ใหม่เพื่อชดเชยเลยหรือเปล่า”
สามคือ รัฐบาลคาดว่าหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นไปแถว ๆ 65% ของ GDP จากเดิมประมาณ 61% และกดไม่ลงตามที่คาดก่อนหน้านี้ และไปใกล้เพดานระดับ 70% ของ GDP ที่เราเพิ่งจะยกขึ้นมาไม่นาน ซึ่งจะทำให้ buffer ทางการคลังเพื่อรองรับ shock ในอนาคตมีน้อยลง
“ถ้านี่คือผลจากการแจกเงิน วาทกรรมที่บอกว่า เราสามารถแจกเงินได้ โดยไม่กระทบวินัยการคลัง ไม่เป็นภาระงบประมาณนั้นเป็นไปไม่ได้เลย นอกจากนี้ยังข้างเคียงอีก เช่น ในระยะไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยระยะยาวของไทย ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนหนึ่งอาจจะปรับตามอัตราดอกเบี้ยนอกประเทศ แต่อีกส่วนอาจจะสะท้อนความเสี่ยงด้านการคลังและ supply ของพันธบัตรรัฐบาลที่สูงขึ้นด้วย ซึ่งหมายความว่าต้นทุนการเงินของรัฐบาล และเอกชนไทยก็ปรับตัวสูงขึ้น”
นอกจากนี้ การใช้เงินนอกงบประมาณ ให้แบงก์รัฐออกเงินไปก่อน ก็อาจจะทำให้ต้องมีการระดมสภาพคล่องจนกระทบต่อต้นทุนการเงินในตลาดเพิ่มขึ้นไปอีกหรือไม่
“จนน่าคิดนะครับ ว่ากระทบต่อความมั่นใจของนักลงทุน และบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อจะออกมาเขย่าปรับมุมมองต่อ rating ของไทยอีกหรือเปล่า”
นอกจากนี้ การคาดดุลการคลังที่สูงขึ้น และการอุดหนุนราคาน้ำมันและค่าไฟ อาจจะทำให้การดุลบัญชีเดินสะพัดที่เราคาดว่าจะจะดีขึ้น แย่ลงไปจนกระทบต่อค่าเงินได้เหมือนกัน เพราะส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของเรากับ ตปท สูงเหลือเกิน
“หรือนี่อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ นายกรัฐมนตรีไม่ควรนั่งควบ รมว.คลัง เพราะ รมว.คลัง ควรจะเป็นคนคุมกระเป๋าเงินของรัฐบาล และควรเป็นสติที่คานรัฐบาล ว่าการใช้เงินมีข้อจำกัด และวินัยของการใช้เงินควรเป็นอย่างไร” หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ KKP ระบุ
https://www.facebook.com/lpipat/posts/pfbid0fR76yuUJrARhPsX7YA28BrX2UaCcdNRgn5ZW9YHiNJgHeRqkk5rgM7GsfFKfrGFml