นายก ส.ทนายความ ชี้ ก้าวไกลต้องชัดเจน สละประเด็นแก้ ม.112 เพื่อชาติ
https://www.matichon.co.th/local/news_4101206
นายกสมาคมทนายความ ชี้ก้าวไกลต้องชัดเจนสละประเด็นแก้ 112 เพื่อประโยชน์ชาติ แล้ว ปชช.จะอยู่ข้างกดดัน ส.ว.จนได้ร่วมรัฐบาล
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม นาย
นรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ความว่า ต้นเหตุแห่งความวุ่นวายทางการเมืองจนเกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนรอบใหม่ เกิดจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ที่ฝ่ายเผด็จการใช้เป็นเครื่องมือในการสืบทอดอำนาจ ผู้ที่สมควรถูกประณามคือหัวหน้า คสช.กับพวกและคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่ยอมรับใช้เผด็จการจนปฏิเสธความถูกต้องทำให้คนในชาติเกิดความขัดแย้ง
สาเหตุสำคัญที่สมาชิกรัฐสภาใช้เป็นข้ออ้าง ในการปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบ นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากนาย
พิธาและพรรคก้าวไกลมีนโยบายที่จะแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งตามร่างที่พรรคก้าวไกลเคยเสนอต่อสภามีลักษณะไม่เป็นการปกป้อง หรือพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์อันอาจนำมาซึ่งความไม่มั่นคงของรัฐและกระทบถึงความสงบเรียบร้อยของประชาชน
แม้พรรคก้าวไกลและฝ่ายสนับสนุนจะเห็นว่าประเด็นการแก้ไขมาตรา 112 เป็นเพียงข้ออ้าง แท้จริงแล้วฝ่ายที่ต้องการสืบทอดอำนาจไม่ต้องการให้พรรคก้าวไกลเป็นรัฐบาล แต่หากพิจารณาจากจำนวน ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้ง จะเห็นว่ามีเพียงพรรคก้าวไกลที่มี ส.ส. 151 คน หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 30 ที่ต้องการแก้ไข ในขณะที่ ส.ส.ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 70 ไม่ต้องการแก้ไขมาตรา 112 ซึ่งสมาคมทนายความฯ เห็นว่า การแก้ไขประเด็นดังกล่าวจะนำมาซึ่งความขัดแย้งในสังคมไทย พรรคก้าวไกลจึงควรเคารพเจตจำนงของประชาชนที่แสดงผ่าน ส.ส. ส่วนใหญ่ด้วยการเสียสละประเด็นการ
สมาคมทนายความฯ เห็นว่า หากพรรคก้าวไกลแถลงถึงความชัดเจนในการสละประเด็นการแก้ไขกฎหมายที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งของคนในชาติแล้ว ส.ว.ย่อมไม่มีเหตุอันชอบธรรมที่จะปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบกับผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจากพรรคการเมืองที่รวบรวมเสียงข้างมากเป็นนายกรัฐมนตรี หาก ส.ว.ปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบอันเป็นการฝืนมติของประชาชนที่แสดงออกผ่านการเลือกตั้งแล้ว ประชาชนจะอยู่ข้างพรรคก้าวไกลกับพวก และจะกดดัน ส.ว.ให้ลงมติให้กับผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี แม้จะมีพรรคก้าวไกลร่วมรัฐบาลก็ตาม แต่พรรคก้าวไกลจะต้องเสียสละประโยชน์ของพรรคเพื่อรักษาประโยชน์ที่เหนือกว่าคือ “
ประโยชน์ของประเทศชาติ”
วิโรจน์ อัดพวกขู่ประชาชน อ้างปากท้อง ให้ยอมรับการพลิกขั้ว เป็นร่างทรงให้ 3 ป.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4101085
วิโรจน์ อัดพวกขู่ประชาชน อ้างปากท้อง ให้ยอมรับการพลิกขั้วรบ. เป็นร่างทรงให้ 3ป. มาสิงสู่ ถามตรงๆ รอ 10 เดือน หรือสิ้นหวังอีก 4 ปี
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม นาย
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่าน ทางเฟซบุ๊ก
Wiroj Lakkhanaadisorn – วิโรจน์ ลักขณาอดิศร เรื่อง
[ อย่าหลอกลวงประชาชนว่ารัฐบาลรักษาการทำงานไม่ได้ เพื่อหวังสลับขั้วตั้งรัฐบาล 3ป ] โดยมีเนื้อหาทั้งหมดดังนี้
ตอนนี้มีบางคนชอบออกมาพูดหลอกประชาชนว่า รัฐบาลรักษาการทำงานไม่ได้ เราเสียเวลารอการจัดตั้งรัฐบาลแห่งความหวัง 8 พรรคร่วมไม่ได้ เพื่อขู่ให้ประชาชนกลัว และยอมรับชะตากรรม ยอมให้เกิดการสลับขั้วจัดตั้งรัฐบาล 3ป ให้มาผูกขาดกินรวบประเทศต่อไป
ผมถามตรงๆ เลยครับว่า ระหว่างได้รัฐบาล 3ป แล้วต้องสิ้นหวังต่อไปอีก 4ปี กับรอเต็มที่ไม่เกิน 10 เดือน แล้วจะได้รัฐบาลแห่งความหวังของประชาชน มีใครยอมสิ้นหวังไปอีก 4 ปีด้วยหรือครับ
ระหว่างที่รอ บ้านเมืองก็ไม่ได้อยู่ในสภาวะสุญญากาศนะครับ สภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมาธิการ และรัฐบาลรักษาการ ก็ยังทำงานได้
รัฐบาลที่ผ่านมา บริหารบ้านเมืองได้ตกต่ำถึงขีดสุดแล้วครับ ไม่มีอะไรที่จะเลวร้ายไปกว่านี้อีกแล้วครับ การเป็นรัฐบาลรักษาการ โดยถูกจำกัดอำนาจบางส่วน ก็เป็นเรื่องที่สมควรอยู่แล้ว เพราะจะได้ไม่ไปก่อความเสียหายอะไร ให้กับบ้านเมืองไปมากกว่านี้
ตามมาตรา 169 ของรัฐธรรมนูญ รัฐบาลรักษาการ ทำงานได้ครอบคลุมพอสมคววรนะครับ ไม่ใช่ว่าทำงานไม่ได้เลย มีข้อห้ามหลักๆ ก็แค่ 3 เรื่อง เท่านั้น คือ
1. ห้ามอนุมัติโครงการ ที่ก่อภาระผูกพันคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ยกเว้นกรณีที่กำหนดไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจำปีอยู่แล้ว แสดงว่าโครงการที่อนุมัติไปแล้ว ก็ยังเดินหน้าต่อได้ เพียงแต่โครงการใหม่ๆ ห้ามเซ็นก็เท่านั้นเอง ซึ่งก็สมควรอยู่แล้ว เพราะจะได้ป้องกันไม่ให้เงินภาษีของประชาชนถูกผลาญไปมากกว่านี้
2) ห้ามการแต่งตั้งโยกย้ายหรือถอดถอนบุคลากรของรัฐ ซึ่งก็ดีอยู่แล้ว ไม่อย่างนั้น ระบบตั๋ว และการซื้อขายตำแหน่ง ที่เป็นบ่อเกิดของการทุจริตคอร์รัปชั่น ก็จะรุนแรงขึ้น แถมยังจะทำให้เครือข่ายอุปถัมภ์ที่กินรวบสัมปทาน ขยายเครือข่ายของตนอีกด้วย แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องแต่งตั้งโยกย้ายจริงๆ ก็ทำได้ครับ เพียงแต่ต้องขอความเห็นชอบจาก กกต. ก่อน ก็เท่านั้นเอง
3) ห้ามอนุมัติการใช้จ่ายงบกลางเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ก็ดีอยู่แล้ว จะได้เลิกเอางบกลางไปผลาญตามอำเภอใจของนายกฯ คนนี้ซะที แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้จริงๆ เช่น กรณีภัยพิบัติ ก็ใช้ได้ครับ เพียงแต่ต้องขอความเห็นชอบจาก กกต. ก่อน ก็เท่านั้นเอง
รัฐบาลรักษาการพอที่จะทำงานได้ครับ ไม่ได้ถึงกับสิ้นสภาพ อย่างที่เอามาขู่ให้กลัวเลย
แล้วก็ไม่ต้องมาอ้างเรื่องการลงทุนจากต่างประเทศเลยครับ นักลงทุนจากต่างประเทศ เวลาที่จะมาลงทุน เขาต้องพิจารณาในระยะยาวเป็นหลักสิบปี ไม่ใช่ว่าต้องเร่งให้มีรัฐบาลกเฬวรากอะไรก็ได้
นักลงทุนจากต่างประเทศ เขาคำนึงถึงเสถียรภาพของรัฐบาลเป็นสำคัญ ซึ่งคำว่า “เสถียรภาพ” ในโลกยุคปัจจุบัน ไม่ได้ดูแค่จำนวนส.ส. เท่านั้น แต่รัฐบาลจะต้องมีความชอบธรรม ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ประชาชนพร้อมเป็นผนังทองแดงกำแพงเหล็กให้ อย่างนี้ถึงเรียกว่าเป็นรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ ไม่ใช่เริ่มต้นมาก็ทรยศหักหลัง เป็นปรปักษ์กับประชาชนเสียแล้ว
นอกจากนี้ ปัญหาการคอร์รัปชั่น ก็เป็นอีกประเด็นที่นักลงทุนต่างชาติพิจารณา ถ้าบ้านเมืองเต็มไปด้วยส่วย และการเรียกรับผลประโยชน์ จะประกอบกิจการอะไร ก็ต้องจ่ายใต้โต๊ะตั้งแต่หัวโต๊ะยันท้ายโต๊ะ อย่างที่เป็นอยู่ นักลงทุนต่างประเทศเขาไม่มาลงทุนหรอกครับ
ดังนั้น รัฐบาลที่ยอมพลิกขั้วยอมเป็นร่างทรง ให้ 3 ป มาสิงสู่สืบทอดอำนาจ มีแต่จะถูกประชาชนสาปแช่ง บั่นทอนการลงทุนจากต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม การที่ ส.ส. จากพรรคอื่น ที่ไม่อยู่ใน 8 พรรคร่วม จะบ่นว่า การตั้งรัฐบาลจะเสียเวลารอนานไม่ได้ ผมก็เห็นด้วยว่าควรบ่นครับ ผมก็บ่นเหมือนกัน ไม่มีใครอยากตั้งรัฐบาลช้าหรอกครับ บ่นน่ะได้ แต่ต้องบ่นให้ถูกคน เรามาช่วยกันบ่นไปที่ สว. กลุ่มที่ขัดขวางการจัดตั้งรัฐบาลดีกว่าครับ ถ้าผนึกกำลังช่วยกันบ่น และบ่นให้ถูกคน สักพักรัฐบาลก็จะตั้งได้เองครับ
https://www.facebook.com/wirojlak/posts/pfbid02K72bM8T3AEpfeQ3qpNLJJNrYD7pwvZz7BsSJarsUFbbv1JU3v7UMYJDC96vvPNKDl
ซีอีโอส.อ.ท.ผวา! ตั้งรัฐบาลช้า นักลงทุนชะลอ – ไร้นโยบายอุ้มพลังงานแพง
https://www.matichon.co.th/economy/news_4101248
โพลซีอีโอส.อ.ท.ผวา! ตั้งรัฐบาลช้า นักลงทุนชะลอ ไร้นโยบายรับมือพลังงานแพง ฉุดเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง
นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 31 ในเดือนกรกฎาคม 2566 ภายใต้หัวข้อ “ประเด็นกังวลที่กระทบต่อภาคอุตสาหกรรมในครึ่งปีหลัง 2566” จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 258 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรม ว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ มองความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลและความขัดแย้งทางการเมืองหลังการเลือกตั้ง เป็นประเด็นสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลัง 2566
รวมทั้งส่งผลกระทบทำให้ภาคเอกชนชะลอการลงทุน กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงหากการชุมนุมประท้วงของประชาชนทวีความรุนแรงมากขึ้น จะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่ตอนนี้ต้องอาศัยภาคการท่องเที่ยวเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ด้านปัจจัยภายนอกประเทศ ส.อ.ท. ยังคงกังวลกับปัญหาเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยนโยบายในหลายประเทศที่อยู่ในระดับสูง ตลอดจนผลกระทบจากสงครามรัสเซีย–ยูเครน ที่จะส่งผลทำให้ราคาพลังงานและวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นอีก โดยเฉพาะช่วงที่จะเข้าสู่ฤดูหนาวในยุโรปที่จะทำให้ความต้องการพลังงานเพิ่มสูงขึ้น
นาย
มนตรี กล่าวว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังเทียบกับครึ่งปีแรก 2566 ยังคงทรงตัวจากต้นปีจากปัจจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ยังคงกดดันเศรษฐกิจไทย ดังนั้น ผู้บริหาร ส.อ.ท. คาดหวังว่ารัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศ จะให้ความสำคัญกับการสร้างกลไกให้ภาคเอกชนมีส่วนในการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบในทุกระดับ โดยเฉพาะวิธีการปฏิรูปกฎหมายเพื่อเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ
รวมทั้งเร่งแก้ไขปัญหาหนี้สินของเอสเอ็มอี และหนี้ครัวเรือนที่มีความเสี่ยงจะเป็นหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) เพื่อทำให้เกิดการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ลดภาระผู้ประกอบการรายเล็ก และช่วยเสริมสร้างสภาพคล่องด้านการเงินในระบบเศรษฐกิจไทย
ผลการสำรวจจาก 5 คำถาม ดังนี้
1.
ภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลต่อประเด็นที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในครึ่งปีหลังเรื่องใด อันดับที่ 1 คือ ปัญหาเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยนโยบายในหลายประเทศที่อยู่ระดับสูงส่งผลทำให้ความต้องการสินค้าลดลง78.3%
2.
ภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลต่อปัจจัยภายในประเทศที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังเรื่องใด อันดับที่ 1 คือ ความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาล และความขัดแย้งทางการเมืองหลังการเลือกตั้ง 81.0%
3.
ภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง และการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่อาจล่าช้าในเรื่องใด อันดับที่ 1 คือ การชุมนุมประท้วงของประชาชน และความเสี่ยงที่จะเกิดการใช้ความรุนแรง 69.8%
4.
สิ่งที่รัฐบาลใหม่ต้องรีบดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม อันดับที่ 1 คือ สร้างกลไกให้ภาคเอกชนมีส่วนในการปรับปรุงกฎหมายกฎระเบียบในทุกระดับ 68.6%
5.
ภาคอุตสาหกรรมประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง เทียบกับครึ่งปีแรก 2566 ไว้อย่างไร อันดับที่ 1 คือ ทรงตัว 52.0%
JJNY : ชี้ก้าวไกลต้องชัดเจน สละประเด็น│วิโรจน์อัดพวกขู่ปชช.อ้างปากท้อง│ซีอีโอส.อ.ท.ผวา! ตั้งรบ.ช้า│รัฐประหารไนเจอร์!
https://www.matichon.co.th/local/news_4101206
นายกสมาคมทนายความ ชี้ก้าวไกลต้องชัดเจนสละประเด็นแก้ 112 เพื่อประโยชน์ชาติ แล้ว ปชช.จะอยู่ข้างกดดัน ส.ว.จนได้ร่วมรัฐบาล
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ความว่า ต้นเหตุแห่งความวุ่นวายทางการเมืองจนเกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนรอบใหม่ เกิดจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ที่ฝ่ายเผด็จการใช้เป็นเครื่องมือในการสืบทอดอำนาจ ผู้ที่สมควรถูกประณามคือหัวหน้า คสช.กับพวกและคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่ยอมรับใช้เผด็จการจนปฏิเสธความถูกต้องทำให้คนในชาติเกิดความขัดแย้ง
สาเหตุสำคัญที่สมาชิกรัฐสภาใช้เป็นข้ออ้าง ในการปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากนายพิธาและพรรคก้าวไกลมีนโยบายที่จะแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งตามร่างที่พรรคก้าวไกลเคยเสนอต่อสภามีลักษณะไม่เป็นการปกป้อง หรือพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์อันอาจนำมาซึ่งความไม่มั่นคงของรัฐและกระทบถึงความสงบเรียบร้อยของประชาชน
แม้พรรคก้าวไกลและฝ่ายสนับสนุนจะเห็นว่าประเด็นการแก้ไขมาตรา 112 เป็นเพียงข้ออ้าง แท้จริงแล้วฝ่ายที่ต้องการสืบทอดอำนาจไม่ต้องการให้พรรคก้าวไกลเป็นรัฐบาล แต่หากพิจารณาจากจำนวน ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้ง จะเห็นว่ามีเพียงพรรคก้าวไกลที่มี ส.ส. 151 คน หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 30 ที่ต้องการแก้ไข ในขณะที่ ส.ส.ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 70 ไม่ต้องการแก้ไขมาตรา 112 ซึ่งสมาคมทนายความฯ เห็นว่า การแก้ไขประเด็นดังกล่าวจะนำมาซึ่งความขัดแย้งในสังคมไทย พรรคก้าวไกลจึงควรเคารพเจตจำนงของประชาชนที่แสดงผ่าน ส.ส. ส่วนใหญ่ด้วยการเสียสละประเด็นการ
สมาคมทนายความฯ เห็นว่า หากพรรคก้าวไกลแถลงถึงความชัดเจนในการสละประเด็นการแก้ไขกฎหมายที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งของคนในชาติแล้ว ส.ว.ย่อมไม่มีเหตุอันชอบธรรมที่จะปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบกับผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจากพรรคการเมืองที่รวบรวมเสียงข้างมากเป็นนายกรัฐมนตรี หาก ส.ว.ปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบอันเป็นการฝืนมติของประชาชนที่แสดงออกผ่านการเลือกตั้งแล้ว ประชาชนจะอยู่ข้างพรรคก้าวไกลกับพวก และจะกดดัน ส.ว.ให้ลงมติให้กับผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี แม้จะมีพรรคก้าวไกลร่วมรัฐบาลก็ตาม แต่พรรคก้าวไกลจะต้องเสียสละประโยชน์ของพรรคเพื่อรักษาประโยชน์ที่เหนือกว่าคือ “ประโยชน์ของประเทศชาติ”
วิโรจน์ อัดพวกขู่ประชาชน อ้างปากท้อง ให้ยอมรับการพลิกขั้ว เป็นร่างทรงให้ 3 ป.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4101085
วิโรจน์ อัดพวกขู่ประชาชน อ้างปากท้อง ให้ยอมรับการพลิกขั้วรบ. เป็นร่างทรงให้ 3ป. มาสิงสู่ ถามตรงๆ รอ 10 เดือน หรือสิ้นหวังอีก 4 ปี
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่าน ทางเฟซบุ๊ก Wiroj Lakkhanaadisorn – วิโรจน์ ลักขณาอดิศร เรื่อง [ อย่าหลอกลวงประชาชนว่ารัฐบาลรักษาการทำงานไม่ได้ เพื่อหวังสลับขั้วตั้งรัฐบาล 3ป ] โดยมีเนื้อหาทั้งหมดดังนี้
ตอนนี้มีบางคนชอบออกมาพูดหลอกประชาชนว่า รัฐบาลรักษาการทำงานไม่ได้ เราเสียเวลารอการจัดตั้งรัฐบาลแห่งความหวัง 8 พรรคร่วมไม่ได้ เพื่อขู่ให้ประชาชนกลัว และยอมรับชะตากรรม ยอมให้เกิดการสลับขั้วจัดตั้งรัฐบาล 3ป ให้มาผูกขาดกินรวบประเทศต่อไป
ผมถามตรงๆ เลยครับว่า ระหว่างได้รัฐบาล 3ป แล้วต้องสิ้นหวังต่อไปอีก 4ปี กับรอเต็มที่ไม่เกิน 10 เดือน แล้วจะได้รัฐบาลแห่งความหวังของประชาชน มีใครยอมสิ้นหวังไปอีก 4 ปีด้วยหรือครับ
ระหว่างที่รอ บ้านเมืองก็ไม่ได้อยู่ในสภาวะสุญญากาศนะครับ สภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมาธิการ และรัฐบาลรักษาการ ก็ยังทำงานได้
รัฐบาลที่ผ่านมา บริหารบ้านเมืองได้ตกต่ำถึงขีดสุดแล้วครับ ไม่มีอะไรที่จะเลวร้ายไปกว่านี้อีกแล้วครับ การเป็นรัฐบาลรักษาการ โดยถูกจำกัดอำนาจบางส่วน ก็เป็นเรื่องที่สมควรอยู่แล้ว เพราะจะได้ไม่ไปก่อความเสียหายอะไร ให้กับบ้านเมืองไปมากกว่านี้
ตามมาตรา 169 ของรัฐธรรมนูญ รัฐบาลรักษาการ ทำงานได้ครอบคลุมพอสมคววรนะครับ ไม่ใช่ว่าทำงานไม่ได้เลย มีข้อห้ามหลักๆ ก็แค่ 3 เรื่อง เท่านั้น คือ
1. ห้ามอนุมัติโครงการ ที่ก่อภาระผูกพันคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ยกเว้นกรณีที่กำหนดไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจำปีอยู่แล้ว แสดงว่าโครงการที่อนุมัติไปแล้ว ก็ยังเดินหน้าต่อได้ เพียงแต่โครงการใหม่ๆ ห้ามเซ็นก็เท่านั้นเอง ซึ่งก็สมควรอยู่แล้ว เพราะจะได้ป้องกันไม่ให้เงินภาษีของประชาชนถูกผลาญไปมากกว่านี้
2) ห้ามการแต่งตั้งโยกย้ายหรือถอดถอนบุคลากรของรัฐ ซึ่งก็ดีอยู่แล้ว ไม่อย่างนั้น ระบบตั๋ว และการซื้อขายตำแหน่ง ที่เป็นบ่อเกิดของการทุจริตคอร์รัปชั่น ก็จะรุนแรงขึ้น แถมยังจะทำให้เครือข่ายอุปถัมภ์ที่กินรวบสัมปทาน ขยายเครือข่ายของตนอีกด้วย แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องแต่งตั้งโยกย้ายจริงๆ ก็ทำได้ครับ เพียงแต่ต้องขอความเห็นชอบจาก กกต. ก่อน ก็เท่านั้นเอง
3) ห้ามอนุมัติการใช้จ่ายงบกลางเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ก็ดีอยู่แล้ว จะได้เลิกเอางบกลางไปผลาญตามอำเภอใจของนายกฯ คนนี้ซะที แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้จริงๆ เช่น กรณีภัยพิบัติ ก็ใช้ได้ครับ เพียงแต่ต้องขอความเห็นชอบจาก กกต. ก่อน ก็เท่านั้นเอง
รัฐบาลรักษาการพอที่จะทำงานได้ครับ ไม่ได้ถึงกับสิ้นสภาพ อย่างที่เอามาขู่ให้กลัวเลย
แล้วก็ไม่ต้องมาอ้างเรื่องการลงทุนจากต่างประเทศเลยครับ นักลงทุนจากต่างประเทศ เวลาที่จะมาลงทุน เขาต้องพิจารณาในระยะยาวเป็นหลักสิบปี ไม่ใช่ว่าต้องเร่งให้มีรัฐบาลกเฬวรากอะไรก็ได้
นักลงทุนจากต่างประเทศ เขาคำนึงถึงเสถียรภาพของรัฐบาลเป็นสำคัญ ซึ่งคำว่า “เสถียรภาพ” ในโลกยุคปัจจุบัน ไม่ได้ดูแค่จำนวนส.ส. เท่านั้น แต่รัฐบาลจะต้องมีความชอบธรรม ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ประชาชนพร้อมเป็นผนังทองแดงกำแพงเหล็กให้ อย่างนี้ถึงเรียกว่าเป็นรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ ไม่ใช่เริ่มต้นมาก็ทรยศหักหลัง เป็นปรปักษ์กับประชาชนเสียแล้ว
นอกจากนี้ ปัญหาการคอร์รัปชั่น ก็เป็นอีกประเด็นที่นักลงทุนต่างชาติพิจารณา ถ้าบ้านเมืองเต็มไปด้วยส่วย และการเรียกรับผลประโยชน์ จะประกอบกิจการอะไร ก็ต้องจ่ายใต้โต๊ะตั้งแต่หัวโต๊ะยันท้ายโต๊ะ อย่างที่เป็นอยู่ นักลงทุนต่างประเทศเขาไม่มาลงทุนหรอกครับ
ดังนั้น รัฐบาลที่ยอมพลิกขั้วยอมเป็นร่างทรง ให้ 3 ป มาสิงสู่สืบทอดอำนาจ มีแต่จะถูกประชาชนสาปแช่ง บั่นทอนการลงทุนจากต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม การที่ ส.ส. จากพรรคอื่น ที่ไม่อยู่ใน 8 พรรคร่วม จะบ่นว่า การตั้งรัฐบาลจะเสียเวลารอนานไม่ได้ ผมก็เห็นด้วยว่าควรบ่นครับ ผมก็บ่นเหมือนกัน ไม่มีใครอยากตั้งรัฐบาลช้าหรอกครับ บ่นน่ะได้ แต่ต้องบ่นให้ถูกคน เรามาช่วยกันบ่นไปที่ สว. กลุ่มที่ขัดขวางการจัดตั้งรัฐบาลดีกว่าครับ ถ้าผนึกกำลังช่วยกันบ่น และบ่นให้ถูกคน สักพักรัฐบาลก็จะตั้งได้เองครับ
https://www.facebook.com/wirojlak/posts/pfbid02K72bM8T3AEpfeQ3qpNLJJNrYD7pwvZz7BsSJarsUFbbv1JU3v7UMYJDC96vvPNKDl
ซีอีโอส.อ.ท.ผวา! ตั้งรัฐบาลช้า นักลงทุนชะลอ – ไร้นโยบายอุ้มพลังงานแพง
https://www.matichon.co.th/economy/news_4101248
โพลซีอีโอส.อ.ท.ผวา! ตั้งรัฐบาลช้า นักลงทุนชะลอ ไร้นโยบายรับมือพลังงานแพง ฉุดเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง
นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 31 ในเดือนกรกฎาคม 2566 ภายใต้หัวข้อ “ประเด็นกังวลที่กระทบต่อภาคอุตสาหกรรมในครึ่งปีหลัง 2566” จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 258 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรม ว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ มองความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลและความขัดแย้งทางการเมืองหลังการเลือกตั้ง เป็นประเด็นสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลัง 2566
รวมทั้งส่งผลกระทบทำให้ภาคเอกชนชะลอการลงทุน กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงหากการชุมนุมประท้วงของประชาชนทวีความรุนแรงมากขึ้น จะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่ตอนนี้ต้องอาศัยภาคการท่องเที่ยวเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ด้านปัจจัยภายนอกประเทศ ส.อ.ท. ยังคงกังวลกับปัญหาเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยนโยบายในหลายประเทศที่อยู่ในระดับสูง ตลอดจนผลกระทบจากสงครามรัสเซีย–ยูเครน ที่จะส่งผลทำให้ราคาพลังงานและวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นอีก โดยเฉพาะช่วงที่จะเข้าสู่ฤดูหนาวในยุโรปที่จะทำให้ความต้องการพลังงานเพิ่มสูงขึ้น
นายมนตรี กล่าวว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังเทียบกับครึ่งปีแรก 2566 ยังคงทรงตัวจากต้นปีจากปัจจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ยังคงกดดันเศรษฐกิจไทย ดังนั้น ผู้บริหาร ส.อ.ท. คาดหวังว่ารัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศ จะให้ความสำคัญกับการสร้างกลไกให้ภาคเอกชนมีส่วนในการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบในทุกระดับ โดยเฉพาะวิธีการปฏิรูปกฎหมายเพื่อเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ
รวมทั้งเร่งแก้ไขปัญหาหนี้สินของเอสเอ็มอี และหนี้ครัวเรือนที่มีความเสี่ยงจะเป็นหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) เพื่อทำให้เกิดการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ลดภาระผู้ประกอบการรายเล็ก และช่วยเสริมสร้างสภาพคล่องด้านการเงินในระบบเศรษฐกิจไทย
ผลการสำรวจจาก 5 คำถาม ดังนี้
1. ภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลต่อประเด็นที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในครึ่งปีหลังเรื่องใด อันดับที่ 1 คือ ปัญหาเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยนโยบายในหลายประเทศที่อยู่ระดับสูงส่งผลทำให้ความต้องการสินค้าลดลง78.3%
2. ภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลต่อปัจจัยภายในประเทศที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังเรื่องใด อันดับที่ 1 คือ ความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาล และความขัดแย้งทางการเมืองหลังการเลือกตั้ง 81.0%
3. ภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง และการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่อาจล่าช้าในเรื่องใด อันดับที่ 1 คือ การชุมนุมประท้วงของประชาชน และความเสี่ยงที่จะเกิดการใช้ความรุนแรง 69.8%
4. สิ่งที่รัฐบาลใหม่ต้องรีบดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม อันดับที่ 1 คือ สร้างกลไกให้ภาคเอกชนมีส่วนในการปรับปรุงกฎหมายกฎระเบียบในทุกระดับ 68.6%
5. ภาคอุตสาหกรรมประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง เทียบกับครึ่งปีแรก 2566 ไว้อย่างไร อันดับที่ 1 คือ ทรงตัว 52.0%