https://www.dhammahome.com/cd/topic/14/27
ตอนที่ ๒๗
สนทนาธรรมที่โรงพยาบาลปากเกร็ดเวชการ พ.ศ. ๒๕๓๖
ถ. ไม่เกรงกลัว กับ อหิริ นี่ไม่ละอาย
ส. ไม่ละอาย ถ้าของร้อน เราไม่กล้าจับเพราะกลัวร้อน แต่ของไม่สะอาด ของเปื้อนๆ เราก็ไม่อยากจะจับเหมือนกัน แต่ว่าความรู้สึกคนละอย่าง
ถ. ละเอียดมาก มองดูคล้ายๆ
ส. ต้องเกิดร่วมกัน ทั้งสองอย่างนี้เกิดร่วมกัน ขณะใดที่อกุศลจิตเกิด แม้เพียงนิดเดียว ขณะนั้นมีโมหะ มีอหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ
ถ. ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึง คำบัญญัติ ถ้าเป็นภาษาอังกฤษก็จะพูดอีกอย่างหนึ่ง อาจารย์กล่าวว่าไม่ว่าจะเป็น ชาติไหน ภาษาใดก็จะต้องมีสภาพธรรมปรมัตถ์เกิดเหมือนกันหมด
ส. ความสงสัยในลักษณะของสภาพธรรม
ถ. ทำไม บัญญัติ ถึงแตกต่างกัน จึงทำให้เราต้องไปเรียนภาษาโน้น ภาษานี้
ส. ความจำในสิ่งซึ่งเป็นลักษณะของเสียงที่ทำให้เรารู้ความหมาย เสียงมีเสียงสูงเสียงต่ำ มีการออกเสียงจากฐานของเสียง ซึ่งทำให้เกิดอักขระ เป็นตัวอักษรต่างๆ ทำให้มีความจำว่าอักษรนี้หมายความว่าอะไร คำนี้หมายความว่าอะไร
ถ. ความละเอียดของ อโหสิกรรม ฟังท่านอาจารย์มา จะมีด้วยกัน ๖ นัยยะ คือกรรมในอดีตให้ผลในอดีตก็มี กรรมในอดีตไม่ให้ผลในอดีตก็มี กรรมในอดีตให้ผลในปัจจุบันก็มี กรรมในอดีตไม่ให้ผลในปัจจุบันก็มี และกรรมในอดีตจักให้ผลในอนาคต หรือว่ากรรมในอดีตจักไม่ให้ผมในอนาคต
ส.
เมื่อกรรมทำแล้ว คืออโหสิกรรม กรรมที่ได้ทำแล้วมีกาลที่จะให้ผลต่างกัน ไม่ใช่ว่าทำเดี๋ยวนี้ ได้ผลเดี๋ยวนี้ กรรมที่ทำแล้วในชาติก่อนซึ่งทุกคนก็เคยเกิดมาแล้วในชาติก่อน ทั้งๆ ที่เราก็จำไม่ได้ว่าชาติก่อนเราทำกรรมอะไรไว้ ไม่อยากจะให้ไปคิดถึงชาติก่อน ซึ่งเราจำไม่ได้ แต่ชาตินี้ เรารู้ เกิดมาเป็นคนนี้ ทำอย่างนี้มาแล้วตั้งแต่เด็ก และกำลังทำอย่างนี้อยู่ แต่กรรมที่เราทำตั้งแต่เด็กก็ไม่ได้หมายความว่าจะให้ผลในชาตินี้ หรือว่ากรรมที่เรากำลังทำเดี๋ยวนี้ ก็ไม่ใช่ว่าจะให้ผลเดี๋ยวนี้ แสดงให้เห็นว่ากรรมใดก็ตามที่ได้กระทำแล้ว แม้ในชาติก่อนที่ยังไม่ได้ผลก็มี ที่ให้ผลแล้วก็มี หรือที่จะให้ผลในชาติต่อไปก็มี ชาติก่อนฉันใด ชาตินี้ก็ฉันนั้น แสดงให้เห็นถึงกรรม กาลที่จะให้ผลว่า เป็นไปตามกำลังของกรรม เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย
ถ. ขออนุญาตกล่าวถึงพระพุทธองค์ว่า ผู้ใดที่บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว หลังจากปรินิพพานแล้ว ก็จะไม่มีกรรมเกิดต่อ
ส. ตราบใดที่ยังมีกิเลส จึงมีกรรม แต่ถ้าดับกิเลสแล้ว การกระทำใดๆ ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากต่อไปข้างหน้า ขณะเห็นเป็นวิบาก ขณะได้ยินเป็นวิบาก เราต้องรู้ว่าคำว่า วิบาก คือผลของกรรมนี้คือขณะไหน กำลังเห็นเป็นผลของกรรม กำลังได้ยิน กำลังได้กลิ่น กำลังลิ้มรส กำลังรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เป็นผลของกรรมทั้งนั้น แต่หลังเห็นแล้ว สำหรับคนที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ก็เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง สำหรับพระอรหันต์จะไม่เป็นกุศลและอกุศลเพราะเหตุว่า ถ้าเป็นกุศลก็เป็นเหตุให้เกิดกุศลวิบาก ถ้าเป็นอกุศลก็เป็นเหตุให้เกิดอกุศลวิบาก เพราะฉะนั้นเมื่อดับกิเลสแล้วก็ไม่มีกุศลจิต อกุศลจิต ไม่มีกรรมอีกต่อไป
ถ ถ้าพูดถึงคำที่ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ถ้าเป็นความนึกคิดที่ตื้นๆ ก็จะแสดงความคิดเห็นว่าอย่างนี้จะถูกน้อยแค่ไหน ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา คือก่อนที่จะศึกษาธรรม ก็บอกตรงๆ เลยว่าไม่เชื่อไม่แน่ใจว่ามีพระพุทธเจ้าจริงหรือเปล่า แต่หลังจากที่ได้ศึกษาธรรม ฟังธรรมของพระพุทธองค์ แล้วก็ปฏิบัติตามที่ท่านอาจารย์สอน ก็เกิดผลขึ้นมากับตัวเราเองที่เรารู้ ทำให้เชื่อไปว่าพระพุทธองค์มีจริง ไม่ทราบว่าจะถูกหรือผิดอย่างไร
ส. ต้องเริ่มเข้าใจความหมายของคำว่า พุทธะ ซึ่งก่อนศึกษาอาจจะคิดว่าพระพุทธเจ้า เป็นคนที่มีรูปร่างหน้าตาอย่างพระพุทธรูป อาจจะคิดเพียงเท่านั้นแล้วพระองค์ก็สอนเรื่องให้เราทำดี ให้เราละชั่ว เราจะได้ยินคำว่า นิพพาน แล้วก็ยังไม่รู้ว่านิพพานคืออะไร
เพราะฉะนั้นจะบอกว่าเรารู้จักพระพุทธเจ้าไม่ได้ จนกว่าจะเมื่อเราศึกษาพระธรรม เราจะถึงเข้าใจว่า แม้คำว่าพุทธะ คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน คือผู้ที่ตรัสรู้ความจริง
แล้วความจริงนั้นไม่ใช่ขณะไหน เดี๋ยวนี้ ที่กำลังมีนี้เป็นของจริง แล้วคนที่สามารถจะสอนให้เราเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงๆ และให้เราเกิดปัญญาขึ้น แล้วความจริงเป็นความจริงที่พิสูจน์ได้ทุกกาล ทุกสมัย ทุกขณะ เราก็รู้ว่าผู้นั้นต้องเป็นผู้ที่ไม่ใช่เพียงความรู้ขั้นโลกๆ หรือขั้นครูบาอาจารย์ หรือเพียงศาสดา นักปราชญ์ นักจิตวิทยา แต่ต้องเป็นผู้ที่ตรัสรู้จริงๆ จึงจะแสดงได้ว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน มีใครบ้างที่จะบอกเราอย่างนี้ก่อนที่เราจะศึกษา เราเกิดมาแล้วกี่ชาติ ชาติไหนที่เราจะได้ยินคำว่า อนัตตา ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวตน ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา และทรงแจกแจงแยกละเอียดว่า ธรรมที่ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นอนัตตานั้น เป็นนามธรรม เป็นรูปธรรม ค่อยให้เราเกิดปัญญาที่จะรู้จักความเป็นพุทธะของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งถ้าไม่ศึกษา ไม่มีทางที่จะรู้เลยจริงๆ เพราะฉะนั้นเราก็จะเริ่มเห็นพระพุทธเจ้า อาจจะนิดๆ หน่อยๆ จนกว่าจะได้รู้แจ้ง อริยสัจจธรรมเมื่อไหร่ เมื่อนั้นก็มีความมั่นใจตามลำดับขั้น
ถ. กราบเรียนถามอาจารย์เรื่องสติปัฏฐาน ฟังเทปอาจารย์แล้วอ่านในตำรา มีเข้าใจผิดนิดหน่อย ตามความเข้าใจ ก็คิดว่าสติปัฎฐานเป็นที่ตั้งของสติ เพื่อที่จะทำให้สติระลึกถึงสภาพของความเป็นจริงขณะที่ปรากฏ ให้เข้าใจถึงสภาพความเป็นจริงของสิ่งที่ปรากฏขณะนั้นใช่ไหม
ส.
สติปัฎฐานมีความหมาย ๓ อย่าง ๑. หมายความถึ งสิ่งที่สติระลึก เพราะสติเป็นสภาพที่ระลึกในทางที่เป็นกุศล ๒. หมายความถึง สติเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพที่ระลึก ๓. หมายความถึง สติปัฎฐาน เป็นหนทางที่พระอริยเจ้าทั้งหลายดำเนิน ท่านไม่ไปทางอื่น ท่านไปกันทางนี้ เราอาจจะไปหลายทาง ไปดูหนัง ไปดูละคร ไปทำธุระ แต่พระอริยะทั้งหลาย ท่านดำเนินหนทางนี้
ความละเอียดของอโหสิกรรม กรรมที่ได้ทำแล้วมีกาลที่จะให้ผลต่างกัน
https://www.dhammahome.com/cd/topic/14/27
ตอนที่ ๒๗
สนทนาธรรมที่โรงพยาบาลปากเกร็ดเวชการ พ.ศ. ๒๕๓๖
ถ. ไม่เกรงกลัว กับ อหิริ นี่ไม่ละอาย
ส. ไม่ละอาย ถ้าของร้อน เราไม่กล้าจับเพราะกลัวร้อน แต่ของไม่สะอาด ของเปื้อนๆ เราก็ไม่อยากจะจับเหมือนกัน แต่ว่าความรู้สึกคนละอย่าง
ถ. ละเอียดมาก มองดูคล้ายๆ
ส. ต้องเกิดร่วมกัน ทั้งสองอย่างนี้เกิดร่วมกัน ขณะใดที่อกุศลจิตเกิด แม้เพียงนิดเดียว ขณะนั้นมีโมหะ มีอหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ
ถ. ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึง คำบัญญัติ ถ้าเป็นภาษาอังกฤษก็จะพูดอีกอย่างหนึ่ง อาจารย์กล่าวว่าไม่ว่าจะเป็น ชาติไหน ภาษาใดก็จะต้องมีสภาพธรรมปรมัตถ์เกิดเหมือนกันหมด
ส. ความสงสัยในลักษณะของสภาพธรรม
ถ. ทำไม บัญญัติ ถึงแตกต่างกัน จึงทำให้เราต้องไปเรียนภาษาโน้น ภาษานี้
ส. ความจำในสิ่งซึ่งเป็นลักษณะของเสียงที่ทำให้เรารู้ความหมาย เสียงมีเสียงสูงเสียงต่ำ มีการออกเสียงจากฐานของเสียง ซึ่งทำให้เกิดอักขระ เป็นตัวอักษรต่างๆ ทำให้มีความจำว่าอักษรนี้หมายความว่าอะไร คำนี้หมายความว่าอะไร
ถ. ความละเอียดของ อโหสิกรรม ฟังท่านอาจารย์มา จะมีด้วยกัน ๖ นัยยะ คือกรรมในอดีตให้ผลในอดีตก็มี กรรมในอดีตไม่ให้ผลในอดีตก็มี กรรมในอดีตให้ผลในปัจจุบันก็มี กรรมในอดีตไม่ให้ผลในปัจจุบันก็มี และกรรมในอดีตจักให้ผลในอนาคต หรือว่ากรรมในอดีตจักไม่ให้ผมในอนาคต
ส. เมื่อกรรมทำแล้ว คืออโหสิกรรม กรรมที่ได้ทำแล้วมีกาลที่จะให้ผลต่างกัน ไม่ใช่ว่าทำเดี๋ยวนี้ ได้ผลเดี๋ยวนี้ กรรมที่ทำแล้วในชาติก่อนซึ่งทุกคนก็เคยเกิดมาแล้วในชาติก่อน ทั้งๆ ที่เราก็จำไม่ได้ว่าชาติก่อนเราทำกรรมอะไรไว้ ไม่อยากจะให้ไปคิดถึงชาติก่อน ซึ่งเราจำไม่ได้ แต่ชาตินี้ เรารู้ เกิดมาเป็นคนนี้ ทำอย่างนี้มาแล้วตั้งแต่เด็ก และกำลังทำอย่างนี้อยู่ แต่กรรมที่เราทำตั้งแต่เด็กก็ไม่ได้หมายความว่าจะให้ผลในชาตินี้ หรือว่ากรรมที่เรากำลังทำเดี๋ยวนี้ ก็ไม่ใช่ว่าจะให้ผลเดี๋ยวนี้ แสดงให้เห็นว่ากรรมใดก็ตามที่ได้กระทำแล้ว แม้ในชาติก่อนที่ยังไม่ได้ผลก็มี ที่ให้ผลแล้วก็มี หรือที่จะให้ผลในชาติต่อไปก็มี ชาติก่อนฉันใด ชาตินี้ก็ฉันนั้น แสดงให้เห็นถึงกรรม กาลที่จะให้ผลว่า เป็นไปตามกำลังของกรรม เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย
ถ. ขออนุญาตกล่าวถึงพระพุทธองค์ว่า ผู้ใดที่บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว หลังจากปรินิพพานแล้ว ก็จะไม่มีกรรมเกิดต่อ
ส. ตราบใดที่ยังมีกิเลส จึงมีกรรม แต่ถ้าดับกิเลสแล้ว การกระทำใดๆ ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากต่อไปข้างหน้า ขณะเห็นเป็นวิบาก ขณะได้ยินเป็นวิบาก เราต้องรู้ว่าคำว่า วิบาก คือผลของกรรมนี้คือขณะไหน กำลังเห็นเป็นผลของกรรม กำลังได้ยิน กำลังได้กลิ่น กำลังลิ้มรส กำลังรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เป็นผลของกรรมทั้งนั้น แต่หลังเห็นแล้ว สำหรับคนที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ก็เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง สำหรับพระอรหันต์จะไม่เป็นกุศลและอกุศลเพราะเหตุว่า ถ้าเป็นกุศลก็เป็นเหตุให้เกิดกุศลวิบาก ถ้าเป็นอกุศลก็เป็นเหตุให้เกิดอกุศลวิบาก เพราะฉะนั้นเมื่อดับกิเลสแล้วก็ไม่มีกุศลจิต อกุศลจิต ไม่มีกรรมอีกต่อไป
ถ ถ้าพูดถึงคำที่ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ถ้าเป็นความนึกคิดที่ตื้นๆ ก็จะแสดงความคิดเห็นว่าอย่างนี้จะถูกน้อยแค่ไหน ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา คือก่อนที่จะศึกษาธรรม ก็บอกตรงๆ เลยว่าไม่เชื่อไม่แน่ใจว่ามีพระพุทธเจ้าจริงหรือเปล่า แต่หลังจากที่ได้ศึกษาธรรม ฟังธรรมของพระพุทธองค์ แล้วก็ปฏิบัติตามที่ท่านอาจารย์สอน ก็เกิดผลขึ้นมากับตัวเราเองที่เรารู้ ทำให้เชื่อไปว่าพระพุทธองค์มีจริง ไม่ทราบว่าจะถูกหรือผิดอย่างไร
ส. ต้องเริ่มเข้าใจความหมายของคำว่า พุทธะ ซึ่งก่อนศึกษาอาจจะคิดว่าพระพุทธเจ้า เป็นคนที่มีรูปร่างหน้าตาอย่างพระพุทธรูป อาจจะคิดเพียงเท่านั้นแล้วพระองค์ก็สอนเรื่องให้เราทำดี ให้เราละชั่ว เราจะได้ยินคำว่า นิพพาน แล้วก็ยังไม่รู้ว่านิพพานคืออะไร เพราะฉะนั้นจะบอกว่าเรารู้จักพระพุทธเจ้าไม่ได้ จนกว่าจะเมื่อเราศึกษาพระธรรม เราจะถึงเข้าใจว่า แม้คำว่าพุทธะ คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน คือผู้ที่ตรัสรู้ความจริง แล้วความจริงนั้นไม่ใช่ขณะไหน เดี๋ยวนี้ ที่กำลังมีนี้เป็นของจริง แล้วคนที่สามารถจะสอนให้เราเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงๆ และให้เราเกิดปัญญาขึ้น แล้วความจริงเป็นความจริงที่พิสูจน์ได้ทุกกาล ทุกสมัย ทุกขณะ เราก็รู้ว่าผู้นั้นต้องเป็นผู้ที่ไม่ใช่เพียงความรู้ขั้นโลกๆ หรือขั้นครูบาอาจารย์ หรือเพียงศาสดา นักปราชญ์ นักจิตวิทยา แต่ต้องเป็นผู้ที่ตรัสรู้จริงๆ จึงจะแสดงได้ว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน มีใครบ้างที่จะบอกเราอย่างนี้ก่อนที่เราจะศึกษา เราเกิดมาแล้วกี่ชาติ ชาติไหนที่เราจะได้ยินคำว่า อนัตตา ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวตน ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา และทรงแจกแจงแยกละเอียดว่า ธรรมที่ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นอนัตตานั้น เป็นนามธรรม เป็นรูปธรรม ค่อยให้เราเกิดปัญญาที่จะรู้จักความเป็นพุทธะของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งถ้าไม่ศึกษา ไม่มีทางที่จะรู้เลยจริงๆ เพราะฉะนั้นเราก็จะเริ่มเห็นพระพุทธเจ้า อาจจะนิดๆ หน่อยๆ จนกว่าจะได้รู้แจ้ง อริยสัจจธรรมเมื่อไหร่ เมื่อนั้นก็มีความมั่นใจตามลำดับขั้น
ถ. กราบเรียนถามอาจารย์เรื่องสติปัฏฐาน ฟังเทปอาจารย์แล้วอ่านในตำรา มีเข้าใจผิดนิดหน่อย ตามความเข้าใจ ก็คิดว่าสติปัฎฐานเป็นที่ตั้งของสติ เพื่อที่จะทำให้สติระลึกถึงสภาพของความเป็นจริงขณะที่ปรากฏ ให้เข้าใจถึงสภาพความเป็นจริงของสิ่งที่ปรากฏขณะนั้นใช่ไหม
ส. สติปัฎฐานมีความหมาย ๓ อย่าง ๑. หมายความถึ งสิ่งที่สติระลึก เพราะสติเป็นสภาพที่ระลึกในทางที่เป็นกุศล ๒. หมายความถึง สติเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพที่ระลึก ๓. หมายความถึง สติปัฎฐาน เป็นหนทางที่พระอริยเจ้าทั้งหลายดำเนิน ท่านไม่ไปทางอื่น ท่านไปกันทางนี้ เราอาจจะไปหลายทาง ไปดูหนัง ไปดูละคร ไปทำธุระ แต่พระอริยะทั้งหลาย ท่านดำเนินหนทางนี้